วานนี้ (8 ก.ย.56) นายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา ผู้ประสานงานเครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือ เปิดเผยว่า เครือข่ายฯ ได้ออกแถลงการณ์ เรื่องประชาพิจารณ์แผนบริหารจัดการน้ำต้องมีส่วนร่วมเคารพสิทธิชุมชน เนื่องจากรัฐบาลเตรียมพิจารณางบประมาณสำหรับประชาพิจารณ์แผนน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ตามข้อเสนอของสำนักงานนโยบายบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กบอ.) ในการประชุม ครม.วันที่ 10 ก.ย.นี้ หลังจากนั้นจะมีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในแผนบริหารจัดการน้ำ ระหว่างเดือนต.ค.-ธ.ค. ทั้งหมด 19 ครั้ง ใน 38 จังหวัด โดยรัฐบาลระบุว่าจะมีประชาชนเข้าร่วมกว่า 6 หมื่นคน ทางเครือข่ายฯ เห็นว่าการดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นในรูปแบบที่รัฐบาลกำลังจะดำเนินการครั้งนี้ มีความเร่งรีบ รวบรัด ไม่ได้มีความจริงใจในการรับฟังความคิดเห็นอย่างจริงจังเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาแก้ไขปัญหาสถานการณ์น้ำของประเทศ แต่เป็นเพียงแต่พิธีกรรมที่ต้องทำให้ลุ่ล่วงโดยเร็วเท่านั้น
นายสมเกียรติ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าจนปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาว่าแผนบริหารจัดการน้ำทั้ง 9 โมดูล ซึ่งประกอบด้วยเขื่อนกว่า 20 แห่ง ฟลัดเวย์ และโครงสร้างอื่นๆ จะสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้จริง ในขณะที่มีความกังวลว่าผลกระทบจะเกิดขึ้นในวงกว้าง ดังนั้นกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะชุมชนที่จะได้รับผลกระทบ ตลอดจนภาควิชาการ จึงเป็นสิ่งจำเป็นย่างยิ่ง เพื่อที่จะนำความคิดเห็นและข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจนโยบายสาธารณะครั้งนี้ เครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือขอเรียกร้องให้การจัดทำประชาพิจารณ์ครั้งสำคัญนี้เป็นกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยจัดเวทีย่อยในระดับพื้นที่เพื่อให้ชาวบ้านสามารถเข้าร่วมได้ มีการเปิดเวทีที่เป็นภาษาท้องถิ่นสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับผลกระทบ และมีการแจกจ่ายข้อมูลโครงการล่วงหน้าเพื่อให้ชาวบ้านสามารถศึกษาทำความเข้าใจก่อนร่วมเวที
มีรายงานว่า วันที่ 9 ก.ย.นี้มูลนิธิสืบนาคะเสถียร และองค์กรเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม จะเดินทางไปยัง สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพโครงการเขื่อนแม่วงก์ ของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ด้านพัฒนาแหล่งน้ำ เนื่องจากเป็นรายงานที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญในการพิจารณารายงานฉบับนี้ รัฐบาลปรับเปลี่ยนบุคลากรของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะกรรมการผู้ชำนาญการอย่างน่าสงสัย โดยการโยกย้ายตำแหน่งจำนวนมาก รวมถึงการปรับโครงสร้างองค์ประกอบให้ไม่มีผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม และผู้แทนประจำของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ซึ่งเป็นความผิดปกติ
จากสถานการณ์การเดินหน้าผลักดันโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ทั้งๆที่มีข้อท้วงติงในเรื่องผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าไม้ และแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมีแนวโน้มจะผ่านรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(อีเอชไอเอ) ในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งเป็นการกระทำที่ละเลยผลกระทบต่างๆ อีกทั้ง ยังเป็นรายงานที่ไม่ได้ให้ความจริงใจในการศึกษาทางเลือกในการพัฒนาแหล่งน้ำด้วยวิธีอื่นๆ รวมถึงการกำหนดปัจจัยและตัวแปรในการคัดเลือกที่ตั้งหัวงานเขื่อน โดยใช้เทคนิคกำหนดตัวแปรที่เบี่ยงเบนน้ำหนักของการเลือกที่ตั้ง ให้มาก่อสร้างในป่าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และยังละเลยข้อมูลความสำคัญของพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ซึ่งเป็นพื้นที่ในผืนป่าตะวันตกที่เป็นป่าต่อเนื่องกับพื้นที่มรดกโลกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ทุ่งใหญ่นเรศวร รวมถึงอุทยานแห่งชาติคลองลาน ที่เป็นป่าใหญ่อุดมสมบูรณ์ไม่มีการรบกวนระบบนิเวศสัตว์ป่าโดยที่ตั้งของชุมชน จึงทำให้มีศักยภาพในการแพร่กระจายสัตว์ป่าจากพื้นที่หนึ่งไปยังพื้นที่หนึ่ง
นายสมมิ่ง เหมืองร้อง ประธานคณะกรรมการคัดค้านเขื่อน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า ตนได้ทราบข่าวจากพักพวกที่อยู่ตำบลเตาปูนว่า ทางกรมชลประธานได้เข้าไปกล่อมให้ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลเตาปูน อ.สอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จะสร้างเขื่อนยมล่าง ที่ห่างจากตำบลสะเอียบออกมาเพียง 5 กิโลเมตร แต่อ่างเก็บน้ำของเขื่อนยมล่าง จะทะลักท่วมเข้าไปยังป่าสักทองในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ยม ต.สะเอียบ อ.สอง ถึง 34.5 กิโลเมตร ไปจนถึงบ้านดอนชัยสักทอง และท่วมที่ทำกินของชาวบ้านทั้ง 4 หมู่บ้าน อันเป็นเหตุให้ชาวบ้านตำบลสะเอียบ ต้องยืนยันคัดค้านเขื่อนยมบนเขื่อนยมล่างเช่นเดียวกันกับที่เคยคัดค้านเขื่อนแก่งเสือเต้น ที่มีมายาวนานกว่า 24 ปี
นายสมมิ่ง ยังได้กล่าวว่า “ทางกรมชลประทานได้เลือกจุดที่จะสร้างเขื่อนยมล่างห่างจากตำบลสะเอียบออกมา 5 กิโลเมตร เพื่อหวังว่าชาวสะเอียบจะหมดความชอบธรรมในการคัดค้าน และง่ายต่อการไปทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ตำบลเตาปูน ทั้งยังไปหลอกให้ชาวบ้านเตาปูนให้สนับสนุนเขื่อน โดยจะผันน้ำขึ้นไปใส่อ่างแม่สอง จะได้ทำนาได้ทั้งปี อันเป็นการสร้างความแตกแยกให้กับชาวบ้านทั้งสองตำบล ตนจึงขอให้ทั้งนายปลอดประสพ และกรมชลประทาน ยุติพฤติกรรมการสร้างความแตกแยกให้กับชาวบ้านทั้งสองตำบล และไม่ควรสร้างความหวังลมๆแล้ง ให้กับชาวบ้าน ต.เตาปูน” นายสมมิ่งกล่าว
อีกทั้งสายข่าวในจังหวัดแพร่ยังแจ้งมาว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ได้สั่งการให้ระดมคนแพร่นับหมื่นคนมาร่วมสนับสนุนโครงการเขื่อนยมบนและเขื่อนยมล่าง ในเดือนกันยายนนี้ แต่ยังไม่ทราบกำหนดการ วันเวลา สถานที่ ที่ชัดเจน ตามคำสั่งของนายปลอดประสพ ที่มาตรวจราชการจังหวัดแพร่ เมื่อเดือนที่ผ่านมา เพื่อให้ครบขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และให้เป็นไปตามคำสั่งของศาลปกครอง
เมื่อชาวบ้านสะเอียบได้ทราบข่าว ชาวบ้านจึงได้มีมติให้สร้างเพิงที่พักเพื่อเป็นจุดเฝ้าเวนยามระวังรัฐภัย และเพิ่มเวนยามให้มากขึ้น เพื่อป้องกันผู้ไม่หวังดีที่จะเข้ามาสำรวจจุดหัวงานการสร้างเขื่อนตามนโยบายของ กบอ. โดยได้เพิ่มจุดเวนยามที่บริเวณสวนป่าแม่แฮด ที่เป็นจุดหัวงานของเขื่อนยมล่าง และที่บริเวณบ้านสามหลัง ทางเข้าหัวงานเขื่อนแก่งเสือเต้น จากเดิมที่มีอยู่แล้วสองจุดเป็นสี่จุด
ด้านนายสมาน สร้อยเงิน ชาวบ้านบ้านดอนชัยสักทอง หมู่ 9 ต.สะเอียบ กล่าวว่า “เราต้องเพิ่มจุดเฝ้าระวังให้มากขึ้น เพื่อปกป้องชุมชนของเรา ปกป้องป่าสักทองเพื่อคนไทยทั้งชาติ พวกเราทุกบ้านทุกหลังคาเรือนต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาเฝ้าเวนยาม ต้องออกค่าใช้จ่ายกันเอง ห่อข้าวมากินกันเอง ถ้าเราไม่ทำวันนี้วันหน้าเราอาจทุกข์หนักมากกว่านี้ อยากบอกให้นายปลอดประสพ และ กบอ. เปลี่ยนใจ ยุติการสร้างเขื่อนเสีย หันมาใช้แนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง 12 แนวทางตามที่ชุมชนสะเอียบเราเสนอ จะได้ไม่ทำลายธรรมชาติ ไม่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และยังเป็นประโยชน์ต่อชาวบ้านและชุมชนอีกด้วย” นายสมาน กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีการเชิญตัวเจ้าหน้าที่ Google Maps Street View ไปสาบานว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสำรวจเขื่อนนั้น เป็นอย่างไรบ้าง นายวิชัย รักษาพล ประธานคณะกรรมการคัดค้านเขื่อน บ้านดอนชัย ต.สะเอียบ กล่าวว่า “จากการตรวจสอบของเราพบว่าเมื่อ Google ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสำรวจเพื่อการสร้างเขื่อน เราก็ได้ออกแถลงการณ์ขอโทษไปแล้ว และหวังว่าสังคมจะเข้าใจเรา เพราะในพื้นที่มีความตรึงเครียดจากการคุกคามของภัยเขื่อนเป็นอย่างมาก ส่วนสังคม online จะด่าว่าอย่างไรเราก็ขอน้อมรับ แต่เราก็ขอความเห็นใจว่าเราต้องปกป้องป่าสักทอง ปกป้องบ้านเกิดเมืองนอนของเรา และคงต้องใช้มาตรการสะเอียบ กฎระเบียบของชุมชนของเราต่อไป” นายวิชัย กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ชาวสะเอียบได้มีการอบรมซักซ้อมหน่วยเวนยามในการใช้ท่าทีที่อ่อนน้อม ในการเข้าไปสอบถามผู้คนหรือหน่วยงานที่ผ่านเข้ามายังจุดที่ชาวบ้านเฝ้าเวนยามอยู่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความเข้าใจผิด และยืนยันที่จะใช้มาตรการสะเอียบ ซึ่งเป็นกฎระเบียบของชุมชนต่อไปอย่างเข้มแข็ง
มีรายงานว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีกระแสข่าวว่า นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในคำสั่งเปลี่ยนแปลงการมอบหมายงาน เพื่อให้รองนายกรัฐมนตรีดูแล โดย นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเข้ามาดูแลงานในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แทนที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งนั่งเป็นประธาน คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย(กบอ.) จนทำให้เกิดข้อสงสัยว่า รัฐบาลต้องการเปลี่ยนตัวบุคคลเพื่อมาดูแลโครงการจัดการน้ำ มูลค่ากว่า 3.5 แสนล้านบาทหรือไม่
สำหรับการลงพื้นที่เพื่อรับฟังเสียงประชาชน ใน 39 จังหวัด ประกอบด้วย 1.พื้นที่ต้นน้ำ มี 10 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย และเพชรบูรณ์ และส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำ 16 แห่ง ก่อสร้างพื้นที่ปิดล้อม 3 จังหวัด รวม 18 แห่ง ก่อสร้างแก้มลิง 1 จังหวัด ใน 3 ตำบล และโครงการขยายคลอง 2 จังหวัด ใน 3 อำเภอ
2.พื้นที่กลางน้ำ มี 16 จังหวัด คือ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา สระบุรี อ่างทอง ลพบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี โดยมีโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ 3 แห่ง ก่อสร้างพื้นที่ปิดล้อม 7 จังหวัด 14 แห่ง ก่อสร้างแก้มลิง 3 จังหวัด และโครงการขยายคลอง-แม่น้ำ 12 จังหวัด
3.พื้นที่ปลายน้ำ 10 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี และจันทบุรี โดยมีโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ 3 แห่ง ก่อสร้างพื้นที่ปิดล้อม 4 จังหวัด 7 แห่ง และการขยายคลอง 7 จังหวัด
4.พื้นที่ภาคอีสาน 2 จังหวัด คือชัยภูมิและสกลนคร ซึ่งมีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง และก่อสร้างพื้นที่ปิดล้อม 1 จังหวัด 1 แห่ง และ 5.ภาคใต้ คือ จ.สงขลา อย่างไรก็ตาม สบอช.และ กบอ.มีแผนลงพื้นที่รับฟังความเห็นจากประชาชนเพิ่มเติมในจังหวัดอื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือจาก 39 จังหวัดข้างต้นด้วย
อีกด้านที่สถาบันพัฒนาภาวะผู้นำการปกครองส่วนท้องถิ่น (สพท) ได้มีการจัดเสวนาเรื่อง “ระบบนิติรัฐกับทางออกของประเทศไทย” โดยมีนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ มาเป็นองค์ปาฐก กล่าวตอนหนึ่งว่า ที่น่าหงุดหงิดคือ โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท เรื่องนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยตั้งแต่เดือน ก.พ.55 เมื่อครั้งขอออกเป็น พ.ร.ก.ถือว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ พ.ร.ก.ดังกล่าวออกเป็นพ.ร.บ.แล้ว โดยมาตรา 3 เขียนให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และในวรรคหนึ่งกำหนดให้การกู้ต้องทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิ.ย.56 แต่จนถึงขณะนี้มีคำยืนยันจากรองปลัดกระทรวงการคลังว่าไปเซ็นสัญญากับ4 ธนาคารแล้ว มีคำถามว่าการกู้เงินตามพ.ร.บ.กำหนดให้ต้องทำให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิ.ย. 56 การเซ็นสัญญากับธนาคารแล้วว่าถือว่าเป็นกู้หรือยัง ซึ่งตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เขียนไว้ว่าสัญญานี้จะบริบูรณ์เมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม แต่ตอนนี้ถ้าเป็นไปตามที่รองปลัดกระทรวงการคลังบอกว่ายังไม่มีการส่งมอบเงิน จึงเท่ากับว่ายังไม่มีการกู้เงินเกิดขึ้น ปัญหาคือ ถ้าหลังจากเดือนมิ.ย.แล้วธนาคารจะเสี่ยงกล้าให้เงินกับรัฐหรือไม่ เพราะถ้ายึดตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การเสี่ยงให้เงินของธนาคารก็อาจนำมาสู่การไม่ได้รับเงินต้นคืนและดอกเบี้ย ขณะเดียวกัน รัฐจะเข้าข่ายทำผิดกฎหมาย
“ ผมเป็นห่วงบริษัทอิตาเลียนไทย และเค.วอเตอร์ ไม่ทราบว่าเกาหลีมีแห้วขายไหม ผมแนะนำว่าหากรัฐทวงเงินกู้ตามสัญญาจากธนาคาร วิธีที่ดีที่สุดสำหรับธนาคารคือไม่ส่งมอบเงินให้กับกระทรวงการคลัง แล้วให้กระทรวงการคลังไปฟ้องแพ่งเอา เพราะถ้าให้ก็ไม่แน่ว่าจะได้เงินคืน” นายวสันต์ กล่าว
อีกด้านนายแก้วสรร อติโพธิ แกนนำไทยสปริง กล่าวอภิปราย ในหัวข้อเรื่อง “วิพากษ์กฎหมายไทยเป็นที่พึงของประชานได้หรือไม่”ว่า ตอนนี้มีปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ปัญหากฎหมายการเงิน การจะสร้างเมกกะโปรเจกและปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่โปร่งใส ในส่วนของโครงการบริหารจัดการน้ำ หลังจากที่อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญออกมาชี้ให้เห็นแล้วในหลายๆประเด็นที่รัฐบาลกำลังทำผิดกฎหมาย ดังนั้นเราจะดำเนินตามกระบวนการของกฎหมายต่อไป อย่างเช่นเรื่องโครงการน้ำ 3.5 แสนล้าน ก็จะนำไปฟ้องศาลปกครอง
นายสมเกียรติ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าจนปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาว่าแผนบริหารจัดการน้ำทั้ง 9 โมดูล ซึ่งประกอบด้วยเขื่อนกว่า 20 แห่ง ฟลัดเวย์ และโครงสร้างอื่นๆ จะสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้จริง ในขณะที่มีความกังวลว่าผลกระทบจะเกิดขึ้นในวงกว้าง ดังนั้นกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะชุมชนที่จะได้รับผลกระทบ ตลอดจนภาควิชาการ จึงเป็นสิ่งจำเป็นย่างยิ่ง เพื่อที่จะนำความคิดเห็นและข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจนโยบายสาธารณะครั้งนี้ เครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือขอเรียกร้องให้การจัดทำประชาพิจารณ์ครั้งสำคัญนี้เป็นกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยจัดเวทีย่อยในระดับพื้นที่เพื่อให้ชาวบ้านสามารถเข้าร่วมได้ มีการเปิดเวทีที่เป็นภาษาท้องถิ่นสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับผลกระทบ และมีการแจกจ่ายข้อมูลโครงการล่วงหน้าเพื่อให้ชาวบ้านสามารถศึกษาทำความเข้าใจก่อนร่วมเวที
มีรายงานว่า วันที่ 9 ก.ย.นี้มูลนิธิสืบนาคะเสถียร และองค์กรเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม จะเดินทางไปยัง สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพโครงการเขื่อนแม่วงก์ ของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ด้านพัฒนาแหล่งน้ำ เนื่องจากเป็นรายงานที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญในการพิจารณารายงานฉบับนี้ รัฐบาลปรับเปลี่ยนบุคลากรของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะกรรมการผู้ชำนาญการอย่างน่าสงสัย โดยการโยกย้ายตำแหน่งจำนวนมาก รวมถึงการปรับโครงสร้างองค์ประกอบให้ไม่มีผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม และผู้แทนประจำของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ซึ่งเป็นความผิดปกติ
จากสถานการณ์การเดินหน้าผลักดันโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ทั้งๆที่มีข้อท้วงติงในเรื่องผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าไม้ และแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมีแนวโน้มจะผ่านรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(อีเอชไอเอ) ในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งเป็นการกระทำที่ละเลยผลกระทบต่างๆ อีกทั้ง ยังเป็นรายงานที่ไม่ได้ให้ความจริงใจในการศึกษาทางเลือกในการพัฒนาแหล่งน้ำด้วยวิธีอื่นๆ รวมถึงการกำหนดปัจจัยและตัวแปรในการคัดเลือกที่ตั้งหัวงานเขื่อน โดยใช้เทคนิคกำหนดตัวแปรที่เบี่ยงเบนน้ำหนักของการเลือกที่ตั้ง ให้มาก่อสร้างในป่าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และยังละเลยข้อมูลความสำคัญของพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ซึ่งเป็นพื้นที่ในผืนป่าตะวันตกที่เป็นป่าต่อเนื่องกับพื้นที่มรดกโลกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ทุ่งใหญ่นเรศวร รวมถึงอุทยานแห่งชาติคลองลาน ที่เป็นป่าใหญ่อุดมสมบูรณ์ไม่มีการรบกวนระบบนิเวศสัตว์ป่าโดยที่ตั้งของชุมชน จึงทำให้มีศักยภาพในการแพร่กระจายสัตว์ป่าจากพื้นที่หนึ่งไปยังพื้นที่หนึ่ง
นายสมมิ่ง เหมืองร้อง ประธานคณะกรรมการคัดค้านเขื่อน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า ตนได้ทราบข่าวจากพักพวกที่อยู่ตำบลเตาปูนว่า ทางกรมชลประธานได้เข้าไปกล่อมให้ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลเตาปูน อ.สอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จะสร้างเขื่อนยมล่าง ที่ห่างจากตำบลสะเอียบออกมาเพียง 5 กิโลเมตร แต่อ่างเก็บน้ำของเขื่อนยมล่าง จะทะลักท่วมเข้าไปยังป่าสักทองในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ยม ต.สะเอียบ อ.สอง ถึง 34.5 กิโลเมตร ไปจนถึงบ้านดอนชัยสักทอง และท่วมที่ทำกินของชาวบ้านทั้ง 4 หมู่บ้าน อันเป็นเหตุให้ชาวบ้านตำบลสะเอียบ ต้องยืนยันคัดค้านเขื่อนยมบนเขื่อนยมล่างเช่นเดียวกันกับที่เคยคัดค้านเขื่อนแก่งเสือเต้น ที่มีมายาวนานกว่า 24 ปี
นายสมมิ่ง ยังได้กล่าวว่า “ทางกรมชลประทานได้เลือกจุดที่จะสร้างเขื่อนยมล่างห่างจากตำบลสะเอียบออกมา 5 กิโลเมตร เพื่อหวังว่าชาวสะเอียบจะหมดความชอบธรรมในการคัดค้าน และง่ายต่อการไปทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ตำบลเตาปูน ทั้งยังไปหลอกให้ชาวบ้านเตาปูนให้สนับสนุนเขื่อน โดยจะผันน้ำขึ้นไปใส่อ่างแม่สอง จะได้ทำนาได้ทั้งปี อันเป็นการสร้างความแตกแยกให้กับชาวบ้านทั้งสองตำบล ตนจึงขอให้ทั้งนายปลอดประสพ และกรมชลประทาน ยุติพฤติกรรมการสร้างความแตกแยกให้กับชาวบ้านทั้งสองตำบล และไม่ควรสร้างความหวังลมๆแล้ง ให้กับชาวบ้าน ต.เตาปูน” นายสมมิ่งกล่าว
อีกทั้งสายข่าวในจังหวัดแพร่ยังแจ้งมาว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ได้สั่งการให้ระดมคนแพร่นับหมื่นคนมาร่วมสนับสนุนโครงการเขื่อนยมบนและเขื่อนยมล่าง ในเดือนกันยายนนี้ แต่ยังไม่ทราบกำหนดการ วันเวลา สถานที่ ที่ชัดเจน ตามคำสั่งของนายปลอดประสพ ที่มาตรวจราชการจังหวัดแพร่ เมื่อเดือนที่ผ่านมา เพื่อให้ครบขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และให้เป็นไปตามคำสั่งของศาลปกครอง
เมื่อชาวบ้านสะเอียบได้ทราบข่าว ชาวบ้านจึงได้มีมติให้สร้างเพิงที่พักเพื่อเป็นจุดเฝ้าเวนยามระวังรัฐภัย และเพิ่มเวนยามให้มากขึ้น เพื่อป้องกันผู้ไม่หวังดีที่จะเข้ามาสำรวจจุดหัวงานการสร้างเขื่อนตามนโยบายของ กบอ. โดยได้เพิ่มจุดเวนยามที่บริเวณสวนป่าแม่แฮด ที่เป็นจุดหัวงานของเขื่อนยมล่าง และที่บริเวณบ้านสามหลัง ทางเข้าหัวงานเขื่อนแก่งเสือเต้น จากเดิมที่มีอยู่แล้วสองจุดเป็นสี่จุด
ด้านนายสมาน สร้อยเงิน ชาวบ้านบ้านดอนชัยสักทอง หมู่ 9 ต.สะเอียบ กล่าวว่า “เราต้องเพิ่มจุดเฝ้าระวังให้มากขึ้น เพื่อปกป้องชุมชนของเรา ปกป้องป่าสักทองเพื่อคนไทยทั้งชาติ พวกเราทุกบ้านทุกหลังคาเรือนต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาเฝ้าเวนยาม ต้องออกค่าใช้จ่ายกันเอง ห่อข้าวมากินกันเอง ถ้าเราไม่ทำวันนี้วันหน้าเราอาจทุกข์หนักมากกว่านี้ อยากบอกให้นายปลอดประสพ และ กบอ. เปลี่ยนใจ ยุติการสร้างเขื่อนเสีย หันมาใช้แนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง 12 แนวทางตามที่ชุมชนสะเอียบเราเสนอ จะได้ไม่ทำลายธรรมชาติ ไม่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และยังเป็นประโยชน์ต่อชาวบ้านและชุมชนอีกด้วย” นายสมาน กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีการเชิญตัวเจ้าหน้าที่ Google Maps Street View ไปสาบานว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสำรวจเขื่อนนั้น เป็นอย่างไรบ้าง นายวิชัย รักษาพล ประธานคณะกรรมการคัดค้านเขื่อน บ้านดอนชัย ต.สะเอียบ กล่าวว่า “จากการตรวจสอบของเราพบว่าเมื่อ Google ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสำรวจเพื่อการสร้างเขื่อน เราก็ได้ออกแถลงการณ์ขอโทษไปแล้ว และหวังว่าสังคมจะเข้าใจเรา เพราะในพื้นที่มีความตรึงเครียดจากการคุกคามของภัยเขื่อนเป็นอย่างมาก ส่วนสังคม online จะด่าว่าอย่างไรเราก็ขอน้อมรับ แต่เราก็ขอความเห็นใจว่าเราต้องปกป้องป่าสักทอง ปกป้องบ้านเกิดเมืองนอนของเรา และคงต้องใช้มาตรการสะเอียบ กฎระเบียบของชุมชนของเราต่อไป” นายวิชัย กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ชาวสะเอียบได้มีการอบรมซักซ้อมหน่วยเวนยามในการใช้ท่าทีที่อ่อนน้อม ในการเข้าไปสอบถามผู้คนหรือหน่วยงานที่ผ่านเข้ามายังจุดที่ชาวบ้านเฝ้าเวนยามอยู่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความเข้าใจผิด และยืนยันที่จะใช้มาตรการสะเอียบ ซึ่งเป็นกฎระเบียบของชุมชนต่อไปอย่างเข้มแข็ง
มีรายงานว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีกระแสข่าวว่า นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในคำสั่งเปลี่ยนแปลงการมอบหมายงาน เพื่อให้รองนายกรัฐมนตรีดูแล โดย นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเข้ามาดูแลงานในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แทนที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งนั่งเป็นประธาน คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย(กบอ.) จนทำให้เกิดข้อสงสัยว่า รัฐบาลต้องการเปลี่ยนตัวบุคคลเพื่อมาดูแลโครงการจัดการน้ำ มูลค่ากว่า 3.5 แสนล้านบาทหรือไม่
สำหรับการลงพื้นที่เพื่อรับฟังเสียงประชาชน ใน 39 จังหวัด ประกอบด้วย 1.พื้นที่ต้นน้ำ มี 10 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย และเพชรบูรณ์ และส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำ 16 แห่ง ก่อสร้างพื้นที่ปิดล้อม 3 จังหวัด รวม 18 แห่ง ก่อสร้างแก้มลิง 1 จังหวัด ใน 3 ตำบล และโครงการขยายคลอง 2 จังหวัด ใน 3 อำเภอ
2.พื้นที่กลางน้ำ มี 16 จังหวัด คือ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา สระบุรี อ่างทอง ลพบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี โดยมีโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ 3 แห่ง ก่อสร้างพื้นที่ปิดล้อม 7 จังหวัด 14 แห่ง ก่อสร้างแก้มลิง 3 จังหวัด และโครงการขยายคลอง-แม่น้ำ 12 จังหวัด
3.พื้นที่ปลายน้ำ 10 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี และจันทบุรี โดยมีโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ 3 แห่ง ก่อสร้างพื้นที่ปิดล้อม 4 จังหวัด 7 แห่ง และการขยายคลอง 7 จังหวัด
4.พื้นที่ภาคอีสาน 2 จังหวัด คือชัยภูมิและสกลนคร ซึ่งมีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง และก่อสร้างพื้นที่ปิดล้อม 1 จังหวัด 1 แห่ง และ 5.ภาคใต้ คือ จ.สงขลา อย่างไรก็ตาม สบอช.และ กบอ.มีแผนลงพื้นที่รับฟังความเห็นจากประชาชนเพิ่มเติมในจังหวัดอื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือจาก 39 จังหวัดข้างต้นด้วย
อีกด้านที่สถาบันพัฒนาภาวะผู้นำการปกครองส่วนท้องถิ่น (สพท) ได้มีการจัดเสวนาเรื่อง “ระบบนิติรัฐกับทางออกของประเทศไทย” โดยมีนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ มาเป็นองค์ปาฐก กล่าวตอนหนึ่งว่า ที่น่าหงุดหงิดคือ โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท เรื่องนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยตั้งแต่เดือน ก.พ.55 เมื่อครั้งขอออกเป็น พ.ร.ก.ถือว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ พ.ร.ก.ดังกล่าวออกเป็นพ.ร.บ.แล้ว โดยมาตรา 3 เขียนให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และในวรรคหนึ่งกำหนดให้การกู้ต้องทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิ.ย.56 แต่จนถึงขณะนี้มีคำยืนยันจากรองปลัดกระทรวงการคลังว่าไปเซ็นสัญญากับ4 ธนาคารแล้ว มีคำถามว่าการกู้เงินตามพ.ร.บ.กำหนดให้ต้องทำให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิ.ย. 56 การเซ็นสัญญากับธนาคารแล้วว่าถือว่าเป็นกู้หรือยัง ซึ่งตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เขียนไว้ว่าสัญญานี้จะบริบูรณ์เมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม แต่ตอนนี้ถ้าเป็นไปตามที่รองปลัดกระทรวงการคลังบอกว่ายังไม่มีการส่งมอบเงิน จึงเท่ากับว่ายังไม่มีการกู้เงินเกิดขึ้น ปัญหาคือ ถ้าหลังจากเดือนมิ.ย.แล้วธนาคารจะเสี่ยงกล้าให้เงินกับรัฐหรือไม่ เพราะถ้ายึดตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การเสี่ยงให้เงินของธนาคารก็อาจนำมาสู่การไม่ได้รับเงินต้นคืนและดอกเบี้ย ขณะเดียวกัน รัฐจะเข้าข่ายทำผิดกฎหมาย
“ ผมเป็นห่วงบริษัทอิตาเลียนไทย และเค.วอเตอร์ ไม่ทราบว่าเกาหลีมีแห้วขายไหม ผมแนะนำว่าหากรัฐทวงเงินกู้ตามสัญญาจากธนาคาร วิธีที่ดีที่สุดสำหรับธนาคารคือไม่ส่งมอบเงินให้กับกระทรวงการคลัง แล้วให้กระทรวงการคลังไปฟ้องแพ่งเอา เพราะถ้าให้ก็ไม่แน่ว่าจะได้เงินคืน” นายวสันต์ กล่าว
อีกด้านนายแก้วสรร อติโพธิ แกนนำไทยสปริง กล่าวอภิปราย ในหัวข้อเรื่อง “วิพากษ์กฎหมายไทยเป็นที่พึงของประชานได้หรือไม่”ว่า ตอนนี้มีปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ปัญหากฎหมายการเงิน การจะสร้างเมกกะโปรเจกและปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่โปร่งใส ในส่วนของโครงการบริหารจัดการน้ำ หลังจากที่อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญออกมาชี้ให้เห็นแล้วในหลายๆประเด็นที่รัฐบาลกำลังทำผิดกฎหมาย ดังนั้นเราจะดำเนินตามกระบวนการของกฎหมายต่อไป อย่างเช่นเรื่องโครงการน้ำ 3.5 แสนล้าน ก็จะนำไปฟ้องศาลปกครอง