วานนี้(2 ก.ย.56) ที่ประชุมวุฒิสภาได้มีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.2557 วงเงิน 2.5 ล้านล้านบาท หลังจากสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติให้ความเห็นชอบแล้ว ทั้งนี้การพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้พิจารณาเพียงวาระเดียวว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่โดยไม่สามารถแก้ไขถ้อยคำในร่างพ.ร.บ.ได้
นายนิคม ไวยรัชพานิช กล่าวว่า กรอบเวลาในการอภิปรายของวุฒิสภากำหนดให้มีการประชุม 2 วันในระหว่างวันที่ 2-3 ก.ย. ซึ่งวันแรกจะเป็นการพิจารณาของตัวแทนของคณะกรรมาธิการ (กมธ.)สามัญประจำวุฒิสภาแต่ละและจะปิดประชุมในเวลา 22.00น.จากนั้นจะเปิดประชุมอีกครั้งในวันที่ 3 ก.ย.เพื่อให้สว.ที่ได้ลงชื่อเอาไว้จำนวน 50 คนใช้สิทธิ์อภิปราย โดยคณะรัฐมนตรีจะมีเวลาชี้แจงต่อที่ประชุมวุฒิสภา 2 ชั่วโมง
นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง สว.ชลบุรี ในฐานะตัวแทนของคณะกมธ.แรงงานและสวัสดิการสังคม ได้ทำการอภิปรายเป็นคนแรกว่า ขณะนี้เศรษฐกิจของไทยถดถอยลงมาเป็นอย่างมาก ส่งผลให้เศรษฐกิจในปีต่อๆไปมีโน้มว่าจะขยายตัวไม่ถึง 4% ทำให้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เศรษฐกิจไทยต้องหวังพึ่งการลงทุนของภาครัฐเพื่อให้เศรษฐกิจเดินหน้าไปได้ แต่เวลานี้ก็กำลังเกิดปัญหาว่ารัฐบาลได้มีแผนการรองรับหรือไม่หากร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ 2 ล้านล้านบาท ไม่ผ่านสภาหรือศาลรัฐธรรมนูญ
ขณะเดียวกัน เมื่อเวลา 13.45น.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้เข้ามายังรัฐสภาเพื่อรับฟังการประชุมวุฒิสภาเป็นเวลา 20 นาทีก่อนเดินทางออกจากห้องประชุม
นางยุวดี นิ่มสมบุญ ส.ว.สรรหาภาคเอกชน ได้ลุกขึ้นอภิปราย เรียกร้องให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้กระจายเท่าเทียมกันทุกกระทรวง เนื่องจากที่ผ่านมา พบว่า ได้มีการกระจุกตัวของงบประมาณอย่างมาก บางหน่วยงานได้งบประมาณมากเกินความจำเป็น ขณะที่บางหน่วยงานได้งบประมาณน้อย โดยเฉพาะ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ต้องการให้รัฐบาลให้ความสำคัญมากขึ้น พร้อมให้มีการทำรายงานประจำปีของกระทรวงชี้แจงต่อประชาชนผู้เสียภาษี เพื่อความโปร่งใสตรวจสอบได้
ทั้งนี้ ควรเร่งดำเนินการช่วยเหลือผู้สูงอายุ โดยควรมีการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ พร้อมให้จัดบ้านพักรับรองด้วย
นางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถ์ กรรมาธิการการกีฬาวุฒิสภา ได้อภิปรายว่า การจัดสรรงบประมาณในการพัฒนากีฬานั้นไม่ค่อยมีความหลากหลาย โดยเฉพาะงบประมาณของกรมพลศึกษา ที่ควรจะได้รับงบประมาณมากกว่าในปัจจุบันเพื่อที่จะได้ไปสร้างสนามกีฬาในต่างจังหวัดให้มากขึ้น ส่วนงบประมาณของกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติรัฐบาลควรจะมีการจัดระเบียบ การใช้เงินในกองทุนใหม่ เนื่องจากปีที่ผ่านมาพบว่า การใช้เงินในกองทุนนั้น มีความสะเปะสะปะ ไม่มีการแบ่งกลุ่มให้ชัดเจน พร้อมกันนี้ ยังเสนอให้รัฐบาล สนับสนุนงบประมาณ ให้กับการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อไปพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬาให้มีความต่อเนื่อง
นายประเสริฐ ชิตพงษ์ ส.ว.สงขลา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาวุฒิสภา ได้อภิปรายว่า งบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้รับการจัดสรรครั้งนี้ ได้รับมากถึง 20% ของงบประมาณทั้งหมด ซึ่งถือว่าเยอะที่สุดในหน่วยงานของรัฐบาล โดยมีความเป็นห่วงว่า จะใช้งบประมาณ อย่างไม่คุ้มค่าและไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม เมื่อไปดูรายละเอียดของงบประมาณที่ได้รับมานั้น พบว่าส่วนใหญ่เป็นงบประมาณของข้าราชการประจำแต่งบประมาณที่ใช้ในการพัฒนาการศึกษามีน้อยมาก รัฐบาลไม่ให้ความสำคัญ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะการพัฒนาการศึกษาในประเทศเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้เยาวชนได้มีความรู้ความสามารถ
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวอภิปรายว่า ตนไม่คิดว่า ร่าง พรบ. งบประมาณรายจ่ายปี 57 จะสามารถตอบโจทย์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ เพราะรัฐบาลกำลังติดกับดัก คือ การทำงบประมาณสมดุลแบบจอมปลอม มุ่งแต่จะใช้เงินกู้นอกงบประมาณ และกับดักในการทำนโยบายประชานิยม ในขณะนี้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลดติดต่อกัน 2 ไตรมาส คือสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจกำลังถดถอย สถานการณ์ที่ผ่านมาหุ้นตกต่อเนื่องกัน ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงมาอยู่ที่ 32 ภายในระยะเวลา 1 เดือน อัตราทางเศรษฐกิจในระยะเวลาที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีช่วงไตรมาสที่ภาวะเศรษฐกิจเติบโตอย่างเห็นได้ชัด นั่นก็เป็นเพราะนโยบายบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก ไม่ได้มีผลมาจากเศรษฐกิจของประเทศอย่างแท้จริง
นโยบายรถคันแรกกำลังทำลายระบบเศรษฐกิจของประเทศไปอีกอย่างน้อย 2 ปี เนื่องจากจำนวนคน 1 ล้านคน 1 ล้านครอบครัว ที่ไปซื้อรถจากนโยบายดังกล่าว จะทำให้หมดกำลังซื้อสิ่งของอื่นๆลดไปอย่างมาก เพราะทันทีที่ซื้อรถมาแล้ว ค่าจิปาถะ ไม่ว่าจะเป็น น้ำมัน ค่าทางด่วน ค่าจอดรถ และอีกมากมาย จึงทำให้ประเทศไทยมีเงินหมุนเวียนในระบบน้อยลงไปอีก 1 ล้านครอบครัว สิ่งนี้คือหลุมดำใหญ่ อย่างที่กูรูทางเศรษฐกิจของชาวต่างชาติพูดเอาไว้ และถือเป็นนโยบายที่ไม่ฉลาด เพราะนโยบายรถคันแรกเป็นการดูดกำลังซื้อในประเทศออกไปหมดจากชนชั้นกลาง
ในสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศในวันนี้ที่ไม่ปกติ ยังมีตัวเลขหนี้ครัวเรือนสูงเป็นประวัติการขึ้นไปแตะที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของค่าจีดีพี ตัวเลขของภาคเอกชนก็ไม่เพิ่มขึ้นทั้งๆที่รัฐบาลก็ได้ลดภาษีของภาคเอกชนลดไป แต่กลับไม่มีการเติบโตอย่างที่คาดหวังไว้ ในทางเศรษฐศาสตร์จะเหลือเพียงแค่การลดทุนของภาครัฐเท่านั้นที่จะสามารถช่วยพยุงระบบเศรษฐกิจเอาไว้ได้ แต่เงินที่รัฐบาลกู้ไปจำนวน3.5 แสนล้านบาทและเงินอีกจำนวน 2.2 ล้านๆบาทที่กำลังเข้าสู่การพิจารณา กลับไม่มีการนำไปใช้ และมีแต่การรอคอย และถ้ารอไปแล้วกลับไม่ผ่านขึ้นมารัฐบาลจะทำอย่างไรต่อไป สิ่งนี้จึงชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลมุ่งแต่จะพึ่งเม็ดเงินจากการกู้นอกงบประมาณเพื่อทำให้เกิดความสมดุลของเศรษฐกิจในประเทศ แต่เป็นแบบจอมปลอมเท่านั้น
“ผมเชื่อว่าถ้ารัฐบาลเอา 3.5 แสนล้านและ2.2 ล้านๆ มาบรรจุในงบประมาณรายจ่ายประจำปีสามารถทำได้ แต่ไม่ทำ แล้วไปฝากชีวิตไว้กับเงินกู้ ผมจึงมีความขัดแย้งกับเงินกู้นอกงบประมาณเหล่านี้เพราะมันมีสิทธิที่จะเกิดความรั่วไหลได้มาก แล้วเช่นนี้เราจะไปหวังให้ต่างชาติมีความเชื่อมั่นได้อย่างไร ในอนาคตเมื่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยจริงๆ รัฐจะเอาดอกเบี้ยจากที่ไหนไปจ่ายเขา ประเทศเรากำลังเกิดความเสี่ยงที่ยิ่งใหญ่ว่า การใช้เงินของภาครัฐจะทันการณ์หรือไม่ ถ้าไม่ทันมันก็ไม่คุ้มค่า และจะมีปัญหาตามมาอีกมากมาย แต่ถ้าทันจีดีพีก็จะเติบโตต่อไป”นายคำนูณ กล่าว
นายอนุรักษ์ นิยมเวช สว.สรรหา กล่าวอภิปรายว่า ตนขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งจัดทำงบประมาณให้สมดุลโดยเร็วเพราะถ้ายิ่งปล่อยให้การจัดทำงบประมาณเป็นไปในลักษณะขาดดุลนานเท่าไหรก็จะมีผลให้ประเทศต้องมีภาระหนี้มากขึ้นเท่านั้น เพราะอย่าลืมว่าปัจจุบันประเทศมีหนี้สาธารณะค่อนข้างสูงทั้งจากนโยบายจำนำข้าว และ โครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
"ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันมีแนวโน้มจะถดถอยและขยายตัวไม่มาก ผนวกกับปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นจะส่งผลให้รัฐอาจจัดเก็บรายได้ไม่เข้าเป้า จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องมีคำชี้แจงให้ชัดเจน" นายอนุรักษ์ กล่าว
นายอนุรักษ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้เท่าที่ตรวจสอบการจัดทำงบประมาณยังพบว่ายังไม่ได้จัดสรรงบประมาณให้กับกลุ่มจังหวัดอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนให้เข้ามามีบทบาทต่อการปฎิรูปการเมืองและความสมานฉันท์ เพราะถ้ารัฐบาลสามารถรับฟังความคิดเห็นของประชาชนได้อย่างกว้างขวางจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดแนวทางของรัฐบาลเอง" นายอนุรักษ์ กล่าว
นายนิคม ไวยรัชพานิช กล่าวว่า กรอบเวลาในการอภิปรายของวุฒิสภากำหนดให้มีการประชุม 2 วันในระหว่างวันที่ 2-3 ก.ย. ซึ่งวันแรกจะเป็นการพิจารณาของตัวแทนของคณะกรรมาธิการ (กมธ.)สามัญประจำวุฒิสภาแต่ละและจะปิดประชุมในเวลา 22.00น.จากนั้นจะเปิดประชุมอีกครั้งในวันที่ 3 ก.ย.เพื่อให้สว.ที่ได้ลงชื่อเอาไว้จำนวน 50 คนใช้สิทธิ์อภิปราย โดยคณะรัฐมนตรีจะมีเวลาชี้แจงต่อที่ประชุมวุฒิสภา 2 ชั่วโมง
นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง สว.ชลบุรี ในฐานะตัวแทนของคณะกมธ.แรงงานและสวัสดิการสังคม ได้ทำการอภิปรายเป็นคนแรกว่า ขณะนี้เศรษฐกิจของไทยถดถอยลงมาเป็นอย่างมาก ส่งผลให้เศรษฐกิจในปีต่อๆไปมีโน้มว่าจะขยายตัวไม่ถึง 4% ทำให้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เศรษฐกิจไทยต้องหวังพึ่งการลงทุนของภาครัฐเพื่อให้เศรษฐกิจเดินหน้าไปได้ แต่เวลานี้ก็กำลังเกิดปัญหาว่ารัฐบาลได้มีแผนการรองรับหรือไม่หากร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ 2 ล้านล้านบาท ไม่ผ่านสภาหรือศาลรัฐธรรมนูญ
ขณะเดียวกัน เมื่อเวลา 13.45น.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้เข้ามายังรัฐสภาเพื่อรับฟังการประชุมวุฒิสภาเป็นเวลา 20 นาทีก่อนเดินทางออกจากห้องประชุม
นางยุวดี นิ่มสมบุญ ส.ว.สรรหาภาคเอกชน ได้ลุกขึ้นอภิปราย เรียกร้องให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้กระจายเท่าเทียมกันทุกกระทรวง เนื่องจากที่ผ่านมา พบว่า ได้มีการกระจุกตัวของงบประมาณอย่างมาก บางหน่วยงานได้งบประมาณมากเกินความจำเป็น ขณะที่บางหน่วยงานได้งบประมาณน้อย โดยเฉพาะ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ต้องการให้รัฐบาลให้ความสำคัญมากขึ้น พร้อมให้มีการทำรายงานประจำปีของกระทรวงชี้แจงต่อประชาชนผู้เสียภาษี เพื่อความโปร่งใสตรวจสอบได้
ทั้งนี้ ควรเร่งดำเนินการช่วยเหลือผู้สูงอายุ โดยควรมีการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ พร้อมให้จัดบ้านพักรับรองด้วย
นางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถ์ กรรมาธิการการกีฬาวุฒิสภา ได้อภิปรายว่า การจัดสรรงบประมาณในการพัฒนากีฬานั้นไม่ค่อยมีความหลากหลาย โดยเฉพาะงบประมาณของกรมพลศึกษา ที่ควรจะได้รับงบประมาณมากกว่าในปัจจุบันเพื่อที่จะได้ไปสร้างสนามกีฬาในต่างจังหวัดให้มากขึ้น ส่วนงบประมาณของกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติรัฐบาลควรจะมีการจัดระเบียบ การใช้เงินในกองทุนใหม่ เนื่องจากปีที่ผ่านมาพบว่า การใช้เงินในกองทุนนั้น มีความสะเปะสะปะ ไม่มีการแบ่งกลุ่มให้ชัดเจน พร้อมกันนี้ ยังเสนอให้รัฐบาล สนับสนุนงบประมาณ ให้กับการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อไปพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬาให้มีความต่อเนื่อง
นายประเสริฐ ชิตพงษ์ ส.ว.สงขลา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาวุฒิสภา ได้อภิปรายว่า งบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้รับการจัดสรรครั้งนี้ ได้รับมากถึง 20% ของงบประมาณทั้งหมด ซึ่งถือว่าเยอะที่สุดในหน่วยงานของรัฐบาล โดยมีความเป็นห่วงว่า จะใช้งบประมาณ อย่างไม่คุ้มค่าและไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม เมื่อไปดูรายละเอียดของงบประมาณที่ได้รับมานั้น พบว่าส่วนใหญ่เป็นงบประมาณของข้าราชการประจำแต่งบประมาณที่ใช้ในการพัฒนาการศึกษามีน้อยมาก รัฐบาลไม่ให้ความสำคัญ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะการพัฒนาการศึกษาในประเทศเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้เยาวชนได้มีความรู้ความสามารถ
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวอภิปรายว่า ตนไม่คิดว่า ร่าง พรบ. งบประมาณรายจ่ายปี 57 จะสามารถตอบโจทย์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ เพราะรัฐบาลกำลังติดกับดัก คือ การทำงบประมาณสมดุลแบบจอมปลอม มุ่งแต่จะใช้เงินกู้นอกงบประมาณ และกับดักในการทำนโยบายประชานิยม ในขณะนี้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลดติดต่อกัน 2 ไตรมาส คือสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจกำลังถดถอย สถานการณ์ที่ผ่านมาหุ้นตกต่อเนื่องกัน ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงมาอยู่ที่ 32 ภายในระยะเวลา 1 เดือน อัตราทางเศรษฐกิจในระยะเวลาที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีช่วงไตรมาสที่ภาวะเศรษฐกิจเติบโตอย่างเห็นได้ชัด นั่นก็เป็นเพราะนโยบายบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก ไม่ได้มีผลมาจากเศรษฐกิจของประเทศอย่างแท้จริง
นโยบายรถคันแรกกำลังทำลายระบบเศรษฐกิจของประเทศไปอีกอย่างน้อย 2 ปี เนื่องจากจำนวนคน 1 ล้านคน 1 ล้านครอบครัว ที่ไปซื้อรถจากนโยบายดังกล่าว จะทำให้หมดกำลังซื้อสิ่งของอื่นๆลดไปอย่างมาก เพราะทันทีที่ซื้อรถมาแล้ว ค่าจิปาถะ ไม่ว่าจะเป็น น้ำมัน ค่าทางด่วน ค่าจอดรถ และอีกมากมาย จึงทำให้ประเทศไทยมีเงินหมุนเวียนในระบบน้อยลงไปอีก 1 ล้านครอบครัว สิ่งนี้คือหลุมดำใหญ่ อย่างที่กูรูทางเศรษฐกิจของชาวต่างชาติพูดเอาไว้ และถือเป็นนโยบายที่ไม่ฉลาด เพราะนโยบายรถคันแรกเป็นการดูดกำลังซื้อในประเทศออกไปหมดจากชนชั้นกลาง
ในสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศในวันนี้ที่ไม่ปกติ ยังมีตัวเลขหนี้ครัวเรือนสูงเป็นประวัติการขึ้นไปแตะที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของค่าจีดีพี ตัวเลขของภาคเอกชนก็ไม่เพิ่มขึ้นทั้งๆที่รัฐบาลก็ได้ลดภาษีของภาคเอกชนลดไป แต่กลับไม่มีการเติบโตอย่างที่คาดหวังไว้ ในทางเศรษฐศาสตร์จะเหลือเพียงแค่การลดทุนของภาครัฐเท่านั้นที่จะสามารถช่วยพยุงระบบเศรษฐกิจเอาไว้ได้ แต่เงินที่รัฐบาลกู้ไปจำนวน3.5 แสนล้านบาทและเงินอีกจำนวน 2.2 ล้านๆบาทที่กำลังเข้าสู่การพิจารณา กลับไม่มีการนำไปใช้ และมีแต่การรอคอย และถ้ารอไปแล้วกลับไม่ผ่านขึ้นมารัฐบาลจะทำอย่างไรต่อไป สิ่งนี้จึงชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลมุ่งแต่จะพึ่งเม็ดเงินจากการกู้นอกงบประมาณเพื่อทำให้เกิดความสมดุลของเศรษฐกิจในประเทศ แต่เป็นแบบจอมปลอมเท่านั้น
“ผมเชื่อว่าถ้ารัฐบาลเอา 3.5 แสนล้านและ2.2 ล้านๆ มาบรรจุในงบประมาณรายจ่ายประจำปีสามารถทำได้ แต่ไม่ทำ แล้วไปฝากชีวิตไว้กับเงินกู้ ผมจึงมีความขัดแย้งกับเงินกู้นอกงบประมาณเหล่านี้เพราะมันมีสิทธิที่จะเกิดความรั่วไหลได้มาก แล้วเช่นนี้เราจะไปหวังให้ต่างชาติมีความเชื่อมั่นได้อย่างไร ในอนาคตเมื่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยจริงๆ รัฐจะเอาดอกเบี้ยจากที่ไหนไปจ่ายเขา ประเทศเรากำลังเกิดความเสี่ยงที่ยิ่งใหญ่ว่า การใช้เงินของภาครัฐจะทันการณ์หรือไม่ ถ้าไม่ทันมันก็ไม่คุ้มค่า และจะมีปัญหาตามมาอีกมากมาย แต่ถ้าทันจีดีพีก็จะเติบโตต่อไป”นายคำนูณ กล่าว
นายอนุรักษ์ นิยมเวช สว.สรรหา กล่าวอภิปรายว่า ตนขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งจัดทำงบประมาณให้สมดุลโดยเร็วเพราะถ้ายิ่งปล่อยให้การจัดทำงบประมาณเป็นไปในลักษณะขาดดุลนานเท่าไหรก็จะมีผลให้ประเทศต้องมีภาระหนี้มากขึ้นเท่านั้น เพราะอย่าลืมว่าปัจจุบันประเทศมีหนี้สาธารณะค่อนข้างสูงทั้งจากนโยบายจำนำข้าว และ โครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
"ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันมีแนวโน้มจะถดถอยและขยายตัวไม่มาก ผนวกกับปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นจะส่งผลให้รัฐอาจจัดเก็บรายได้ไม่เข้าเป้า จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องมีคำชี้แจงให้ชัดเจน" นายอนุรักษ์ กล่าว
นายอนุรักษ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้เท่าที่ตรวจสอบการจัดทำงบประมาณยังพบว่ายังไม่ได้จัดสรรงบประมาณให้กับกลุ่มจังหวัดอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนให้เข้ามามีบทบาทต่อการปฎิรูปการเมืองและความสมานฉันท์ เพราะถ้ารัฐบาลสามารถรับฟังความคิดเห็นของประชาชนได้อย่างกว้างขวางจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดแนวทางของรัฐบาลเอง" นายอนุรักษ์ กล่าว