วานนี้ (4 ส.ค.56) นายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียรได้นำตัวแทนวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ลงพื้นที่โครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ โดยนายศศิน กล่าวว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องวิศวกรรม ระบบชลประทาน และการก่อสร้างเขื่อนได้เห็นสภาพจริงของพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ ว่ามีความเหมาะสมและเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงหรือไม่ โดยเขื่อนแม่วงก์เป็น 1 ใน 18 เขื่อนของโมดูล A 1 ในแผนบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านของรัฐบาล หลังจากนี้มูลนิธิสืบฯ ร่วม วสท.จะนำข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ไปจัดการสัมมนาในวันที่ 15 ส.ค. เพื่อเผยแพร่ข้อเท็จจริงสู่ประชาชนและนำเสนอข้อมูลให้รัฐบาลพิจารณาต่อไป
นายสุวัฒนา จิตตลดากร ประธานอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมแหล่งน้ำ วสท.กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้พบว่าแผนบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลไม่มีความสอดคล้องกัน โดยเฉพาะโมดูล A1 เรื่องการก่อสร้างเขื่อนกับโมดูล A5 เรื่องการก่อสร้างฟลัดเวย์ระบายน้ำที่บริษัทเควอเตอร์ของเกาหลีประมูลได้ไป โดยตามแผนของ กบอ.การก่อสร้างฟลัดเวย์ฝั่งตะวันตกกจะมีการขุดคลองหรือเท่ากับเป็นแม่น้ำสายใหม่ขนาดความกว้าง 250 ม. ลึก 10 ม. ระยะทางยาวเกือบ 300 กม. จาก อ.ขานุวรลักษณ์ จ.กำแพงเพชรถึง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เพื่อตัดน้ำจากแม่น้ำปิงจำนวน 1,200 ลบ.ม./วินาทีให้ไหลลงสู่แม่น้ำแม่กลองโดยไม่ผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา จะทำให้เท่ากับมีน้ำจากแม่น้ำแม่กลอง 2 สายไหลลงสู่อ่าวไทย ซึ่งกระทบระบบนิเวศ เปลี่ยนระบบน้ำลุ่มน้ำของประเทศไทยและวิถีชีวิตของประชาชนแน่นอน ทั้งนี้ตามแผนการก่อสร้างฟลัดเวย์จะเป็นลักษณะคลองลอยด้วยการถมถนนขึ้นสูง 2 ฝั่ง ฝั่งละ 2 เลน และ 4 เลน และในอนาคตถนนสายนี้จะเชื่อมต่อจากท่าเรือทวายของพม่า ซึ่งการก่อสร้างฟลัดเวย์จะกระทบกับป่าตะวันตกและผ่ากลางพื้นที่ชลประทานที่รัฐอ้างว่าจะได้รับประโยชน์จากการสร้างเขื่อนแม่วงก์ รวมทั้งกระทบต่อประชาชนที่ต้องเวนคืนที่ดินจำนวนมากแต่รัฐยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลที่ชัดเจนในเรื่องนี้
ด้านนายบัญชา ขวัญยืน อนุกรรมการสาขาวิศวกรรมแหล่งน้ำฯ กล่าวว่า เชื่อว่าเขื่อนแม่วงก์เป็นโครงการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่รองจากเขื่อนแก่งเสือเต้น ที่รัฐมองว่ามีโอกาสที่จะก่อสร้างได้มากที่สุดและพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นมากที่สุดในเวลานี้ เพราะเป็นพื้นที่ที่มีปัญหามวลชนน้อยแตกต่างจากเขื่อนแก่งเสือเต้นที่มีปัญหามวลชนและสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก ที่สำคัญคือมีความพยายามนำปัญหาน้ำท่วมมาเป็นข้ออ้างในการสร้างเขื่อน ทั้งที่เขื่อนแม่วงก์เป็นเขื่อนเพื่อการชลประทาน อย่างไรก็ตามตนเห็นว่าโครงการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ไม่ควรเกิดขึ้นแล้ว แต่ควรบริหารจัดการระบบลุ่มน้ำและระบบชลประทานที่มีอยู่แล้วให้เกิดประสิทธิภาพจะเหมาะสมกว่า.
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า โครงการที่สามารถดำเนินการได้ทันทีเมื่อร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ผ่านการพิจารณาจากรัฐสภา และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว มี 3 โครงการคือ โครงการรถไฟฟ้าอยู่ระหว่างการก่อสร้าง และยังไม่แล้วเสร็จ ประกอบด้วยรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ
โครงการก่อสร้างทางหลวง ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างและบูรณะทางสายหลักระหว่างภาค โครงการเร่งรัดการก่อสร้างขยายทาง 4 ช่องทางจราจร และเพิ่มประสิทธิภาพเส้นทางหลวง 6 สายทาง โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน สระบุรี นครราชสีมา และการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ จำนวน 22 แห่ง
และสุดท้ายโครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายคมนาคม ติดตั้งและปรับปรุงเครื่องกั้น และโครงการปรับปรุงทาง ราง หมอน สะพาน และติดตั้งรั้วทั่วประเทศ ขณะที่ในปี 2557 มีโครงการจะร่วมประกวดราคาจำนวน 10 โครงการ
นายสุวัฒนา จิตตลดากร ประธานอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมแหล่งน้ำ วสท.กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้พบว่าแผนบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลไม่มีความสอดคล้องกัน โดยเฉพาะโมดูล A1 เรื่องการก่อสร้างเขื่อนกับโมดูล A5 เรื่องการก่อสร้างฟลัดเวย์ระบายน้ำที่บริษัทเควอเตอร์ของเกาหลีประมูลได้ไป โดยตามแผนของ กบอ.การก่อสร้างฟลัดเวย์ฝั่งตะวันตกกจะมีการขุดคลองหรือเท่ากับเป็นแม่น้ำสายใหม่ขนาดความกว้าง 250 ม. ลึก 10 ม. ระยะทางยาวเกือบ 300 กม. จาก อ.ขานุวรลักษณ์ จ.กำแพงเพชรถึง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เพื่อตัดน้ำจากแม่น้ำปิงจำนวน 1,200 ลบ.ม./วินาทีให้ไหลลงสู่แม่น้ำแม่กลองโดยไม่ผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา จะทำให้เท่ากับมีน้ำจากแม่น้ำแม่กลอง 2 สายไหลลงสู่อ่าวไทย ซึ่งกระทบระบบนิเวศ เปลี่ยนระบบน้ำลุ่มน้ำของประเทศไทยและวิถีชีวิตของประชาชนแน่นอน ทั้งนี้ตามแผนการก่อสร้างฟลัดเวย์จะเป็นลักษณะคลองลอยด้วยการถมถนนขึ้นสูง 2 ฝั่ง ฝั่งละ 2 เลน และ 4 เลน และในอนาคตถนนสายนี้จะเชื่อมต่อจากท่าเรือทวายของพม่า ซึ่งการก่อสร้างฟลัดเวย์จะกระทบกับป่าตะวันตกและผ่ากลางพื้นที่ชลประทานที่รัฐอ้างว่าจะได้รับประโยชน์จากการสร้างเขื่อนแม่วงก์ รวมทั้งกระทบต่อประชาชนที่ต้องเวนคืนที่ดินจำนวนมากแต่รัฐยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลที่ชัดเจนในเรื่องนี้
ด้านนายบัญชา ขวัญยืน อนุกรรมการสาขาวิศวกรรมแหล่งน้ำฯ กล่าวว่า เชื่อว่าเขื่อนแม่วงก์เป็นโครงการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่รองจากเขื่อนแก่งเสือเต้น ที่รัฐมองว่ามีโอกาสที่จะก่อสร้างได้มากที่สุดและพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นมากที่สุดในเวลานี้ เพราะเป็นพื้นที่ที่มีปัญหามวลชนน้อยแตกต่างจากเขื่อนแก่งเสือเต้นที่มีปัญหามวลชนและสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก ที่สำคัญคือมีความพยายามนำปัญหาน้ำท่วมมาเป็นข้ออ้างในการสร้างเขื่อน ทั้งที่เขื่อนแม่วงก์เป็นเขื่อนเพื่อการชลประทาน อย่างไรก็ตามตนเห็นว่าโครงการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ไม่ควรเกิดขึ้นแล้ว แต่ควรบริหารจัดการระบบลุ่มน้ำและระบบชลประทานที่มีอยู่แล้วให้เกิดประสิทธิภาพจะเหมาะสมกว่า.
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า โครงการที่สามารถดำเนินการได้ทันทีเมื่อร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ผ่านการพิจารณาจากรัฐสภา และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว มี 3 โครงการคือ โครงการรถไฟฟ้าอยู่ระหว่างการก่อสร้าง และยังไม่แล้วเสร็จ ประกอบด้วยรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ
โครงการก่อสร้างทางหลวง ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างและบูรณะทางสายหลักระหว่างภาค โครงการเร่งรัดการก่อสร้างขยายทาง 4 ช่องทางจราจร และเพิ่มประสิทธิภาพเส้นทางหลวง 6 สายทาง โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน สระบุรี นครราชสีมา และการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ จำนวน 22 แห่ง
และสุดท้ายโครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายคมนาคม ติดตั้งและปรับปรุงเครื่องกั้น และโครงการปรับปรุงทาง ราง หมอน สะพาน และติดตั้งรั้วทั่วประเทศ ขณะที่ในปี 2557 มีโครงการจะร่วมประกวดราคาจำนวน 10 โครงการ