ตามที่นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา ได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า แถลงการณ์ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยฉบับสุดท้ายเป็นเท็จ โดยประเด็นที่นายชูชาติระบุว่าเป็นเท็จคือ
1.กรณีที่พันธมิตรฯ แถลงการณ์ระบุว่า สืบเนื่องจากแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ผู้ปราศรัย พิธีกร ศิลปิน และประชาชน ได้ถูกกลั่นแกล้งโดยยัดเยียดข้อหาร้ายแรงอันเป็นเท็จ และเพิ่มผู้ต้องหาจำนวนถึง 96 คน อย่างอยุติธรรมในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนำโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
2.กรณีที่พันธมิตรฯ เรียกร้องให้ประชาธิปัตย์ลาออก แล้วพันธมิตรฯ จะเข้าร่วมการชุมนุมภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์
ความเห็นของนายชูชาติกรณีนี้ได้รับการแชร์ไปอย่างกว้างขวาง หลายคนหลงเชื่อโดยไม้่ได้คิดตามให้ถี่ถ้วน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะฐานะของนายชูชาติที่เป็นถึงอดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลฎีกาก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำโน้มนำความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการพูดถึงขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม
ผมได้เข้าไปโต้แย้งข้อเท็จจริงในเฟซบุ๊กของนายชูชาติ ปรากฎว่า นายชูชาติกลับปิดกั้นโดยลบและบล็อกการเข้าถึงข้อความนั้นของผมโดยทันที ดังนั้นผมคิดว่าจะต้องนำเรื่องนี้ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสาธารณะ เพื่อให้สาธารณชนตัดสินใจว่า เหตุผลของนายชูชาติคืออะไร ตรงกับข้อเท็จจริงในแถลงการณ์ของพันธมิตรฯ หรือไม่
นายชูชาติเริ่มต้นด้วยการอธิบายว่า คดีหมายเลขดำที่..../....และคดีหมายเลขแดง..../....คืออะไร ง่ายๆ ก็คือ คำว่าคดีหมายเลขดำหมายความว่า เป็นจำนวนคดีที่มีผู้นำคดีมาฟ้องต่อศาลในแต่ละปีเริ่มตั้งแต่คดีแรกในวันที่ 2 มกราคม เป็นคดีหมายเลขดำที่ 1 เรื่อยไปจนถึงวันสุดท้ายของปีนั้นว่า มีจำนวนกี่คดี ขึ้นอยู่ว่าศาลนั้นมีผู้นำคดีมาฟ้องมากน้อยแค่ไหน อาจมีจำนวน 2,000 หรือ 30,000 คดี เป็นต้น ส่วนตัวเลขหลังเครื่องหมาย / นั้นเป็นตัวเลขที่หมายถึงปี พ.ศ. เช่น …../2554 , …../2555 , …../2556 ก็หมายความปี 2554 ปี 2555 และ ปี 2556 ตามลำดับ
ข้างล่างนี้เป็นความเห็นของนายชูชาติ
............
เมื่อคืนวันที่ 23 สิงหาคม 2556 พันธมิตรเพืิ่อประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ประกาศคำแถลงการณ์ต่อสาธารณชน มีข้อความตอนหนึ่งว่า
…..ตามที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 4/2556 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะยังไม่นำมวลชนเคลื่อนไหวในช่วงเวลานี้ สืบเนื่องจากแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ผู้ปราศรัย พิธีกร ศิลปิน และประชาชน ได้ถูกกลั่นแกล้งโดยยัดเยียดข้อหาร้ายแรงอันเป็นเท็จ และเพิ่มผู้ต้องหาจำนวนถึง 96 คน อย่างอยุติธรรมในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนำโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ต้องการสร้างพันธนาการให้กับการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แม้ว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยพร้อมที่จะพิสูจน์ตัวเองตามกระบวนการยุติธรรมเพื่อรักษาหลักนิติรัฐ นิติธรรม แต่ศาลอาญาก็ได้มีคำสั่งในคดีหมายเลขดำที่ อ.973/2556 ให้ประกันตัวโดยมีเงื่อนไขตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2556 ว่า
….."ห้ามมิให้จำเลยกระทำการใดๆ อันมีลักษณะเป็นการยั่วยุ ปลุกปั่น ปลุกระดม เพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง หรืออาจก่อให้เกิดภัยอันตรายต่อความเสียหายหรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกระทำการใดๆ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน และห้ามจำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล”
…..ขอบอกกันอีกสักครั้งว่า เคยชื่นชมกลุ่นพัธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ได้ต่อสู้กับทักษิณ ชินวัตร และบริวารของทักษิณ เคยร่วมด้วยช่วยกันมาตลอด แต่ที่ต้องถอยออกมาก็เพราะไม่อาจยอมรับกับพฤติกรรมของแกนนำบางคนได้
…..ที่นำเรื่องนี้มาพูดในวันนี้อีกครั้งก็เพื่อต้องการชี้ให้เห็นว่า ข้อเท็จจริงที่กล่าวในคำแถลงการณ์บางตอนนั้นเป็นความจริงหรือความเท็จ เพื่อผู้ที่ยังหลงเชืิ่อในเรื่องข้อเท็จจริงจะได้รู้ว่าความจริงเป็นอย่างไร
…..คดีที่กลุ่มพันธมิตรถูกฟ้องคือ คดีหมายเลขดำที่ อ. 973/2556 ก็หมายความว่า เป็นคดีอาญาที่โจทก์คือพนักงานอัยการฟ้องคดีต่อศาลในปี 2556 เป็นลำดับคดีที่ 973 ซึ่งถ้าดูตามที่กล่าวว่า ศาลอาญามีคำสั่งให้ประกันตัวเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2556 ก็น่าเชื่อว่าคงฟ้องเมืิ่อวันที่ 2 เมษายน 2556
…..ถ้าความจำยังไม่เลอะเลือนสิ่งเกิดขึ้นคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะนายกรัฐมนตรีได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรและมีให้การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2554 หลังการเลือกตั้งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับการเลือกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554
…..หลังจากวัน เดือน ปี ดังกล่าว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะไปสั่งข้าราชการประจำคนไหนแม้แต่ลูกจ้างอย่างนักการภารโรงในทำเนียบรัฐบาล และตามความเป็นจริงอำนาจในการสั่งราชการหมดไปตั้งวันประกาศยุบสภาฯในเดือนพฤษภาคม 2554 แล้ว
…..ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2554 จนถึงเดือนเมษายน 2556 ที่มีการฟ้องคดีหมายเลขดำที่ อ.973/2556 เป็นเวลาเกือบ 2 ปี โดยเฉพาะตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2554 จนถึงเดือนเมษายน 2556 พรรคการเมืองใดเป็นรัฐบาล ใครเป็นนายกรัฐมนตรี ใครเป็นผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใครเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และใครดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด ลองทนทวนความจำกันดู
…..ในระยะเวลาเกือบ 2 ปีดังกล่าว วิญญูชนที่พอมีปัญญาคิดได้บ้าง ไม่ตกเป็นผู้ป่วยสมองหรือความจำเสื่อม ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือป่วยเจ็บจนกลายเป็นคนทุพพลภาพ ก็น่าจะรู้ได้ว่า
……… มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลยที่พรรคประชาธิปัตย์และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะสั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจที่ทำหน้าที่เป็นพนักงานสอบสวนในคดีที่แกนนำพันธมิตรกับพวกถูกฟ้องให้กลั่นแกล้งโดยยัดเยียดข้อหาร้ายแรงอันเป็นเท็จ และเพิ่มผู้ต้องหาจำนวนถึง 96 คน และสั่งให้พนักงานอัยการฟ้องบุคคลดังกล่าวต่อศาล"
...........
สรุปความเห็นของนายชูชาติก็คือ ให้ดูปีที่ฟ้องศาล คือ /2556 เพื่อยืนยันว่า การฟ้องคดีไม่ได้เกิดขึ้นในสมัยของนายอภิสิทธิ์แต่เป็นยุคของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพราะนายอภิสิทธิ์ พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว เพราะประกาศยุบสภาในเดือนพฤษภาคม 2554
สาธุชนที่ไม่ได้คิดตามก็ตอบว่า ใช่แล้ว อย่างนี้จะไปกล่าวหารัฐบาลอภิสิทธิ์ได้อย่างไร
ตอนแรกผมก็เข้าใจว่า นายชูชาติหลงประเด็นอะไรหรือเปล่า คนเป็นถึงระดับอดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลฎีกาจะไม่เข้าใจขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมได้อย่างไร
ต่อมา น.ส.พวงทิพย์ บุญสนอง หนึ่งในทีมทนายความของพันธมิตรฯ ได้โพสต์ตารางซึ่งเป็นลำดับขั้นตอนของคดีพันธมิตรฯ ว่า เริ่มขึ้นเมื่อไหร่ ตั้งแต่วันเริ่มต้นชุมนุมใหญ่จนถึงวันถูกแจ้งข้อกล่าวหา และเรื่อยมาจนคดีขึ้นสู่ศาล โดยมีวัน ว. เวลา น.อย่างชัดเจน(ดูตารางทั้งสองประกอบ)
เชื่อไหมครับนายชูชาติตอบความเห็นของ น.ส.พวงทิพย์ ทนายของพันธมิตรฯ อย่างไร
"Chuchart Srisaeng คุณ Puangtip Boonsanong ครับ สรุปก็คือคดีนี้พนักงานอัยการฟ้องในปี 2556 ใช่หรือเปล่า ประเด็นอื่นไม่ใช่สาระสำคัญครับ"
นายชูชาติย้ำว่า ประเด็นอื่นไม่ใช่สาระสำคัญ ให้ดูปีที่ฟ้องคือ 2556 อย่างเดียว
ตลกไหมครับ เมื่อเป็นเช่นนี้ จะไม่ทำให้ผมเชื่อได้อย่างไรว่า อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาไม่ได้เข้าใจขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมหรือไม่ก็ไม่เข้าใจในสิ่งที่พันธมิตรฯ นำเสนอ
คนทั่วไปย่อมจะเข้าใจนะครับว่า กระบวนการยุติธรรม หมายถึงขั้นตอนของตำรวจ อัยการ และศาล กระบวนการยุติธรรมไม่ได้หมายถึงศาลอย่างเดียว
และสิ่งที่พันธมิตรฯ พูดเสมอมาว่า ถูกกลั่นแกล้งโดยยัดเยียดข้อหาร้ายแรงอันเป็นเท็จ และเพิ่มผู้ต้องหาจำนวนถึง 96 คน อย่างอยุติธรรมในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนำโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนั้น หมายถึงขั้นตอนในการสืบสวนสอบสวนของตำรวจซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายอภิสิทธิ์
ดูจากตาราง"การดำเนินคดีก่อการร้ายพันธมิตรฯ"จะเห็นได้ว่า คดีนี้เริ่มมีการแจ้งความเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2551 และมีการแจ้งข้อกล่าวหาก่อการร้ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2552 โดย พล.ต.ท.วุฒิ พัวเวส ถ้าจำกันได้ครั้งนี้เป็นที่มาของวลีว่า"พันธมิตรฯ คือผู้ก่อการดี"จากปากของ พล.ต.ท.วุฒิ หัวหน้าพนักงานสอบสวนเอง และแจ้งข้อกล่าวหาครั้งที่สองเมื่อวันที่ 26 สิ่งหาคม 2553 โดย พล.ต.ท.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ซึ่งมาทำหน้าที่หัวหน้าพนักงานสอบสวนแทน พล.ต.ท.วุฒิ ทั้งสองครั้งนี้อยู่ในสมัยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
ต่อมาพันธมิตรฯ ได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังนายอภิสิทธิ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรีและผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หลายครั้งว่า ขอเปลี่ยนตัวหัวหน้าพนักงานสอบสวน เนื่องจากหัวหน้าพนักงานสอบสวนท่านนี้เป็นที่รู้กันว่าเป็นคนของนายเนวิน ชิดชอบนั้นมีทัศนคติที่ตรงกันข้ามกับพันธมิตรฯ แต่กลับไม่ได้รับการเหลียวแล โดยนายอภิสิทธิ์อ้างว่า ไม่สามารถแทรกแซงการทำงานของตำรวจได้ แต่นั่นไม่เท่ากับผลลัพธ์ที่ตามมา เพราะเมื่อพันธมิตรฯ ยื่นร้องเรียนไปแต่ละครั้งก็จะมีการเพิ่มผู้ต้องหาและข้อกล่าวหากลับมาทุกครั้งจากครั้งแรกที่มีผู้ถูกกล่าวหา 36 คน จนรวมกันเป็น 114 คนในที่สุด แต่สุดท้ายก็สามารถตามตัวมาดำเนินคดีได้เพียง 96 คน เพราะเหลือจากนั้นมีการระบุในทำนองว่า ชายไม่ทราบชื่อหรือหญิงไม่ทราบชื่อ หรือระบุเพียงชื่อเล่นบ้าง
นี่ต่างหากครับคือ สิ่งที่พันธมิตรฯ กล่าวถึงเสมอมาว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมในยุคของนายอภิสิทธิ์ และกล่าวเรื่องนี้หลายครั้งหลายหนจนนำมาสู่แถลงการณ์ดังกล่าว
กระบวนการยุติธรรมนั้น มีขั้นตอนของตำรวจ อัยการ ศาล สิ่งที่พันธมิตรฯ พูดถึงก็หมายถึงขั้นตอนในกระบวนการของตำรวจที่กำกับดูแลโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เราต้องดูทั้งกระบวนการไม่ใช่ตัดตอนไปดู พ.ศ.ที่ศาลรับฟ้องเพียงอย่างเดียว
ถ้าเอาอย่างที่นายชูชาติว่า ผมจะยกตัวอย่างและอุปมาอุปไมยให้ฟัง สมมติมี นาย ก.ถูกตำรวจกลั่นแกล้งดำเนินคดียัดข้อหาเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2556 ต่อมาคดีนี้ขึ้นสู่ศาล เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2557 นายชูชาติในฐานะผู้พิพากษาจะบอกเหรอครับว่า ข้อร้องเรียนที่ว่า นาย ก.ระบุว่า ตำรวจกลั่นแกล้งยัดข้อกล่าวหาเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2556 นั้นรับฟังไม่ได้ ตำรวจไม่ได้กลั่นแกล้งเพราะให้มาดูวันที่ศาลรับฟ้องคือ วันที่ 25 สิงหาคม 2557อย่างเดียว คดีมันเริ่มต้นในวันที่ศาลรับฟ้องเหรอครับ ขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมมันเริ่มต้นเมื่อวันที่ศาลรับฟ้องเหรอครับ
การกล่าวหาว่า แถลงการณ์พันธมิตรฯ เป็นเท็จ ด้วยการตัดตอนความจริงของนายชูชาตินั้น สาธารณชนควรตัดสินได้นะครับว่า ใครกันแน่ที่เป็นเท็จ
กรณีต่อมานายชูชาติกล่าวว่า
...........
…..อีกประเด็นหนึ่งที่อ้างว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะนำมวลชนเคลื่อนไหวในช่วงเวลานี้ไม่ได้ เพราะศาลอาญามีคำสั่งเป็นเงื่อนไขในการอนุญาตให้ประกันตัวว่า "ห้ามมิให้จำเลยกระทำการใดๆ อันมีลักษณะเป็นการยั่วยุ ปลุกปั่น ปลุกระดม เพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง หรืออาจก่อให้เกิดภัยอันตรายต่อความเสียหายหรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกระทำการใดๆ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ”
…..เมื่อศาลอาญามีคำสั่งห้ามดังกล่าว ก็ย่อมหมายความว่า เป็นการห้ามตลอดไปจนกว่าศาลอาญาจะมีคำสั่งปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
…..ดังนั้นการที่แกนนำบางคนประกาศโดยมีเงื่อนไขว่า ให้ ส.ส. ปชป ลาออกจากการเป็น ส.ส. ทั้งหมด แล้วจะได้มาเคลื่อนไหวนำมวลชนร่วมกัน ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะข้อห้ามของศาลอาญายังคงมีผลบังคับอยู่
…..เป็นการหลอกให้ ส.ส.ปชป. ลาออก เพื่อต้องการให้ประชาชนทั่วประเทศด่า เกลียดชัง หมดความเชื่อถือ และกลายเป็นพรรคการเมืองที่ประชาชนสาปแช่ง ปชป ที่มีอายุเกือบ 70 คงถึงกาลอวสานแน่นอน ใช่หรือไม่
…..ผู้ที่ได้ประโยชน์ก็คือทักษิณ ชินวัตร กับญาติพี่น้อง พรรคพวกและบริวาร เพราะจะไม่มีพรรคการเมืองใดมี ส.ส.มาขัดขวางการโกงกินชาติบ้านเมืองทั้งในและนอกสภาอีกต่อไป ประเทศไทยก็จะตกอยู่ภายใต้การปกครองของตระกูลชินวัตร ง่ายขึ้น ใช่หรือไม่
……….ต้องถือว่า เป็นเกมการเมืองที่ลึกซึ้งแยบยลอย่างยิ่ง โชดดีที่ ปชป ไม่ได้โง่อย่างคนวางแผนเรื่องนี้คิด ครับ ! ! !
...........
โดยสรุปก็คือ นายชูชาติบอกว่า ในเมื่อพันธมิตรฯ ติดเงื่อนไขศาล ถึง ปชป.จะลาออก พันธมิตรฯ ก็มาร่วมกับ ปชป.ไม่ได้เพราะติดเงื่อนไขศาลเหมือนเดิม ดังนั้นข้อเสนอของพันธมิตรฯ เป็นการหลอกลวง เพื่อให้ ปชป.ถูกเกลียดชัง และทักษิณและรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ประโยชน์
ใครที่ติดตามพันธมิตรฯ หรืออ่านแถลงการณ์ให้ถ้วนถี่ก็จะทราบความจริงว่า สิ่งที่พันธมิตรฯ เรียกร้องให้ ปชป.ลาออกก็คือ ให้ออกมาต่อสู้นอกสภาเพื่อยืนยันไม่ยึดติดกับตำแหน่งหรือการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง ถ้า ปชป.กระทำเช่นนั้น แม้จะติดเงื่อนไขศาล พันธมิตรฯ ก็พร้อมจะร่วมต่อสู้ถ้าการต่อสู้นั้นเป็นการสู้เพื่อปฏิรูปประเทศซึ่งเป็นสิ่งที่คุ้มค่าแม้จะต้องฝ่าฝืนคำสั่งของศาลก็ตาม การประกาศเช่นนั้นของพันธมิตรฯ เป็นที่เปิดเผยและรับทราบโดยทั่วกัน
ข้อเท็จจริงเหล่านี้ถ้าใครได้อ่านแถลงการณ์ฉบับเต็มก็จะทราบอยู่แล้ว แต่นายชูชาติเพียงแต่ไม่ได้กล่าวถึงเพื่อให้คนเข้าใจผิดเท่านั้น การกล่าวหาว่า พันธมิตรฯ หลอกลวงเพราะสุดท้ายจะไม่เข้าร่วมต่อสู้ จึงเป็น"จินตนาการ"ของนายชูชาติเอง ซึ่งผิดวิสัยของคนที่เป็นผู้พิพากษาศาล ซึ่งต้องยึดถือข้อเท็จจริงเป็นหลัก
ดังนั้นแถลงการณ์ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ฉบับสุดท้ายจึงเป็นความจริงแท้ทุกตัวอักษร
ความเห็นของนายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลฎีกาที่กล่าวหาว่า แถลงการณ์ของพันธมิตรฯ เป็นเท็จต่างหากที่ไม่เป็นความจริง
ผมไม่ได้ต้องการแสดงความเห็นนี้เพื่อให้เกิดความแตกแยกระหว่างมวลชนของพรรคประชาธิปัตย์และพันธมิตรฯ แต่ต้องชี้แจงข้อเท็จจริงที่ถูกบิดเบือนไป และเชื่อว่า สาธุชนที่มีใจเป็นธรรม เข้าใจขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม ได้อ่านแถลงการณ์ของพันธมิตรฯ อย่างครบถ้วนสมบูรณ์คงยืนยันความจริงข้อนี้ได้
ส่วนเหตุผลที่กระทำเช่นนี้ของนายชูชาติจะเป็นเพราะความเป็นธรรมในใจที่เอนเอียงไปทางพรรคการเมืองไหนนั้นเป็นสิ่งที่นายชูชาติย่อมรู้อยู่แก่ใจ
แต่โชคดีสำหรับสังคมไทยก็คือ วันนี้นายชูชาติ ศรีแสง ได้เกษียณ จากฐานะผู้พิพากษาในกระบวนการยุติธรรมไปแล้ว
1.กรณีที่พันธมิตรฯ แถลงการณ์ระบุว่า สืบเนื่องจากแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ผู้ปราศรัย พิธีกร ศิลปิน และประชาชน ได้ถูกกลั่นแกล้งโดยยัดเยียดข้อหาร้ายแรงอันเป็นเท็จ และเพิ่มผู้ต้องหาจำนวนถึง 96 คน อย่างอยุติธรรมในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนำโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
2.กรณีที่พันธมิตรฯ เรียกร้องให้ประชาธิปัตย์ลาออก แล้วพันธมิตรฯ จะเข้าร่วมการชุมนุมภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์
ความเห็นของนายชูชาติกรณีนี้ได้รับการแชร์ไปอย่างกว้างขวาง หลายคนหลงเชื่อโดยไม้่ได้คิดตามให้ถี่ถ้วน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะฐานะของนายชูชาติที่เป็นถึงอดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลฎีกาก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำโน้มนำความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการพูดถึงขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม
ผมได้เข้าไปโต้แย้งข้อเท็จจริงในเฟซบุ๊กของนายชูชาติ ปรากฎว่า นายชูชาติกลับปิดกั้นโดยลบและบล็อกการเข้าถึงข้อความนั้นของผมโดยทันที ดังนั้นผมคิดว่าจะต้องนำเรื่องนี้ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสาธารณะ เพื่อให้สาธารณชนตัดสินใจว่า เหตุผลของนายชูชาติคืออะไร ตรงกับข้อเท็จจริงในแถลงการณ์ของพันธมิตรฯ หรือไม่
นายชูชาติเริ่มต้นด้วยการอธิบายว่า คดีหมายเลขดำที่..../....และคดีหมายเลขแดง..../....คืออะไร ง่ายๆ ก็คือ คำว่าคดีหมายเลขดำหมายความว่า เป็นจำนวนคดีที่มีผู้นำคดีมาฟ้องต่อศาลในแต่ละปีเริ่มตั้งแต่คดีแรกในวันที่ 2 มกราคม เป็นคดีหมายเลขดำที่ 1 เรื่อยไปจนถึงวันสุดท้ายของปีนั้นว่า มีจำนวนกี่คดี ขึ้นอยู่ว่าศาลนั้นมีผู้นำคดีมาฟ้องมากน้อยแค่ไหน อาจมีจำนวน 2,000 หรือ 30,000 คดี เป็นต้น ส่วนตัวเลขหลังเครื่องหมาย / นั้นเป็นตัวเลขที่หมายถึงปี พ.ศ. เช่น …../2554 , …../2555 , …../2556 ก็หมายความปี 2554 ปี 2555 และ ปี 2556 ตามลำดับ
ข้างล่างนี้เป็นความเห็นของนายชูชาติ
............
เมื่อคืนวันที่ 23 สิงหาคม 2556 พันธมิตรเพืิ่อประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ประกาศคำแถลงการณ์ต่อสาธารณชน มีข้อความตอนหนึ่งว่า
…..ตามที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 4/2556 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะยังไม่นำมวลชนเคลื่อนไหวในช่วงเวลานี้ สืบเนื่องจากแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ผู้ปราศรัย พิธีกร ศิลปิน และประชาชน ได้ถูกกลั่นแกล้งโดยยัดเยียดข้อหาร้ายแรงอันเป็นเท็จ และเพิ่มผู้ต้องหาจำนวนถึง 96 คน อย่างอยุติธรรมในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนำโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ต้องการสร้างพันธนาการให้กับการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แม้ว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยพร้อมที่จะพิสูจน์ตัวเองตามกระบวนการยุติธรรมเพื่อรักษาหลักนิติรัฐ นิติธรรม แต่ศาลอาญาก็ได้มีคำสั่งในคดีหมายเลขดำที่ อ.973/2556 ให้ประกันตัวโดยมีเงื่อนไขตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2556 ว่า
….."ห้ามมิให้จำเลยกระทำการใดๆ อันมีลักษณะเป็นการยั่วยุ ปลุกปั่น ปลุกระดม เพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง หรืออาจก่อให้เกิดภัยอันตรายต่อความเสียหายหรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกระทำการใดๆ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน และห้ามจำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล”
…..ขอบอกกันอีกสักครั้งว่า เคยชื่นชมกลุ่นพัธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ได้ต่อสู้กับทักษิณ ชินวัตร และบริวารของทักษิณ เคยร่วมด้วยช่วยกันมาตลอด แต่ที่ต้องถอยออกมาก็เพราะไม่อาจยอมรับกับพฤติกรรมของแกนนำบางคนได้
…..ที่นำเรื่องนี้มาพูดในวันนี้อีกครั้งก็เพื่อต้องการชี้ให้เห็นว่า ข้อเท็จจริงที่กล่าวในคำแถลงการณ์บางตอนนั้นเป็นความจริงหรือความเท็จ เพื่อผู้ที่ยังหลงเชืิ่อในเรื่องข้อเท็จจริงจะได้รู้ว่าความจริงเป็นอย่างไร
…..คดีที่กลุ่มพันธมิตรถูกฟ้องคือ คดีหมายเลขดำที่ อ. 973/2556 ก็หมายความว่า เป็นคดีอาญาที่โจทก์คือพนักงานอัยการฟ้องคดีต่อศาลในปี 2556 เป็นลำดับคดีที่ 973 ซึ่งถ้าดูตามที่กล่าวว่า ศาลอาญามีคำสั่งให้ประกันตัวเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2556 ก็น่าเชื่อว่าคงฟ้องเมืิ่อวันที่ 2 เมษายน 2556
…..ถ้าความจำยังไม่เลอะเลือนสิ่งเกิดขึ้นคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะนายกรัฐมนตรีได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรและมีให้การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2554 หลังการเลือกตั้งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับการเลือกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554
…..หลังจากวัน เดือน ปี ดังกล่าว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะไปสั่งข้าราชการประจำคนไหนแม้แต่ลูกจ้างอย่างนักการภารโรงในทำเนียบรัฐบาล และตามความเป็นจริงอำนาจในการสั่งราชการหมดไปตั้งวันประกาศยุบสภาฯในเดือนพฤษภาคม 2554 แล้ว
…..ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2554 จนถึงเดือนเมษายน 2556 ที่มีการฟ้องคดีหมายเลขดำที่ อ.973/2556 เป็นเวลาเกือบ 2 ปี โดยเฉพาะตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2554 จนถึงเดือนเมษายน 2556 พรรคการเมืองใดเป็นรัฐบาล ใครเป็นนายกรัฐมนตรี ใครเป็นผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใครเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และใครดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด ลองทนทวนความจำกันดู
…..ในระยะเวลาเกือบ 2 ปีดังกล่าว วิญญูชนที่พอมีปัญญาคิดได้บ้าง ไม่ตกเป็นผู้ป่วยสมองหรือความจำเสื่อม ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือป่วยเจ็บจนกลายเป็นคนทุพพลภาพ ก็น่าจะรู้ได้ว่า
……… มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลยที่พรรคประชาธิปัตย์และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะสั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจที่ทำหน้าที่เป็นพนักงานสอบสวนในคดีที่แกนนำพันธมิตรกับพวกถูกฟ้องให้กลั่นแกล้งโดยยัดเยียดข้อหาร้ายแรงอันเป็นเท็จ และเพิ่มผู้ต้องหาจำนวนถึง 96 คน และสั่งให้พนักงานอัยการฟ้องบุคคลดังกล่าวต่อศาล"
...........
สรุปความเห็นของนายชูชาติก็คือ ให้ดูปีที่ฟ้องศาล คือ /2556 เพื่อยืนยันว่า การฟ้องคดีไม่ได้เกิดขึ้นในสมัยของนายอภิสิทธิ์แต่เป็นยุคของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพราะนายอภิสิทธิ์ พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว เพราะประกาศยุบสภาในเดือนพฤษภาคม 2554
สาธุชนที่ไม่ได้คิดตามก็ตอบว่า ใช่แล้ว อย่างนี้จะไปกล่าวหารัฐบาลอภิสิทธิ์ได้อย่างไร
ตอนแรกผมก็เข้าใจว่า นายชูชาติหลงประเด็นอะไรหรือเปล่า คนเป็นถึงระดับอดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลฎีกาจะไม่เข้าใจขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมได้อย่างไร
ต่อมา น.ส.พวงทิพย์ บุญสนอง หนึ่งในทีมทนายความของพันธมิตรฯ ได้โพสต์ตารางซึ่งเป็นลำดับขั้นตอนของคดีพันธมิตรฯ ว่า เริ่มขึ้นเมื่อไหร่ ตั้งแต่วันเริ่มต้นชุมนุมใหญ่จนถึงวันถูกแจ้งข้อกล่าวหา และเรื่อยมาจนคดีขึ้นสู่ศาล โดยมีวัน ว. เวลา น.อย่างชัดเจน(ดูตารางทั้งสองประกอบ)
เชื่อไหมครับนายชูชาติตอบความเห็นของ น.ส.พวงทิพย์ ทนายของพันธมิตรฯ อย่างไร
"Chuchart Srisaeng คุณ Puangtip Boonsanong ครับ สรุปก็คือคดีนี้พนักงานอัยการฟ้องในปี 2556 ใช่หรือเปล่า ประเด็นอื่นไม่ใช่สาระสำคัญครับ"
นายชูชาติย้ำว่า ประเด็นอื่นไม่ใช่สาระสำคัญ ให้ดูปีที่ฟ้องคือ 2556 อย่างเดียว
ตลกไหมครับ เมื่อเป็นเช่นนี้ จะไม่ทำให้ผมเชื่อได้อย่างไรว่า อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาไม่ได้เข้าใจขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมหรือไม่ก็ไม่เข้าใจในสิ่งที่พันธมิตรฯ นำเสนอ
คนทั่วไปย่อมจะเข้าใจนะครับว่า กระบวนการยุติธรรม หมายถึงขั้นตอนของตำรวจ อัยการ และศาล กระบวนการยุติธรรมไม่ได้หมายถึงศาลอย่างเดียว
และสิ่งที่พันธมิตรฯ พูดเสมอมาว่า ถูกกลั่นแกล้งโดยยัดเยียดข้อหาร้ายแรงอันเป็นเท็จ และเพิ่มผู้ต้องหาจำนวนถึง 96 คน อย่างอยุติธรรมในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนำโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนั้น หมายถึงขั้นตอนในการสืบสวนสอบสวนของตำรวจซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายอภิสิทธิ์
ดูจากตาราง"การดำเนินคดีก่อการร้ายพันธมิตรฯ"จะเห็นได้ว่า คดีนี้เริ่มมีการแจ้งความเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2551 และมีการแจ้งข้อกล่าวหาก่อการร้ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2552 โดย พล.ต.ท.วุฒิ พัวเวส ถ้าจำกันได้ครั้งนี้เป็นที่มาของวลีว่า"พันธมิตรฯ คือผู้ก่อการดี"จากปากของ พล.ต.ท.วุฒิ หัวหน้าพนักงานสอบสวนเอง และแจ้งข้อกล่าวหาครั้งที่สองเมื่อวันที่ 26 สิ่งหาคม 2553 โดย พล.ต.ท.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ซึ่งมาทำหน้าที่หัวหน้าพนักงานสอบสวนแทน พล.ต.ท.วุฒิ ทั้งสองครั้งนี้อยู่ในสมัยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
ต่อมาพันธมิตรฯ ได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังนายอภิสิทธิ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรีและผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หลายครั้งว่า ขอเปลี่ยนตัวหัวหน้าพนักงานสอบสวน เนื่องจากหัวหน้าพนักงานสอบสวนท่านนี้เป็นที่รู้กันว่าเป็นคนของนายเนวิน ชิดชอบนั้นมีทัศนคติที่ตรงกันข้ามกับพันธมิตรฯ แต่กลับไม่ได้รับการเหลียวแล โดยนายอภิสิทธิ์อ้างว่า ไม่สามารถแทรกแซงการทำงานของตำรวจได้ แต่นั่นไม่เท่ากับผลลัพธ์ที่ตามมา เพราะเมื่อพันธมิตรฯ ยื่นร้องเรียนไปแต่ละครั้งก็จะมีการเพิ่มผู้ต้องหาและข้อกล่าวหากลับมาทุกครั้งจากครั้งแรกที่มีผู้ถูกกล่าวหา 36 คน จนรวมกันเป็น 114 คนในที่สุด แต่สุดท้ายก็สามารถตามตัวมาดำเนินคดีได้เพียง 96 คน เพราะเหลือจากนั้นมีการระบุในทำนองว่า ชายไม่ทราบชื่อหรือหญิงไม่ทราบชื่อ หรือระบุเพียงชื่อเล่นบ้าง
นี่ต่างหากครับคือ สิ่งที่พันธมิตรฯ กล่าวถึงเสมอมาว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมในยุคของนายอภิสิทธิ์ และกล่าวเรื่องนี้หลายครั้งหลายหนจนนำมาสู่แถลงการณ์ดังกล่าว
กระบวนการยุติธรรมนั้น มีขั้นตอนของตำรวจ อัยการ ศาล สิ่งที่พันธมิตรฯ พูดถึงก็หมายถึงขั้นตอนในกระบวนการของตำรวจที่กำกับดูแลโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เราต้องดูทั้งกระบวนการไม่ใช่ตัดตอนไปดู พ.ศ.ที่ศาลรับฟ้องเพียงอย่างเดียว
ถ้าเอาอย่างที่นายชูชาติว่า ผมจะยกตัวอย่างและอุปมาอุปไมยให้ฟัง สมมติมี นาย ก.ถูกตำรวจกลั่นแกล้งดำเนินคดียัดข้อหาเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2556 ต่อมาคดีนี้ขึ้นสู่ศาล เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2557 นายชูชาติในฐานะผู้พิพากษาจะบอกเหรอครับว่า ข้อร้องเรียนที่ว่า นาย ก.ระบุว่า ตำรวจกลั่นแกล้งยัดข้อกล่าวหาเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2556 นั้นรับฟังไม่ได้ ตำรวจไม่ได้กลั่นแกล้งเพราะให้มาดูวันที่ศาลรับฟ้องคือ วันที่ 25 สิงหาคม 2557อย่างเดียว คดีมันเริ่มต้นในวันที่ศาลรับฟ้องเหรอครับ ขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมมันเริ่มต้นเมื่อวันที่ศาลรับฟ้องเหรอครับ
การกล่าวหาว่า แถลงการณ์พันธมิตรฯ เป็นเท็จ ด้วยการตัดตอนความจริงของนายชูชาตินั้น สาธารณชนควรตัดสินได้นะครับว่า ใครกันแน่ที่เป็นเท็จ
กรณีต่อมานายชูชาติกล่าวว่า
...........
…..อีกประเด็นหนึ่งที่อ้างว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะนำมวลชนเคลื่อนไหวในช่วงเวลานี้ไม่ได้ เพราะศาลอาญามีคำสั่งเป็นเงื่อนไขในการอนุญาตให้ประกันตัวว่า "ห้ามมิให้จำเลยกระทำการใดๆ อันมีลักษณะเป็นการยั่วยุ ปลุกปั่น ปลุกระดม เพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง หรืออาจก่อให้เกิดภัยอันตรายต่อความเสียหายหรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกระทำการใดๆ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ”
…..เมื่อศาลอาญามีคำสั่งห้ามดังกล่าว ก็ย่อมหมายความว่า เป็นการห้ามตลอดไปจนกว่าศาลอาญาจะมีคำสั่งปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
…..ดังนั้นการที่แกนนำบางคนประกาศโดยมีเงื่อนไขว่า ให้ ส.ส. ปชป ลาออกจากการเป็น ส.ส. ทั้งหมด แล้วจะได้มาเคลื่อนไหวนำมวลชนร่วมกัน ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะข้อห้ามของศาลอาญายังคงมีผลบังคับอยู่
…..เป็นการหลอกให้ ส.ส.ปชป. ลาออก เพื่อต้องการให้ประชาชนทั่วประเทศด่า เกลียดชัง หมดความเชื่อถือ และกลายเป็นพรรคการเมืองที่ประชาชนสาปแช่ง ปชป ที่มีอายุเกือบ 70 คงถึงกาลอวสานแน่นอน ใช่หรือไม่
…..ผู้ที่ได้ประโยชน์ก็คือทักษิณ ชินวัตร กับญาติพี่น้อง พรรคพวกและบริวาร เพราะจะไม่มีพรรคการเมืองใดมี ส.ส.มาขัดขวางการโกงกินชาติบ้านเมืองทั้งในและนอกสภาอีกต่อไป ประเทศไทยก็จะตกอยู่ภายใต้การปกครองของตระกูลชินวัตร ง่ายขึ้น ใช่หรือไม่
……….ต้องถือว่า เป็นเกมการเมืองที่ลึกซึ้งแยบยลอย่างยิ่ง โชดดีที่ ปชป ไม่ได้โง่อย่างคนวางแผนเรื่องนี้คิด ครับ ! ! !
...........
โดยสรุปก็คือ นายชูชาติบอกว่า ในเมื่อพันธมิตรฯ ติดเงื่อนไขศาล ถึง ปชป.จะลาออก พันธมิตรฯ ก็มาร่วมกับ ปชป.ไม่ได้เพราะติดเงื่อนไขศาลเหมือนเดิม ดังนั้นข้อเสนอของพันธมิตรฯ เป็นการหลอกลวง เพื่อให้ ปชป.ถูกเกลียดชัง และทักษิณและรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ประโยชน์
ใครที่ติดตามพันธมิตรฯ หรืออ่านแถลงการณ์ให้ถ้วนถี่ก็จะทราบความจริงว่า สิ่งที่พันธมิตรฯ เรียกร้องให้ ปชป.ลาออกก็คือ ให้ออกมาต่อสู้นอกสภาเพื่อยืนยันไม่ยึดติดกับตำแหน่งหรือการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง ถ้า ปชป.กระทำเช่นนั้น แม้จะติดเงื่อนไขศาล พันธมิตรฯ ก็พร้อมจะร่วมต่อสู้ถ้าการต่อสู้นั้นเป็นการสู้เพื่อปฏิรูปประเทศซึ่งเป็นสิ่งที่คุ้มค่าแม้จะต้องฝ่าฝืนคำสั่งของศาลก็ตาม การประกาศเช่นนั้นของพันธมิตรฯ เป็นที่เปิดเผยและรับทราบโดยทั่วกัน
ข้อเท็จจริงเหล่านี้ถ้าใครได้อ่านแถลงการณ์ฉบับเต็มก็จะทราบอยู่แล้ว แต่นายชูชาติเพียงแต่ไม่ได้กล่าวถึงเพื่อให้คนเข้าใจผิดเท่านั้น การกล่าวหาว่า พันธมิตรฯ หลอกลวงเพราะสุดท้ายจะไม่เข้าร่วมต่อสู้ จึงเป็น"จินตนาการ"ของนายชูชาติเอง ซึ่งผิดวิสัยของคนที่เป็นผู้พิพากษาศาล ซึ่งต้องยึดถือข้อเท็จจริงเป็นหลัก
ดังนั้นแถลงการณ์ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ฉบับสุดท้ายจึงเป็นความจริงแท้ทุกตัวอักษร
ความเห็นของนายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลฎีกาที่กล่าวหาว่า แถลงการณ์ของพันธมิตรฯ เป็นเท็จต่างหากที่ไม่เป็นความจริง
ผมไม่ได้ต้องการแสดงความเห็นนี้เพื่อให้เกิดความแตกแยกระหว่างมวลชนของพรรคประชาธิปัตย์และพันธมิตรฯ แต่ต้องชี้แจงข้อเท็จจริงที่ถูกบิดเบือนไป และเชื่อว่า สาธุชนที่มีใจเป็นธรรม เข้าใจขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม ได้อ่านแถลงการณ์ของพันธมิตรฯ อย่างครบถ้วนสมบูรณ์คงยืนยันความจริงข้อนี้ได้
ส่วนเหตุผลที่กระทำเช่นนี้ของนายชูชาติจะเป็นเพราะความเป็นธรรมในใจที่เอนเอียงไปทางพรรคการเมืองไหนนั้นเป็นสิ่งที่นายชูชาติย่อมรู้อยู่แก่ใจ
แต่โชคดีสำหรับสังคมไทยก็คือ วันนี้นายชูชาติ ศรีแสง ได้เกษียณ จากฐานะผู้พิพากษาในกระบวนการยุติธรรมไปแล้ว