กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน นับเป็นอีกเครื่องมือหนึ่ง ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) มุ่งหวังให้มีการจัดตั้งกองทุนประเภทนี้ออกมาเพิ่มทางเลือกนักลงทุน ซึ่งกองทุนรวม บีทีเอสโกรท นับเป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานกองทุนแรกของประเทศไทย และเป็นหนึ่งใน IPO ที่มีมูลค่าการเสนอขายสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมีมูลค่าสูงถึง 62,500 ล้านบาท
ข่าวการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานในรูปแบบอื่นๆ เริ่มเปิดเผยออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบกองทุนโครงสร้างพื้นฐานในรูปพลังงาน และในรูปโทรคมนาคม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ **บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE)** นั่นเอง
**นพปฎล เดชอุดม หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มด้านการเงิน ทรู คอร์ปอเรชั่น** เปิดบ้านให้** ASTV ผู้จัดการ** เข้ามาพูดคุยถึงเรื่องดังกล่าวอย่างละเอียด ทั้งความคืบหน้าในการจัดตั้งกองทุนฯ รวมทั้งแผนและเป้าหมายในอนาคตของ ทรู คอร์ป ว่า กองทุนโครงสร้างพื้นฐานของทรูฯ ตอนนี้ได้รับอนุมัติจาก ก.ล.ต. แล้ว และมองว่ากองทุนฯแบบนี้ มันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ เพราะเมืองไทยยังจำเป็นต้องมีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานอีกเยอะ
**“หลักใหญ่คือโครงสร้างพื้นฐานที่จะสามารถอนุมัติให้ใส่เข้าไปในกองทุนฯ ได้โดยส่วนใหญ่จะเน้นไปที่โครงสร้างพื้นฐานที่สามารถจะมีหลาย operator เข้ามาใช้ร่วมกันได้ เพราะทุกวันนี้แต่ละ operator ต้องลงทุนสร้างเองทั้งหมด ใช้ทุนสูง แต่หากเป็นกองทุนเสา 1 ต้นสามารถรองรับตัวผู้ให้บริการได้หลายราย รวมถึงไฟเบอร์ออปติก ซึ่งทุกอย่างที่จริงสามารถใช้ร่วมกันได้”**
“ภาพรวมการตั้งกองทุนฯว่ามันดีสำหรับประเทศ รัฐบาลถึงมีนโยบายให้ไม่ต้องจ่ายภาษีในแง่ของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ แต่ก็บังคับกองทุนฯห้ามเก็บเงินไว้ ต้องจ่ายคืนให้หน่วยลงทุน 90% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายภายในแล้ว ทำไมเราไม่เอามาแชร์กัน ผมไปคุยกับคนอื่นเขาก็มีปัญหาที่แตกต่างไม่เหมือนของเรา”
**กรณีปัญหากับกสท.เรื่องเสาสัญญาณ
ผู้บริหาร ทรู คอร์ป อธิบายว่า ตั้งแต่กลุ่มทรูเข้ามาดำเนินธุรกิจนี้ เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ได้มีการวิเคราะห์จ้างสำนักงานทนาย ทำการประเมินราคามูลค่าสินทรัพย์อย่างชัดเจน ว่าจะต้องโอนอุปกรณ์โทรคมนาคมอะไรบ้างให้กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT) ก่อนจะเริ่มโอเปอร์เรต เรียกว่า BTO (Build-Transfer-Operate) และสิ่งที่มันชัดเจน อีกเหมือนกันคือว่าเสามันไม่ใช่อุปกรณ์ที่บริษัทต้องโอน แต่เพิ่งจะมามีคำถามกันเมื่อ 3-4 ปีที่แล้วเรื่องเสา ทาง CAT Telecom ก็ถามว่าที่ผ่านมา 5-6 ปีทำไมถึงไม่ไปโอนเสา เพราะในต่างประเทศมันมีมูลค่าสูงมาก เรื่องดังกล่าวถูกนำเข้าอนุญาโตตุลาการพิจารณาว่าเราชัดเจนตั้งแต่วันแรกแล้ว ว่าเสาไม่ใช่อุปกรณ์โทรคมนาคมที่ต้องโอนคืน
**“ใน กทม. เราให้บริการอย่างครบถ้วนโดยเฉพาะ 3G เรามีเสาอยู่เยอะมาก เสามันไม่มีอะไรเพราะจริงๆ เราไปติดไว้ข้างตึก แต่ถ้าเราต้องโอนเสา เราไม่ต้องโอนตึกให้ด้วยเหรอ เรามี 800 ตึกที่ไปเช่าติดไว้และจ่ายเงินค่าเช่าให้ ผมอยากจะสร้างเสาผมต้องไปขออนุญาตกรมการบินพาณิชย์ ไปขออนุญาต กทม. ก่อน ผมสร้างขึ้นไปแล้วผมจะปักธงประเทศไทยหรือจะเอารูปผมไปแขวนก็ได้ มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามันเป็นอุปกรณ์โทรคมนาคม
เช่นถ้าเราให้บริการ 2G เราต้องเอาเอ็นเธนน่าคือเสาอากาศที่ขึ้นไปแขวนบนนั้นโอนให้ กสท ไปเลย รวมถึงสายออปติกที่เชื่อมลงมาที่เบส และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เราก็โอนหมดเลย แต่ไม่ได้โอนเสา เพราะมันไม่ใช่อุปกรณ์โทรคมนาคม ด้านภาครัฐ มองว่าเสาถือเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ คือสิ่งที่เขาทำการโต้แย้งมาตลอดว่านี่มันเป็นภาวะเขาต้องพึ่งพา แต่มันก็สุดแล้วแต่ใครจะมอง ทรูก็เอาตามสัญญาตามกฏหมายของบริษัท เพราะสัญญาสัมปทานเขียนไม่เหมือนกัน ค่ายอื่นก็เป็นอีกแบบหนึ่ง ทีนี้จะมาใช้รายละเอียดสัญญาของอีกค่ายกับบริษัทไม่ได้เพราะเขียนต่างกัน ในขั้นอนุญาโตตุลาการาตัดสินไปแล้ว จบไปแล้วคือยกฟ้อง เช่นเดียวกับ DPC อันนั้นก็จบไปแล้ว ยกฟ้องเช่นกัน”**
***ความคืบหน้าล่าสุด
ผู้บริหาร ทรู คอร์ป กล่าวว่า ตอนนี้บอร์ดของทรูฯตัดสินและทำไฟล์ลิ่งแจ้งก.ล.ต.ไปแล้วว่าจะเป็นอุปกรณ์เหล่านี้ แต่ผลยังไม่สรุป คืออาจมีบางพื้นที่ ที่บริษัทจะไม่เอาเข้ากองทุนฯ ตอนนี้กำลังศึกษา โดยปัจจุบันยังเป็นไปตามเดิม คือกองทุนฯจะมีมูลค่าประมาณ 70,000 ล้านบาท จากเสาโทรคมนาคม 7,000 ต้น และโครงข่ายใยแก้วนำแสงของบริษัทย่อย ที่ไม่อยู่ภายใต้สัมปทาน แต่ต้องขึ้นอยู่กับสภาวะตลาด แต่ตอนนี้กำลังทดสอบกับนักลงทุนอยู่ว่าเรื่องเสาที่มีข้อพิพาทโต้แย้งกันมันจบไปแล้ว นักลงทุนจะมองเช่นไร แต่ถ้าเกิด CAT จะฟ้องร้องต่อแล้วนักลงทุนจะคิดยังไง
**“กองทุนฯนี้ไม่ใช่ของทรู เขาบังคับเลยนะว่าห้ามไม่ให้กลุ่มทรูและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของทรู รวมถึง CP Group ด้วยสามารถถือหุ้นในกองทุนรวมกันเกินกว่า 1 ใน 3 ของมูลค่าทั้งหมด ก.ล.ต. บังคับไม่ให้ทั้ง เครือเข้าไปมีอิทธิพลเหนือกองทุน ทรูเองก็ไม่ได้เป็นผู้บริหารจัดการกองทุนด้วย แต่ต้องให้บริษัทบริหารจัดการกองทุน(บลจ.) ที่ได้รับใบอนุญาตจาก ก.ล.ต. เป็นผู้บริหารจัดการกองทุนนี้ เราไม่มีสิทธิเลยนอกจากเป็นแค่ผู้ถือหุ้นคนหนึ่ง โดยในประเทศ คือ บลจ. ไทยพาณิชย์ ถ้าต่างประเทศก็จะมีเครดิตสวิส กับ ยูบีเอส”**
***โมเดลธุรกิจกองทุนฯเสาสัญญาณ
นพปฎล ฉายภาพกองทุนฯ ว่า มีลักษณะคล้าย property fund บริษัทเป็นผู้ขอเช่าเสา เอาอุปกรณ์ไปแขวน ผู้บริหารกองทุนฯ จะไปขายพื้นที่หรือให้ผู้ประกอบการรายอื่นมาใช้เสาด้วยก็ได้ เพียงแต่ต้องมีการบำรุงรักษาตามมาตรฐานสากล รวมถึงเรื่องไฟเบอร์ออปติก ทรานส์มิชชั่นด้วย
“ผมขอยกตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่ง ผมเป็นทรู ผมก็เอาเสาอากาศมาแขวน และผมก็ให้ผลตอบแทนกองทุนอยู่แล้ว เช่น ปัจจุบันผมจ่ายเงินค่าเช่าอยู่สมมุติว่า 100 บาท กองทุนลงทุนไปแล้วไม่มีค่าใช้จ่ายอะไร อาจจะมีหักนิดหน่อยก็ได้กำไรไป สมมุติกำไร 60 บาท กองทุนต้องปันผลให้ 90% ของ 60 บาท แล้วลองคิดต่อแล้วกันว่า หากมีผู้เช่ารายที่ 2 เอาขึ้นมาแขวนด้วย ถามว่ากองทุนมีต้นทุนเพิ่มไหม ไม่มี แต่รายที่2 ไม่มีสิทธิที่จะมาจ่ายต่ำกว่าผมนะ ดังนั้นเมื่อเขามาจ่าย 100 บาท นั่นหมายความว่ากองทุนจะมีกำไรอีก 100 บาท รวม 160 บาท ไฟเบอร์ออปติกก็เหมือนกันเพราะมันอยู่ในดินอยู่แล้ว คุณจะใช้เพิ่มมันก็ไม่มีต้นทุนผันแปรเพิ่มตามที่คนมาซื้อ มันไม่เหมือนกับการผลิตเทป คนมาใช้เพิ่มรายได้ของกองทุนที่เพิ่มขึ้นคือกำไร ตรงนี้คือที่คนยังไม่เห็นกันอย่างชัดเจน”
***เป้าหมายหลักลดภาระดบ.8พันล./ปี
นพปฎล กล่าวเพิ่มเติมว่า การตั้งกองทุนฯแปลว่าทรูฯขายทรัพย์สินที่เป็น core เข้าไปในกองทุน ทรูจะได้เงินมาก้อนหนึ่ง โดยส่วนใหญ่ของเงินก้อนนี้จะเอาไปลดหนี้ทันที โดยมีแผนลดหนี้ลงมาจนถึงจุดที่ทุกคนสบายใจว่าทรูก็มีหนี้เท่ากับคู่แข่งและไม่ได้สูงเกินไป เพราะการลดหนี้คือการเพิ่มมูลค่าหุ้นให้กับผู้ถือหุ้นได้เร็วที่สุดปัจจุบันทรูจ่ายดอกเบี้ยอยู่ปีหนึ่ง7,000 -8,000 ล้านบาท พอลดหนี้ลงไปแล้วดอกเบี้ยเหล่านี้ก็เอาไปจ่ายเป็นเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นแทน โดยบริษัทพยายามกำหนดเป้าที่จะทำให้เสร็จภายในปีนี้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดด้วย เราต้องการลดค่าใช้จ่ายเรื่องดอกเบี้ยหายไป บริษัทก็น่าจะทำผลกำไร และจ่ายปันผลได้
ข่าวการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานในรูปแบบอื่นๆ เริ่มเปิดเผยออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบกองทุนโครงสร้างพื้นฐานในรูปพลังงาน และในรูปโทรคมนาคม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ **บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE)** นั่นเอง
**นพปฎล เดชอุดม หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มด้านการเงิน ทรู คอร์ปอเรชั่น** เปิดบ้านให้** ASTV ผู้จัดการ** เข้ามาพูดคุยถึงเรื่องดังกล่าวอย่างละเอียด ทั้งความคืบหน้าในการจัดตั้งกองทุนฯ รวมทั้งแผนและเป้าหมายในอนาคตของ ทรู คอร์ป ว่า กองทุนโครงสร้างพื้นฐานของทรูฯ ตอนนี้ได้รับอนุมัติจาก ก.ล.ต. แล้ว และมองว่ากองทุนฯแบบนี้ มันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ เพราะเมืองไทยยังจำเป็นต้องมีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานอีกเยอะ
**“หลักใหญ่คือโครงสร้างพื้นฐานที่จะสามารถอนุมัติให้ใส่เข้าไปในกองทุนฯ ได้โดยส่วนใหญ่จะเน้นไปที่โครงสร้างพื้นฐานที่สามารถจะมีหลาย operator เข้ามาใช้ร่วมกันได้ เพราะทุกวันนี้แต่ละ operator ต้องลงทุนสร้างเองทั้งหมด ใช้ทุนสูง แต่หากเป็นกองทุนเสา 1 ต้นสามารถรองรับตัวผู้ให้บริการได้หลายราย รวมถึงไฟเบอร์ออปติก ซึ่งทุกอย่างที่จริงสามารถใช้ร่วมกันได้”**
“ภาพรวมการตั้งกองทุนฯว่ามันดีสำหรับประเทศ รัฐบาลถึงมีนโยบายให้ไม่ต้องจ่ายภาษีในแง่ของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ แต่ก็บังคับกองทุนฯห้ามเก็บเงินไว้ ต้องจ่ายคืนให้หน่วยลงทุน 90% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายภายในแล้ว ทำไมเราไม่เอามาแชร์กัน ผมไปคุยกับคนอื่นเขาก็มีปัญหาที่แตกต่างไม่เหมือนของเรา”
**กรณีปัญหากับกสท.เรื่องเสาสัญญาณ
ผู้บริหาร ทรู คอร์ป อธิบายว่า ตั้งแต่กลุ่มทรูเข้ามาดำเนินธุรกิจนี้ เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ได้มีการวิเคราะห์จ้างสำนักงานทนาย ทำการประเมินราคามูลค่าสินทรัพย์อย่างชัดเจน ว่าจะต้องโอนอุปกรณ์โทรคมนาคมอะไรบ้างให้กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT) ก่อนจะเริ่มโอเปอร์เรต เรียกว่า BTO (Build-Transfer-Operate) และสิ่งที่มันชัดเจน อีกเหมือนกันคือว่าเสามันไม่ใช่อุปกรณ์ที่บริษัทต้องโอน แต่เพิ่งจะมามีคำถามกันเมื่อ 3-4 ปีที่แล้วเรื่องเสา ทาง CAT Telecom ก็ถามว่าที่ผ่านมา 5-6 ปีทำไมถึงไม่ไปโอนเสา เพราะในต่างประเทศมันมีมูลค่าสูงมาก เรื่องดังกล่าวถูกนำเข้าอนุญาโตตุลาการพิจารณาว่าเราชัดเจนตั้งแต่วันแรกแล้ว ว่าเสาไม่ใช่อุปกรณ์โทรคมนาคมที่ต้องโอนคืน
**“ใน กทม. เราให้บริการอย่างครบถ้วนโดยเฉพาะ 3G เรามีเสาอยู่เยอะมาก เสามันไม่มีอะไรเพราะจริงๆ เราไปติดไว้ข้างตึก แต่ถ้าเราต้องโอนเสา เราไม่ต้องโอนตึกให้ด้วยเหรอ เรามี 800 ตึกที่ไปเช่าติดไว้และจ่ายเงินค่าเช่าให้ ผมอยากจะสร้างเสาผมต้องไปขออนุญาตกรมการบินพาณิชย์ ไปขออนุญาต กทม. ก่อน ผมสร้างขึ้นไปแล้วผมจะปักธงประเทศไทยหรือจะเอารูปผมไปแขวนก็ได้ มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามันเป็นอุปกรณ์โทรคมนาคม
เช่นถ้าเราให้บริการ 2G เราต้องเอาเอ็นเธนน่าคือเสาอากาศที่ขึ้นไปแขวนบนนั้นโอนให้ กสท ไปเลย รวมถึงสายออปติกที่เชื่อมลงมาที่เบส และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เราก็โอนหมดเลย แต่ไม่ได้โอนเสา เพราะมันไม่ใช่อุปกรณ์โทรคมนาคม ด้านภาครัฐ มองว่าเสาถือเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ คือสิ่งที่เขาทำการโต้แย้งมาตลอดว่านี่มันเป็นภาวะเขาต้องพึ่งพา แต่มันก็สุดแล้วแต่ใครจะมอง ทรูก็เอาตามสัญญาตามกฏหมายของบริษัท เพราะสัญญาสัมปทานเขียนไม่เหมือนกัน ค่ายอื่นก็เป็นอีกแบบหนึ่ง ทีนี้จะมาใช้รายละเอียดสัญญาของอีกค่ายกับบริษัทไม่ได้เพราะเขียนต่างกัน ในขั้นอนุญาโตตุลาการาตัดสินไปแล้ว จบไปแล้วคือยกฟ้อง เช่นเดียวกับ DPC อันนั้นก็จบไปแล้ว ยกฟ้องเช่นกัน”**
***ความคืบหน้าล่าสุด
ผู้บริหาร ทรู คอร์ป กล่าวว่า ตอนนี้บอร์ดของทรูฯตัดสินและทำไฟล์ลิ่งแจ้งก.ล.ต.ไปแล้วว่าจะเป็นอุปกรณ์เหล่านี้ แต่ผลยังไม่สรุป คืออาจมีบางพื้นที่ ที่บริษัทจะไม่เอาเข้ากองทุนฯ ตอนนี้กำลังศึกษา โดยปัจจุบันยังเป็นไปตามเดิม คือกองทุนฯจะมีมูลค่าประมาณ 70,000 ล้านบาท จากเสาโทรคมนาคม 7,000 ต้น และโครงข่ายใยแก้วนำแสงของบริษัทย่อย ที่ไม่อยู่ภายใต้สัมปทาน แต่ต้องขึ้นอยู่กับสภาวะตลาด แต่ตอนนี้กำลังทดสอบกับนักลงทุนอยู่ว่าเรื่องเสาที่มีข้อพิพาทโต้แย้งกันมันจบไปแล้ว นักลงทุนจะมองเช่นไร แต่ถ้าเกิด CAT จะฟ้องร้องต่อแล้วนักลงทุนจะคิดยังไง
**“กองทุนฯนี้ไม่ใช่ของทรู เขาบังคับเลยนะว่าห้ามไม่ให้กลุ่มทรูและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของทรู รวมถึง CP Group ด้วยสามารถถือหุ้นในกองทุนรวมกันเกินกว่า 1 ใน 3 ของมูลค่าทั้งหมด ก.ล.ต. บังคับไม่ให้ทั้ง เครือเข้าไปมีอิทธิพลเหนือกองทุน ทรูเองก็ไม่ได้เป็นผู้บริหารจัดการกองทุนด้วย แต่ต้องให้บริษัทบริหารจัดการกองทุน(บลจ.) ที่ได้รับใบอนุญาตจาก ก.ล.ต. เป็นผู้บริหารจัดการกองทุนนี้ เราไม่มีสิทธิเลยนอกจากเป็นแค่ผู้ถือหุ้นคนหนึ่ง โดยในประเทศ คือ บลจ. ไทยพาณิชย์ ถ้าต่างประเทศก็จะมีเครดิตสวิส กับ ยูบีเอส”**
***โมเดลธุรกิจกองทุนฯเสาสัญญาณ
นพปฎล ฉายภาพกองทุนฯ ว่า มีลักษณะคล้าย property fund บริษัทเป็นผู้ขอเช่าเสา เอาอุปกรณ์ไปแขวน ผู้บริหารกองทุนฯ จะไปขายพื้นที่หรือให้ผู้ประกอบการรายอื่นมาใช้เสาด้วยก็ได้ เพียงแต่ต้องมีการบำรุงรักษาตามมาตรฐานสากล รวมถึงเรื่องไฟเบอร์ออปติก ทรานส์มิชชั่นด้วย
“ผมขอยกตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่ง ผมเป็นทรู ผมก็เอาเสาอากาศมาแขวน และผมก็ให้ผลตอบแทนกองทุนอยู่แล้ว เช่น ปัจจุบันผมจ่ายเงินค่าเช่าอยู่สมมุติว่า 100 บาท กองทุนลงทุนไปแล้วไม่มีค่าใช้จ่ายอะไร อาจจะมีหักนิดหน่อยก็ได้กำไรไป สมมุติกำไร 60 บาท กองทุนต้องปันผลให้ 90% ของ 60 บาท แล้วลองคิดต่อแล้วกันว่า หากมีผู้เช่ารายที่ 2 เอาขึ้นมาแขวนด้วย ถามว่ากองทุนมีต้นทุนเพิ่มไหม ไม่มี แต่รายที่2 ไม่มีสิทธิที่จะมาจ่ายต่ำกว่าผมนะ ดังนั้นเมื่อเขามาจ่าย 100 บาท นั่นหมายความว่ากองทุนจะมีกำไรอีก 100 บาท รวม 160 บาท ไฟเบอร์ออปติกก็เหมือนกันเพราะมันอยู่ในดินอยู่แล้ว คุณจะใช้เพิ่มมันก็ไม่มีต้นทุนผันแปรเพิ่มตามที่คนมาซื้อ มันไม่เหมือนกับการผลิตเทป คนมาใช้เพิ่มรายได้ของกองทุนที่เพิ่มขึ้นคือกำไร ตรงนี้คือที่คนยังไม่เห็นกันอย่างชัดเจน”
***เป้าหมายหลักลดภาระดบ.8พันล./ปี
นพปฎล กล่าวเพิ่มเติมว่า การตั้งกองทุนฯแปลว่าทรูฯขายทรัพย์สินที่เป็น core เข้าไปในกองทุน ทรูจะได้เงินมาก้อนหนึ่ง โดยส่วนใหญ่ของเงินก้อนนี้จะเอาไปลดหนี้ทันที โดยมีแผนลดหนี้ลงมาจนถึงจุดที่ทุกคนสบายใจว่าทรูก็มีหนี้เท่ากับคู่แข่งและไม่ได้สูงเกินไป เพราะการลดหนี้คือการเพิ่มมูลค่าหุ้นให้กับผู้ถือหุ้นได้เร็วที่สุดปัจจุบันทรูจ่ายดอกเบี้ยอยู่ปีหนึ่ง7,000 -8,000 ล้านบาท พอลดหนี้ลงไปแล้วดอกเบี้ยเหล่านี้ก็เอาไปจ่ายเป็นเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นแทน โดยบริษัทพยายามกำหนดเป้าที่จะทำให้เสร็จภายในปีนี้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดด้วย เราต้องการลดค่าใช้จ่ายเรื่องดอกเบี้ยหายไป บริษัทก็น่าจะทำผลกำไร และจ่ายปันผลได้