*จาก “กิริยา” สู่ตันตระ (ต่อ)*
(44) “รวมศูนย์อยู่ที่เสียง ‘โอม’ (AUM) ไม่ใช่ทั้งเสียง ‘A’ และไม่ใช่ทั้งเสียง ‘M’ ด้วย”
ขยายความ วิธีนี้เหมาะสำหรับกวีหรือนักดนตรีที่มีหูละเอียดอ่อนขนาดสามารถแยกเสียง “โอม” ออกเป็นสามเสียงย่อยคือ
A-U-M ได้ ผู้ที่ต้องการฝึกวิธีนี้จะต้องหมั่นฝึกฝน การฟังของตนให้แหลมคม เช่น นั่งข้างลำธารฟังเสียงน้ำไหล และการเปลี่ยนแปลงของเสียงของลำธาร เป็นต้น
(45) “สวดท่องคำที่จบลงด้วยเสียง ‘อา’ (AH) อย่างเบาๆ และในท่ามกลางเสียง ‘เฮิง’ (HH) ความเป็นธรรมชาติที่ไม่กระทำ ย่อมเกิดขึ้นมาเองอย่างไม่ต้องพยายามอะไรเลย”
ขยายความ วิธีนี้ใช้การสวดบริกรรมที่จบลงด้วยเสียง ‘อา’ ซึ่งเป็นเสียงที่คนเราต้องคายลมหายใจออกจากร่างกายหมด ซึ่งเป็นความหมายของการดับ ในวิชาโยคะและตันตระ จะไม่นับอายุคนโดยจำนวนขวบปี แต่จะนับโดยลมหายใจแทน เพราะฉะนั้น คนที่หายใจยาวๆ ช้าๆ จะเป็นคนอายุยืนกว่าคนที่หายใจสั้นตื้น ตอนที่ลมหายใจออกจากร่างกายหรือตอนที่พิจารณาการไหลเข้าออกของลมหายใจว่าเป็นการเกิดดับของร่างกาย ผู้ฝึกจะเห็นได้ชัดว่าการเกิดนี้ ไม่ใช่การเกิดของเรา และการดับนี้ก็ไม่ใช่การดับของเรา มันเป็นของมันอย่างนี้ โดยตัวเราเป็นแค่ผู้รู้หรือผู้เห็นเท่านั้น
(46) “ปิดหูให้แน่น ขมิบก้นให้แน่น แล้วเข้าสู่ในเสียง”
ขยายความ วิธีนี้คือการใช้การปิดหูกับการขมิบก้น เพื่อให้เกิดการ “หยุด” ในตัวเรา โดยเราจะได้ยินเสียงจากข้างในได้ ซึ่งเป็นเสียงแห่งความเงียบงันเพราะเกิดจากการหยุดของความคิด
(47) “เข้าสู่เสียงชื่อของตัวเอง และผ่านเสียงนั้นไปสู่สรรพเสียงทั้งปวง”
ขยายความ วิธีนี้ใช้ชื่อของตัวเองเป็นมนตราสำหรับบริกรรม โดยปกติคนเราไม่ค่อยเรียกชื่อตนเอง แต่เป็นคนอื่นที่เรียกชื่อเรา โดยที่ตัวเรามักเป็นคนได้ยินได้ฟังเสียงชื่อเราจากปากของคนอื่น ครั้นพอเราเรียกชื่อตัวเราเองราวกับเป็นชื่อของคนอื่น เราจะกลายเป็น ผู้ดู หรือ ผู้เห็น เสียงชื่อของตัวเราได้ ตรงนี้แหละคือเคล็ดของวิธีนี้
(48) “ณ จุดเริ่มของการร่วมรัก จงใส่ใจอยู่กับเพลิงปรารถนาในเบื้องต้น ปฏิบัติสืบไปดังนี้ แลปลีกเร้นเสียจากถ่านเถ้าในบั้นปลาย”
ขยายความ วิธีนี้แนะให้ทำการร่วมรักอย่างเต็มพร้อม อย่างมุ่งสู่การหลอมรวมเป็นเอกภาพ อย่างไร้กระบวนการทางความคิดในขณะที่กำลังร่วมรัก กล่าวคือ ตันตระแนะให้ทำการร่วมรักอย่างหลงลืม ความคิดทุกสิ่งให้สิ้นแล้ว ถลำล่วงลงในนั้นอย่างเต็มตัว อย่างมีสติ อย่างรู้ตัวและทั่วพร้อม ตันตระยังสอนอีกว่า ในการร่วมรักแบบตันตระ จงอย่ามุ่งปลดเปลื้อง จงอย่าเร่งรีบ จงอย่ากระหายหาผลในบั้นปลาย แต่ให้คงอยู่กับเพลิงปรารถนา ณ จุดเริ่มแรกนี้ไปจนตลอด
การร่วมรักแบบตันตระนั้น จะผ่อนคลายและอบอุ่นในช่วงต้นไม่มีการเร่งเพื่อดำเนินไปสู่ช่วงท้ายเลยแม้แต่น้อย ราวกับลืมช่วงท้ายจนหมดสิ้น เพราะสำหรับตันตระ ไม่มีการปลดเปลื้อง ไม่มีเป้าที่จะมุ่งหลั่น แต่มุ่งคงอยู่กับพลังอันถั่งท้นที่เกิดขึ้นในช่วงต้นของการร่วมรัก มุ่งคงอยู่กับปัจจุบันขณะแห่งการร่วมรัก มุ่งเพลิดเพลินกับการบรรจบกันของร่างกายและดวงใจทั้งสอง การร่วมรักแบบตันตระ เป็นการมุ่งผนึกรวมเข้าหากัน หลอมละลายสู่กันและกัน หากผู้นั้นฝึกแบบนี้ได้ในไม่ช้า การร่วมรักจะยิ่งลดทอนเรื่องทางกามารมณ์ลงทุกขณะ และทวีด้านจิตวิญญาณยิ่งขึ้นทุกที จนกระทั่งการร่วมรักกลายเป็นการผสานรวมอันสงบลึกซึ้งระหว่างพลังของทั้งสองที่คงอยู่สืบเนื่องกันไปเป็นชั่วโมงๆ โดยที่ความสืบเนื่องดังกล่าวจะยิ่งหยั่งลึกลงทุกขณะเมื่อเวลาผ่านไป ยิ่งถ้าผู้นั้นสามารถรู้ทัน และเห็นจิตของตนเองได้ในขณะกำลังร่วมรักแบบตันตระนี้ ผู้นั้นจะสามารถเข้าถึงความดื่มด่ำแลปีติอันลึกซึ้งได้ เพราะในขณะนั้น การร่วมรักได้กลายเป็นสมาธิภาวนาอย่างสมบูรณ์ไปแล้ว
เมื่อผู้นั้นฝึกตันตระตามวิธีข้างต้นได้อย่างช่ำชองแล้ว ความคิดด้านกามารมณ์ของผู้นั้น ย่อมมิใช่ความใคร่อีกต่อไป ผู้นั้นสามารถลุถึงสภาวะ “พรหมจรรย์” อันล้ำลึกยิ่งได้ เพราะผู้นั้นจะมีแต่ความรักที่ไร้ความใคร่... นี่แหละคือวิธีเอาชนะและก้าวข้ามความใคร่ของตันตระ เพราะในสายตาของตันตระ พรหมจรรย์มิใช่เรื่องของการประพฤติแบบไม่เหลียวแลเพศตรงข้าม ไม่พบปะเพศตรงข้าม ไม่แตะเนื้อต้องตัวเพศตรงข้าม เพราะการไปกดข่มความรู้สึกทางเพศ กลับจะยิ่งทำให้ผู้นั้นเฝ้าครุ่นคิดเรื่องเพศไม่หยุดหย่อน ตันตระจึงบอกว่า จงอย่าพยายามหลบหนีความรู้สึกทางเพศเพราะไม่มีวันหลบพ้นไปได้ ทางที่ดีแล้วจงก้าวข้ามมันไปด้วยการไม่ต่อสู้ขัดขืน แต่ยอมรับธรรมชาติของมันเพื่อข้ามพ้นมันไปเสีย ด้วยเหตุนี้ ตันตระจึงเห็นว่าพรหมจรรย์เป็นเรื่องของสภาวะจิตที่ต้องลุถึงอันเป็นสภาวะแห่ง “มีแต่รัก ไร้ใคร่” จะเห็นได้ว่า สภาวะแห่งพรหมจรรย์นี้ จะต้องเป็นสภาวะแห่งการผ่อนคลายในระดับสูง ไม่แตกแยกเป็นเอกภาพ และสมบูรณ์พร้อมในตัวของมันเอง
(49) “ขณะอยู่ในอ้อมกอดเยี่ยงนี้ อายตนะทั้งปวงของเธอระส่ำดุจใบไม้ จงชำแรกสู่ความระส่ำนี้”
ขยายความ ตันตระบอกว่า อาการสั่นสะท้านในขณะเริงรักคือ ความอัศจรรย์พันลึก พลังจะเริ่มไหลทะลักไปทั่วร่างกาย พลังจะไหวสะท้านไปตลอดทั้งสรีระ และทุกๆ เซลล์ของร่างกายจะมีส่วนร่วมในขณะนั้นอย่างมีชีวิตชีวา อุปมาดั่ง สายลมแรงพัดกระหน่ำต้นไม้จนเอนไหว แม้กระทั่งรากไม้ก็โยกโคลง ใบไม้ทุกใบล้วนสะบัดพลิ้ว ตันตระสอนว่า จงเป็นเช่นต้นไม้นี้แหละ เพราะกามารมณ์คือพลังอันแรงกล้าที่พัดผ่านตัวเราดุจสายลมแรง ขอให้เราจงสั่นสะท้านไหวเร่า ให้ทุกๆ เซลล์ของร่างกายเราได้ยักย้ายส่ายพลิ้ว และสภาพเช่นนี้ควรเป็นสำหรับทั้งคู่ คู่เสน่หาของเราก็ต้องเริงร่ายส่ายระบำเช่นกัน ทั้งคู่จึงจะมาบรรจบกันได้ ไม่เพียงร่างกายแต่ทั้งหัวใจและจิตวิญญาณ
วิธีนี้จึงสอนให้เราชำแรกสู่ความสั่นสะท้านในขณะเริงรัก และขณะสั่นสะท้าน จงอย่าวางตัวให้เหินห่าง จงอย่าทำตัวเป็นผู้เฝ้ามอง เพราะจิตนั้นคือผู้เฝ้ามองในวิธีนี้ ตัวเราต้องกลับกลายเป็นความสั่นสะท้านนั้นเสียเอง ลืมเลือนทุกสิ่งให้หมดสิ้น มันหาใช่ว่าร่างกายของเรากำลังสั่นสะท้านในขณะเริงรัก แต่ต้องเป็นภาวะทั้งปวงของเราในห้วงยามนั้นที่กลับกลายเป็นความสั่นสะท้านเอง เพราะเมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาลในห้วงสั่นสะท้านดังกล่าว เราจะเป็นส่วนหนึ่งของพลังการดำรงอยู่ ชั่วขณะนั้นร่างกายอันเป็นตัวตนของเราได้สลายกลายกลืน เธอกลายเป็นกระแสพลังไหลพรั่งพรูสู่กันและกัน การแบ่งแยกถึงกาลสิ้นสูญ เธอเปี่ยมด้วยความเป็นเอกภาพ
สิ่งนี้คือ อไทวตะ หรืออุทวิภาวะ หรือสภาวะแห่งการดำรงอยู่ที่ไม่แบ่งแยกเป็นสอง ซึ่งเกิดขึ้นยามที่เธอชำแรกสู่ความสั่นสะท้านในขณะเริงรัก และกลับกลายเป็นความสั่นสะท้านนั้นโดยสมบูรณ์ ตันตระจึงสอนว่า โดยอาศัยอ้อมกอดแห่งความรักอันลึกล้ำ ย่อมเป็นเรื่องง่ายที่จะรู้สึกถึงสภาวะของอทวิภาวะนี้ อันเป็นสภาวะที่ตัวเธอได้แนบสนิทกับการดำรงอยู่อย่างเต็มตัว โดยปราศจากความกังวล ความทุกข์ใจ การดิ้นรนไขว่คว้า และความขัดแย้งใดๆ (ยังมีต่อ)
www.dragon-press.com
(44) “รวมศูนย์อยู่ที่เสียง ‘โอม’ (AUM) ไม่ใช่ทั้งเสียง ‘A’ และไม่ใช่ทั้งเสียง ‘M’ ด้วย”
ขยายความ วิธีนี้เหมาะสำหรับกวีหรือนักดนตรีที่มีหูละเอียดอ่อนขนาดสามารถแยกเสียง “โอม” ออกเป็นสามเสียงย่อยคือ
A-U-M ได้ ผู้ที่ต้องการฝึกวิธีนี้จะต้องหมั่นฝึกฝน การฟังของตนให้แหลมคม เช่น นั่งข้างลำธารฟังเสียงน้ำไหล และการเปลี่ยนแปลงของเสียงของลำธาร เป็นต้น
(45) “สวดท่องคำที่จบลงด้วยเสียง ‘อา’ (AH) อย่างเบาๆ และในท่ามกลางเสียง ‘เฮิง’ (HH) ความเป็นธรรมชาติที่ไม่กระทำ ย่อมเกิดขึ้นมาเองอย่างไม่ต้องพยายามอะไรเลย”
ขยายความ วิธีนี้ใช้การสวดบริกรรมที่จบลงด้วยเสียง ‘อา’ ซึ่งเป็นเสียงที่คนเราต้องคายลมหายใจออกจากร่างกายหมด ซึ่งเป็นความหมายของการดับ ในวิชาโยคะและตันตระ จะไม่นับอายุคนโดยจำนวนขวบปี แต่จะนับโดยลมหายใจแทน เพราะฉะนั้น คนที่หายใจยาวๆ ช้าๆ จะเป็นคนอายุยืนกว่าคนที่หายใจสั้นตื้น ตอนที่ลมหายใจออกจากร่างกายหรือตอนที่พิจารณาการไหลเข้าออกของลมหายใจว่าเป็นการเกิดดับของร่างกาย ผู้ฝึกจะเห็นได้ชัดว่าการเกิดนี้ ไม่ใช่การเกิดของเรา และการดับนี้ก็ไม่ใช่การดับของเรา มันเป็นของมันอย่างนี้ โดยตัวเราเป็นแค่ผู้รู้หรือผู้เห็นเท่านั้น
(46) “ปิดหูให้แน่น ขมิบก้นให้แน่น แล้วเข้าสู่ในเสียง”
ขยายความ วิธีนี้คือการใช้การปิดหูกับการขมิบก้น เพื่อให้เกิดการ “หยุด” ในตัวเรา โดยเราจะได้ยินเสียงจากข้างในได้ ซึ่งเป็นเสียงแห่งความเงียบงันเพราะเกิดจากการหยุดของความคิด
(47) “เข้าสู่เสียงชื่อของตัวเอง และผ่านเสียงนั้นไปสู่สรรพเสียงทั้งปวง”
ขยายความ วิธีนี้ใช้ชื่อของตัวเองเป็นมนตราสำหรับบริกรรม โดยปกติคนเราไม่ค่อยเรียกชื่อตนเอง แต่เป็นคนอื่นที่เรียกชื่อเรา โดยที่ตัวเรามักเป็นคนได้ยินได้ฟังเสียงชื่อเราจากปากของคนอื่น ครั้นพอเราเรียกชื่อตัวเราเองราวกับเป็นชื่อของคนอื่น เราจะกลายเป็น ผู้ดู หรือ ผู้เห็น เสียงชื่อของตัวเราได้ ตรงนี้แหละคือเคล็ดของวิธีนี้
(48) “ณ จุดเริ่มของการร่วมรัก จงใส่ใจอยู่กับเพลิงปรารถนาในเบื้องต้น ปฏิบัติสืบไปดังนี้ แลปลีกเร้นเสียจากถ่านเถ้าในบั้นปลาย”
ขยายความ วิธีนี้แนะให้ทำการร่วมรักอย่างเต็มพร้อม อย่างมุ่งสู่การหลอมรวมเป็นเอกภาพ อย่างไร้กระบวนการทางความคิดในขณะที่กำลังร่วมรัก กล่าวคือ ตันตระแนะให้ทำการร่วมรักอย่างหลงลืม ความคิดทุกสิ่งให้สิ้นแล้ว ถลำล่วงลงในนั้นอย่างเต็มตัว อย่างมีสติ อย่างรู้ตัวและทั่วพร้อม ตันตระยังสอนอีกว่า ในการร่วมรักแบบตันตระ จงอย่ามุ่งปลดเปลื้อง จงอย่าเร่งรีบ จงอย่ากระหายหาผลในบั้นปลาย แต่ให้คงอยู่กับเพลิงปรารถนา ณ จุดเริ่มแรกนี้ไปจนตลอด
การร่วมรักแบบตันตระนั้น จะผ่อนคลายและอบอุ่นในช่วงต้นไม่มีการเร่งเพื่อดำเนินไปสู่ช่วงท้ายเลยแม้แต่น้อย ราวกับลืมช่วงท้ายจนหมดสิ้น เพราะสำหรับตันตระ ไม่มีการปลดเปลื้อง ไม่มีเป้าที่จะมุ่งหลั่น แต่มุ่งคงอยู่กับพลังอันถั่งท้นที่เกิดขึ้นในช่วงต้นของการร่วมรัก มุ่งคงอยู่กับปัจจุบันขณะแห่งการร่วมรัก มุ่งเพลิดเพลินกับการบรรจบกันของร่างกายและดวงใจทั้งสอง การร่วมรักแบบตันตระ เป็นการมุ่งผนึกรวมเข้าหากัน หลอมละลายสู่กันและกัน หากผู้นั้นฝึกแบบนี้ได้ในไม่ช้า การร่วมรักจะยิ่งลดทอนเรื่องทางกามารมณ์ลงทุกขณะ และทวีด้านจิตวิญญาณยิ่งขึ้นทุกที จนกระทั่งการร่วมรักกลายเป็นการผสานรวมอันสงบลึกซึ้งระหว่างพลังของทั้งสองที่คงอยู่สืบเนื่องกันไปเป็นชั่วโมงๆ โดยที่ความสืบเนื่องดังกล่าวจะยิ่งหยั่งลึกลงทุกขณะเมื่อเวลาผ่านไป ยิ่งถ้าผู้นั้นสามารถรู้ทัน และเห็นจิตของตนเองได้ในขณะกำลังร่วมรักแบบตันตระนี้ ผู้นั้นจะสามารถเข้าถึงความดื่มด่ำแลปีติอันลึกซึ้งได้ เพราะในขณะนั้น การร่วมรักได้กลายเป็นสมาธิภาวนาอย่างสมบูรณ์ไปแล้ว
เมื่อผู้นั้นฝึกตันตระตามวิธีข้างต้นได้อย่างช่ำชองแล้ว ความคิดด้านกามารมณ์ของผู้นั้น ย่อมมิใช่ความใคร่อีกต่อไป ผู้นั้นสามารถลุถึงสภาวะ “พรหมจรรย์” อันล้ำลึกยิ่งได้ เพราะผู้นั้นจะมีแต่ความรักที่ไร้ความใคร่... นี่แหละคือวิธีเอาชนะและก้าวข้ามความใคร่ของตันตระ เพราะในสายตาของตันตระ พรหมจรรย์มิใช่เรื่องของการประพฤติแบบไม่เหลียวแลเพศตรงข้าม ไม่พบปะเพศตรงข้าม ไม่แตะเนื้อต้องตัวเพศตรงข้าม เพราะการไปกดข่มความรู้สึกทางเพศ กลับจะยิ่งทำให้ผู้นั้นเฝ้าครุ่นคิดเรื่องเพศไม่หยุดหย่อน ตันตระจึงบอกว่า จงอย่าพยายามหลบหนีความรู้สึกทางเพศเพราะไม่มีวันหลบพ้นไปได้ ทางที่ดีแล้วจงก้าวข้ามมันไปด้วยการไม่ต่อสู้ขัดขืน แต่ยอมรับธรรมชาติของมันเพื่อข้ามพ้นมันไปเสีย ด้วยเหตุนี้ ตันตระจึงเห็นว่าพรหมจรรย์เป็นเรื่องของสภาวะจิตที่ต้องลุถึงอันเป็นสภาวะแห่ง “มีแต่รัก ไร้ใคร่” จะเห็นได้ว่า สภาวะแห่งพรหมจรรย์นี้ จะต้องเป็นสภาวะแห่งการผ่อนคลายในระดับสูง ไม่แตกแยกเป็นเอกภาพ และสมบูรณ์พร้อมในตัวของมันเอง
(49) “ขณะอยู่ในอ้อมกอดเยี่ยงนี้ อายตนะทั้งปวงของเธอระส่ำดุจใบไม้ จงชำแรกสู่ความระส่ำนี้”
ขยายความ ตันตระบอกว่า อาการสั่นสะท้านในขณะเริงรักคือ ความอัศจรรย์พันลึก พลังจะเริ่มไหลทะลักไปทั่วร่างกาย พลังจะไหวสะท้านไปตลอดทั้งสรีระ และทุกๆ เซลล์ของร่างกายจะมีส่วนร่วมในขณะนั้นอย่างมีชีวิตชีวา อุปมาดั่ง สายลมแรงพัดกระหน่ำต้นไม้จนเอนไหว แม้กระทั่งรากไม้ก็โยกโคลง ใบไม้ทุกใบล้วนสะบัดพลิ้ว ตันตระสอนว่า จงเป็นเช่นต้นไม้นี้แหละ เพราะกามารมณ์คือพลังอันแรงกล้าที่พัดผ่านตัวเราดุจสายลมแรง ขอให้เราจงสั่นสะท้านไหวเร่า ให้ทุกๆ เซลล์ของร่างกายเราได้ยักย้ายส่ายพลิ้ว และสภาพเช่นนี้ควรเป็นสำหรับทั้งคู่ คู่เสน่หาของเราก็ต้องเริงร่ายส่ายระบำเช่นกัน ทั้งคู่จึงจะมาบรรจบกันได้ ไม่เพียงร่างกายแต่ทั้งหัวใจและจิตวิญญาณ
วิธีนี้จึงสอนให้เราชำแรกสู่ความสั่นสะท้านในขณะเริงรัก และขณะสั่นสะท้าน จงอย่าวางตัวให้เหินห่าง จงอย่าทำตัวเป็นผู้เฝ้ามอง เพราะจิตนั้นคือผู้เฝ้ามองในวิธีนี้ ตัวเราต้องกลับกลายเป็นความสั่นสะท้านนั้นเสียเอง ลืมเลือนทุกสิ่งให้หมดสิ้น มันหาใช่ว่าร่างกายของเรากำลังสั่นสะท้านในขณะเริงรัก แต่ต้องเป็นภาวะทั้งปวงของเราในห้วงยามนั้นที่กลับกลายเป็นความสั่นสะท้านเอง เพราะเมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาลในห้วงสั่นสะท้านดังกล่าว เราจะเป็นส่วนหนึ่งของพลังการดำรงอยู่ ชั่วขณะนั้นร่างกายอันเป็นตัวตนของเราได้สลายกลายกลืน เธอกลายเป็นกระแสพลังไหลพรั่งพรูสู่กันและกัน การแบ่งแยกถึงกาลสิ้นสูญ เธอเปี่ยมด้วยความเป็นเอกภาพ
สิ่งนี้คือ อไทวตะ หรืออุทวิภาวะ หรือสภาวะแห่งการดำรงอยู่ที่ไม่แบ่งแยกเป็นสอง ซึ่งเกิดขึ้นยามที่เธอชำแรกสู่ความสั่นสะท้านในขณะเริงรัก และกลับกลายเป็นความสั่นสะท้านนั้นโดยสมบูรณ์ ตันตระจึงสอนว่า โดยอาศัยอ้อมกอดแห่งความรักอันลึกล้ำ ย่อมเป็นเรื่องง่ายที่จะรู้สึกถึงสภาวะของอทวิภาวะนี้ อันเป็นสภาวะที่ตัวเธอได้แนบสนิทกับการดำรงอยู่อย่างเต็มตัว โดยปราศจากความกังวล ความทุกข์ใจ การดิ้นรนไขว่คว้า และความขัดแย้งใดๆ (ยังมีต่อ)
www.dragon-press.com