ASTVผู้จัดการรายวัน-"อลงกรณ์"โผล่ บอก ปชป. ไม่ปิดโอกาสร่วมสภาปฎิรูป แต่รัฐบาลต้องไม่ตระบัดสัตย์ “เติ้ง” เตรียมเดินหน้าทาบ “มาร์ค-ชวน-พันธมิตร” ร่วมด้วยสัปดาห์หน้า "ปึ้ง" ยัน "โทนี แบลร์" มาปาฐกถา 2 ก.ย. ชัวร์ แถมจะเชิญรอบ 2 อีก 11 ผู้นำ ด้าน ปชป. ลั่นจับมือทุกกลุ่มต้านรัฐกินรวบประเทศ
นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เปิดเผยตอนหนึ่งผ่านรายการ “เวคอัพ ไทยแลนด์” ออกอากาศทางช่องว้อยทีวี ถึงโอกาสที่พรรคประชาธิปัตย์จะเข้าร่วมสภาปฏิรูปประเทศไทยกับรัฐบาลว่า ตนคิดว่าข้อเสนอสภาปฏิรูปเป็นแนวคิดที่ดี ในสมัยที่ ปชป. เป็นรัฐบาล ได้ทำมากกว่านี้ด้วยซ้ำ มีความคืบหน้าไปถึงการจัดตั้งสมัชชาปฏิรูปประเทศไทย ให้คนกลาง อย่าง นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส เป็นประธาน หรือเสนอให้มีคณะกรรมการปฏิรูประเทศ โดยมีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน หรือแม้แต่คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่มีคณิต ณ นคร เป็นประธาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ซึ่งรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เสนอสภาปฏิรูปก็เป็นเสมือนการต่อยอด และสกัดนำข้อเสนอที่คิดว่าสามารถปฏิบัติได้มาใช้ และที่สำคัญคู่ขัดแย้งที่เกี่ยวข้องโดยตรง ไม่ว่าจะเป็น ปชป. พรรคเพื่อไทย เสื้อแดง เสื้อเหลือง เป็นต้น จะต้องรวมกัน เมื่อรัฐบาลริเริ่มจะต้องใช้ความพยายามในการสร้างความเชื่อมั่นต่อไป
“ผมได้แนะนำผ่านนายสุรนันนท์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่โทรศัพท์ประสานมาที่ผม ซึ่งก็ยังบอกกลับไปว่า ยังมีโอกาส เพราะ ปชป. หรือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ยังไม่ถึงกับปิดโอกาส เพราะที่ผ่านมา ผ่อนปรนมามากแล้ว ซึ่งผมคิดว่าอยู่ที่รัฐบาล หากรัฐบาลจะเดินหน้านิรโทษให้กับคนเล็กคนน้อย คงไม่มีปัญหา เพราะจุดของ ปชป. อยู่ที่รัฐธรรมนูญ ต้องเข้าใจว่าเราเห็นด้วยกับการนิรโทษกรรม ในกรอบที่ชัดเจนว่านิรโทษให้กับประชาชนที่ละเมิด พ.ร.ก.ความมั่นคง แต่ไม่รวมผู้สั่งการ แกนนำ คนฆ่าคนอื่น หรือแม้แต่ผู้ต้องคดีหมิ่น ซึ่ง ส.ส.หลายคนก็ยืนยัน ดังนั้น ร่างนิรโทษของนายวรชัย เหมะ เราไม่มีปัญหา แต่เรากังวลว่าจะมีการสอดไส้หรือแปลงร่างต่างหาก อย่างไรก็ตาม หากติเตือนกันแล้ว รัฐบาลก็อยากจะเดินปรองดองและเดินหน้าปฏิรูปประเทศก็ต้องรักษาคำมั่นสัญญา”นายอลงกรณ์กล่าว
**“เติ้ง” เดินหน้าทาบ “ปชป.-พธม.”
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า การทาบทาม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ และตัวแทนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ให้เข้าร่วมคณะปฏิรูปการเมือง หลังจากที่ได้มีการหารือกับนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา ผู้ดูแลภาพรวมของทั้ง 3 คณะปฏิรูป คาดว่า อาจจะเป็นช่วงสัปดาห์หน้า และขอดูก่อนว่าจะไปเชิญวันไหน ขณะเดียวกัน ไม่ได้มีคาดหวังว่า นายอภิสิทธิ์ นายชวน และตัวแทนพันธมิตรฯ จะเข้าร่วมด้วยหรือไม่ คงต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของบุคคลเหล่านี้
สำหรับการทาบทามผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเข้าร่วมคณะปฏิรูปเพิ่มเติมหรือไม่นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้หารือกันว่าจะเชิญบุคคลใดเข้าร่วมในการประชุมนัดหน้า ซึ่งต้องหารือกับทางสมาชิกอีกครั้งหนึ่งก่อน
**"สุรพงษ์"ยัน"โทนี่ แบลร์"มาชัวร์
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงการเดินทางร่วมเวทีปาฐกถาผ่านโครงการ Uniting for the future : Learning from each other's experiences (ผนึกกำลังสู้อนาคต เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์) ของนายโทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ในวันที่ 2 ก.ย. หลังกลุ่มคนไทยและชาวต่างชาติยืนหนังสือคัดค้านที่สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทยว่า ยืนยันมาแน่นอน ฝ่ายที่ไปคัดค้านสถานทูตอังกฤษ ไม่อยากไปพูดว่าไปปิดกั้นสังคมไทย เพราะวันนี้กระทรวงการต่างประเทศจัดเวทีนี้ขึ้นมาเป็นเวทีทางวิชาการ เพื่อให้คนได้เรียนรู้ประสบการณ์จากผู้นำที่มีประสบการณ์ในประเทศต่างๆ ที่มีความขัดแย้ง และจะร่วมแก้ไขปัญหา แต่บุคคลที่ไปคัดค้านไม่ให้เข้ามา ก็ไม่เข้าใจว่าคิดอะไร แทนหาทางออกให้กับประเทศเดินหน้าต่อไปได้
"ถ้าสังคมไทยสงบ เศรษฐกิจไทยเดินหน้าแน่นอน ความวุ่นวายทางการเมืองเป็นสิ่งที่หลายๆ ประเทศไม่อยากเห็น อยากให้บุคคลที่ออกมาต่อต้านกลับไปดูที่ประเทศอียิปต์เป็นตัวอย่างที่วันนี้เศรษฐกิจ การท่องเที่ยวเสียหาย ไม่รู้ว่าคนไทยกลุ่มนั้นต้องการอะไรในชีวิตเขา คิดถึงประชาชน ประเทศชาติบ้าง จากรายชื่อที่เชิญไปในการเสวนาครั้งแรก มีทั้งหมด 11 คน ตอบรับที่จะมาวันที่ 2 ก.ย. จำนวน 3 คน ส่วนที่จะมาครั้งต่อไปก็จะมีผู้นำอื่น และมีการเชิญเพิ่มเติมอีก ได้มีการส่งหนังสือเชิญไปอีกชุดหนึ่งแล้วในการเสวนาครั้งที่ 2 เพียงแต่รอทางไทยกำหนดวันเสวนาครั้งที่ 2 ว่าจะเป็นเมื่อไร ซึ่งจะกำหนดวันที่ชัดเจนหลังเสร็จสิ้นการเสวนาครั้งแรก เพื่อให้ผู้นำเลือกวันที่จะมาร่วมเวทีเสวนาได้"นายสุรพงษ์กล่าว
** ปชป. ลั่นจับมือทุกกลุ่มต้านรัฐ
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ประธานส.ส.พรรค และนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ไปหารือกับสมณะโพธิรักษ์ ผู้นำกลุ่มสันติอโศก ว่า เป็นการแสวงหาความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่มีแนวคิดตรงกันในการรักษาบ้านเมือง ละทิฐิ อคติในอดีต และขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนทุกฝ่ายว่า พรรคพร้อมร่วมมือกับทุกฝ่ายที่มีแนวคิดตรงกันในกรณีที่รัฐบาลออกกฏหมายนิรโทษกรรม การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อกินรวบประเทศ รวมถึงการออกพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ท่ามกลางภาวะวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยและปัญหาสังคม ที่ส่งผลกระทบต่อปากท้องค่าครองชีพภาคครัวเรือนของประชาชน
“บอกไม่ได้ว่า จะเป่านกหวีดเมื่อไร ต้องรอดูสถานการณ์การเมืองให้ชัดเจนก่อน ซึ่งเราจะต่อสู้ร่วมกับประชาชนให้ยาวนานที่สุด เพื่อไม่ให้เรื่องเหล่านี้ทำร้ายประเทศชาติ ส่วนจะมี ส.ส.พรรคลาออกเพื่อไปร่วมนำการต่อสู้ภาคประชาชนนอกสภาเมื่อใดนั้น ยังไม่ทราบ แต่เมื่อถึงจุดที่ต้องเคลื่อนไหวนอกสภา ส.ส.แต่ละคนก็จะพิจารณาเองว่าบทบาทของตนเองจำเป็นต้องลาออกจากตำแหน่งหรือไม่ เพราะไม่มีใครยึดติดกับตำแหน่ง เนื่องจากหากประเทศชาติไม่เหลืออะไรแล้ว การเป็นส.ส.ก็ไม่มีประโยชน์อะไร และสามารถบอกได้เลยว่าจะไม่มีส.ส.คนใดตกเป็นผู้ก่อการร้ายแน่นอน”นายชวนนท์กล่าว
**จวก"ปู"ยกปากีโมเดลหวังนิรโทษ
ที่รัฐสภา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ให้สัมภาษณ์กรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุในที่ประชุมครม.ว่า อยากเห็นฝ่ายค้านไทยทำงานสร้างสรรค์เหมือนฝ่ายค้านของประเทศปากีสถานที่ไม่ค้านทุกเรื่อง เห็นว่า เรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจใหม่ เพราะเหตุที่นายกฯ ไม่เข้าร่วมประชุมสภา นายกฯ จึงไม่ทราบว่าฝ่ายค้านให้ความร่วมมือกับรัฐบาลมาตลอด 2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการเสนอกฎหมายของรัฐบาล ซึ่งฝ่ายค้านยกมือโหวตให้เกือบ 60 ฉบับ ส่วนที่คัดค้านจะมีเพียงแต่เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กฎหมายนิรโทษกรรม และ พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งฝ่ายค้านได้ประกาศคัดค้านตั้งแต่แรกแล้ว ส่วนกรณีที่นายกฯ อยากเห็นประเทศไทยเหมือนประเทศปากีสถานในประเด็นการนิรโทษกรรมนั้น สะท้อนให้เห็นว่าสุดท้ายแล้วจุดประสงค์ของนายกฯ หนีไม่พ้นการผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม ต้องการล้างผิดให้คนๆเดียว
**ลูกหาบซัด "จุรินทร์"บิดเบือน
ร.ท หญิง สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายจุรินทร์ ตีความคำพูดของนายกฯ ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ ใจความสำคัญเกี่ยวกับอุทาหรณ์จากการเยือนปากีสถานที่ท่านนายกฯ พูดถึงนั้น ใจความสำคัญอยู่ที่สปิริตของนักการเมืองปากีสถาน ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล ในการร่วมมือกันสร้างความเข้มแข็งให้ระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างความเป็นประชาธิปไตยในประเทศ ซึ่งนายกฯ เห็นว่าเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ นอกจากนี้ นายกฯ ยังกล่าวต่อที่ประชุมครม.ว่า หวังที่จะเห็นทุกฝ่ายที่คิดต่างกับรัฐบาลเข้าร่วมเวทีปฏิรูปการเมือง เพื่อร่วมกันกำหนดอนาคตของประเทศ ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ไม่ใช่การมุ่งล้างผิดให้คนๆ เดียว อย่างที่นายจุรินทร์กล่าวหาแต่อย่างใด จึงขอให้นายจุรินทร์หยุดใส่ร้าย และบิดเบือนคำพูดของนายกฯ เพราะเป็นการกระทำที่ไม่เป็นสุภาพบุรุษและไม่เป็นธรรม
**กปท. ดีใจ ปชป. เชิญร่วมกลุ่มล้มรัฐ
พล.อ.ท.วัชระ ฤทธาคนี คณะเสนาธิการร่วมกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) กล่าวว่า ทางกลุ่มยังเดินหน้ามวลชนไปอย่างช้าๆ แบบไม่มีแผนแบบตายตัว เพราะจะวางแผนตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น แต่ยังมุ่งมั่นที่จะทำให้การเมืองไทยอยู่ในวงอารยะ เนื่องจากขณะนี้รัฐบาลทำตามใจตนเองมากเกินไป เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ พิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม พร้อมมองว่า การตั้งเวทีสภาปฏิรูปการเมืองของรัฐบาลเป็นการสร้างภาพ และการเชิญผู้นำต่างชาติมาร่วมประชุม เพื่อหาแนวทางการปรองดองในประเทศ ก็ยังไม่ใช่บุคคลที่โดดเด่น
ส่วนกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ จะเดินทางเจรจากับทางกลุ่มนั้น มองว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ทางกลุ่มขอดูเนื้อหาทางการเมืองก่อน โดยเฉพาะฝ่ายค้านว่ามีความตั้งใจอย่างไรในการร่วมกับกลุ่ม รวมถึงมีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาประเทศให้มีอารยะหรือไม่ จึงอยากแนะนำให้พรรคประชาธิปัตย์ปรับปรุงโครงสร้างและยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อให้มีความเป็นเอกภาพทั้งหมดด้วย
**โบ้ยแค่พวกศิษย์เก่า-ถูกไล่ออก
นายอกนิษฐ์ คลังแสง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (รองเลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า กรณีที่นักศึกษาอาชีวะไปร่วมชุมนุมทางการเมือง ศูนย์ส่งเสริมกิจการนักศึกษา (ศพก.) ได้มีการเฝ้าระวังและติดตามตรวจสอบอย่างใกล้ชิด พบว่าสถานศึกษาที่ปรากฏรายชื่อหลายแห่ง ส่วนใหญ่เป็นสถานศึกษาอาชีวะเอกชนที่ปิดและยกเลิกกิจการไปแล้ว และอาจมีบางสถาบันที่ยังดำเนินการอยู่บ้าง สำหรับนักศึกษาสังกัด สอศ. ที่ไปร่วมชุมนุมนั้น จะมีเพียงส่วนน้อย และพบว่าเป็นศิษย์เก่าที่จบการศึกษาไปแล้ว และบางส่วนก็เป็นอดีตนักศึกษาที่มีเหตุต้องออกกลางคัน
"ไม่ได้ปิดกั้นนักเรียน นักศึกษา แสดงออกทางการเมือง แต่ผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรไม่สบายใจที่นำชื่อสถาบันไปเขียนป้ายและอ้างว่าเป็นภาพรวมของสถาบันการศึกษาและใช้ชื่ออาชีวะทั้งมวล เพราะไม่ใช่เป็นมติของทุกคนในสถาบันนั้น เนื่องจากเป็นห่วงภาพลักษณ์ จึงได้มีหนังสือถึงผู้อำนวยการสถานศึกษา ในสังกัด สอศ. ทุกแห่ง ให้ข้อเสนอแนะที่ถูกต้องถึงการเข้าร่วมชุมนุม"
ด้านนายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (เลขาธิการ กช.) กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่ามีชื่อวิทยาลัยเอกชนเข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง จำนวน 26 แห่ง ซึ่งในจำนวนนี้มี 9 แห่งเป็นสถานศึกษาที่ปิดตัวไปแล้ว และนักศึกษาที่ระบุว่าเป็นนักศึกษาของวิทยาลัยเหล่านี้ล้วนแต่เป็นศิษย์เก่า ไม่มีศิษย์ปัจจุบัน
นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เปิดเผยตอนหนึ่งผ่านรายการ “เวคอัพ ไทยแลนด์” ออกอากาศทางช่องว้อยทีวี ถึงโอกาสที่พรรคประชาธิปัตย์จะเข้าร่วมสภาปฏิรูปประเทศไทยกับรัฐบาลว่า ตนคิดว่าข้อเสนอสภาปฏิรูปเป็นแนวคิดที่ดี ในสมัยที่ ปชป. เป็นรัฐบาล ได้ทำมากกว่านี้ด้วยซ้ำ มีความคืบหน้าไปถึงการจัดตั้งสมัชชาปฏิรูปประเทศไทย ให้คนกลาง อย่าง นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส เป็นประธาน หรือเสนอให้มีคณะกรรมการปฏิรูประเทศ โดยมีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน หรือแม้แต่คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่มีคณิต ณ นคร เป็นประธาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ซึ่งรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เสนอสภาปฏิรูปก็เป็นเสมือนการต่อยอด และสกัดนำข้อเสนอที่คิดว่าสามารถปฏิบัติได้มาใช้ และที่สำคัญคู่ขัดแย้งที่เกี่ยวข้องโดยตรง ไม่ว่าจะเป็น ปชป. พรรคเพื่อไทย เสื้อแดง เสื้อเหลือง เป็นต้น จะต้องรวมกัน เมื่อรัฐบาลริเริ่มจะต้องใช้ความพยายามในการสร้างความเชื่อมั่นต่อไป
“ผมได้แนะนำผ่านนายสุรนันนท์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่โทรศัพท์ประสานมาที่ผม ซึ่งก็ยังบอกกลับไปว่า ยังมีโอกาส เพราะ ปชป. หรือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ยังไม่ถึงกับปิดโอกาส เพราะที่ผ่านมา ผ่อนปรนมามากแล้ว ซึ่งผมคิดว่าอยู่ที่รัฐบาล หากรัฐบาลจะเดินหน้านิรโทษให้กับคนเล็กคนน้อย คงไม่มีปัญหา เพราะจุดของ ปชป. อยู่ที่รัฐธรรมนูญ ต้องเข้าใจว่าเราเห็นด้วยกับการนิรโทษกรรม ในกรอบที่ชัดเจนว่านิรโทษให้กับประชาชนที่ละเมิด พ.ร.ก.ความมั่นคง แต่ไม่รวมผู้สั่งการ แกนนำ คนฆ่าคนอื่น หรือแม้แต่ผู้ต้องคดีหมิ่น ซึ่ง ส.ส.หลายคนก็ยืนยัน ดังนั้น ร่างนิรโทษของนายวรชัย เหมะ เราไม่มีปัญหา แต่เรากังวลว่าจะมีการสอดไส้หรือแปลงร่างต่างหาก อย่างไรก็ตาม หากติเตือนกันแล้ว รัฐบาลก็อยากจะเดินปรองดองและเดินหน้าปฏิรูปประเทศก็ต้องรักษาคำมั่นสัญญา”นายอลงกรณ์กล่าว
**“เติ้ง” เดินหน้าทาบ “ปชป.-พธม.”
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า การทาบทาม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ และตัวแทนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ให้เข้าร่วมคณะปฏิรูปการเมือง หลังจากที่ได้มีการหารือกับนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา ผู้ดูแลภาพรวมของทั้ง 3 คณะปฏิรูป คาดว่า อาจจะเป็นช่วงสัปดาห์หน้า และขอดูก่อนว่าจะไปเชิญวันไหน ขณะเดียวกัน ไม่ได้มีคาดหวังว่า นายอภิสิทธิ์ นายชวน และตัวแทนพันธมิตรฯ จะเข้าร่วมด้วยหรือไม่ คงต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของบุคคลเหล่านี้
สำหรับการทาบทามผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเข้าร่วมคณะปฏิรูปเพิ่มเติมหรือไม่นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้หารือกันว่าจะเชิญบุคคลใดเข้าร่วมในการประชุมนัดหน้า ซึ่งต้องหารือกับทางสมาชิกอีกครั้งหนึ่งก่อน
**"สุรพงษ์"ยัน"โทนี่ แบลร์"มาชัวร์
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงการเดินทางร่วมเวทีปาฐกถาผ่านโครงการ Uniting for the future : Learning from each other's experiences (ผนึกกำลังสู้อนาคต เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์) ของนายโทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ในวันที่ 2 ก.ย. หลังกลุ่มคนไทยและชาวต่างชาติยืนหนังสือคัดค้านที่สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทยว่า ยืนยันมาแน่นอน ฝ่ายที่ไปคัดค้านสถานทูตอังกฤษ ไม่อยากไปพูดว่าไปปิดกั้นสังคมไทย เพราะวันนี้กระทรวงการต่างประเทศจัดเวทีนี้ขึ้นมาเป็นเวทีทางวิชาการ เพื่อให้คนได้เรียนรู้ประสบการณ์จากผู้นำที่มีประสบการณ์ในประเทศต่างๆ ที่มีความขัดแย้ง และจะร่วมแก้ไขปัญหา แต่บุคคลที่ไปคัดค้านไม่ให้เข้ามา ก็ไม่เข้าใจว่าคิดอะไร แทนหาทางออกให้กับประเทศเดินหน้าต่อไปได้
"ถ้าสังคมไทยสงบ เศรษฐกิจไทยเดินหน้าแน่นอน ความวุ่นวายทางการเมืองเป็นสิ่งที่หลายๆ ประเทศไม่อยากเห็น อยากให้บุคคลที่ออกมาต่อต้านกลับไปดูที่ประเทศอียิปต์เป็นตัวอย่างที่วันนี้เศรษฐกิจ การท่องเที่ยวเสียหาย ไม่รู้ว่าคนไทยกลุ่มนั้นต้องการอะไรในชีวิตเขา คิดถึงประชาชน ประเทศชาติบ้าง จากรายชื่อที่เชิญไปในการเสวนาครั้งแรก มีทั้งหมด 11 คน ตอบรับที่จะมาวันที่ 2 ก.ย. จำนวน 3 คน ส่วนที่จะมาครั้งต่อไปก็จะมีผู้นำอื่น และมีการเชิญเพิ่มเติมอีก ได้มีการส่งหนังสือเชิญไปอีกชุดหนึ่งแล้วในการเสวนาครั้งที่ 2 เพียงแต่รอทางไทยกำหนดวันเสวนาครั้งที่ 2 ว่าจะเป็นเมื่อไร ซึ่งจะกำหนดวันที่ชัดเจนหลังเสร็จสิ้นการเสวนาครั้งแรก เพื่อให้ผู้นำเลือกวันที่จะมาร่วมเวทีเสวนาได้"นายสุรพงษ์กล่าว
** ปชป. ลั่นจับมือทุกกลุ่มต้านรัฐ
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ประธานส.ส.พรรค และนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ไปหารือกับสมณะโพธิรักษ์ ผู้นำกลุ่มสันติอโศก ว่า เป็นการแสวงหาความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่มีแนวคิดตรงกันในการรักษาบ้านเมือง ละทิฐิ อคติในอดีต และขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนทุกฝ่ายว่า พรรคพร้อมร่วมมือกับทุกฝ่ายที่มีแนวคิดตรงกันในกรณีที่รัฐบาลออกกฏหมายนิรโทษกรรม การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อกินรวบประเทศ รวมถึงการออกพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ท่ามกลางภาวะวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยและปัญหาสังคม ที่ส่งผลกระทบต่อปากท้องค่าครองชีพภาคครัวเรือนของประชาชน
“บอกไม่ได้ว่า จะเป่านกหวีดเมื่อไร ต้องรอดูสถานการณ์การเมืองให้ชัดเจนก่อน ซึ่งเราจะต่อสู้ร่วมกับประชาชนให้ยาวนานที่สุด เพื่อไม่ให้เรื่องเหล่านี้ทำร้ายประเทศชาติ ส่วนจะมี ส.ส.พรรคลาออกเพื่อไปร่วมนำการต่อสู้ภาคประชาชนนอกสภาเมื่อใดนั้น ยังไม่ทราบ แต่เมื่อถึงจุดที่ต้องเคลื่อนไหวนอกสภา ส.ส.แต่ละคนก็จะพิจารณาเองว่าบทบาทของตนเองจำเป็นต้องลาออกจากตำแหน่งหรือไม่ เพราะไม่มีใครยึดติดกับตำแหน่ง เนื่องจากหากประเทศชาติไม่เหลืออะไรแล้ว การเป็นส.ส.ก็ไม่มีประโยชน์อะไร และสามารถบอกได้เลยว่าจะไม่มีส.ส.คนใดตกเป็นผู้ก่อการร้ายแน่นอน”นายชวนนท์กล่าว
**จวก"ปู"ยกปากีโมเดลหวังนิรโทษ
ที่รัฐสภา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ให้สัมภาษณ์กรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุในที่ประชุมครม.ว่า อยากเห็นฝ่ายค้านไทยทำงานสร้างสรรค์เหมือนฝ่ายค้านของประเทศปากีสถานที่ไม่ค้านทุกเรื่อง เห็นว่า เรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจใหม่ เพราะเหตุที่นายกฯ ไม่เข้าร่วมประชุมสภา นายกฯ จึงไม่ทราบว่าฝ่ายค้านให้ความร่วมมือกับรัฐบาลมาตลอด 2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการเสนอกฎหมายของรัฐบาล ซึ่งฝ่ายค้านยกมือโหวตให้เกือบ 60 ฉบับ ส่วนที่คัดค้านจะมีเพียงแต่เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กฎหมายนิรโทษกรรม และ พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งฝ่ายค้านได้ประกาศคัดค้านตั้งแต่แรกแล้ว ส่วนกรณีที่นายกฯ อยากเห็นประเทศไทยเหมือนประเทศปากีสถานในประเด็นการนิรโทษกรรมนั้น สะท้อนให้เห็นว่าสุดท้ายแล้วจุดประสงค์ของนายกฯ หนีไม่พ้นการผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม ต้องการล้างผิดให้คนๆเดียว
**ลูกหาบซัด "จุรินทร์"บิดเบือน
ร.ท หญิง สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายจุรินทร์ ตีความคำพูดของนายกฯ ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ ใจความสำคัญเกี่ยวกับอุทาหรณ์จากการเยือนปากีสถานที่ท่านนายกฯ พูดถึงนั้น ใจความสำคัญอยู่ที่สปิริตของนักการเมืองปากีสถาน ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล ในการร่วมมือกันสร้างความเข้มแข็งให้ระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างความเป็นประชาธิปไตยในประเทศ ซึ่งนายกฯ เห็นว่าเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ นอกจากนี้ นายกฯ ยังกล่าวต่อที่ประชุมครม.ว่า หวังที่จะเห็นทุกฝ่ายที่คิดต่างกับรัฐบาลเข้าร่วมเวทีปฏิรูปการเมือง เพื่อร่วมกันกำหนดอนาคตของประเทศ ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ไม่ใช่การมุ่งล้างผิดให้คนๆ เดียว อย่างที่นายจุรินทร์กล่าวหาแต่อย่างใด จึงขอให้นายจุรินทร์หยุดใส่ร้าย และบิดเบือนคำพูดของนายกฯ เพราะเป็นการกระทำที่ไม่เป็นสุภาพบุรุษและไม่เป็นธรรม
**กปท. ดีใจ ปชป. เชิญร่วมกลุ่มล้มรัฐ
พล.อ.ท.วัชระ ฤทธาคนี คณะเสนาธิการร่วมกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) กล่าวว่า ทางกลุ่มยังเดินหน้ามวลชนไปอย่างช้าๆ แบบไม่มีแผนแบบตายตัว เพราะจะวางแผนตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น แต่ยังมุ่งมั่นที่จะทำให้การเมืองไทยอยู่ในวงอารยะ เนื่องจากขณะนี้รัฐบาลทำตามใจตนเองมากเกินไป เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ พิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม พร้อมมองว่า การตั้งเวทีสภาปฏิรูปการเมืองของรัฐบาลเป็นการสร้างภาพ และการเชิญผู้นำต่างชาติมาร่วมประชุม เพื่อหาแนวทางการปรองดองในประเทศ ก็ยังไม่ใช่บุคคลที่โดดเด่น
ส่วนกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ จะเดินทางเจรจากับทางกลุ่มนั้น มองว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ทางกลุ่มขอดูเนื้อหาทางการเมืองก่อน โดยเฉพาะฝ่ายค้านว่ามีความตั้งใจอย่างไรในการร่วมกับกลุ่ม รวมถึงมีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาประเทศให้มีอารยะหรือไม่ จึงอยากแนะนำให้พรรคประชาธิปัตย์ปรับปรุงโครงสร้างและยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อให้มีความเป็นเอกภาพทั้งหมดด้วย
**โบ้ยแค่พวกศิษย์เก่า-ถูกไล่ออก
นายอกนิษฐ์ คลังแสง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (รองเลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า กรณีที่นักศึกษาอาชีวะไปร่วมชุมนุมทางการเมือง ศูนย์ส่งเสริมกิจการนักศึกษา (ศพก.) ได้มีการเฝ้าระวังและติดตามตรวจสอบอย่างใกล้ชิด พบว่าสถานศึกษาที่ปรากฏรายชื่อหลายแห่ง ส่วนใหญ่เป็นสถานศึกษาอาชีวะเอกชนที่ปิดและยกเลิกกิจการไปแล้ว และอาจมีบางสถาบันที่ยังดำเนินการอยู่บ้าง สำหรับนักศึกษาสังกัด สอศ. ที่ไปร่วมชุมนุมนั้น จะมีเพียงส่วนน้อย และพบว่าเป็นศิษย์เก่าที่จบการศึกษาไปแล้ว และบางส่วนก็เป็นอดีตนักศึกษาที่มีเหตุต้องออกกลางคัน
"ไม่ได้ปิดกั้นนักเรียน นักศึกษา แสดงออกทางการเมือง แต่ผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรไม่สบายใจที่นำชื่อสถาบันไปเขียนป้ายและอ้างว่าเป็นภาพรวมของสถาบันการศึกษาและใช้ชื่ออาชีวะทั้งมวล เพราะไม่ใช่เป็นมติของทุกคนในสถาบันนั้น เนื่องจากเป็นห่วงภาพลักษณ์ จึงได้มีหนังสือถึงผู้อำนวยการสถานศึกษา ในสังกัด สอศ. ทุกแห่ง ให้ข้อเสนอแนะที่ถูกต้องถึงการเข้าร่วมชุมนุม"
ด้านนายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (เลขาธิการ กช.) กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่ามีชื่อวิทยาลัยเอกชนเข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง จำนวน 26 แห่ง ซึ่งในจำนวนนี้มี 9 แห่งเป็นสถานศึกษาที่ปิดตัวไปแล้ว และนักศึกษาที่ระบุว่าเป็นนักศึกษาของวิทยาลัยเหล่านี้ล้วนแต่เป็นศิษย์เก่า ไม่มีศิษย์ปัจจุบัน