เมื่อวันที่ 25 ส.ค.ที่ทำเนียบรัฐบาล ในช่วงท้ายของเวที “เดินหน้าปฏิรูปประเทศ พัฒนาประชาธิปไตย และประเทศร่วมกัน” นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับเวทีพูดคุยแก้ปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งนายกฯ ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน เพื่อให้มองเห็นแสงสว่างและแนวทางในการแก้ปัญหา และวุฒิสภาพร้อมให้การสนับสนุนสิ่งที่ทำเพื่อประเทศชาติ และขอให้นายกฯ ใช้ความเป็นผู้หญิงเร่งสร้างความเชื่อมั่นและแก้ปัญหา โดยเห็นว่าสถาบันศาลยุติธรรมจะเป็นสถาบันหลักในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในประเทศ และเชื่อมั่นว่า ยามบ้านเมืองคับขันสตรีจะออกมาช่วยเรา
ส่วนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ได้ใช้สิทธิ์พาดพิง โดยชี้แจงว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้นในที่ประชุมสภาฯ ตนรู้สึกละเหี่ยใจ ลำพังแค่ตัวเองก็ไม่รู้จะทำอย่างไร
ด้านนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปการประชุมว่า เรื่องของกรอบการทำงานในการวางเป้าหมายการปฏิรูปและหาทางออกของประเทศ จะมองมิติรวมใน 7 หัวข้อ คือ
1. การทำให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความมั่นคงแข็งแรง
2. ต้องมีความเท่าเทียม เสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ตามสิทธิที่แต่ละกลุ่มควรได้รับ
3. มีกลไกการทำงานที่โปร่งใสตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี
4. สร้างกระบวนการให้เกิดความยุติธรรม ความเสมอภาคเท่าเทียมในสิทธิขั้นพื้นฐานที่แต่ละกลุ่มในสังคมควรได้รับ ตามหลักนิติรัฐ นิติธรรม
5. มีประชาธิปไตยที่ผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ยึดเสียงส่วนใหญ่ รับฟังเสียงส่วนน้อย
6. สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และบรรยากาศที่ดีของการไว้วางใจกัน
7. ยึดผลประโยชน์ส่วนรวมบนความถูกต้อง
นอกจากนี้ยังให้ยึดแนวทางการปฏิบัติโดยให้รวบรวมผลงานการศึกษาจากทุกหน่วยงานที่มีการเสนอมา เพื่อให้เกิดการตกผลึก หัวข้อใดไม่มีความขัดแย้ง ทุกฝ่ายเห็นตรงกันให้ดำเนินการได้ทันที โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสังคม รวมถึงประเด็นที่ยังคงเป็นปัญหาไม่ได้ข้อสรุปมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดูแล และต้องศึกษาปัญหารากเหง้า ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อแก้ปัญหาระยะยาว โดยมอบหมายให้นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และนายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรฯ ดูแล
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ยังให้กำหนดแผนโรดแมปปฏิรูปประเทศ ทั้งการปฏิรูปการเมืองให้ครอบคลุมการเมืองการปกครอง การบริหารส่วนท้องถิ่น ฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการควบคู่กับการปฏิรูปการเมือง ควบคู่กับการปฏิรูปเศรษฐกิจ ที่จะต้องดำเนินการตั้งแต่โครงสร้างเศรษฐกิจ การพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันรองรับประชาคมอาเซียน และสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน และการปฏิรูปสังคม สร้างจริยธรรม วัฒนธรรม รวมถึงด้านสิ่งแวดล้อม และศาสนา ซึ่งแต่ละด้านจะต้องกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ด้านนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ถ้าจะแก้ปัญหาควรหยิบยกปัญหาเฉพาะหน้ามาแก้ไข ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ซึ่งการแก้ปัญหาไม่ใช่เรื่องง่าย ลำบากมาก ซึ่งตนจะช่วยไปประสานงานทั้ง 3 ด้านให้เดินหน้า
ขณะที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา กล่าวว่า หลังจากหารือกันวันนี้หลายฝ่ายจะไปรวบรวมข้อมูลทั้ง 3 คณะ คือ การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม และให้แบ่งการทำงานออกมาเป็น 2 ส่วน คือ ปัญหาเร่งด่วน และปัญหาระยะยาวโดยมอบหมายให้นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้อำนวยความสะดวก และหากจะมีการเพิ่มบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญและเหมาะสมในการปฏิรูปแต่ละด้านให้สามารถส่งรายชื่อเพิ่มเติมได้ที่ นายธงทอง และจะสรุปผลการหารือในวันนี้จัดส่งให้ผู้ที่ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุม แม้จะมาหรือไม่มาก็ตาม โดยในเดือนหน้าจะเชิญอีกครั้ง ส่วนจะเป็นวันไหนจะแจ้งอีกครั้งหนึ่ง
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวอีกครั้งว่า ยืนยันว่าเราจะทำงานและนำความเห็นไปทำเพื่อประชาชน กราบขอกำลังใจซึ่งกันและกันและอย่าเพิ่งทิ้งกันไปเลยนะคะ
นั่นเป็นข้อสรุปย่อๆ จากหนังสือพิมพ์ที่รายงานข่าวการเปิดประชุมสภาปฏิรูป
ถ้าจะปฏิรูปให้ได้จริงๆ ควรที่จะทำอย่างที่ บัญชา คามิน การ์ตูนนิสต์แนะนำเอาไว้ ให้แต่ละคนหยิบปืนมาจ่อขมับตัวเองแล้วลั่นไกเท่านี้แหละครับ ประเทศไทยก็จะโล่งไปเยอะ ปฏิรูปได้โดยปริยาย
ลองเอากระจกมาส่องหน้าตัวเองแล้วตอบคำถามอย่างสัตย์ซื่อซิครับว่า ที่ผ่านมา แต่ละคน (หลายๆ คน) ได้ทำร้ายประเทศไทยอย่างสาหัสสากรรจ์มาแล้วเท่าไร กอบโกยผลประโยชน์จากประเทศชาติไปมากน้อยขนาดไหน?
ประธานและรองประธานรัฐสภา ได้ทำลายภาพลักษณ์ประชาธิปไตยของประเทศอย่างสาหัสสากรรจ์ขนาดไหนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เหตุทั้งหลายทั้งปวงเกิดจากอะไร เพราะต้องการที่จะรับใช้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ใช่หรือไม่ เพราะเกรงว่าผลงานที่รับใช้อยู่จะยังไม่เป็นที่ประทับอกประทับใจ พ.ต.ท.ทักษิณ ใช่หรือไม่ ลองสลัดความเป็นขี้ข้า พ.ต.ท.ทักษิณ ออกไปซิจะรู้สึกโล่งโปร่ง มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์มนาเพิ่มขึ้นหรือไม่
ทุกวันนี้สบตาญาติพี่น้องเพื่อนฝูงได้อย่างเต็มตาหรือไม่?
6-7 ข้อที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เจื้อยแจ้วมานั้น ลองถามตัวเองหน่อยว่า มีข้อไหนบ้างที่ตัวเธอทำได้ และทำมาแล้ว
ลองตอบตัวเองอย่างซื่อสัตย์หน่อยซิ
ส่วนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ได้ใช้สิทธิ์พาดพิง โดยชี้แจงว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้นในที่ประชุมสภาฯ ตนรู้สึกละเหี่ยใจ ลำพังแค่ตัวเองก็ไม่รู้จะทำอย่างไร
ด้านนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปการประชุมว่า เรื่องของกรอบการทำงานในการวางเป้าหมายการปฏิรูปและหาทางออกของประเทศ จะมองมิติรวมใน 7 หัวข้อ คือ
1. การทำให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความมั่นคงแข็งแรง
2. ต้องมีความเท่าเทียม เสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ตามสิทธิที่แต่ละกลุ่มควรได้รับ
3. มีกลไกการทำงานที่โปร่งใสตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี
4. สร้างกระบวนการให้เกิดความยุติธรรม ความเสมอภาคเท่าเทียมในสิทธิขั้นพื้นฐานที่แต่ละกลุ่มในสังคมควรได้รับ ตามหลักนิติรัฐ นิติธรรม
5. มีประชาธิปไตยที่ผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ยึดเสียงส่วนใหญ่ รับฟังเสียงส่วนน้อย
6. สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และบรรยากาศที่ดีของการไว้วางใจกัน
7. ยึดผลประโยชน์ส่วนรวมบนความถูกต้อง
นอกจากนี้ยังให้ยึดแนวทางการปฏิบัติโดยให้รวบรวมผลงานการศึกษาจากทุกหน่วยงานที่มีการเสนอมา เพื่อให้เกิดการตกผลึก หัวข้อใดไม่มีความขัดแย้ง ทุกฝ่ายเห็นตรงกันให้ดำเนินการได้ทันที โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสังคม รวมถึงประเด็นที่ยังคงเป็นปัญหาไม่ได้ข้อสรุปมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดูแล และต้องศึกษาปัญหารากเหง้า ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อแก้ปัญหาระยะยาว โดยมอบหมายให้นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และนายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรฯ ดูแล
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ยังให้กำหนดแผนโรดแมปปฏิรูปประเทศ ทั้งการปฏิรูปการเมืองให้ครอบคลุมการเมืองการปกครอง การบริหารส่วนท้องถิ่น ฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการควบคู่กับการปฏิรูปการเมือง ควบคู่กับการปฏิรูปเศรษฐกิจ ที่จะต้องดำเนินการตั้งแต่โครงสร้างเศรษฐกิจ การพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันรองรับประชาคมอาเซียน และสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน และการปฏิรูปสังคม สร้างจริยธรรม วัฒนธรรม รวมถึงด้านสิ่งแวดล้อม และศาสนา ซึ่งแต่ละด้านจะต้องกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ด้านนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ถ้าจะแก้ปัญหาควรหยิบยกปัญหาเฉพาะหน้ามาแก้ไข ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ซึ่งการแก้ปัญหาไม่ใช่เรื่องง่าย ลำบากมาก ซึ่งตนจะช่วยไปประสานงานทั้ง 3 ด้านให้เดินหน้า
ขณะที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา กล่าวว่า หลังจากหารือกันวันนี้หลายฝ่ายจะไปรวบรวมข้อมูลทั้ง 3 คณะ คือ การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม และให้แบ่งการทำงานออกมาเป็น 2 ส่วน คือ ปัญหาเร่งด่วน และปัญหาระยะยาวโดยมอบหมายให้นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้อำนวยความสะดวก และหากจะมีการเพิ่มบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญและเหมาะสมในการปฏิรูปแต่ละด้านให้สามารถส่งรายชื่อเพิ่มเติมได้ที่ นายธงทอง และจะสรุปผลการหารือในวันนี้จัดส่งให้ผู้ที่ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุม แม้จะมาหรือไม่มาก็ตาม โดยในเดือนหน้าจะเชิญอีกครั้ง ส่วนจะเป็นวันไหนจะแจ้งอีกครั้งหนึ่ง
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวอีกครั้งว่า ยืนยันว่าเราจะทำงานและนำความเห็นไปทำเพื่อประชาชน กราบขอกำลังใจซึ่งกันและกันและอย่าเพิ่งทิ้งกันไปเลยนะคะ
นั่นเป็นข้อสรุปย่อๆ จากหนังสือพิมพ์ที่รายงานข่าวการเปิดประชุมสภาปฏิรูป
ถ้าจะปฏิรูปให้ได้จริงๆ ควรที่จะทำอย่างที่ บัญชา คามิน การ์ตูนนิสต์แนะนำเอาไว้ ให้แต่ละคนหยิบปืนมาจ่อขมับตัวเองแล้วลั่นไกเท่านี้แหละครับ ประเทศไทยก็จะโล่งไปเยอะ ปฏิรูปได้โดยปริยาย
ลองเอากระจกมาส่องหน้าตัวเองแล้วตอบคำถามอย่างสัตย์ซื่อซิครับว่า ที่ผ่านมา แต่ละคน (หลายๆ คน) ได้ทำร้ายประเทศไทยอย่างสาหัสสากรรจ์มาแล้วเท่าไร กอบโกยผลประโยชน์จากประเทศชาติไปมากน้อยขนาดไหน?
ประธานและรองประธานรัฐสภา ได้ทำลายภาพลักษณ์ประชาธิปไตยของประเทศอย่างสาหัสสากรรจ์ขนาดไหนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เหตุทั้งหลายทั้งปวงเกิดจากอะไร เพราะต้องการที่จะรับใช้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ใช่หรือไม่ เพราะเกรงว่าผลงานที่รับใช้อยู่จะยังไม่เป็นที่ประทับอกประทับใจ พ.ต.ท.ทักษิณ ใช่หรือไม่ ลองสลัดความเป็นขี้ข้า พ.ต.ท.ทักษิณ ออกไปซิจะรู้สึกโล่งโปร่ง มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์มนาเพิ่มขึ้นหรือไม่
ทุกวันนี้สบตาญาติพี่น้องเพื่อนฝูงได้อย่างเต็มตาหรือไม่?
6-7 ข้อที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เจื้อยแจ้วมานั้น ลองถามตัวเองหน่อยว่า มีข้อไหนบ้างที่ตัวเธอทำได้ และทำมาแล้ว
ลองตอบตัวเองอย่างซื่อสัตย์หน่อยซิ