ASTVผู้จัดการรายวัน - 3 สมาคมอสังหาฯ เตรียมยื่นหนังสือถึงรมต.คลัง วอนออกมาตรการลดภาษีอสังหาฯ แบบถาวร ช่วยคนซื้อบ้านหลังแรก ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท หวังกระตุ้นตลาดระยะยาว หนีปัญหาเศรษฐกิจผันผวน ด้านแบงก์ชาติ ชี้ภาคอสังหาฯ มีเสถียรภาพมากขึ้นลดความร้อนแรงและจุดที่เคยกังวลดีขึ้น ขณะเดียวกันหลายภาคส่วนมีสัญญาณที่ดีขึ้นจากการระมัดระวังในตัวธุรกิจนี้
แหล่งข่าวจากวงการอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า 3 สมาคมอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรและสมาคมอาคารชุดไทย และภาคอสังหาฯ อื่นที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมประชุมหารือหลายครั้งถึงการหาแนวทางช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์แบบถาวร โดยเฉพาะการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางได้ซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองง่ายขึ้น
ทั้งนี้จากการร่วมหารือ ได้ข้อสรุปว่า ต้องการให้รัฐบาลออกมาตรการช่วยภาคอสังหาฯแบบถาวร แทนการกระตุ้นอสังหาฯระยะสั้น 1-2 ปีเช่นที่หลายรัฐบาลเคยออกมาตรการด้านภาษีมาก่อนหน้านี้ ภาษี อาทิ ลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการโอน เหลือ 0.01% การลดภาษีธุรกิจ เหลือ 0.1% และค่าจดจำนอง เหลือ 0.01% หรือมาตรการบ้านหลังแรก เป็นต้น
สำหรับมาตรการที่จะขอรัฐบาลนั้น คือการลดภาษีอสังหาฯแบบถาวร โดยกำหนดให้เฉพาะคนที่ซื้อบ้านหลังแรก ราคาไม่เกิน 3 ล้านบ้าน เพื่อให้มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางลดภาระในการซื้อบ้าน ซึ่งจะช่วยให้คนกลุ่มนี้ซื้อบ้านเป็นของตนเองง่ายขึ้น
ทั้งนี้ 3 สมาคมอสังหาฯ เตนรียมเข้ายื่นหนังสือให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในเร็วๆนี้ เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือภาคอสังหาฯ โดยเฉพาะคนซื้อบ้าน ซึ่งมาตรการดังกล่าว ไม่ได้เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยปัจจุบัน แต่ภาคอสังหาฯ ต้องการช่วยคนซื้อบ้านหลังแรกเป็นมาตรการถาวร เพราะการซื้ออาสังหาริมทรัพย์จะช่วยชับเคลื่อนภาคธุรกิจเกี่ยวเนื่องให้มีการเติบโตล้อไปกับภาคอสังหาฯ ต่างจากการซื้อรถ ที่ช่วยภาคธุรกิจชิ้นส่วนก็จริง แต่การซื้อรถทำให้ผู้ซื้อมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
***ธปท.ชี้ภาคอสังหาฯ มีเสถียรภาพ
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า ขณะนี้ภาวะอสังหาริมทรัพย์มีเสถียรภาพมากขึ้น เพราะไม่ได้ร้อนแรงเหมือนช่วงที่ผ่านมาและจุดที่เคยกังวลก็มีสถานการณ์ที่ดีขึ้นเมื่อมองไปข้างหน้า นอกจากนี้ผู้ซื้อ ผู้ประกอบการ และสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อก็มีความระมัดระวังมากขึ้น ถือเป็นสัญญาณที่ดี
นอกจากนี้ ธปท.ได้เผยแพร่รายงานเศรษฐกิจและการเงินล่าสุดเดือนก.ค.ที่ผ่านมา พบว่า ในเดือนนี้ภาวะอสังหาริมทรัพย์ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลโดยรวมยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน
ความต้องการที่อยู่อาศัยในเดือนนี้ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ส่วนหนึ่งเกิดจากธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น หากพิจารณาข้อมูลปรับฤดูกาลเฉลี่ยเคลื่อนที่ 3 เดือน พบว่า จำนวนที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อชะลอลงจากเดือนก่อนที่ 4,402 หน่วย มาอยู่ที่ 4,183 หน่วยตามการลดลงที่อยู่อาศัยแนวราบที่ลดลงจาก 2,763 หน่วย มาอยู่ที่ 2,386 หน่วย ขณะที่อาคารชุดเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย
ด้านผู้ประกอบการเองก็มีการเปิดขายโครงการใหม่ชะลอต่อเนื่องจากเดือนก่อนสอดคล้องกับอุปสงค์ที่ชะลอตัวลง และการเร่งเปิดขายไปมากในช่วงต้นปี ประกอบกับผู้ประกอบการบางส่วนมีปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือและต้นทุนการก่อสร้างปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 3 เดือนของจำนวนที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ในเดือนนี้ลดลงเล็กน้อยจาก 8,751 หน่วย ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ 8,717 หน่วย ตามการลดลงของที่อยู่อาศัยแนวราบจาก 3,669 หน่วย เป็น 3,199 หน่วย ส่วนอาคารชุดเพิ่มขึ้นจาก 5,082 หน่วย เป็น 5,518 หน่วย.
แหล่งข่าวจากวงการอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า 3 สมาคมอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรและสมาคมอาคารชุดไทย และภาคอสังหาฯ อื่นที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมประชุมหารือหลายครั้งถึงการหาแนวทางช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์แบบถาวร โดยเฉพาะการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางได้ซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองง่ายขึ้น
ทั้งนี้จากการร่วมหารือ ได้ข้อสรุปว่า ต้องการให้รัฐบาลออกมาตรการช่วยภาคอสังหาฯแบบถาวร แทนการกระตุ้นอสังหาฯระยะสั้น 1-2 ปีเช่นที่หลายรัฐบาลเคยออกมาตรการด้านภาษีมาก่อนหน้านี้ ภาษี อาทิ ลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการโอน เหลือ 0.01% การลดภาษีธุรกิจ เหลือ 0.1% และค่าจดจำนอง เหลือ 0.01% หรือมาตรการบ้านหลังแรก เป็นต้น
สำหรับมาตรการที่จะขอรัฐบาลนั้น คือการลดภาษีอสังหาฯแบบถาวร โดยกำหนดให้เฉพาะคนที่ซื้อบ้านหลังแรก ราคาไม่เกิน 3 ล้านบ้าน เพื่อให้มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางลดภาระในการซื้อบ้าน ซึ่งจะช่วยให้คนกลุ่มนี้ซื้อบ้านเป็นของตนเองง่ายขึ้น
ทั้งนี้ 3 สมาคมอสังหาฯ เตนรียมเข้ายื่นหนังสือให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในเร็วๆนี้ เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือภาคอสังหาฯ โดยเฉพาะคนซื้อบ้าน ซึ่งมาตรการดังกล่าว ไม่ได้เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยปัจจุบัน แต่ภาคอสังหาฯ ต้องการช่วยคนซื้อบ้านหลังแรกเป็นมาตรการถาวร เพราะการซื้ออาสังหาริมทรัพย์จะช่วยชับเคลื่อนภาคธุรกิจเกี่ยวเนื่องให้มีการเติบโตล้อไปกับภาคอสังหาฯ ต่างจากการซื้อรถ ที่ช่วยภาคธุรกิจชิ้นส่วนก็จริง แต่การซื้อรถทำให้ผู้ซื้อมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
***ธปท.ชี้ภาคอสังหาฯ มีเสถียรภาพ
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า ขณะนี้ภาวะอสังหาริมทรัพย์มีเสถียรภาพมากขึ้น เพราะไม่ได้ร้อนแรงเหมือนช่วงที่ผ่านมาและจุดที่เคยกังวลก็มีสถานการณ์ที่ดีขึ้นเมื่อมองไปข้างหน้า นอกจากนี้ผู้ซื้อ ผู้ประกอบการ และสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อก็มีความระมัดระวังมากขึ้น ถือเป็นสัญญาณที่ดี
นอกจากนี้ ธปท.ได้เผยแพร่รายงานเศรษฐกิจและการเงินล่าสุดเดือนก.ค.ที่ผ่านมา พบว่า ในเดือนนี้ภาวะอสังหาริมทรัพย์ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลโดยรวมยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน
ความต้องการที่อยู่อาศัยในเดือนนี้ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ส่วนหนึ่งเกิดจากธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น หากพิจารณาข้อมูลปรับฤดูกาลเฉลี่ยเคลื่อนที่ 3 เดือน พบว่า จำนวนที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อชะลอลงจากเดือนก่อนที่ 4,402 หน่วย มาอยู่ที่ 4,183 หน่วยตามการลดลงที่อยู่อาศัยแนวราบที่ลดลงจาก 2,763 หน่วย มาอยู่ที่ 2,386 หน่วย ขณะที่อาคารชุดเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย
ด้านผู้ประกอบการเองก็มีการเปิดขายโครงการใหม่ชะลอต่อเนื่องจากเดือนก่อนสอดคล้องกับอุปสงค์ที่ชะลอตัวลง และการเร่งเปิดขายไปมากในช่วงต้นปี ประกอบกับผู้ประกอบการบางส่วนมีปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือและต้นทุนการก่อสร้างปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 3 เดือนของจำนวนที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ในเดือนนี้ลดลงเล็กน้อยจาก 8,751 หน่วย ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ 8,717 หน่วย ตามการลดลงของที่อยู่อาศัยแนวราบจาก 3,669 หน่วย เป็น 3,199 หน่วย ส่วนอาคารชุดเพิ่มขึ้นจาก 5,082 หน่วย เป็น 5,518 หน่วย.