วานนี้ (27 ส.ค. ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป ป.ช.) นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. พร้อมด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. รวม 9 คน ร่วมกันแถลงความคืบหน้าผลการดำเนินงานของ ป.ป.ช. ในรอบ 8 เดือน
โดย นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการและโฆษก ป.ป.ช. แถลงว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้มีมติชี้มูลกรณีกล่าวหานายบุญส่ง กุลบุปผา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ปฎิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือโดยทุจริตอนุญาตให้บุตรชายของตนเอง ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ลาไปศึกษาต่อต่างประเทศ โดยได้รับเงินเดือน และเงินประจำตำแหน่งในระหว่างลา เดือนละ 47,100 เป็นระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน รวม 8 แสนบาท
ตามที่นายพิชา วิจิตรศิลป์ ประธานชมรมกฎหมายภิวัฒน์แห่งประเทศ ไทย และเครือข่ายฯ กล่าวหา ซึ่งเมื่อพิจารณาจากเอกสารหลักฐานและคำชี้แจงของนายบุญส่งแล้ว เห็นว่าตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นระเบียบที่นายบุญส่งใช้ในการแต่งตั้งบุตรชายเป็นเลขานุการตุลากรศาลรัฐธรรมนูญนั้น ไม่ได้มีบทบัญญัติไว้ว่าให้อำนาจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่จะอนุญาตเลขานุการฯ ลาไปศึกษาต่อต่างประเทศ
ทั้งนี้ การที่นายบุญส่งจึงอ้างว่ามีอำนาจตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยลูกจ้างสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2543 หมวด 4 ข้อ 16 อาศัยระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ พ.ศ.2526 ข้อ 24 มาเทียบเคียง ปรากฎว่าอนุญาตให้ลูกจ้างประจำของส่วนราชการไปศึกษาต่อต่างประเทศ แต่ตำแหน่งเลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ จึงไม่สามารถนำระเบียบนี้มาเทียบเคียงใช้บังคับได้ ดังนั้นคำชี้แจงข้อกล่าวหาของนายบุญส่งทั้งหมด จึงฟังไม่ขึ้น การที่บุตรชายของนายบุญส่งลาไปศึกษาต่อยังต่างประเทศไม่มีระเบียบให้อำนาจในการอนุญาตได้ จึงเป็นการกระทำโดยพลการปราศจากอำนาจและหน้าที่ การกระทำดังกล่าวของนายบุญส่งมิใช่การกระทำในฐานะเจ้าพนักงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย จึงไม่เป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
“แต่พฤติการณ์ของนายบุญส่งที่อนุญาตให้บุตรชายลาไปศึกษาต่อต่างประเทศ โดยพลการมิได้รายงานต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือแจ้งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญให้ทราบ เป็นเหตุให้ยังคงมีการเบิกจ่ายค่าตอบแทนรายเดือน และเงินประจำตำแหน่งให้ตามปกติ จึงเป็นเรื่องความรับผิดชอบในทางแพ่ง ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะเรียกให้นายบุญส่งชดใช้เงินคืนต่อไป และคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติกรณีกล่าวหาของนายบุญส่ง ปฎิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ไม่มีมูล จึงให้ข้อกล่าวหาตกไป และให้แจ้งความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช.เรื่องความรับผิดทางแพ่งให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญทราบ เพื่อพิจารณาตามอำนาจหน้าที่ต่อไป” นายกล้านรงค์กล่าว.
โดย นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการและโฆษก ป.ป.ช. แถลงว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้มีมติชี้มูลกรณีกล่าวหานายบุญส่ง กุลบุปผา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ปฎิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือโดยทุจริตอนุญาตให้บุตรชายของตนเอง ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ลาไปศึกษาต่อต่างประเทศ โดยได้รับเงินเดือน และเงินประจำตำแหน่งในระหว่างลา เดือนละ 47,100 เป็นระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน รวม 8 แสนบาท
ตามที่นายพิชา วิจิตรศิลป์ ประธานชมรมกฎหมายภิวัฒน์แห่งประเทศ ไทย และเครือข่ายฯ กล่าวหา ซึ่งเมื่อพิจารณาจากเอกสารหลักฐานและคำชี้แจงของนายบุญส่งแล้ว เห็นว่าตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นระเบียบที่นายบุญส่งใช้ในการแต่งตั้งบุตรชายเป็นเลขานุการตุลากรศาลรัฐธรรมนูญนั้น ไม่ได้มีบทบัญญัติไว้ว่าให้อำนาจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่จะอนุญาตเลขานุการฯ ลาไปศึกษาต่อต่างประเทศ
ทั้งนี้ การที่นายบุญส่งจึงอ้างว่ามีอำนาจตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยลูกจ้างสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2543 หมวด 4 ข้อ 16 อาศัยระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ พ.ศ.2526 ข้อ 24 มาเทียบเคียง ปรากฎว่าอนุญาตให้ลูกจ้างประจำของส่วนราชการไปศึกษาต่อต่างประเทศ แต่ตำแหน่งเลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ จึงไม่สามารถนำระเบียบนี้มาเทียบเคียงใช้บังคับได้ ดังนั้นคำชี้แจงข้อกล่าวหาของนายบุญส่งทั้งหมด จึงฟังไม่ขึ้น การที่บุตรชายของนายบุญส่งลาไปศึกษาต่อยังต่างประเทศไม่มีระเบียบให้อำนาจในการอนุญาตได้ จึงเป็นการกระทำโดยพลการปราศจากอำนาจและหน้าที่ การกระทำดังกล่าวของนายบุญส่งมิใช่การกระทำในฐานะเจ้าพนักงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย จึงไม่เป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
“แต่พฤติการณ์ของนายบุญส่งที่อนุญาตให้บุตรชายลาไปศึกษาต่อต่างประเทศ โดยพลการมิได้รายงานต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือแจ้งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญให้ทราบ เป็นเหตุให้ยังคงมีการเบิกจ่ายค่าตอบแทนรายเดือน และเงินประจำตำแหน่งให้ตามปกติ จึงเป็นเรื่องความรับผิดชอบในทางแพ่ง ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะเรียกให้นายบุญส่งชดใช้เงินคืนต่อไป และคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติกรณีกล่าวหาของนายบุญส่ง ปฎิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ไม่มีมูล จึงให้ข้อกล่าวหาตกไป และให้แจ้งความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช.เรื่องความรับผิดทางแพ่งให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญทราบ เพื่อพิจารณาตามอำนาจหน้าที่ต่อไป” นายกล้านรงค์กล่าว.