หลังจากที่ได้สรุปบทเรียนปี 2555 ที่ไม่กล้าที่จะลงมติวาระ 3 แก้ไขรัฐธรรมนูญ และหยุดที่จะพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปรองดองของ บังเละ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน รัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่กำเนิดมาเพื่อที่จะรับใช้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรในการที่จะต้องทำให้เขากลับประเทศไทยได้อย่างเท่ๆ หลุดพ้นจากคดีความทั้งหลายทั้งปวงที่ค้างศาลอยู่ และแม้คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็เป็นอันต้องให้ยกเลิก ไม่ว่าจะเป็นคดีซื้อที่ดินรัชดาฯ ที่จะต้องติดคุก 2 ปี คดีร่ำรวยผิดปกติศาลสั่งยึดทรัพย์ไว้ 4.6 หมื่นล้านบาทก็ต้องคืน รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็เดินหน้าต่อผ่านพรรคเพื่อไทย
เดินหน้าต่อโดยให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เสนอร่าง พ.ร.บ.เพื่อที่จะนิรโทษฉบับหนึ่ง และให้ นายวรชัย เหมะ เสนออีกฉบับหนึ่ง
ร่างของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เรียกว่าฉบับสุดซอย ส่วนร่างของนายวรชัย เหมะ เรียกว่าฉบับกลางซอย ความแตกต่างอยู่ที่ของร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ไม่กระมิดกระเมี้ยน เขียนอย่างหน้าด้านๆ โดยบอกว่านิรโทษให้ทุกคน รวมทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งก็คือเป้าหมายที่แท้จริง ส่วนของนายวรชัย บอกว่า ไม่นิรโทษให้แกนนำ ไม่นิรโทษให้คนสั่งการ (ซึ่งก็อีกนั่นแหละ รับหลักการในวาระที่ 1 แล้ว ชั้นกรรมาธิการจะแปรญัตติยังไงก็ได้)
คราวนี้ก่อนการประชุมพิจารณาร่างกฎหมาย รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.ความมั่นคงในพื้นที่รอบรัฐสภา รอบทำเนียบฯ พร้อมกันนั้นก็ขนเจ้าหน้าที่ตำรวจมารักษาการหลายร้อยกองร้อย ว่ากันว่าใช้งบประมาณกว่า 400 ล้านบาท โดยที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยหลายคนพูดอย่างหน้าด้านๆ ว่า เป็นการพิจารณาร่างกฎหมายธรรมดาๆ ไม่มีอะไรเป็นกรณีพิเศษ
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่หน้าด้านพูดถึงการแก้ปัญหาต่างๆ ต้องใช้รัฐสภา แต่ตัวนางเองเข้าสภาฯ นับครั้งได้ แถมการประชุมสภาฯ พิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้นางเข้าสภาฯ ไปเซ็นชื่อแล้วก็โดดร่มหนีไปดูหมี ดูแรดที่ประจวบคีรีขันธ์โน่น ไม่ร่วมรับรู้แต่อย่างใด
พรรคประชาธิปัตย์ที่มองออกว่ายังไงเสียรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ต้องหาทางช่วยพี่ชาย ช่วยอีกหลายๆ คนที่ขายชีวิตขายวิญญาญเพื่อให้ทักษิณกลับมามีอำนาจ หรืออย่างน้อยที่สุดก็บงการรัฐบาลได้ก็เคลื่อนไหวคัดค้านการที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์จะออกกฎหมายล้างผิดให้คนโกงบ้านโกงเมือง คนที่เป็นอาชญากร คนที่เผาบ้านเผาเมืองมาโดยตลอดหนึ่งปี โดยเปิดเวทีบอกกล่าวให้ประชาชนรู้
ซึ่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ดูจะไม่สนใจ ยังคงเดินหน้าที่จะผ่านกฎหมายนิรโทษกรรมมาโดยตลอด เพียงแต่จะเป็นจังหวะใด โอกาสใดเท่านั้นเอง
การปราบม็อบเสธ.อ้าย ที่ประกาศตัวล้มล้างรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้อย่างง่ายดายยิ่งกว่าพลิกฝ่ามือ ทำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ มองเห็นว่าไม่ใช่เรื่องยากที่จะกำราบปราบปรามประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล การจ่ายเงิน 7 ล้านบาท 4 ล้านบาทให้แก่คนที่ขายชีวิตให้ทักษิณในช่วงสงกรานต์ปี 2552 และปี 2553 การทนได้กับนางสาวยิ่งลักษณ์ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทั้งที่นางไม่ประสีประสาทางการเมือง สร้างความอับอายขายหน้าให้คนไทยทั้งประเทศ หรือความผิดพลาดต่างๆ ของรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นการจำนำข้าวที่ฉิบหายไปแล้ว 2.6 แสนล้านบาท การทำผิดกฎหมายซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่ว่าจะเป็นการกู้เงิน 3.5 แสนนล้านบาทในโครงการแก้ปัญหาน้ำ หรือการจะสร้างหนี้ 2 ล้านล้านบาท ที่ยังไม่รู้ว่ารถไฟความเร็วสูงมันจะเอาไว้ขนคนหรือขนผัก ฯลฯ
ประชาชนคนไทยล้วนทนได้ รับได้ทั้งสิ้น
“การผ่านร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ประชาชนก็น่าที่จะรับได้” พรรคเพื่อไทย บรรดาผู้กุมยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทยล้วนสรุปได้เช่นนี้ เพราะไทยทน ไทยเฉย ไทยไม่สนใจมีจำนวนมาก
และในที่สุดก็เป็นเช่นที่บรรดาผู้กุมยุทธศาสตร์ประเทศไทยของพรรคเพื่อไทยสรุปได้จริงๆ ประชาชนไม่รู้สึกรู้สากับการใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 400 ล้านบาท สำหรับการประกาศใช้ พ.ร.ก.ความมั่นคง สำหรับการจ่ายเป็นเบี้ยเลี้ยง เป็นค่าพาหนะ เป็นค่าใชจ่ายอื่นๆ ของตำรวจเพื่อปกป้องคุ้มครองรัฐบาลยิ่งลักษณ์ให้อยู่ชั่วฟ้าดินสลาย ให้สมกับที่มีวันนี้เพราะพี่ให้ ให้สมกับความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ทักษิณมันหยิบยื่นให้ ประชาชนไม่สนใจกับความหน้าด้านของนักการเมืองพรรคเพื่อไทยที่บอกว่า ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เป็นการพิจารณาร่างกฎหมายปกติธรรมดา ไม่มีอะไรพิเศษพิสดาร
แล้วในที่สุดมันก็รับหลักการตั้งกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณา โดยมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวประกอบ โดยบอกว่าจะแปรญัตติทุกตัวอักษร
ซึ่งก็มองเห็นอนาคตอยู่แล้วว่าต่อให้แปรทุกอักขระ ก็ต้องแพ้เขาอยู่ดี
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ บอกว่า ผ่านวาระ 3 จะเป่านกหวีด ไม่รู้ว่าวาระ 3 ของสภาผู้แทนราษฎรหรือวาระที่ 3 ของวุฒิสภา
ไม่ต้องเป่านกหวีดให้เหนื่อยหรอกครับ ช่วยร้องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญในจังหวะที่ร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านวาระที่ 3 ของวุฒิสภา รอพระมหากษัตริย์จะทรงลงพระปรมาภิไธยให้ศาลพิจารณาว่ากฎหมายนี้ขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 3 มาตรา 29 และมาตรา 30 หรือไม่
ถ้าขัดแล้วจะเป็นยังไงครับ?
เดินหน้าต่อโดยให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เสนอร่าง พ.ร.บ.เพื่อที่จะนิรโทษฉบับหนึ่ง และให้ นายวรชัย เหมะ เสนออีกฉบับหนึ่ง
ร่างของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เรียกว่าฉบับสุดซอย ส่วนร่างของนายวรชัย เหมะ เรียกว่าฉบับกลางซอย ความแตกต่างอยู่ที่ของร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ไม่กระมิดกระเมี้ยน เขียนอย่างหน้าด้านๆ โดยบอกว่านิรโทษให้ทุกคน รวมทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งก็คือเป้าหมายที่แท้จริง ส่วนของนายวรชัย บอกว่า ไม่นิรโทษให้แกนนำ ไม่นิรโทษให้คนสั่งการ (ซึ่งก็อีกนั่นแหละ รับหลักการในวาระที่ 1 แล้ว ชั้นกรรมาธิการจะแปรญัตติยังไงก็ได้)
คราวนี้ก่อนการประชุมพิจารณาร่างกฎหมาย รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.ความมั่นคงในพื้นที่รอบรัฐสภา รอบทำเนียบฯ พร้อมกันนั้นก็ขนเจ้าหน้าที่ตำรวจมารักษาการหลายร้อยกองร้อย ว่ากันว่าใช้งบประมาณกว่า 400 ล้านบาท โดยที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยหลายคนพูดอย่างหน้าด้านๆ ว่า เป็นการพิจารณาร่างกฎหมายธรรมดาๆ ไม่มีอะไรเป็นกรณีพิเศษ
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่หน้าด้านพูดถึงการแก้ปัญหาต่างๆ ต้องใช้รัฐสภา แต่ตัวนางเองเข้าสภาฯ นับครั้งได้ แถมการประชุมสภาฯ พิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้นางเข้าสภาฯ ไปเซ็นชื่อแล้วก็โดดร่มหนีไปดูหมี ดูแรดที่ประจวบคีรีขันธ์โน่น ไม่ร่วมรับรู้แต่อย่างใด
พรรคประชาธิปัตย์ที่มองออกว่ายังไงเสียรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ต้องหาทางช่วยพี่ชาย ช่วยอีกหลายๆ คนที่ขายชีวิตขายวิญญาญเพื่อให้ทักษิณกลับมามีอำนาจ หรืออย่างน้อยที่สุดก็บงการรัฐบาลได้ก็เคลื่อนไหวคัดค้านการที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์จะออกกฎหมายล้างผิดให้คนโกงบ้านโกงเมือง คนที่เป็นอาชญากร คนที่เผาบ้านเผาเมืองมาโดยตลอดหนึ่งปี โดยเปิดเวทีบอกกล่าวให้ประชาชนรู้
ซึ่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ดูจะไม่สนใจ ยังคงเดินหน้าที่จะผ่านกฎหมายนิรโทษกรรมมาโดยตลอด เพียงแต่จะเป็นจังหวะใด โอกาสใดเท่านั้นเอง
การปราบม็อบเสธ.อ้าย ที่ประกาศตัวล้มล้างรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้อย่างง่ายดายยิ่งกว่าพลิกฝ่ามือ ทำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ มองเห็นว่าไม่ใช่เรื่องยากที่จะกำราบปราบปรามประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล การจ่ายเงิน 7 ล้านบาท 4 ล้านบาทให้แก่คนที่ขายชีวิตให้ทักษิณในช่วงสงกรานต์ปี 2552 และปี 2553 การทนได้กับนางสาวยิ่งลักษณ์ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทั้งที่นางไม่ประสีประสาทางการเมือง สร้างความอับอายขายหน้าให้คนไทยทั้งประเทศ หรือความผิดพลาดต่างๆ ของรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นการจำนำข้าวที่ฉิบหายไปแล้ว 2.6 แสนล้านบาท การทำผิดกฎหมายซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่ว่าจะเป็นการกู้เงิน 3.5 แสนนล้านบาทในโครงการแก้ปัญหาน้ำ หรือการจะสร้างหนี้ 2 ล้านล้านบาท ที่ยังไม่รู้ว่ารถไฟความเร็วสูงมันจะเอาไว้ขนคนหรือขนผัก ฯลฯ
ประชาชนคนไทยล้วนทนได้ รับได้ทั้งสิ้น
“การผ่านร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ประชาชนก็น่าที่จะรับได้” พรรคเพื่อไทย บรรดาผู้กุมยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทยล้วนสรุปได้เช่นนี้ เพราะไทยทน ไทยเฉย ไทยไม่สนใจมีจำนวนมาก
และในที่สุดก็เป็นเช่นที่บรรดาผู้กุมยุทธศาสตร์ประเทศไทยของพรรคเพื่อไทยสรุปได้จริงๆ ประชาชนไม่รู้สึกรู้สากับการใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 400 ล้านบาท สำหรับการประกาศใช้ พ.ร.ก.ความมั่นคง สำหรับการจ่ายเป็นเบี้ยเลี้ยง เป็นค่าพาหนะ เป็นค่าใชจ่ายอื่นๆ ของตำรวจเพื่อปกป้องคุ้มครองรัฐบาลยิ่งลักษณ์ให้อยู่ชั่วฟ้าดินสลาย ให้สมกับที่มีวันนี้เพราะพี่ให้ ให้สมกับความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ทักษิณมันหยิบยื่นให้ ประชาชนไม่สนใจกับความหน้าด้านของนักการเมืองพรรคเพื่อไทยที่บอกว่า ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เป็นการพิจารณาร่างกฎหมายปกติธรรมดา ไม่มีอะไรพิเศษพิสดาร
แล้วในที่สุดมันก็รับหลักการตั้งกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณา โดยมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวประกอบ โดยบอกว่าจะแปรญัตติทุกตัวอักษร
ซึ่งก็มองเห็นอนาคตอยู่แล้วว่าต่อให้แปรทุกอักขระ ก็ต้องแพ้เขาอยู่ดี
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ บอกว่า ผ่านวาระ 3 จะเป่านกหวีด ไม่รู้ว่าวาระ 3 ของสภาผู้แทนราษฎรหรือวาระที่ 3 ของวุฒิสภา
ไม่ต้องเป่านกหวีดให้เหนื่อยหรอกครับ ช่วยร้องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญในจังหวะที่ร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านวาระที่ 3 ของวุฒิสภา รอพระมหากษัตริย์จะทรงลงพระปรมาภิไธยให้ศาลพิจารณาว่ากฎหมายนี้ขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 3 มาตรา 29 และมาตรา 30 หรือไม่
ถ้าขัดแล้วจะเป็นยังไงครับ?