ย้อนไปเมื่อปี 2543 ผมเขียนและใช้ทุนตัวเองพิมพ์หนังสือชื่อ ไอเอ็มเอฟ ไอเอ็มเอฟ ไอเอ็มเอฟ ออกมา แรงจูงใจในการเขียนหนังสือเล่มนี้มีหลายอย่างรวมทั้งความต้องการที่จะให้ความกระจ่างในบางด้านเกี่ยวกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศและปัจจัยพื้นฐานของการพัฒนาเนื่องจากผมมีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับองค์การนั้นในระหว่างที่ทำงานอยู่กับธนาคารโลก หนังสือขายไม่ดี ผู้จัดจำหน่ายจึงส่งคืนส่วนที่เหลือไปให้ผมจำนวนหนึ่งซึ่งกัลยาณมิตรนำไปขายลดราคาบ้างและผมนำไปแจกบ้างจนกระทั่งหมด หลายปีต่อมา คลังเอกสารสาธารณะนำไปสแกนขึ้นเว็บไซต์เพื่อให้ผู้สนใจดาวน์โหลดได้ฟรีที่ www.openbase.in.th (อาจเข้าไปดาวน์โหลดผ่านเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนาก็ได้ที่ www.bannareader.org)
โดยทั่วไปคนไทยมักไม่ค่อยได้ยินชื่อเต็มของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หากคุ้นเคยกับคำว่า “ไอเอ็มเอฟ” (IMF) ซึ่งย่อมาจาก International Momentary Fund หลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี 2540 ส่งผลให้รัฐบาลไทยต้องไปกู้เงินจากองค์การนั้นมาทดแทนทุนสำรองของชาติที่สูญไปในการต่อสู้กับนักโจมตีค่าเงิน ชื่อของหนังสือจึงใช้คำว่า “ไอเอ็มเอฟ” แต่ผมใช้คำนั้นซ้ำสามครั้งตั้งชื่อหนังสือเพราะหวังจะสื่อถึงสิ่งอื่นอีกหลายอย่างที่อาจย่อจากภาษาฝรั่งมาเป็น IMF ได้ ชื่อคงไม่สื่อและไม่กระตุ้นความสนใจ หนังสือจึงขายไม่ค่อยออก
คงจำกันได้ว่า ในการให้รัฐบาลไทยกู้เงินนั้น ไอเอ็มเอฟตั้งเงื่อนไขให้รัฐบาลไทยทำหลายอย่าง บางอย่างมีประโยชน์ แต่บางอย่างมีผลข้างเคียงร้ายแรง ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีปัญหาอะไรตามมาในช่วงเวลาหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนั้น คนไทยจึงมักถูกชักจูงให้โทษไอเอ็มเอฟไม่ว่าปัญหาจะมาจากเงื่อนไขของไอเอ็มเอฟหรือไม่ก็ตาม
แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 13 ปี แต่ผมมองว่าเนื้อหาส่วนใหญ่ของหนังสือยังไม่ล้าสมัยเนื่องจากการทำงานขององค์การนั้นและปัจจัยพื้นฐานของปัญหาในสังคมไทยยังไม่เปลี่ยนไปมากนัก เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมจึงนำชื่อและรูปปกของหนังสือมาเสนอต่อสังคมออนไลน์ในหน้าเฟซบุ๊กของผมพร้อมกับบอกผู้ที่สนใจว่าสามารถดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ดังกล่าวได้ พร้อมกันนั้นผมตั้งคำถามว่า “ไอเอ็มเอฟ” ตัวไหนและผมพูดไว้ในหนังสือตรงไหนที่เป็นปัจจัยพื้นฐานของปัญหาในสังคมไทยในปัจจุบัน ผู้ตอบถูกคนแรกจะได้รับรางวัลเป็นหนังสือหนึ่งเล่ม ปรากฏว่ากัลยาณมิตรคนหนึ่งตอบไปสองครั้ง แต่ผิดทั้งคู่ ผู้ตอบถูกคนแรกเป็นนักศึกษาแพทย์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คำตอบที่ถูกคือ “ไอเอ็มเอฟ” ที่ย่อมาจาก Insufficient Moral Foundation ซึ่งแปลว่า ฐานทางศีลธรรมจรรยาไม่แข็งแกร่งพอ
ขอยอมรับว่านั่นเป็นการอ่านสภาพสังคมไทยของผมซึ่งคงมีผู้ไม่เห็นด้วยจำนวนมาก แต่เนื่องจากผมเป็นผู้ตั้งเงื่อนไขเรื่องการให้รางวัล ผมจึงยึดการอ่านเหตุการณ์ของผมเป็นหลัก คำตอบอยู่ที่หน้า 76 ซึ่งพูดถึงเรื่อง “ต้นแค/เสาเข็ม” การอ่านเช่นนั้นสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในการทำงานด้านการพัฒนาของผมทั้งในธนาคารพัฒนาเอเซียและธนาคารโลกเป็นเวลากว่าสองทศวรรษ
นักพัฒนามักยอมรับกันว่าความฉ้อฉลซึ่งตรงกับคำว่า “คอร์รัปชัน” (corruption) ในภาษาอังกฤษเป็นอุปสรรคหนักหนาสาหัสสำหรับการพัฒนา แต่เป็นเวลานานแสนนาน พวกเขาหลีกเลี่ยงที่จะใช้คำว่า “คอร์รัปชัน” โดยตรง คำที่มักหยิบยกมาใช้แทนโดยทั่วไปได้แก่ good governance ซึ่งแปลเป็นไทยว่า “ธรรมาภิบาล” ผมเห็นด้วยว่าความฉ้อฉลเป็นอุปสรรคหลักของการพัฒนา แต่ผมมองว่าเราต้องมองให้กว้างออกไปกว่านั้นและสรุปว่า อุปสรรคต่อการพัฒนาคือการไม่ทำตามกฎเกณฑ์ของสังคมซึ่งวางอยู่บนฐานทางด้านคุณธรรมอันได้แก่หลักของศีลธรรมจรรยา ความฉ้อฉลเป็นการไม่ทำตามกฎเกณฑ์ของสังคมชนิดหนึ่งและผู้ฉ้อฉลคือผู้ด้อยคุณธรรม หรือมีฐานทางศีลธรรมจรยยาไม่แข็งแกร่ง
ตอนนี้มีการพูดถึงกันมากในหมู่นักวิชาการเรื่อง “กับดักของประเทศรายได้ระดับกลาง” (Middle Income Trap) ว่าเพราะอะไรเมื่อพัฒนาไปได้ถึงในระดับปานกลาง ประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ จึงมักพัฒนาต่อไปไม่ได้ ข้อสรุปและคำแนะนำว่าจะทำอย่างไรมีหลากหลาย แต่สิ่งที่ไม่มีใครพูดถึงได้แก่ฐานทางศีลธรรมจรรยาของประเทศเหล่านั้นว่าแข็งแกร่งขนาดไหน ผมสรุปไว้ในบท “ต้นแค/เสาเข็ม” ว่า การพัฒนาก็เหมือนการสร้างตึก ยิ่งสูงเท่าไร ตึกก็ยิ่งต้องการฐานที่แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้นฉันใด การพัฒนาจะก้าวหน้าต่อไปได้ก็ต้องการฐานทางศีลธรรมจรรยาที่แข็งแกร่งขั้นฉันนั้น
ผมอ้างถึงความฉ้อฉลของผู้นำและประเทศในเอเชียตะวันออกหลายประเทศว่า มีความฉ้อฉลมากบ้างน้อยบ้างและต่างก็พัฒนาไปได้ในระดับหนึ่ง แต่ความฉ้อฉลของผู้นำส่วนใหญ่ไม่เจาะเข้าไปทำลายแก่นของเศรษฐกิจและสังคมยกเว้นในกรณีของประธานาธิบดีเฟอร์ดินันด์ มาร์กอส ของฟิลิปปินส์เท่านั้น เจ้าหมอนั่นฉ้อฉลมากถึงขนาดเจาะเข้าไปถึงแก่นในของเศรษฐกิจโดยเฉพาะการเข้าไปผูกขาดตลาดของอุตสาหกรรมมะพร้าวซึ่งเป็นเสมือนรากเหง้าของเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ (ชาวฟิลิปินส์กระจัดกระจายอยู่บนหลายพันเกาะซึ่งมีภูมิอากาศเหมาะแก่การปลูกมะพร้าว พวกเขาจึงผลิตมะพร้าวส่งออกมากที่สุดในโลกก่อนที่มาร์กอสจะเข้าไปผูกขาดตลาดมะพร้าว) ผลของความฉ้อฉลแบบทำลายแก่นในส่งผลให้เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ล้มลุกคลุกคลานและจมปลักอยู่กับที่จนมีสมญาว่า “คนง่อยแห่งเอเชีย” (Sick Man of Asia)
เนื่องจากหนังสือเขียนออกมาเมื่อปี 2543 ผมจึงยังคิดว่าความฉ้อฉลของผู้นำไทยจะเป็นไปในรูปเดิม นั่นคือ ลัดเลาะกินแต่เปลือกนอกโดยไม่เข้าไปทำลายแก่นในซึ่งมีมากมายหลายอย่างรวมทั้งวินัยทางการเงินการคลังและกลไกตลาดเสรีซึ่งจะถูกทำลายด้วยการผูกขาดอย่างกว้างขวางทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม แต่หลังพิมพ์หนังสือออกมาไม่นานและมีการเลือกตั้งปี 2544 ที่ส่งผลให้เมืองไทยได้รัฐบาลใหม่ซึ่งเริ่มใช้นโยบายประชานิยมชนิดเลวร้ายในแนวของละตินอเมริกาเป็นครั้งแรก ผมรู้ว่าผมมองผู้นำไทยผิดไปถนัด จึงรีบเขียนหนังสือออกมาอีกเล่มหนึ่งซึ่งสำนักพิมพ์ใช้เวลา 9 เดือนก่อนจะตัดสินใจพิมพ์ หนังสือชื่อว่า ประชานิยม : หายนะจากอาร์เจนตินาถึงไทย? ซึ่งพิมพ์เมื่อเดือนกรกฎาคม 2546 (หนังสือได้รับการปรับปรุงใหม่ในปี 2554-2555 และพิมพ์ออกมาชื่อ ประชานิยม : ทางสู่ความหายนะ
ในช่วงเวลากว่า 12 ปีจากวันที่นโยบายประชานิยมชนิดเลวร้ายถูกนำเข้ามาใช้ในเมืองไทยอย่างกว้างขวาง เป็นที่ประจักษ์ว่าศีลธรรมจรรยาของนักการเมืองไทยเสื่อมทรามลงไปแบบไม่หยุดยั้ง กลุ่มหนึ่งถึงกับฉ้อฉลจนเข้าไปทำลายแก่นในของเศรษฐกิจและสังคมไทยโดยใช้การโกหกพกลมเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระบวนการบริหารบ้านเมือง เราจึงเห็นการโกหกแบบหน้าด้านๆ ว่าตนบริหารเศรษฐกิจสำเร็จจนสามารถชำระหนี้ไอเอ็มเอฟได้ก่อนกำหนดเวลาทั้งที่ไม่มีอะไรมากไปกว่าการคืนเงินที่ยืมเขามาเก็บไว้แทนทุนสำรองของชาติที่สูญไป และการใช้นโยบายที่เรียกกันโดยทั่วไปตามฝรั่งว่า “โกหกสีขาว” (White Lies)
ตัวอย่างของความฉ้อฉลและความเสื่อมทรามทางศีลธรรมจรรยามีมากมาย บางอย่างอาจไม่ผิดกฎหมาย แต่มันไม่เหมาะสมและไม่สมควรทำเพราะมันละเมิดหลักศีลธรรมจรรยาพร้อมกับหลักวิชาการ สิ่งเหล่านั้นพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นปัญหาหนักหนาสาหัส ณ วันนี้ สังคมไทยมีภาระที่จะต้องแบก “ฟาง” เส้นสุดท้ายที่จะทำให้ “ควาย” หลังหัก (ปรับเปลี่ยนเลียนแบบสำนวนฝรั่งที่ว่า The straw that broke the camel’s back.) หรือกำลังเกิดเหตุการณ์ที่จะผลักให้เมืองไทยไปตกหล่มจนปลักจนเป็น “คนง่อยของเอเชีย” แทนฟิลิปปินส์ ฟางเส้นสุดท้ายได้แก่โครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ด
โครงการนี้เป็นประชานิยมที่มีการโกหกพกลมเป็นฐานของการดำเนินการ มันกำลังทำลายอุตสาหกรรมข้าวซึ่งเป็นเสมือนรากเหง้าของสังคมไทยเช่นเดียวกับที่การผูกขาดตลาดมะพร้าวทำลายรากเหง้าของสังคมฟิลิปปินส์ แต่โครงการรับจำนำข้าวจะเลวร้ายยิ่งกว่าการผูกขาดตลาดมะพร้าวเพราะมันจะทำลายวินัยการเงินการคลัง ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติผู้หวังดีได้ชี้ให้เห็นอย่างต่อเนื่องถึงเรื่องความเลวร้ายของโครงการ แต่รัฐบาลไทยไม่ฟังและคนไทยส่วนใหญ่ยังดูดายไม่ออกมาต่อต้านรัฐบาลซึ่งฐานทางด้านศีลธรรมจรรยาเสื่อมทรามลงเรื่อยๆ อย่างเห็นได้ชัด
เมื่อรวมพฤติกรรมของนักการเมืองและของคนไทยส่วนใหญ่เข้าด้วยกัน มันจึงมีค่าเท่ากับศีลธรรมจรรยาในสังคมไทยได้เสื่อมทรามลง ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีเหตุการณ์เลวร้ายต่อไปในวันข้างหน้าและเมืองไทยประสบปัญหายิ่งกว่าติดอยู่ในกับดักของประเทศระดับกลาง เราจะโทษใครไม่ได้นอกจากฐานทางศีลธรรมจรรยาที่ไม่แข็งแกร่งของสังคมไทย หรือ “ไอเอ็มเอฟ” แต่เป็น “ไอเอ็มเอฟ” ที่ย่อมาจาก Insufficient Moral Foundation มิใช่ International Monetary Fund
โดยทั่วไปคนไทยมักไม่ค่อยได้ยินชื่อเต็มของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หากคุ้นเคยกับคำว่า “ไอเอ็มเอฟ” (IMF) ซึ่งย่อมาจาก International Momentary Fund หลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี 2540 ส่งผลให้รัฐบาลไทยต้องไปกู้เงินจากองค์การนั้นมาทดแทนทุนสำรองของชาติที่สูญไปในการต่อสู้กับนักโจมตีค่าเงิน ชื่อของหนังสือจึงใช้คำว่า “ไอเอ็มเอฟ” แต่ผมใช้คำนั้นซ้ำสามครั้งตั้งชื่อหนังสือเพราะหวังจะสื่อถึงสิ่งอื่นอีกหลายอย่างที่อาจย่อจากภาษาฝรั่งมาเป็น IMF ได้ ชื่อคงไม่สื่อและไม่กระตุ้นความสนใจ หนังสือจึงขายไม่ค่อยออก
คงจำกันได้ว่า ในการให้รัฐบาลไทยกู้เงินนั้น ไอเอ็มเอฟตั้งเงื่อนไขให้รัฐบาลไทยทำหลายอย่าง บางอย่างมีประโยชน์ แต่บางอย่างมีผลข้างเคียงร้ายแรง ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีปัญหาอะไรตามมาในช่วงเวลาหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนั้น คนไทยจึงมักถูกชักจูงให้โทษไอเอ็มเอฟไม่ว่าปัญหาจะมาจากเงื่อนไขของไอเอ็มเอฟหรือไม่ก็ตาม
แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 13 ปี แต่ผมมองว่าเนื้อหาส่วนใหญ่ของหนังสือยังไม่ล้าสมัยเนื่องจากการทำงานขององค์การนั้นและปัจจัยพื้นฐานของปัญหาในสังคมไทยยังไม่เปลี่ยนไปมากนัก เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมจึงนำชื่อและรูปปกของหนังสือมาเสนอต่อสังคมออนไลน์ในหน้าเฟซบุ๊กของผมพร้อมกับบอกผู้ที่สนใจว่าสามารถดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ดังกล่าวได้ พร้อมกันนั้นผมตั้งคำถามว่า “ไอเอ็มเอฟ” ตัวไหนและผมพูดไว้ในหนังสือตรงไหนที่เป็นปัจจัยพื้นฐานของปัญหาในสังคมไทยในปัจจุบัน ผู้ตอบถูกคนแรกจะได้รับรางวัลเป็นหนังสือหนึ่งเล่ม ปรากฏว่ากัลยาณมิตรคนหนึ่งตอบไปสองครั้ง แต่ผิดทั้งคู่ ผู้ตอบถูกคนแรกเป็นนักศึกษาแพทย์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คำตอบที่ถูกคือ “ไอเอ็มเอฟ” ที่ย่อมาจาก Insufficient Moral Foundation ซึ่งแปลว่า ฐานทางศีลธรรมจรรยาไม่แข็งแกร่งพอ
ขอยอมรับว่านั่นเป็นการอ่านสภาพสังคมไทยของผมซึ่งคงมีผู้ไม่เห็นด้วยจำนวนมาก แต่เนื่องจากผมเป็นผู้ตั้งเงื่อนไขเรื่องการให้รางวัล ผมจึงยึดการอ่านเหตุการณ์ของผมเป็นหลัก คำตอบอยู่ที่หน้า 76 ซึ่งพูดถึงเรื่อง “ต้นแค/เสาเข็ม” การอ่านเช่นนั้นสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในการทำงานด้านการพัฒนาของผมทั้งในธนาคารพัฒนาเอเซียและธนาคารโลกเป็นเวลากว่าสองทศวรรษ
นักพัฒนามักยอมรับกันว่าความฉ้อฉลซึ่งตรงกับคำว่า “คอร์รัปชัน” (corruption) ในภาษาอังกฤษเป็นอุปสรรคหนักหนาสาหัสสำหรับการพัฒนา แต่เป็นเวลานานแสนนาน พวกเขาหลีกเลี่ยงที่จะใช้คำว่า “คอร์รัปชัน” โดยตรง คำที่มักหยิบยกมาใช้แทนโดยทั่วไปได้แก่ good governance ซึ่งแปลเป็นไทยว่า “ธรรมาภิบาล” ผมเห็นด้วยว่าความฉ้อฉลเป็นอุปสรรคหลักของการพัฒนา แต่ผมมองว่าเราต้องมองให้กว้างออกไปกว่านั้นและสรุปว่า อุปสรรคต่อการพัฒนาคือการไม่ทำตามกฎเกณฑ์ของสังคมซึ่งวางอยู่บนฐานทางด้านคุณธรรมอันได้แก่หลักของศีลธรรมจรรยา ความฉ้อฉลเป็นการไม่ทำตามกฎเกณฑ์ของสังคมชนิดหนึ่งและผู้ฉ้อฉลคือผู้ด้อยคุณธรรม หรือมีฐานทางศีลธรรมจรยยาไม่แข็งแกร่ง
ตอนนี้มีการพูดถึงกันมากในหมู่นักวิชาการเรื่อง “กับดักของประเทศรายได้ระดับกลาง” (Middle Income Trap) ว่าเพราะอะไรเมื่อพัฒนาไปได้ถึงในระดับปานกลาง ประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ จึงมักพัฒนาต่อไปไม่ได้ ข้อสรุปและคำแนะนำว่าจะทำอย่างไรมีหลากหลาย แต่สิ่งที่ไม่มีใครพูดถึงได้แก่ฐานทางศีลธรรมจรรยาของประเทศเหล่านั้นว่าแข็งแกร่งขนาดไหน ผมสรุปไว้ในบท “ต้นแค/เสาเข็ม” ว่า การพัฒนาก็เหมือนการสร้างตึก ยิ่งสูงเท่าไร ตึกก็ยิ่งต้องการฐานที่แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้นฉันใด การพัฒนาจะก้าวหน้าต่อไปได้ก็ต้องการฐานทางศีลธรรมจรรยาที่แข็งแกร่งขั้นฉันนั้น
ผมอ้างถึงความฉ้อฉลของผู้นำและประเทศในเอเชียตะวันออกหลายประเทศว่า มีความฉ้อฉลมากบ้างน้อยบ้างและต่างก็พัฒนาไปได้ในระดับหนึ่ง แต่ความฉ้อฉลของผู้นำส่วนใหญ่ไม่เจาะเข้าไปทำลายแก่นของเศรษฐกิจและสังคมยกเว้นในกรณีของประธานาธิบดีเฟอร์ดินันด์ มาร์กอส ของฟิลิปปินส์เท่านั้น เจ้าหมอนั่นฉ้อฉลมากถึงขนาดเจาะเข้าไปถึงแก่นในของเศรษฐกิจโดยเฉพาะการเข้าไปผูกขาดตลาดของอุตสาหกรรมมะพร้าวซึ่งเป็นเสมือนรากเหง้าของเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ (ชาวฟิลิปินส์กระจัดกระจายอยู่บนหลายพันเกาะซึ่งมีภูมิอากาศเหมาะแก่การปลูกมะพร้าว พวกเขาจึงผลิตมะพร้าวส่งออกมากที่สุดในโลกก่อนที่มาร์กอสจะเข้าไปผูกขาดตลาดมะพร้าว) ผลของความฉ้อฉลแบบทำลายแก่นในส่งผลให้เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ล้มลุกคลุกคลานและจมปลักอยู่กับที่จนมีสมญาว่า “คนง่อยแห่งเอเชีย” (Sick Man of Asia)
เนื่องจากหนังสือเขียนออกมาเมื่อปี 2543 ผมจึงยังคิดว่าความฉ้อฉลของผู้นำไทยจะเป็นไปในรูปเดิม นั่นคือ ลัดเลาะกินแต่เปลือกนอกโดยไม่เข้าไปทำลายแก่นในซึ่งมีมากมายหลายอย่างรวมทั้งวินัยทางการเงินการคลังและกลไกตลาดเสรีซึ่งจะถูกทำลายด้วยการผูกขาดอย่างกว้างขวางทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม แต่หลังพิมพ์หนังสือออกมาไม่นานและมีการเลือกตั้งปี 2544 ที่ส่งผลให้เมืองไทยได้รัฐบาลใหม่ซึ่งเริ่มใช้นโยบายประชานิยมชนิดเลวร้ายในแนวของละตินอเมริกาเป็นครั้งแรก ผมรู้ว่าผมมองผู้นำไทยผิดไปถนัด จึงรีบเขียนหนังสือออกมาอีกเล่มหนึ่งซึ่งสำนักพิมพ์ใช้เวลา 9 เดือนก่อนจะตัดสินใจพิมพ์ หนังสือชื่อว่า ประชานิยม : หายนะจากอาร์เจนตินาถึงไทย? ซึ่งพิมพ์เมื่อเดือนกรกฎาคม 2546 (หนังสือได้รับการปรับปรุงใหม่ในปี 2554-2555 และพิมพ์ออกมาชื่อ ประชานิยม : ทางสู่ความหายนะ
ในช่วงเวลากว่า 12 ปีจากวันที่นโยบายประชานิยมชนิดเลวร้ายถูกนำเข้ามาใช้ในเมืองไทยอย่างกว้างขวาง เป็นที่ประจักษ์ว่าศีลธรรมจรรยาของนักการเมืองไทยเสื่อมทรามลงไปแบบไม่หยุดยั้ง กลุ่มหนึ่งถึงกับฉ้อฉลจนเข้าไปทำลายแก่นในของเศรษฐกิจและสังคมไทยโดยใช้การโกหกพกลมเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระบวนการบริหารบ้านเมือง เราจึงเห็นการโกหกแบบหน้าด้านๆ ว่าตนบริหารเศรษฐกิจสำเร็จจนสามารถชำระหนี้ไอเอ็มเอฟได้ก่อนกำหนดเวลาทั้งที่ไม่มีอะไรมากไปกว่าการคืนเงินที่ยืมเขามาเก็บไว้แทนทุนสำรองของชาติที่สูญไป และการใช้นโยบายที่เรียกกันโดยทั่วไปตามฝรั่งว่า “โกหกสีขาว” (White Lies)
ตัวอย่างของความฉ้อฉลและความเสื่อมทรามทางศีลธรรมจรรยามีมากมาย บางอย่างอาจไม่ผิดกฎหมาย แต่มันไม่เหมาะสมและไม่สมควรทำเพราะมันละเมิดหลักศีลธรรมจรรยาพร้อมกับหลักวิชาการ สิ่งเหล่านั้นพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นปัญหาหนักหนาสาหัส ณ วันนี้ สังคมไทยมีภาระที่จะต้องแบก “ฟาง” เส้นสุดท้ายที่จะทำให้ “ควาย” หลังหัก (ปรับเปลี่ยนเลียนแบบสำนวนฝรั่งที่ว่า The straw that broke the camel’s back.) หรือกำลังเกิดเหตุการณ์ที่จะผลักให้เมืองไทยไปตกหล่มจนปลักจนเป็น “คนง่อยของเอเชีย” แทนฟิลิปปินส์ ฟางเส้นสุดท้ายได้แก่โครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ด
โครงการนี้เป็นประชานิยมที่มีการโกหกพกลมเป็นฐานของการดำเนินการ มันกำลังทำลายอุตสาหกรรมข้าวซึ่งเป็นเสมือนรากเหง้าของสังคมไทยเช่นเดียวกับที่การผูกขาดตลาดมะพร้าวทำลายรากเหง้าของสังคมฟิลิปปินส์ แต่โครงการรับจำนำข้าวจะเลวร้ายยิ่งกว่าการผูกขาดตลาดมะพร้าวเพราะมันจะทำลายวินัยการเงินการคลัง ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติผู้หวังดีได้ชี้ให้เห็นอย่างต่อเนื่องถึงเรื่องความเลวร้ายของโครงการ แต่รัฐบาลไทยไม่ฟังและคนไทยส่วนใหญ่ยังดูดายไม่ออกมาต่อต้านรัฐบาลซึ่งฐานทางด้านศีลธรรมจรรยาเสื่อมทรามลงเรื่อยๆ อย่างเห็นได้ชัด
เมื่อรวมพฤติกรรมของนักการเมืองและของคนไทยส่วนใหญ่เข้าด้วยกัน มันจึงมีค่าเท่ากับศีลธรรมจรรยาในสังคมไทยได้เสื่อมทรามลง ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีเหตุการณ์เลวร้ายต่อไปในวันข้างหน้าและเมืองไทยประสบปัญหายิ่งกว่าติดอยู่ในกับดักของประเทศระดับกลาง เราจะโทษใครไม่ได้นอกจากฐานทางศีลธรรมจรรยาที่ไม่แข็งแกร่งของสังคมไทย หรือ “ไอเอ็มเอฟ” แต่เป็น “ไอเอ็มเอฟ” ที่ย่อมาจาก Insufficient Moral Foundation มิใช่ International Monetary Fund