ASTVผู้จัดการรายวัน - ลือหึ่ง! ผวจ.นครศรีฯ ถูกเด้งไปภาคอีสาน ให้ ผวจ.นราธิวาส เข้ารับตำแหน่งแทน ขณะที่รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 เตือนนักศึกษารามคำแหงที่เข้ามาเคลื่อนไหวว่าผิด พ.ร.บ.ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย อาจถูกดำเนินคดีได้ในภายหลัง
วานนี้ (23 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.นครศรีธรรมราชว่า เมื่อช่วงเช้าวานนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมชาวสวนยางโดยเฉพาะผู้สูงอายุและลูกหลานที่อาศัยอยู่ในย่าน ต.ควนหนองหงษ์ อ.ชะอวด ต่างหิ้วปิ่นโตยกชั้นมาร่วมกันทำบุญเนื่องในโอกาสบุญสารทเดือนสิบ ซึ่งเป็นประเพณีที่ชาวนครศรีธรรมราชและชาวภาคใต้ยึดถือเป็นประเพณีสำคัญที่ลูกหลานจะต้องทำบุญให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับในช่วงเทศกาลนี้ ซึ่งตรงกับวันครบรอบการชุมนุมเรียกร้องราคายางพารา และปาล์มน้ำมัน ครบ 1 เดือนด้วยโดยบรรยากาศทั่วไปเป็นไปอย่างอบอุ่น และใกล้กับจุดประกอบพิธีทำบุญจะมีการวางหีบศพจำลองของผู้นำรัฐบาล และแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงที่เป็นชาวนครศรีธรรมราชอีกด้วย
ขณะที่กลุ่มเกษตรกรสวนยางพาราจาก จ.สงขลา ประมาณ 100 คนได้เดินทางมาร่วมชุมนุมและให้กำลังใจแก่กลุ่มเกษตรกรที่ยังปักหลักชุมนุมจนครบ 1 เดือน พร้อมกันนี้ตัวแทนของเกษตรกรได้ขึ้นเวทีปราศรัยโจมตีนโยบายการแก้ไขปัญหาราคายางของรัฐบาล ระบุว่าไม่มีความจริงใจต่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด ไม่ตรงกับความต้องการของเกษตรกรโดยแท้จริง
ในเวลาไล่เลี่ยกัน พล.ต.ต.กิตติสัณห์ เดชสุนทรวัฒน์ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 ได้เรียกประชุมศูนย์ปฏิบัติการตำรวจภูธรภาค 8 ส่วนหน้าเพื่อกำหนดมาตรการความปลอดภัยรองรับในกรณีอาจมีเหตุความวุ่นวายขึ้นในการจ่ายเงินชดเชยปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรเป็นวันแรกใน อ.ชะอวด และได้สั่งให้มีการเปลี่ยนสถานที่จ่ายเงินจากศาลาประชาคมอำเภอชะอวด เป็นศาลาประชาคมอำเภอร่อนพิบูลย์แทน เนื่องจากกังวลอาจมีการก่อความวุ่นวายขึ้นได้ในขณะดำเนินการ รวมทั้งสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเพิ่มมาตรการในการดูแลบุคคลสำคัญของกระทรวงเกษตร ที่จะเข้ามาในพื้นที่ติดตามการเบิกจ่ายเงิน
พล.ต.ต.กิตติสัณห์ ยังได้กล่าวเตือนนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่มาเคลื่อนไหวร่วมกับผู้ชุมนุมว่า เป็นการกระทำผิด พ.ร.บ.ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ที่สั่งห้ามการเข้าพื้นที่ชุมนุมอย่างชัดเจน ซึ่งอาจถูกดำเนินคดีภายหลัง ส่วนความคืบหน้าในการดำเนินคดีต่อผู้ชุมนุมในวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมานั้นมีความคืบหน้าไปมากแล้ว อยู่ระหว่างทำสำนวนให้มีความรัดกุมที่สุด เพื่อนำไปเสนอศาลเพื่ออนุมัติหมายจับกุม
ขณะที่นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ประชุมเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการร่วม โดยได้ขยายเวลา พ.ร.บ.ป้องกันบรรเทาสาธารณภัยต่อไปอีก ตั้งแต่เวลา 17.00 น.วันที่ 23 ก.ย.ไปจนถึงเวลา 05.00 น.วันที่ 24 ก.ย.เป็นเวลา 12 ชม.และได้สั่งการให้เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราชเร่งทำการขึ้นทะเบียนเกษตรกร โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.ชะอวด และ อ.จุฬาภรณ์ ให้เร็วที่สุด และสามารถจ่ายเงินชดเชยให้แก่เกษตรกรใน 2 พื้นที่ให้ได้ครบโดยเร็ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าได้มีกระแสข่าวสะพัดในหมู่ข้าราชการบนศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งสอดคล้องกับกระแสข่าวก่อนหน้านี้ที่นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ขอย้ายตัวเองออกจากพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช โดยทราบว่าในที่สุด ครม.ได้มีมติโยกย้ายข้าราชการระดับผู้ว่าราชการจังหวัดหลายตำแหน่ง โดยหนึ่งในนั้นคือนายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ย้ายไปเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเลย และนายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ย้ายมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งในเรื่องนี้คงรอเพียงความชัดเจนจากมติ ครม.หลังจากนี้
วานนี้ (23 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.นครศรีธรรมราชว่า เมื่อช่วงเช้าวานนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมชาวสวนยางโดยเฉพาะผู้สูงอายุและลูกหลานที่อาศัยอยู่ในย่าน ต.ควนหนองหงษ์ อ.ชะอวด ต่างหิ้วปิ่นโตยกชั้นมาร่วมกันทำบุญเนื่องในโอกาสบุญสารทเดือนสิบ ซึ่งเป็นประเพณีที่ชาวนครศรีธรรมราชและชาวภาคใต้ยึดถือเป็นประเพณีสำคัญที่ลูกหลานจะต้องทำบุญให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับในช่วงเทศกาลนี้ ซึ่งตรงกับวันครบรอบการชุมนุมเรียกร้องราคายางพารา และปาล์มน้ำมัน ครบ 1 เดือนด้วยโดยบรรยากาศทั่วไปเป็นไปอย่างอบอุ่น และใกล้กับจุดประกอบพิธีทำบุญจะมีการวางหีบศพจำลองของผู้นำรัฐบาล และแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงที่เป็นชาวนครศรีธรรมราชอีกด้วย
ขณะที่กลุ่มเกษตรกรสวนยางพาราจาก จ.สงขลา ประมาณ 100 คนได้เดินทางมาร่วมชุมนุมและให้กำลังใจแก่กลุ่มเกษตรกรที่ยังปักหลักชุมนุมจนครบ 1 เดือน พร้อมกันนี้ตัวแทนของเกษตรกรได้ขึ้นเวทีปราศรัยโจมตีนโยบายการแก้ไขปัญหาราคายางของรัฐบาล ระบุว่าไม่มีความจริงใจต่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด ไม่ตรงกับความต้องการของเกษตรกรโดยแท้จริง
ในเวลาไล่เลี่ยกัน พล.ต.ต.กิตติสัณห์ เดชสุนทรวัฒน์ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 ได้เรียกประชุมศูนย์ปฏิบัติการตำรวจภูธรภาค 8 ส่วนหน้าเพื่อกำหนดมาตรการความปลอดภัยรองรับในกรณีอาจมีเหตุความวุ่นวายขึ้นในการจ่ายเงินชดเชยปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรเป็นวันแรกใน อ.ชะอวด และได้สั่งให้มีการเปลี่ยนสถานที่จ่ายเงินจากศาลาประชาคมอำเภอชะอวด เป็นศาลาประชาคมอำเภอร่อนพิบูลย์แทน เนื่องจากกังวลอาจมีการก่อความวุ่นวายขึ้นได้ในขณะดำเนินการ รวมทั้งสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเพิ่มมาตรการในการดูแลบุคคลสำคัญของกระทรวงเกษตร ที่จะเข้ามาในพื้นที่ติดตามการเบิกจ่ายเงิน
พล.ต.ต.กิตติสัณห์ ยังได้กล่าวเตือนนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่มาเคลื่อนไหวร่วมกับผู้ชุมนุมว่า เป็นการกระทำผิด พ.ร.บ.ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ที่สั่งห้ามการเข้าพื้นที่ชุมนุมอย่างชัดเจน ซึ่งอาจถูกดำเนินคดีภายหลัง ส่วนความคืบหน้าในการดำเนินคดีต่อผู้ชุมนุมในวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมานั้นมีความคืบหน้าไปมากแล้ว อยู่ระหว่างทำสำนวนให้มีความรัดกุมที่สุด เพื่อนำไปเสนอศาลเพื่ออนุมัติหมายจับกุม
ขณะที่นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ประชุมเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการร่วม โดยได้ขยายเวลา พ.ร.บ.ป้องกันบรรเทาสาธารณภัยต่อไปอีก ตั้งแต่เวลา 17.00 น.วันที่ 23 ก.ย.ไปจนถึงเวลา 05.00 น.วันที่ 24 ก.ย.เป็นเวลา 12 ชม.และได้สั่งการให้เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราชเร่งทำการขึ้นทะเบียนเกษตรกร โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.ชะอวด และ อ.จุฬาภรณ์ ให้เร็วที่สุด และสามารถจ่ายเงินชดเชยให้แก่เกษตรกรใน 2 พื้นที่ให้ได้ครบโดยเร็ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าได้มีกระแสข่าวสะพัดในหมู่ข้าราชการบนศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งสอดคล้องกับกระแสข่าวก่อนหน้านี้ที่นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ขอย้ายตัวเองออกจากพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช โดยทราบว่าในที่สุด ครม.ได้มีมติโยกย้ายข้าราชการระดับผู้ว่าราชการจังหวัดหลายตำแหน่ง โดยหนึ่งในนั้นคือนายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ย้ายไปเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเลย และนายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ย้ายมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งในเรื่องนี้คงรอเพียงความชัดเจนจากมติ ครม.หลังจากนี้