วานนี้ ( 8ส.ค.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่มีนางอมรา พงศาพิชญ์ เป็นประธาน ได้ออกแถลงการณ์ กรณีมีการกล่าวหาว่ามีการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชน อันเกิดจากการประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง และการดำเนินการของกระบวนการทางนิติบัญญัติในการตรากฎหมายนิรโทษกรรม โดยระบุว่า
จากการที่รัฐบาล ได้ประกาศใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ให้เหตุผลว่า มีสถานการณ์ที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงและมีแนวโน้มจะยืดเยื้อเป็นเวลายาวนาน เนื่องจากจะมีการชุมนุมของประชาชนที่ออกมาคัดค้านกฎหมายนิรโทษกรรม โดยมอบหมายให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบตามกฎหมาย ซึ่งต่อมาก็ได้มีประกาศห้ามบุคคลเข้าออกบริเวณรัฐสภา และทำเนียบรัฐบาล
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) ได้รับหนังสือร้องเรียนจากผู้แทนกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณและคณะเสนาธิการร่วม ขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีการประกาศ การบังคับใช้ การปฏิบัติหน้าที่ที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ของนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี, และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เบื้องต้น กสม.ได้มอบให้คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมืองทำการตรวจสอบ และลงพื้นที่แล้ว เห็นว่า
1. ประชาชนผู้ชุมนุมมีเสรีภาพในการชุมนุมแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 ข้อ 21 โดยรัฐบาลจะนำมากล่าวอ้างว่า การใช้เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนดังกล่าว เป็นเงื่อนไขของกฎหมายที่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของรัฐบาลไม่ได้ และการที่รัฐบาลใช้มาตรการตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ต่อผู้ชุมนุมและประชาชนทั่วไป เช่น การจำกัดพื้นที่ในการเดินทาง หรือการจำกัดช่องทางในการติดตามข้อมูลข่าวสาร เป็นมาตรการที่มีผลเป็นการละเมิด และยับยั้งการใช้สิทธิและเสรีภาพ และลิดรอนการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญของประชาชน
“ทั้งนี้ มาตรา 15 ของพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ให้อำนาจรัฐบาลในการประกาศใช้กฎหมายนี้ได้ต้องเป็นกรณีที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะมีอยู่เป็นเวลานาน ทั้งไม่สามารถแก้ได้ด้วยอำนาจหน้าที่ หรือความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐที่มีอยู่ตามปกติ ดังนั้น การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงต้องมีเหตุเกิดขึ้นก่อน และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะมีอยู่ต่อไปเป็นเวลานาน แต่การที่รัฐบาลอ้างเหตุเพียงว่า การชุมนุมของประชาชน หรือฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลเป็นเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ทั้งยังไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นแต่อย่างใด จึงเป็นการใช้อำนาจเกินความจำเป็น และเกินสมควรแก่เหตุ เนื่องจากกลไกตามกฎหมายที่มีอยู่ตามปกติก็เพียงพอที่รัฐจะสามารถจัดการให้การชุมนุมเป็นไปอย่างสงบอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญได้อยู่แล้ว จึงไม่มีเงื่อนไขเพียงพอที่จะประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงแต่อย่างใด การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงของรัฐบาล จึงมีลักษณะละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนเกินขอบเขตที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองและคุ้มครองไว้ กสม.จึงขอให้รัฐบาลพิจารณายกเลิกประกาศกฎหมายดังกล่าวโดยทันที และให้ปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมโดยยึดหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม และหลักการแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ”
2. กสม.มีความกังวลต่อการใช้อำนาจรัฐที่มีการกล่าวหาว่า มีลักษณะคุกคามต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน เช่น กรณีเจ้าหน้าที่ผู้ใช้อำนาจรัฐ จะเรียกตัวนายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บรรณาธิการข่าวการเมืองและความมั่นคง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และ นายเดชาธร ธีรพิริยะ แกนนำคนเสื้อแดงจังหวัดชลบุรี ที่ใช้นามแฝงว่า ปุ๊ ชลบุรี นักสู้ธุลีดิน นางสาววารุณี คำดวงศรี และผู้ใช้นามแฝงว่า Yo Onsine อดีตผู้ร่วมถ่ายทำรายการแดดร่มชมตลาด ผู้โพสต์ข้อความในลักษณะจะมีการปฏิวัติรัฐประหาร และขอให้ประชาชนกักตุนน้ำและอาหารให้พร้อม ผ่านโซเชียลมีเดีย ทำให้ประชาชนตื่นตระหนก มาสอบสวน ซึ่งหากพบว่ากระทำผิดจริง พนักงานสอบสวนจะแจ้งข้อหาผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา116 ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแก่กฎหมายแผ่นดิน เกิดความปั่นป่วน และจะก่อให้เกิดความไม่สงบในราชอาณาจักร ซึ่งการใช้อำนาจรัฐดังกล่าว ต้องตั้งอยู่ในสมมุติฐานแห่งความชอบธรรม สมเหตุสมผล และมีความยุติธรรม เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปในกรอบของรัฐธรรมนูญและกฎหมายอย่างเคร่งครัด
3. กรณีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ระหว่างวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2554 ฉบับของนายวรชัย เหมะ ส.ส.เพื่อไทย จ.สมุทรปราการ และคณะ เป็นผู้เสนอนั้น กสม.เห็นว่า เรื่องนี้มีความละเอียดอ่อนต่อการดำเนินการตามหลักนิติรัฐ และหลักนิติธรรม ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ อาจนำมาซึ่งการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการของรัฐ และบุคคลที่มีส่วนสร้างสถานการณ์ความรุนแรงต่อชีวิตและร่างกายของผู้อื่น อาจกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรม อีกทั้งประเด็นนี้ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้มีความเห็นแถลงต่อกรณีดังกล่าวว่า ร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งกำลังพิจารณาในที่ประชุมสภาในขณะนี้ อาจเป็นการไม่ชอบ และเรียกร้องรัฐบาลไทยว่า ควรจะต้องแน่ใจว่าการนิรโทษกรรมใดๆ ก็ตาม จะต้องไม่รวมไปถึงผู้ที่จะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน และใช้มาตรการเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดดังกล่าว และรัฐบาลไทยจะสร้างเป็นบรรทัดฐานที่สำคัญ หากยังปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนของไทยเอง รวมถึงคุมตัวผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของประชาชน และผู้ได้รับบาดเจ็บในระหว่างชุมนุมประท้วงดังกล่าว
ดังนั้น กฎหมายนิรโทษกรรมควรออกมาในสภาวการณ์ที่สุกงอมในเรื่องการทำให้สิทธิการรับรู้ความเป็นจริงปรากฏต่อสาธารณชน และนำไปสู่การได้ข้อสรุปในความเป็นจริงที่เข้าใจและยอมรับในเรื่องการไม่เอาผิดต่อประชาชนที่เข้ามาใช้สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ดังนั้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการทางนิติบัญญัติสมควรพิจารณาข้อเรียกร้องที่ให้มีการชะลอการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว แล้วเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายดังกล่าวอย่างกว้างขวางและทั่วถึง อันนำไปสู่การลดเงื่อนไขที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นของสังคมและประชาชนในชาติในฐานะที่เป็นพลเมืองไทย
4. กรณีการงดการถ่ายทอดสดการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ของสภาผู้แทนราษฎร ทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 NBT นั้น กสม.เห็นว่า กรณีนี้เป็นความจำเป็นที่มีประชาชนให้ความสนใจติดตามการดำเนินการของกระบวนการนิติบัญญัติของประเทศ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสมควรจัดให้มีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ให้กว้างขวาง เพื่อให้เสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลสาธารณะตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ของประชาชนบรรลุผลในทางปฏิบัติ จึงขอเรียกร้องมายังรัฐบาลและรัฐสภาได้พิจารณาจัดให้มีถ่ายทอดสดทางช่อง 11 NBT เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้โดยง่าย
จากการที่รัฐบาล ได้ประกาศใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ให้เหตุผลว่า มีสถานการณ์ที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงและมีแนวโน้มจะยืดเยื้อเป็นเวลายาวนาน เนื่องจากจะมีการชุมนุมของประชาชนที่ออกมาคัดค้านกฎหมายนิรโทษกรรม โดยมอบหมายให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบตามกฎหมาย ซึ่งต่อมาก็ได้มีประกาศห้ามบุคคลเข้าออกบริเวณรัฐสภา และทำเนียบรัฐบาล
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) ได้รับหนังสือร้องเรียนจากผู้แทนกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณและคณะเสนาธิการร่วม ขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีการประกาศ การบังคับใช้ การปฏิบัติหน้าที่ที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ของนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี, และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เบื้องต้น กสม.ได้มอบให้คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมืองทำการตรวจสอบ และลงพื้นที่แล้ว เห็นว่า
1. ประชาชนผู้ชุมนุมมีเสรีภาพในการชุมนุมแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 ข้อ 21 โดยรัฐบาลจะนำมากล่าวอ้างว่า การใช้เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนดังกล่าว เป็นเงื่อนไขของกฎหมายที่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของรัฐบาลไม่ได้ และการที่รัฐบาลใช้มาตรการตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ต่อผู้ชุมนุมและประชาชนทั่วไป เช่น การจำกัดพื้นที่ในการเดินทาง หรือการจำกัดช่องทางในการติดตามข้อมูลข่าวสาร เป็นมาตรการที่มีผลเป็นการละเมิด และยับยั้งการใช้สิทธิและเสรีภาพ และลิดรอนการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญของประชาชน
“ทั้งนี้ มาตรา 15 ของพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ให้อำนาจรัฐบาลในการประกาศใช้กฎหมายนี้ได้ต้องเป็นกรณีที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะมีอยู่เป็นเวลานาน ทั้งไม่สามารถแก้ได้ด้วยอำนาจหน้าที่ หรือความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐที่มีอยู่ตามปกติ ดังนั้น การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงต้องมีเหตุเกิดขึ้นก่อน และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะมีอยู่ต่อไปเป็นเวลานาน แต่การที่รัฐบาลอ้างเหตุเพียงว่า การชุมนุมของประชาชน หรือฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลเป็นเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ทั้งยังไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นแต่อย่างใด จึงเป็นการใช้อำนาจเกินความจำเป็น และเกินสมควรแก่เหตุ เนื่องจากกลไกตามกฎหมายที่มีอยู่ตามปกติก็เพียงพอที่รัฐจะสามารถจัดการให้การชุมนุมเป็นไปอย่างสงบอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญได้อยู่แล้ว จึงไม่มีเงื่อนไขเพียงพอที่จะประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงแต่อย่างใด การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงของรัฐบาล จึงมีลักษณะละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนเกินขอบเขตที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองและคุ้มครองไว้ กสม.จึงขอให้รัฐบาลพิจารณายกเลิกประกาศกฎหมายดังกล่าวโดยทันที และให้ปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมโดยยึดหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม และหลักการแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ”
2. กสม.มีความกังวลต่อการใช้อำนาจรัฐที่มีการกล่าวหาว่า มีลักษณะคุกคามต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน เช่น กรณีเจ้าหน้าที่ผู้ใช้อำนาจรัฐ จะเรียกตัวนายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บรรณาธิการข่าวการเมืองและความมั่นคง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และ นายเดชาธร ธีรพิริยะ แกนนำคนเสื้อแดงจังหวัดชลบุรี ที่ใช้นามแฝงว่า ปุ๊ ชลบุรี นักสู้ธุลีดิน นางสาววารุณี คำดวงศรี และผู้ใช้นามแฝงว่า Yo Onsine อดีตผู้ร่วมถ่ายทำรายการแดดร่มชมตลาด ผู้โพสต์ข้อความในลักษณะจะมีการปฏิวัติรัฐประหาร และขอให้ประชาชนกักตุนน้ำและอาหารให้พร้อม ผ่านโซเชียลมีเดีย ทำให้ประชาชนตื่นตระหนก มาสอบสวน ซึ่งหากพบว่ากระทำผิดจริง พนักงานสอบสวนจะแจ้งข้อหาผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา116 ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแก่กฎหมายแผ่นดิน เกิดความปั่นป่วน และจะก่อให้เกิดความไม่สงบในราชอาณาจักร ซึ่งการใช้อำนาจรัฐดังกล่าว ต้องตั้งอยู่ในสมมุติฐานแห่งความชอบธรรม สมเหตุสมผล และมีความยุติธรรม เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปในกรอบของรัฐธรรมนูญและกฎหมายอย่างเคร่งครัด
3. กรณีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ระหว่างวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2554 ฉบับของนายวรชัย เหมะ ส.ส.เพื่อไทย จ.สมุทรปราการ และคณะ เป็นผู้เสนอนั้น กสม.เห็นว่า เรื่องนี้มีความละเอียดอ่อนต่อการดำเนินการตามหลักนิติรัฐ และหลักนิติธรรม ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ อาจนำมาซึ่งการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการของรัฐ และบุคคลที่มีส่วนสร้างสถานการณ์ความรุนแรงต่อชีวิตและร่างกายของผู้อื่น อาจกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรม อีกทั้งประเด็นนี้ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้มีความเห็นแถลงต่อกรณีดังกล่าวว่า ร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งกำลังพิจารณาในที่ประชุมสภาในขณะนี้ อาจเป็นการไม่ชอบ และเรียกร้องรัฐบาลไทยว่า ควรจะต้องแน่ใจว่าการนิรโทษกรรมใดๆ ก็ตาม จะต้องไม่รวมไปถึงผู้ที่จะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน และใช้มาตรการเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดดังกล่าว และรัฐบาลไทยจะสร้างเป็นบรรทัดฐานที่สำคัญ หากยังปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนของไทยเอง รวมถึงคุมตัวผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของประชาชน และผู้ได้รับบาดเจ็บในระหว่างชุมนุมประท้วงดังกล่าว
ดังนั้น กฎหมายนิรโทษกรรมควรออกมาในสภาวการณ์ที่สุกงอมในเรื่องการทำให้สิทธิการรับรู้ความเป็นจริงปรากฏต่อสาธารณชน และนำไปสู่การได้ข้อสรุปในความเป็นจริงที่เข้าใจและยอมรับในเรื่องการไม่เอาผิดต่อประชาชนที่เข้ามาใช้สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ดังนั้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการทางนิติบัญญัติสมควรพิจารณาข้อเรียกร้องที่ให้มีการชะลอการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว แล้วเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายดังกล่าวอย่างกว้างขวางและทั่วถึง อันนำไปสู่การลดเงื่อนไขที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นของสังคมและประชาชนในชาติในฐานะที่เป็นพลเมืองไทย
4. กรณีการงดการถ่ายทอดสดการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ของสภาผู้แทนราษฎร ทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 NBT นั้น กสม.เห็นว่า กรณีนี้เป็นความจำเป็นที่มีประชาชนให้ความสนใจติดตามการดำเนินการของกระบวนการนิติบัญญัติของประเทศ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสมควรจัดให้มีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ให้กว้างขวาง เพื่อให้เสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลสาธารณะตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ของประชาชนบรรลุผลในทางปฏิบัติ จึงขอเรียกร้องมายังรัฐบาลและรัฐสภาได้พิจารณาจัดให้มีถ่ายทอดสดทางช่อง 11 NBT เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้โดยง่าย