ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - ตลาดริมน้ำเมย ชายแดนแม่สอด ยังจมอยู่ใต้น้ำต่อเนื่องร่วมสัปดาห์แล้ว หลังน้ำเมยล้นทะลักไม่หยุด ขณะที่การค้าไทย-พม่า ยอดการค้าหายนับพันล้านจากปกติที่เคยค้าขายกันไม่น้อยกว่า 3,500-4,000 ล้านต่อเดือน หอการค้าตากเผยท่วมหนักสุดในรอบ 20 ปี ขณะที่เชียงรายสังเวยแล้ว 2 ศพ
ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตากวานนี้ (30 ก.ค.) ว่า น้ำจากแม่น้ำเมยชายแดนไทย-พม่า ได้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรบ้านแม่กุน้อย และบ้านแม่กุใหม่ท่าซุง ต.แม่กุ อ.แม่สอด เกือบทั้งหมู่บ้าน และถนนที่เชื่อมกับหมู่บ้านอื่นๆ ก็ถูกน้ำท่วม ทำให้ชาวบ้านนับ 1,000 คน ต้องอพยพขนข้าวของเครื่องใช้จำเป็นหนีไปอาศัยวัดดอยพระธาตุ บ้านแม่กุใหม่ท่าซุง
นายสมศักดิ์ คะวีรัตน์ ประธานหอการค้าจังหวัดตาก กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่ชายแดนไทย-พม่า อ.แม่สอด จ.ตากว่า ชายแดนแม่สอดถูกน้ำท่วมนานเกือบ 1 อาทิตย์แล้ว วานนี้ (30 ก.ค.) ระดับน้ำเริ่มทรงตัวและลดระดับลงบ้าง แต่ย่านตลาดริมเมย ระดับน้ำยังท่วมสูง เนื่องจากแม่น้ำเมยยังทะลักล้นตลิ่งไม่หยุด ซึ่งน้ำท่วมในพื้นที่ อ.แม่สอด ครั้งนี้ถือว่าหนักสุดในรอบ 20 ปี "น้ำท่วมคราวนี้ สร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจแม่สอด และการค้าชายแดนไทย-พม่านับพันล้านบาทแล้ว การค้าชายแดนขณะนี้ถือว่าต้องหยุด 100% มาร่วมสัปดาห์ จากเดิมที่เคยมียอดการค้าเฉลี่ยเดือนละ 3,500-4,000 ล้านบาท เพราะไม่สามารถส่งสินค้าจากแม่สอดเข้าเมียวดี หรือจากเมียวดี เข้าแม่สอด ผ่านท่าข้ามริมฝั่งแม่น้ำเมยได้ แม้ว่าด่านศุลากรแม่สอดจะเปิดทำการได้แล้วก็ตาม แต่พื้นที่ฝั่งพม่าถูกน้ำท่วม จึงทำให้การขนส่งสินค้าไม่สะดวก"
***เชียงรายสังเวยน้ำท่วมแล้ว2ศพ
ที่ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย พ.ต.ท.บุญฤทธิ์ คำบุญเรือง ร้อยเวร สภ.แม่สรวย ได้รับแจ้งจากนายสาคร มาเยอะ ผู้ใหญ่บ้านห้วยน้ำอุ่น ม.21 ต.วาวี อ.แม่สรวยว่า มีลูกบ้านถูกต้นไม้ใหญ่ที่ถูกกระแสน้ำบนภูเขาซัดจนล้มลงมาทับเสียชีวิตภายในไร่ข้าวโพด และข้าวไร่ อยู่ชายป่าท้ายหมู่บ้าน 2 ราย คือ นางอาจู เซอมือ อายุ 55 ปี และ น.ส.อารีย์ เลเซอะ อายุ 24 ปี ลูกสาวของนางอาจู ถูกทับที่ลำตัวได้รับบาดเจ็บสาหัส ไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาลแม่สรวย
**"ชาวสบเมย"ถูกตัดขาดโลกภายนอก
ที่ จ.แม่ฮ่องสอน หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 36 ได้ส่งชุดเจ้าหน้าที่ 1 ชุดปฏิบัติการเข้าไปให้การช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ที่ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก หลังจากมีฝนตกหนัก จนเกิดดินสไลด์-หินถล่มปิดทับเส้นทางสัญจรหลายจุด ขณะที่สำนักงานทางหลวงชนบท จ.แม่ฮ่องสอน ก็เริ่มลำเลียงเครื่องจักรเข้าพื้นที่เพื่อเคลียร์เส้นทาง คาดว่าวันนี้ จะเริ่มตักดินออกเปิดเส้นทางได้ แต่ก็ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะแล้วเสร็จเมื่อใด เนื่องจากจุดที่เกิดเหตุดินสไลด์เป็นเหวลึก อีกด้านหน้าผาสูง มีดินหินจำนวนมากที่จะสไลด์ตามลงมาอีก ประกอบกับฝนในพื้นที่ยังตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการทำงานค่อนข้างมาก
**น่านผวาทหารช่วยขนของหนีน้ำ
ที่ จ.น่าน นายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน ได้นำรถยนต์ติดเครื่องขยายเสียงประกาศแจ้งเตือนประชาชนบ้านริมแม่น้ำ 6 ชุมชน ได้แก่ บ้านภูมินทร์, บ้านท่าลี่, บ้านพวงพะยอม, บ้านดอนศรีเสริม, บ้านพญาภู และบ้านสวนตาล ให้เก็บข้าวของเครื่องใช้ขึ้นที่สูง และติดตามฟังข่าวสารการแจ้งเตือนอย่างใกล้ชิด พร้อมกับประสาน พล.ต.ชีวัน โหละบุตร ผบ.จังหวัดทหารบกน่าน นำกำลังทหารเข้าช่วยชาวบ้านขนย้ายข้าวของหนีน้ำ และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 6 จุดเพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำที่จะไหลมาจากทางสายเหนือเพื่อป้องกันน้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองน่าน
**เตือนลำปางพันหมู่บ้านเสี่ยงดินถล่ม
นายสมบูรณ์ โฆษิตานนท์ ผอ.สำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 1 ลำปาง กล่าวว่า ในช่วงฤดูฝนปีนี้ทางสำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 1 ลำปาง กำลังเป็นห่วงว่าฝนที่ตกลงมาอย่างหนักในช่วงนี้ส่งผลทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลันแล้ว อีกภัยที่มีความรุนแรงมากเหมือนกัน คือ ดินถล่ม หรือดินโคลนถล่มที่มากับน้ำป่า อาจจะเกิดขึ้นได้ในพื้นที่เสี่ยงภัยที่มีอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ 17 จังหวัด ที่อยู่ในความดูแลของสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 1 ลำปาง โดยทุกจังหวัดมีหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม หรือดินโคล่นถล่ม ที่จะมากับน้ำป่า
"จากการสำรวจที่ผ่านมามีหมู่บ้านเสี่ยงภัยดังกล่าวมากกว่า 1,000 หมู่บ้าน ทำให้ต้องมีการเฝ้าระวังในพื้นที่อย่างใกล้ชิด โดยได้กำชับให้อาสาเฝ้าระวังภัยด้านธรณีวิทยา ได้สังเกตและเฝ้าระวังภัยดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจัยหลัก ที่จะทำให้เกิดภัยดังกล่าวขึ้นได้ คือ ฝนที่ตกหนักในพื้นที่ และแผ่นดินบนยอดเขาสูง เกิดความไม่แน่น จากต้นไม้ที่ถูกตัดออกไป หรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของแผ่นดิน ซึ่งจะทำให้เกิดดินถล่ม หรือดินโคลนถล่ม มากับน้ำป่า แล้วไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนได้ "
**"ปูสั่ง รมต.ลงพื้นที่ดูแลปัญหาน้ำท่วม
ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ท.(หญิง) สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี ได้แจ้งต่อที่ประชุมให้รับทราบว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม รับทราบเรื่องสถานการณ์น้ำท่วมที่ภาคเหนือ ภาคอีสานแล้ว โดยได้สั่งการให้รัฐมนตรีที่ได้รับการแบ่งมอบพื้นที่ตรวจราชการในจังหวัดต่างๆ ที่ประสบภัยได้ลงไปดูแลปัญหา และแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ส่วนด้านการดูแลช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ประชาชนที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์น้ำท่วม รัฐบาลจะให้ค่าทำศพรายละ 25,000 บาท และถ้าผู้ที่เสียชีวิตเป็นหัวหน้าครอบครัวรัฐบาลจะเพิ่มให้อีกรายละ 25,000 บาท ส่วนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจนต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล รัฐบาลจะช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นจำนวน 3,000 บาท และสำหรับผู้ที่ไร้ที่อยู่อาศัยรัฐบาลได้จัดที่อยู่อาศัยชั่วคราวไว้ให้แล้ว พร้อมจัดอาหารให้ในแต่ละมื้ออีกด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตากวานนี้ (30 ก.ค.) ว่า น้ำจากแม่น้ำเมยชายแดนไทย-พม่า ได้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรบ้านแม่กุน้อย และบ้านแม่กุใหม่ท่าซุง ต.แม่กุ อ.แม่สอด เกือบทั้งหมู่บ้าน และถนนที่เชื่อมกับหมู่บ้านอื่นๆ ก็ถูกน้ำท่วม ทำให้ชาวบ้านนับ 1,000 คน ต้องอพยพขนข้าวของเครื่องใช้จำเป็นหนีไปอาศัยวัดดอยพระธาตุ บ้านแม่กุใหม่ท่าซุง
นายสมศักดิ์ คะวีรัตน์ ประธานหอการค้าจังหวัดตาก กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่ชายแดนไทย-พม่า อ.แม่สอด จ.ตากว่า ชายแดนแม่สอดถูกน้ำท่วมนานเกือบ 1 อาทิตย์แล้ว วานนี้ (30 ก.ค.) ระดับน้ำเริ่มทรงตัวและลดระดับลงบ้าง แต่ย่านตลาดริมเมย ระดับน้ำยังท่วมสูง เนื่องจากแม่น้ำเมยยังทะลักล้นตลิ่งไม่หยุด ซึ่งน้ำท่วมในพื้นที่ อ.แม่สอด ครั้งนี้ถือว่าหนักสุดในรอบ 20 ปี "น้ำท่วมคราวนี้ สร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจแม่สอด และการค้าชายแดนไทย-พม่านับพันล้านบาทแล้ว การค้าชายแดนขณะนี้ถือว่าต้องหยุด 100% มาร่วมสัปดาห์ จากเดิมที่เคยมียอดการค้าเฉลี่ยเดือนละ 3,500-4,000 ล้านบาท เพราะไม่สามารถส่งสินค้าจากแม่สอดเข้าเมียวดี หรือจากเมียวดี เข้าแม่สอด ผ่านท่าข้ามริมฝั่งแม่น้ำเมยได้ แม้ว่าด่านศุลากรแม่สอดจะเปิดทำการได้แล้วก็ตาม แต่พื้นที่ฝั่งพม่าถูกน้ำท่วม จึงทำให้การขนส่งสินค้าไม่สะดวก"
***เชียงรายสังเวยน้ำท่วมแล้ว2ศพ
ที่ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย พ.ต.ท.บุญฤทธิ์ คำบุญเรือง ร้อยเวร สภ.แม่สรวย ได้รับแจ้งจากนายสาคร มาเยอะ ผู้ใหญ่บ้านห้วยน้ำอุ่น ม.21 ต.วาวี อ.แม่สรวยว่า มีลูกบ้านถูกต้นไม้ใหญ่ที่ถูกกระแสน้ำบนภูเขาซัดจนล้มลงมาทับเสียชีวิตภายในไร่ข้าวโพด และข้าวไร่ อยู่ชายป่าท้ายหมู่บ้าน 2 ราย คือ นางอาจู เซอมือ อายุ 55 ปี และ น.ส.อารีย์ เลเซอะ อายุ 24 ปี ลูกสาวของนางอาจู ถูกทับที่ลำตัวได้รับบาดเจ็บสาหัส ไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาลแม่สรวย
**"ชาวสบเมย"ถูกตัดขาดโลกภายนอก
ที่ จ.แม่ฮ่องสอน หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 36 ได้ส่งชุดเจ้าหน้าที่ 1 ชุดปฏิบัติการเข้าไปให้การช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ที่ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก หลังจากมีฝนตกหนัก จนเกิดดินสไลด์-หินถล่มปิดทับเส้นทางสัญจรหลายจุด ขณะที่สำนักงานทางหลวงชนบท จ.แม่ฮ่องสอน ก็เริ่มลำเลียงเครื่องจักรเข้าพื้นที่เพื่อเคลียร์เส้นทาง คาดว่าวันนี้ จะเริ่มตักดินออกเปิดเส้นทางได้ แต่ก็ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะแล้วเสร็จเมื่อใด เนื่องจากจุดที่เกิดเหตุดินสไลด์เป็นเหวลึก อีกด้านหน้าผาสูง มีดินหินจำนวนมากที่จะสไลด์ตามลงมาอีก ประกอบกับฝนในพื้นที่ยังตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการทำงานค่อนข้างมาก
**น่านผวาทหารช่วยขนของหนีน้ำ
ที่ จ.น่าน นายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน ได้นำรถยนต์ติดเครื่องขยายเสียงประกาศแจ้งเตือนประชาชนบ้านริมแม่น้ำ 6 ชุมชน ได้แก่ บ้านภูมินทร์, บ้านท่าลี่, บ้านพวงพะยอม, บ้านดอนศรีเสริม, บ้านพญาภู และบ้านสวนตาล ให้เก็บข้าวของเครื่องใช้ขึ้นที่สูง และติดตามฟังข่าวสารการแจ้งเตือนอย่างใกล้ชิด พร้อมกับประสาน พล.ต.ชีวัน โหละบุตร ผบ.จังหวัดทหารบกน่าน นำกำลังทหารเข้าช่วยชาวบ้านขนย้ายข้าวของหนีน้ำ และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 6 จุดเพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำที่จะไหลมาจากทางสายเหนือเพื่อป้องกันน้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองน่าน
**เตือนลำปางพันหมู่บ้านเสี่ยงดินถล่ม
นายสมบูรณ์ โฆษิตานนท์ ผอ.สำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 1 ลำปาง กล่าวว่า ในช่วงฤดูฝนปีนี้ทางสำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 1 ลำปาง กำลังเป็นห่วงว่าฝนที่ตกลงมาอย่างหนักในช่วงนี้ส่งผลทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลันแล้ว อีกภัยที่มีความรุนแรงมากเหมือนกัน คือ ดินถล่ม หรือดินโคลนถล่มที่มากับน้ำป่า อาจจะเกิดขึ้นได้ในพื้นที่เสี่ยงภัยที่มีอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ 17 จังหวัด ที่อยู่ในความดูแลของสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 1 ลำปาง โดยทุกจังหวัดมีหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม หรือดินโคล่นถล่ม ที่จะมากับน้ำป่า
"จากการสำรวจที่ผ่านมามีหมู่บ้านเสี่ยงภัยดังกล่าวมากกว่า 1,000 หมู่บ้าน ทำให้ต้องมีการเฝ้าระวังในพื้นที่อย่างใกล้ชิด โดยได้กำชับให้อาสาเฝ้าระวังภัยด้านธรณีวิทยา ได้สังเกตและเฝ้าระวังภัยดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจัยหลัก ที่จะทำให้เกิดภัยดังกล่าวขึ้นได้ คือ ฝนที่ตกหนักในพื้นที่ และแผ่นดินบนยอดเขาสูง เกิดความไม่แน่น จากต้นไม้ที่ถูกตัดออกไป หรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของแผ่นดิน ซึ่งจะทำให้เกิดดินถล่ม หรือดินโคลนถล่ม มากับน้ำป่า แล้วไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนได้ "
**"ปูสั่ง รมต.ลงพื้นที่ดูแลปัญหาน้ำท่วม
ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ท.(หญิง) สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี ได้แจ้งต่อที่ประชุมให้รับทราบว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม รับทราบเรื่องสถานการณ์น้ำท่วมที่ภาคเหนือ ภาคอีสานแล้ว โดยได้สั่งการให้รัฐมนตรีที่ได้รับการแบ่งมอบพื้นที่ตรวจราชการในจังหวัดต่างๆ ที่ประสบภัยได้ลงไปดูแลปัญหา และแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ส่วนด้านการดูแลช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ประชาชนที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์น้ำท่วม รัฐบาลจะให้ค่าทำศพรายละ 25,000 บาท และถ้าผู้ที่เสียชีวิตเป็นหัวหน้าครอบครัวรัฐบาลจะเพิ่มให้อีกรายละ 25,000 บาท ส่วนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจนต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล รัฐบาลจะช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นจำนวน 3,000 บาท และสำหรับผู้ที่ไร้ที่อยู่อาศัยรัฐบาลได้จัดที่อยู่อาศัยชั่วคราวไว้ให้แล้ว พร้อมจัดอาหารให้ในแต่ละมื้ออีกด้วย