จากข่าวร้อนๆเกี่ยวกับการเปิดสภา และมีการดันร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมเข้าพิจารณาเป็นลำดับแรกทำให้เกิดปฏิกิริยาทั้งต่อต้านและสนับสนุนในสังคมขึ้นทันที และมีทีท่าว่าจะมีการชุมนุมทั้งต่อต้านและสนับสนุนกันอีกในไม่ช้า
บทความทางวิชาการนี้ไม่ได้มีเจตนาร้ายต่อผู้ใด แต่ในฐานะประชาชนมีหน้าที่ที่จะป้องกันการเกิดเหตุร้ายในบ้านเมืองได้ จึงเสนอหลักวิชาการเพื่อให้เป็นหนทางในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายต่อสาธารณชน
รัฐสภามีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นโดยตรง เพราะเป็นผู้มี “ หน้าที่ ” ในการตรากฎหมายออกใช้บังคับกับประชาชน แต่เมื่อ “หน้าที่ในการตรากฎหมายของรัฐสภา ” นั้นเป็น “อำนาจของประชาชนที่ได้มอบอำนาจให้รัฐสภาเป็นผู้ทำหน้าที่แทน” การใช้อำนาจและหน้าที่ของรัฐสภาในการตรากฎหมาย จึงมิใช่เป็นอำนาจเสร็จเด็ดขาดของรัฐสภา แต่เป็นอำนาจที่ถูกจำกัดโดยมีเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญที่รัฐสภาจะใช้อำนาจในการตรากฎหมายได้ตามหน้าที่ของรัฐสภา เพราะอำนาจที่รัฐสภาใช้ตรากฎหมายนั้นเป็นอำนาจของประชาชน รัฐสภาเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่เป็นอำนาจของตนเองหรือเป็นตัวแทนของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดที่ใช้อำนาจได้ตามอำเภอใจ กล่าวคือ
1. รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้รัฐสภามีหน้าที่ในการ “ตรากฎหมายที่จำเป็น” ( Necessary clause ) เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน และ “กฎหมายที่จำเป็น” นั้นต้องสอดคล้องกับนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญมาตรา 76 มาตรา 76 จึงบทบัญญัติที่กำหนดการใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐสภาให้ตรากฎหมายได้เท่าที่จำเป็น และต้องไม่ขัดต่อแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 76 ถึงมาตรา 87 ประธานรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภามีหน้าที่ต้องตรวจสอบร่างกฎหมายไม่ว่าร่างกฎหมายนั้นจะมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากฝ่ายบริหาร หรือมาจากประชาชน การรับร่างเพื่อพิจารณาและการตรากฎหมายที่ไม่จำเป็นและขัดต่อแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ จงใจปฏิบัติหน้าที่โดยขัดต่อรัฐธรรมนูญ แสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองและผู้อื่น กฎหมายนั้นก็เป็นกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ฝ่ายบริหารจะนำกฎหมายไปใช้บังคับไม่ได้ และศาลก็จะตีความเพื่อใช้บังคับไม่ได้เช่นกัน เพราะเป็นกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
2. นอกจากประธานรัฐสภาและรัฐสภามีหน้าที่จะต้องตรวจสอบร่างพระราชบัญญัติว่าเป็นร่างกฎหมายสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐหรือไม่ ประธานรัฐสภาและรัฐสภายังมีหน้าที่ที่จะต้องตรวจสอบด้วยอีกว่า เป็นร่างกฎหมายที่ขัดต่ออำนาจหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นผู้อยู่ในสังกัดรัฐสภาตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 122 หรือไม่ เมื่อมาตรา 122 บัญญัติว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ต้องปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์แล้ว เมื่อร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับ 42 สส. ของนายวรชัย เป็นร่างกฎหมายเพื่อช่วยเหลือคนเสื้อแดงที่ติดคุกให้ออกจากคุกตามคำสัมภาษณ์ของนายวรชัยแล้ว ทั้งปรากฏข้อเท็จจริงเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะและประชาคมโลกว่า คนเสื้อแดงกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยเป็นพวกเดียวกัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยและสมาชิกพรรคเพื่อไทยบางคนเป็นแกนนำคนเสื้อแดง ได้ทำกิจกรรมในทางการเมืองร่วมกับคนเสื้อแดงทั้งก่อนเลือกตั้งและภายหลังการเลือกตั้ง คนเสื้อแดงบางคนร่วมบริหารราชการแผ่นดินกับรัฐบาล ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนายวรชัยจึงเป็นร่างกฎหมายเพื่อช่วยเหลือพรรคพวกหรือสมาชิกพรรคเพื่อไทย ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมดังกล่าว จึงเป็นร่างกฎหมายที่ขัดต่อการทำหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคเพื่อไทยและของพรรคเพื่อไทย ประธานรัฐสภาและรัฐสภาจะต้องตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 122 ว่าเป็นร่างกฎหมายที่มีผลประโยชน์ขัดกับการทำหน้าที่ของรัฐสภาหรือไม่ การไม่ตรวจสอบการรับร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม และรัฐสภาดำเนินการพิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมย่อมเป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่โดยขัดต่อรัฐธรรมนูญ อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบและโดยทุจริต ซึ่งเป็นการกระทำความผิดที่มีโทษทางอาญา และอยู่ในข่ายที่ต้องถูกยุบพรรค
3. ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่เสนอโดยญาติผู้เสียชีวิต หรือที่เรียกว่าฉบับประชาชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 163 นั้น รัฐสภาจะรับไว้พิจารณาไม่ได้เลย เพราะประชาชนไม่มีสิทธิเสนอกฎหมายนิรโทษกรรม เพราะเหตุที่ญาติตนเองเสียชีวิตไม่ว่าในกรณีใด จะเสนอได้ก็แต่เฉพาะร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนในหมวด 3 และกฎหมายที่เกี่ยวกับการที่จะบังคับให้ทุกคนต้องปฏิบัติตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามหมวด 5 เท่านั้น
4. การตรากฎหมายเป็นการใช้อำนาจของรัฐสภาซึ่งเป็นองค์กรของรัฐ โดยรัฐสภาจะตรากฎหมายโดยละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรอง หรือที่รับรองไว้โดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ และจะตรากฎหมายโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของบุคคลอื่นไม่ได้ หากรัฐสภาตรากฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับสมาชิกรัฐสภา หรือพรรคพวก หรือผู้กระทำความผิดอาญา โดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของบุคคลอื่น หรือโดยละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองไว้ หรือโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ผู้ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพย่อมใช้สิทธิทางศาลได้และใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้รัฐ (องค์กรของรัฐ) ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในหมวดที่ 3 ได้โดยตรง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 26, 27, 28 วรรค 2 วรรค 3
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับ 42 สส. ของนายวรชัย และร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับญาติผู้เสียชีวิต เป็นร่างกฎหมายเพื่อที่จะช่วยเหลือผู้กระทำความผิดอาญาแผ่นดินให้พ้นจากความผิด ไม่ต้องถูกดำเนินคดีอาญาหรือไม่ต้องรับโทษ หรือที่รับโทษอยู่ให้พ้นจากการที่ต้องรับโทษ เฉพาะในการกระทำความผิดอาญาต่อแผ่นดินในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 จนถึง 10 พฤษภาคม 2554 นั้น จึงเป็นกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญเพราะ
4.1 เป็นร่างกฎหมายที่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อผู้กระทำความผิดอาญาแผ่นดินในความผิดอาญาอื่นๆที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว เมื่อจะตรากฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่ผู้กระทำความผิดอาญาในช่วงเวลาดังกล่าว ก็ต้องนิรโทษกรรมให้แก่ผู้กระทำความผิดอาญาในทุกความผิดไม่ว่าจะเป็น ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ข่มขืน ฆ่าผู้อื่น อาวุธปืน ยาเสพติดให้โทษและ ฯลฯ และจะเลือกนิรโทษกรรมเฉพาะบางคน บางกลุ่มโดยไม่เท่าเทียมกันไม่ได้ เพราะบุคคลย่อมเสมอภาคกันในกฎหมาย และต้องได้รับความคุ้มครองในกฎหมายเท่าเทียมกัน รัฐสภาตรากฎหมายโดยเลือกปฏิบัติออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้กับตนเองและพวกซึ่งเป็นผู้กระทำความผิด หรือเอื้อประโยชน์ให้เพราะสถานะบุคคลนั้นไม่อาจกระทำได้ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 30 วรรคแรก
4.2 รัฐสภาจะตรากฎหมายเพื่อให้ผู้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำบัญญัติเป็นความผิดไม่ต้องรับโทษ หรือพ้นจากการรับโทษ หรือพ้นจากความผิดนั้น ย่อมเป็นการตรากฎหมายโดยละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองไว้ในหมวดที่ 3 ส่วนที่ 4 ว่าด้วย “สิทธิในกระบวนการยุติธรรม” ตามมาตรา 39 วรรคแรก เพราะบุคคลที่กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดนั้น ต้องมีความผิดและต้องรับโทษในการกระทำนั้น
4.3 รัฐสภาจะตรากฎหมายโดยละเมิดต่อ “สิทธิในทรัพย์สิน” ของบุคคลในหมวด 3 ส่วนที่ 5 มาตรา 41 ไม่ได้ เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นกับบุคคลและกับประชาชนเป็นทางสาธารณะ เพราะมีการเผาร้านค้า ศูนย์การค้า บ้านเรือน เผาศาลากลางจังหวัด และสถานที่ราชการเป็นการทั่วไปแล้ว สิทธิในทรัพย์สินของบุคคลไม่ว่าจะเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้มีสิทธิใช้ทรัพย์สินนั้นต้องได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 41 ดังกล่าว
4.4 พ.ร.บ.นิรโทษกรรมดังกล่าว เป็นร่างกฎหมายที่ขัดต่อแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ทำให้การบริหารราชการแผ่นดินไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญมาตรา 78 (1 ) ( 6 ) เป็นร่างกฎหมายที่ขัดขวางแนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม ไม่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้พ้นจากการล่วงละเมิดทั้งโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและโดยบุคคลอื่น และขัดขวางการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 81 (1 ) (2)
5. การรับร่างและการจะพิจารณาพ.ร.บ.นิรโทษกรรมของรัฐสภา เป็นการกระทำของสมาชิกรัฐสภา ( เฉพาะผู้ที่เห็นด้วยจะให้ตราเป็นกฎหมาย ) การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักรฐานเป็นกบฏ ต่อแผ่นดินตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 114 เพราะเป็นการสมคบกันเพื่อกระทำการตามมาตรา 113 เพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ( ไม่ใช้หลักการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในการตราพ.ร.บ.นิรโทษกรรม พ.ร.บ.นิรโทษกรรมขัดต่อแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามที่กล่าวไว้ในข้อ 4. ) ซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่า เป็นการล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ ( ที่ฝ่ายนิติบัญญัติจะต้องตรากฎหมายให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ )
ล้มล้างอำนาจบริหารตามรัฐธรรมนูญ ( เพราะตรากฎหมายเพื่อให้ฝ่ายบริหารใช้อำนาจโดยขัดต่อรัฐธรรมนูญและละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ) ล้มล้างอำนาจตุลาการตามรัฐธรรมนูญ ( เพื่อให้องค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการทุกองค์กรต้องยุติการใช้อำนาจตุลาการทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นชั้นพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ กรมราชทัณฑ์ และศาลต้องยุติการดำเนินคดีทั้งหมด และยกเลิกการกระทำความผิดอาญาเฉพาะคนบางคนได้ทั้งหมด )
การรับร่างและการพิจารณาพ.ร.บ.นิรโทษกรรมจึงเป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน เพราะเป็นการสมคบกันไม่ใช้หลักการตามรัฐธรรมนูญในการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งความผิดฐานเป็นกบฏต่อแผ่นดินโดยการสมคบกัน เป็นการกระทำผิดอาญาที่ไม่ต้องมีผลปรากฏ ( délits formels ) เพียงมีหลักฐานว่ามีการสมคบกันก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว และเป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดินที่ไม่เข้าข่ายเป็นความผิดทางการเมือง ( délits politiques หรือ Political offence ) แต่อาศัยอำนาจทางรัฐสภาอำพรางการสมคบกันกระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามมาตรา 114
6. การใช้ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมดำเนินการทางรัฐสภาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการสมคบกันกบฏต่อแผ่นดินตามมาตรา 114 เพราะได้กำหนดเวลาเพื่อจะนิรโทษกรรมของการกระทำในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 จนถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 คือ ตั้งแต่มีการปฏิวัติโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน เมื่อปฏิวัติแล้วก็ได้มีการตั้งรัฐบาลชั่วคราวบริหารราชการแผ่นดินตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2549 ถึง 29 มกราคม 2551 ซึ่งได้มีการตรารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ออกใช้บังคับโดยผ่านประชามติ และต่อมาได้มีการเลือกตั้งภายใต้การใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 พรรคพลังประชาชนได้เสียงข้างมากและจัดตั้งรัฐบาลโดยมีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาได้เปลี่ยนนายกรัฐมนตรีเป็น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ( ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2551 ) นายสมชายถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง และต่อมาพรรคพลังประชาชนถูกคำสั่งยุบพรรคพลังประชาชน ซึ่งนายชวรัตน์ ชาญวีรกุล พรรคภูมิใจไทย รักษาการแทนนายกรัฐมนตรี (วันที่ 2 ธันวาคม 2551ถึง 15 ธันวาคม 2551 ) เมื่อพรรคพลังประชาชนถูกยุบไปแล้ว จึงไม่มีพรรคพลังประชาชนและสส.สัดส่วน หรือ สส.ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคพลังประชาชนอยู่ในสภา แต่ปรากฏว่ามีพรรคเพื่อไทยซึ่งไม่มีสส.ระบบบัญชีรายชื่อเข้ามาอยู่ในสภาพร้อมด้วยสส.ระบบบัญชีรายชื่อที่ไม่ผ่านการเลือกตั้งจากประชาชนเข้าไปทำหน้าที่ในสภา และได้ร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีการให้ความเห็นชอบให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 172 ด้วย แม้พรรคเพื่อไทยจะไม่เห็นด้วยให้นายอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ในทางรัฐธรรมนูญถือว่าได้ร่วมให้ความเห็นชอบแล้ว
แม้การปฏิวัติวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นการล้มล้างรัฐบาลเก่าโดยใช้กำลังตอนต้นอาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ต่อมาประชาชนรวมทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคการเมืองอื่นๆได้ยอมรับนับถือแล้ว โดยสมัครรับเลือกตั้งตามที่รัฐบาลเก่าจัดให้มีการเลือกตั้งและมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และพรรคพลังประชาชนหรือพรรคเพื่อไทยเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล จึงเป็นการยืนยันได้ว่า รัฐบาลที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยคณะปฏิวัตินั้นเป็นรัฐบาลที่ชอบตามความเป็นจริง โดยการยอมรับจากประชาชนและจากรัฐบาลที่เกิดขึ้นจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 แล้ว ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1153-1154/2495 ระหว่างพนักงานอัยการโจทก์ พันเอกกิตติ ทัดตานนท์กับพวก จำเลย และระหว่างพนักงานอัยการโจทก์ พลตรีเนตร เขมะโยธิน จำเลย จึงไม่มีเหตุผลความชอบธรรมและอำนาจตามกฎหมายใดๆที่จะนำเอาช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 จนรัฐบาลเก่าสิ้นอายุในวันที่ 29 มกราคม 2551 มาอ้างเป็นเหตุนิรโทษกรรมจากการกระทำความผิดอาญาที่เกิดขึ้น ในระหว่างการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลเก่าได้เลย และไม่มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใดๆที่จะนำเอาการกระทำความผิดอาญาแผ่นดินที่เกิดขึ้นในระหว่างการบริหารราชการแผ่นดินโดยพรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง โดยรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาเป็นเหตุที่จะออกกฎหมายนิรโทษกรรมได้เช่นกัน เพราะไม่มีเหตุทางการเมืองที่จะเรียกร้องประชาธิปไตยจากการบริหารราชการแผ่นดินที่เกิดจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ได้ การเรียกร้องประชาธิปไตยโดยพรรคการเมืองที่ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน ไม่ใช่เป็นการเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนในความหมายของคำว่า “ ประชาชน” ตามปรัชญาทางรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการกระทำของนักการเมือง และพรรคการเมือง เพื่อแย่งชิงอำนาจการเป็นรัฐบาลและเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการเป็นรัฐบาลให้ได้เท่านั้น การกระทำความผิดอาญาใดๆที่เกิดขึ้นจากการช่วงชิงอำนาจในทางการเมือง แม้จะมีประชาชนเข้าร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก ก็ไม่ใช่เป็นการกระทำทางการเมือง ( délits politiques หรือ Political offence ) แต่เป็นการกระทำความผิดอาญาแผ่นดิน คือเป็นอาชญากรรม ( Crime ) รัฐสภาจึงไม่มีอำนาจหน้าที่หรือมีสิทธิใดๆที่จะตรากฎหมายนิรโทษกรรมได้เลย การออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรมจึงเป็นการสมคบกันกระทำการกบฏต่อแผ่นดินตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 114
การที่พรรคเพื่อไทยได้เข้าไปใช้สิทธิในสภาโดยเป็นพรรคที่ไม่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนแม้แต่เสียงเดียว ( ในช่วงเวลาที่มีการประชุมสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี และนายอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีจนถึงเวลาที่นายอภิสิทธิ์ยุบสภาตั้งแต่ 17 ธันวาคม 2551 ถึง 5 สิงหาคม 2554 ) การกระทำดังกล่าวเป็นการที่พรรคเพื่อไทยเข้าไปสวมสิทธิพรรคพลังประชาชน ซึ่งไม่มีอำนาจกระทำได้ในทางรัฐธรรมนูญและจารีตประเพณี [ กรณีไม่ใช่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชาชนต้องการคงสภาพการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106 (8) ซึ่งจะต้องเข้าสังกัดพรรคที่ได้รับการเลือกตั้งและมีสิทธิอยู่ในสภาอยู่ก่อนแล้ว ] การเข้าไปใช้สิทธิในสภาของพรรคเพื่อไทยในระหว่างนั้น ก็ได้มีการสะสมกำลังพลคนเสื้อแดง สะสมกำลังอาวุธเป็นกองกำลังพลคนเสื้อแดง จัดตั้งกองกำลังพลคนเสื้อแดงไว้กลางเมืองบริเวณสี่แยกคอกวัวและราชประสงค์เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะโดยทั่วไป กองกำลังพลคนเสื้อแดงไม่ใช่เป็น “ประชาชน” ตามปรัชญาทางรัฐธรรมนูญ และมีการดำเนินการทั้งในสภาและนอกสภา โดยมีสมาชิกผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำดำเนินการกับกองกำลังคนเสื้อแดง ควบคุมกองกำลังคนเสื้อแดง มีการกระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่ง มีการใช้ ยุยงส่งเสริมให้เกิดการกระทำความผิดอาญาในขณะนั้น จนถึงขั้นที่เรียกว่า ก่อการจลาจล ก่อการร้าย ทำลายการประชุมระหว่างประเทศ พยายามทำร้ายผู้นำประเทศ ทำลายชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและยาวนาน มีการกระทำอันเป็นการทำลาย เหยียดหยาม อาฆาตมาดร้ายสถาบันสูงสุดของประเทศ ประกาศแสดงเจตนาล้มล้างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 โดยประกาศต่อสาธารณชนอย่างเปิดเผย เรียกร้องให้มีการยุบสภา ทั้งนี้เพื่อให้มีการเลือกตั้งก่อนครบกำหนดวาระการเลือกตั้งทั่วไป และเมื่อนายอภิสิทธิ์ยุบสภาให้มีการเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยก็เข้ามาสมัครรับเลือกตั้ง และได้มีเสียงข้างมากจัดตั้งรัฐบาลในปัจจุบัน การกระทำดังกล่าวก็มิได้หยุดลงหลังจากได้รับการเลือกตั้งมีเสียงข้างมากในสภาและเป็นรัฐบาลเต็มรูปแบบแล้ว รัฐมนตรีในรัฐบาล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย ก็ยังคงดำเนินกิจกรรมกับคนเสื้อแดงและสนับสนุนกองกำลังคนเสื้อแดงอย่างต่อเนื่อง กองกำลังคนเสื้อแดงได้กระทำการอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข่มขู่การปฏิบัติหน้าที่ราชการขององค์กรอิสระ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ หน่วยงานรัฐ โดยรัฐบาลมิได้ห้ามปราบทักท้วง แต่มีพฤติการณ์สนับสนุนให้มีการปฏิบัติการดังกล่าว ละเลยมิให้ตำรวจกระทำการตามหน้าที่กับกองกำลังคนเสื้อแดง การกระทำดังกล่าวย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า สมรรถภาพของตำรวจในการทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยให้กับประชาชนนั้นเสื่อมทรามลง การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำอยู่ในข่ายกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 114 มาตรา 115 และเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดอาญาต่อเนื่อง ( Continuing offence ) เพื่อให้เกิดผลในการล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ตามเจตนารมณ์ที่ได้ประกาศไว้ต่อสาธารณชน
การเตรียมการรับร่างกฎหมายนิรโทษกรรมเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในวาระเปิดประชุมสภา และจะพิจารณาพ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้เสร็จสิ้นให้ได้นั้น การพิจารณาพ.ร.บ.นิรโทษกรรมจึงเป็นส่วนของแผนการเพื่อเป็นกบฏตามมาตรา 114 และ ได้มีการเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนมากหลายกองร้อย มีการซ้อมการใช้กำลังที่จะใช้กับประชาชนที่ต้องการจะชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธที่ไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายนิรโทษกรรม การกระทำดังกล่าวเป็นการขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายต่อประชาชนแล้ว มีรัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่ดูแลความทุกข์สุขของประชาชนได้ออกมาข่มขู่และกำหนดการวิธีการที่จะขัดขวางการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธของประชาชน มีคนเสื้อแดงออกมาจัดตั้งสถานที่และประกาศปกป้องรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภาออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับคนเสื้อแดงโดยรัฐสภาและรัฐบาลมิได้ทักท้วง ห้ามปราม และไม่ได้แสดงความห่วงใยต่อความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น และเมื่อสมาชิกรัฐสภาและรัฐมนตรีบางคนเป็นแกนนำคนเสื้อแดง การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายต่อประชาชนโดยอาศัยคนเสื้อแดงและเจ้าหน้าที่ของรัฐ การกระทำดังกล่าวจึงเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักรตามมาตรา 113 แล้ว แม้การใช้กำลังประทุษร้ายยังไม่เกิด แต่มีการกระทำที่มีลักษณะเป็นการขู่เข็ญ การข่มขู่ว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ความผิดอาญาตามมาตรา 113 ก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว
การกระทำดังกล่าวมิใช่เป็นการกระทำความผิดอาญาทางการเมือง ประชาชนจึงเป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีอาญาได้ที่ศาลอาญาหรือศาลมีเขตอำนาจพิจารณาคดีอาญา โดยไม่จำเป็นต้องมีการเผชิญหน้ากับคนเสื้อแดง หรือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งทำหน้าที่เป็นกองกำลังเพื่อการกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร และไร้ซึ่งสมรรถภาพของการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องรักษาความสงบเรียบร้อยของแผ่นดิน
30 ก.ค.56
บทความทางวิชาการนี้ไม่ได้มีเจตนาร้ายต่อผู้ใด แต่ในฐานะประชาชนมีหน้าที่ที่จะป้องกันการเกิดเหตุร้ายในบ้านเมืองได้ จึงเสนอหลักวิชาการเพื่อให้เป็นหนทางในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายต่อสาธารณชน
รัฐสภามีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นโดยตรง เพราะเป็นผู้มี “ หน้าที่ ” ในการตรากฎหมายออกใช้บังคับกับประชาชน แต่เมื่อ “หน้าที่ในการตรากฎหมายของรัฐสภา ” นั้นเป็น “อำนาจของประชาชนที่ได้มอบอำนาจให้รัฐสภาเป็นผู้ทำหน้าที่แทน” การใช้อำนาจและหน้าที่ของรัฐสภาในการตรากฎหมาย จึงมิใช่เป็นอำนาจเสร็จเด็ดขาดของรัฐสภา แต่เป็นอำนาจที่ถูกจำกัดโดยมีเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญที่รัฐสภาจะใช้อำนาจในการตรากฎหมายได้ตามหน้าที่ของรัฐสภา เพราะอำนาจที่รัฐสภาใช้ตรากฎหมายนั้นเป็นอำนาจของประชาชน รัฐสภาเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่เป็นอำนาจของตนเองหรือเป็นตัวแทนของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดที่ใช้อำนาจได้ตามอำเภอใจ กล่าวคือ
1. รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้รัฐสภามีหน้าที่ในการ “ตรากฎหมายที่จำเป็น” ( Necessary clause ) เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน และ “กฎหมายที่จำเป็น” นั้นต้องสอดคล้องกับนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญมาตรา 76 มาตรา 76 จึงบทบัญญัติที่กำหนดการใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐสภาให้ตรากฎหมายได้เท่าที่จำเป็น และต้องไม่ขัดต่อแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 76 ถึงมาตรา 87 ประธานรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภามีหน้าที่ต้องตรวจสอบร่างกฎหมายไม่ว่าร่างกฎหมายนั้นจะมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากฝ่ายบริหาร หรือมาจากประชาชน การรับร่างเพื่อพิจารณาและการตรากฎหมายที่ไม่จำเป็นและขัดต่อแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ จงใจปฏิบัติหน้าที่โดยขัดต่อรัฐธรรมนูญ แสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองและผู้อื่น กฎหมายนั้นก็เป็นกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ฝ่ายบริหารจะนำกฎหมายไปใช้บังคับไม่ได้ และศาลก็จะตีความเพื่อใช้บังคับไม่ได้เช่นกัน เพราะเป็นกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
2. นอกจากประธานรัฐสภาและรัฐสภามีหน้าที่จะต้องตรวจสอบร่างพระราชบัญญัติว่าเป็นร่างกฎหมายสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐหรือไม่ ประธานรัฐสภาและรัฐสภายังมีหน้าที่ที่จะต้องตรวจสอบด้วยอีกว่า เป็นร่างกฎหมายที่ขัดต่ออำนาจหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นผู้อยู่ในสังกัดรัฐสภาตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 122 หรือไม่ เมื่อมาตรา 122 บัญญัติว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ต้องปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์แล้ว เมื่อร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับ 42 สส. ของนายวรชัย เป็นร่างกฎหมายเพื่อช่วยเหลือคนเสื้อแดงที่ติดคุกให้ออกจากคุกตามคำสัมภาษณ์ของนายวรชัยแล้ว ทั้งปรากฏข้อเท็จจริงเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะและประชาคมโลกว่า คนเสื้อแดงกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยเป็นพวกเดียวกัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยและสมาชิกพรรคเพื่อไทยบางคนเป็นแกนนำคนเสื้อแดง ได้ทำกิจกรรมในทางการเมืองร่วมกับคนเสื้อแดงทั้งก่อนเลือกตั้งและภายหลังการเลือกตั้ง คนเสื้อแดงบางคนร่วมบริหารราชการแผ่นดินกับรัฐบาล ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนายวรชัยจึงเป็นร่างกฎหมายเพื่อช่วยเหลือพรรคพวกหรือสมาชิกพรรคเพื่อไทย ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมดังกล่าว จึงเป็นร่างกฎหมายที่ขัดต่อการทำหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคเพื่อไทยและของพรรคเพื่อไทย ประธานรัฐสภาและรัฐสภาจะต้องตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 122 ว่าเป็นร่างกฎหมายที่มีผลประโยชน์ขัดกับการทำหน้าที่ของรัฐสภาหรือไม่ การไม่ตรวจสอบการรับร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม และรัฐสภาดำเนินการพิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมย่อมเป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่โดยขัดต่อรัฐธรรมนูญ อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบและโดยทุจริต ซึ่งเป็นการกระทำความผิดที่มีโทษทางอาญา และอยู่ในข่ายที่ต้องถูกยุบพรรค
3. ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่เสนอโดยญาติผู้เสียชีวิต หรือที่เรียกว่าฉบับประชาชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 163 นั้น รัฐสภาจะรับไว้พิจารณาไม่ได้เลย เพราะประชาชนไม่มีสิทธิเสนอกฎหมายนิรโทษกรรม เพราะเหตุที่ญาติตนเองเสียชีวิตไม่ว่าในกรณีใด จะเสนอได้ก็แต่เฉพาะร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนในหมวด 3 และกฎหมายที่เกี่ยวกับการที่จะบังคับให้ทุกคนต้องปฏิบัติตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามหมวด 5 เท่านั้น
4. การตรากฎหมายเป็นการใช้อำนาจของรัฐสภาซึ่งเป็นองค์กรของรัฐ โดยรัฐสภาจะตรากฎหมายโดยละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรอง หรือที่รับรองไว้โดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ และจะตรากฎหมายโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของบุคคลอื่นไม่ได้ หากรัฐสภาตรากฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับสมาชิกรัฐสภา หรือพรรคพวก หรือผู้กระทำความผิดอาญา โดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของบุคคลอื่น หรือโดยละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองไว้ หรือโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ผู้ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพย่อมใช้สิทธิทางศาลได้และใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้รัฐ (องค์กรของรัฐ) ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในหมวดที่ 3 ได้โดยตรง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 26, 27, 28 วรรค 2 วรรค 3
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับ 42 สส. ของนายวรชัย และร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับญาติผู้เสียชีวิต เป็นร่างกฎหมายเพื่อที่จะช่วยเหลือผู้กระทำความผิดอาญาแผ่นดินให้พ้นจากความผิด ไม่ต้องถูกดำเนินคดีอาญาหรือไม่ต้องรับโทษ หรือที่รับโทษอยู่ให้พ้นจากการที่ต้องรับโทษ เฉพาะในการกระทำความผิดอาญาต่อแผ่นดินในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 จนถึง 10 พฤษภาคม 2554 นั้น จึงเป็นกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญเพราะ
4.1 เป็นร่างกฎหมายที่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อผู้กระทำความผิดอาญาแผ่นดินในความผิดอาญาอื่นๆที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว เมื่อจะตรากฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่ผู้กระทำความผิดอาญาในช่วงเวลาดังกล่าว ก็ต้องนิรโทษกรรมให้แก่ผู้กระทำความผิดอาญาในทุกความผิดไม่ว่าจะเป็น ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ข่มขืน ฆ่าผู้อื่น อาวุธปืน ยาเสพติดให้โทษและ ฯลฯ และจะเลือกนิรโทษกรรมเฉพาะบางคน บางกลุ่มโดยไม่เท่าเทียมกันไม่ได้ เพราะบุคคลย่อมเสมอภาคกันในกฎหมาย และต้องได้รับความคุ้มครองในกฎหมายเท่าเทียมกัน รัฐสภาตรากฎหมายโดยเลือกปฏิบัติออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้กับตนเองและพวกซึ่งเป็นผู้กระทำความผิด หรือเอื้อประโยชน์ให้เพราะสถานะบุคคลนั้นไม่อาจกระทำได้ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 30 วรรคแรก
4.2 รัฐสภาจะตรากฎหมายเพื่อให้ผู้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำบัญญัติเป็นความผิดไม่ต้องรับโทษ หรือพ้นจากการรับโทษ หรือพ้นจากความผิดนั้น ย่อมเป็นการตรากฎหมายโดยละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองไว้ในหมวดที่ 3 ส่วนที่ 4 ว่าด้วย “สิทธิในกระบวนการยุติธรรม” ตามมาตรา 39 วรรคแรก เพราะบุคคลที่กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดนั้น ต้องมีความผิดและต้องรับโทษในการกระทำนั้น
4.3 รัฐสภาจะตรากฎหมายโดยละเมิดต่อ “สิทธิในทรัพย์สิน” ของบุคคลในหมวด 3 ส่วนที่ 5 มาตรา 41 ไม่ได้ เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นกับบุคคลและกับประชาชนเป็นทางสาธารณะ เพราะมีการเผาร้านค้า ศูนย์การค้า บ้านเรือน เผาศาลากลางจังหวัด และสถานที่ราชการเป็นการทั่วไปแล้ว สิทธิในทรัพย์สินของบุคคลไม่ว่าจะเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้มีสิทธิใช้ทรัพย์สินนั้นต้องได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 41 ดังกล่าว
4.4 พ.ร.บ.นิรโทษกรรมดังกล่าว เป็นร่างกฎหมายที่ขัดต่อแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ทำให้การบริหารราชการแผ่นดินไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญมาตรา 78 (1 ) ( 6 ) เป็นร่างกฎหมายที่ขัดขวางแนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม ไม่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้พ้นจากการล่วงละเมิดทั้งโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและโดยบุคคลอื่น และขัดขวางการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 81 (1 ) (2)
5. การรับร่างและการจะพิจารณาพ.ร.บ.นิรโทษกรรมของรัฐสภา เป็นการกระทำของสมาชิกรัฐสภา ( เฉพาะผู้ที่เห็นด้วยจะให้ตราเป็นกฎหมาย ) การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักรฐานเป็นกบฏ ต่อแผ่นดินตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 114 เพราะเป็นการสมคบกันเพื่อกระทำการตามมาตรา 113 เพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ( ไม่ใช้หลักการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในการตราพ.ร.บ.นิรโทษกรรม พ.ร.บ.นิรโทษกรรมขัดต่อแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามที่กล่าวไว้ในข้อ 4. ) ซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่า เป็นการล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ ( ที่ฝ่ายนิติบัญญัติจะต้องตรากฎหมายให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ )
ล้มล้างอำนาจบริหารตามรัฐธรรมนูญ ( เพราะตรากฎหมายเพื่อให้ฝ่ายบริหารใช้อำนาจโดยขัดต่อรัฐธรรมนูญและละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ) ล้มล้างอำนาจตุลาการตามรัฐธรรมนูญ ( เพื่อให้องค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการทุกองค์กรต้องยุติการใช้อำนาจตุลาการทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นชั้นพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ กรมราชทัณฑ์ และศาลต้องยุติการดำเนินคดีทั้งหมด และยกเลิกการกระทำความผิดอาญาเฉพาะคนบางคนได้ทั้งหมด )
การรับร่างและการพิจารณาพ.ร.บ.นิรโทษกรรมจึงเป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน เพราะเป็นการสมคบกันไม่ใช้หลักการตามรัฐธรรมนูญในการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งความผิดฐานเป็นกบฏต่อแผ่นดินโดยการสมคบกัน เป็นการกระทำผิดอาญาที่ไม่ต้องมีผลปรากฏ ( délits formels ) เพียงมีหลักฐานว่ามีการสมคบกันก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว และเป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดินที่ไม่เข้าข่ายเป็นความผิดทางการเมือง ( délits politiques หรือ Political offence ) แต่อาศัยอำนาจทางรัฐสภาอำพรางการสมคบกันกระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามมาตรา 114
6. การใช้ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมดำเนินการทางรัฐสภาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการสมคบกันกบฏต่อแผ่นดินตามมาตรา 114 เพราะได้กำหนดเวลาเพื่อจะนิรโทษกรรมของการกระทำในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 จนถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 คือ ตั้งแต่มีการปฏิวัติโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน เมื่อปฏิวัติแล้วก็ได้มีการตั้งรัฐบาลชั่วคราวบริหารราชการแผ่นดินตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2549 ถึง 29 มกราคม 2551 ซึ่งได้มีการตรารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ออกใช้บังคับโดยผ่านประชามติ และต่อมาได้มีการเลือกตั้งภายใต้การใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 พรรคพลังประชาชนได้เสียงข้างมากและจัดตั้งรัฐบาลโดยมีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาได้เปลี่ยนนายกรัฐมนตรีเป็น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ( ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2551 ) นายสมชายถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง และต่อมาพรรคพลังประชาชนถูกคำสั่งยุบพรรคพลังประชาชน ซึ่งนายชวรัตน์ ชาญวีรกุล พรรคภูมิใจไทย รักษาการแทนนายกรัฐมนตรี (วันที่ 2 ธันวาคม 2551ถึง 15 ธันวาคม 2551 ) เมื่อพรรคพลังประชาชนถูกยุบไปแล้ว จึงไม่มีพรรคพลังประชาชนและสส.สัดส่วน หรือ สส.ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคพลังประชาชนอยู่ในสภา แต่ปรากฏว่ามีพรรคเพื่อไทยซึ่งไม่มีสส.ระบบบัญชีรายชื่อเข้ามาอยู่ในสภาพร้อมด้วยสส.ระบบบัญชีรายชื่อที่ไม่ผ่านการเลือกตั้งจากประชาชนเข้าไปทำหน้าที่ในสภา และได้ร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีการให้ความเห็นชอบให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 172 ด้วย แม้พรรคเพื่อไทยจะไม่เห็นด้วยให้นายอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ในทางรัฐธรรมนูญถือว่าได้ร่วมให้ความเห็นชอบแล้ว
แม้การปฏิวัติวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นการล้มล้างรัฐบาลเก่าโดยใช้กำลังตอนต้นอาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ต่อมาประชาชนรวมทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคการเมืองอื่นๆได้ยอมรับนับถือแล้ว โดยสมัครรับเลือกตั้งตามที่รัฐบาลเก่าจัดให้มีการเลือกตั้งและมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และพรรคพลังประชาชนหรือพรรคเพื่อไทยเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล จึงเป็นการยืนยันได้ว่า รัฐบาลที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยคณะปฏิวัตินั้นเป็นรัฐบาลที่ชอบตามความเป็นจริง โดยการยอมรับจากประชาชนและจากรัฐบาลที่เกิดขึ้นจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 แล้ว ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1153-1154/2495 ระหว่างพนักงานอัยการโจทก์ พันเอกกิตติ ทัดตานนท์กับพวก จำเลย และระหว่างพนักงานอัยการโจทก์ พลตรีเนตร เขมะโยธิน จำเลย จึงไม่มีเหตุผลความชอบธรรมและอำนาจตามกฎหมายใดๆที่จะนำเอาช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 จนรัฐบาลเก่าสิ้นอายุในวันที่ 29 มกราคม 2551 มาอ้างเป็นเหตุนิรโทษกรรมจากการกระทำความผิดอาญาที่เกิดขึ้น ในระหว่างการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลเก่าได้เลย และไม่มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใดๆที่จะนำเอาการกระทำความผิดอาญาแผ่นดินที่เกิดขึ้นในระหว่างการบริหารราชการแผ่นดินโดยพรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง โดยรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาเป็นเหตุที่จะออกกฎหมายนิรโทษกรรมได้เช่นกัน เพราะไม่มีเหตุทางการเมืองที่จะเรียกร้องประชาธิปไตยจากการบริหารราชการแผ่นดินที่เกิดจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ได้ การเรียกร้องประชาธิปไตยโดยพรรคการเมืองที่ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน ไม่ใช่เป็นการเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนในความหมายของคำว่า “ ประชาชน” ตามปรัชญาทางรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการกระทำของนักการเมือง และพรรคการเมือง เพื่อแย่งชิงอำนาจการเป็นรัฐบาลและเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการเป็นรัฐบาลให้ได้เท่านั้น การกระทำความผิดอาญาใดๆที่เกิดขึ้นจากการช่วงชิงอำนาจในทางการเมือง แม้จะมีประชาชนเข้าร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก ก็ไม่ใช่เป็นการกระทำทางการเมือง ( délits politiques หรือ Political offence ) แต่เป็นการกระทำความผิดอาญาแผ่นดิน คือเป็นอาชญากรรม ( Crime ) รัฐสภาจึงไม่มีอำนาจหน้าที่หรือมีสิทธิใดๆที่จะตรากฎหมายนิรโทษกรรมได้เลย การออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรมจึงเป็นการสมคบกันกระทำการกบฏต่อแผ่นดินตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 114
การที่พรรคเพื่อไทยได้เข้าไปใช้สิทธิในสภาโดยเป็นพรรคที่ไม่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนแม้แต่เสียงเดียว ( ในช่วงเวลาที่มีการประชุมสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี และนายอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีจนถึงเวลาที่นายอภิสิทธิ์ยุบสภาตั้งแต่ 17 ธันวาคม 2551 ถึง 5 สิงหาคม 2554 ) การกระทำดังกล่าวเป็นการที่พรรคเพื่อไทยเข้าไปสวมสิทธิพรรคพลังประชาชน ซึ่งไม่มีอำนาจกระทำได้ในทางรัฐธรรมนูญและจารีตประเพณี [ กรณีไม่ใช่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชาชนต้องการคงสภาพการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106 (8) ซึ่งจะต้องเข้าสังกัดพรรคที่ได้รับการเลือกตั้งและมีสิทธิอยู่ในสภาอยู่ก่อนแล้ว ] การเข้าไปใช้สิทธิในสภาของพรรคเพื่อไทยในระหว่างนั้น ก็ได้มีการสะสมกำลังพลคนเสื้อแดง สะสมกำลังอาวุธเป็นกองกำลังพลคนเสื้อแดง จัดตั้งกองกำลังพลคนเสื้อแดงไว้กลางเมืองบริเวณสี่แยกคอกวัวและราชประสงค์เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะโดยทั่วไป กองกำลังพลคนเสื้อแดงไม่ใช่เป็น “ประชาชน” ตามปรัชญาทางรัฐธรรมนูญ และมีการดำเนินการทั้งในสภาและนอกสภา โดยมีสมาชิกผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำดำเนินการกับกองกำลังคนเสื้อแดง ควบคุมกองกำลังคนเสื้อแดง มีการกระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่ง มีการใช้ ยุยงส่งเสริมให้เกิดการกระทำความผิดอาญาในขณะนั้น จนถึงขั้นที่เรียกว่า ก่อการจลาจล ก่อการร้าย ทำลายการประชุมระหว่างประเทศ พยายามทำร้ายผู้นำประเทศ ทำลายชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและยาวนาน มีการกระทำอันเป็นการทำลาย เหยียดหยาม อาฆาตมาดร้ายสถาบันสูงสุดของประเทศ ประกาศแสดงเจตนาล้มล้างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 โดยประกาศต่อสาธารณชนอย่างเปิดเผย เรียกร้องให้มีการยุบสภา ทั้งนี้เพื่อให้มีการเลือกตั้งก่อนครบกำหนดวาระการเลือกตั้งทั่วไป และเมื่อนายอภิสิทธิ์ยุบสภาให้มีการเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยก็เข้ามาสมัครรับเลือกตั้ง และได้มีเสียงข้างมากจัดตั้งรัฐบาลในปัจจุบัน การกระทำดังกล่าวก็มิได้หยุดลงหลังจากได้รับการเลือกตั้งมีเสียงข้างมากในสภาและเป็นรัฐบาลเต็มรูปแบบแล้ว รัฐมนตรีในรัฐบาล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย ก็ยังคงดำเนินกิจกรรมกับคนเสื้อแดงและสนับสนุนกองกำลังคนเสื้อแดงอย่างต่อเนื่อง กองกำลังคนเสื้อแดงได้กระทำการอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข่มขู่การปฏิบัติหน้าที่ราชการขององค์กรอิสระ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ หน่วยงานรัฐ โดยรัฐบาลมิได้ห้ามปราบทักท้วง แต่มีพฤติการณ์สนับสนุนให้มีการปฏิบัติการดังกล่าว ละเลยมิให้ตำรวจกระทำการตามหน้าที่กับกองกำลังคนเสื้อแดง การกระทำดังกล่าวย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า สมรรถภาพของตำรวจในการทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยให้กับประชาชนนั้นเสื่อมทรามลง การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำอยู่ในข่ายกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 114 มาตรา 115 และเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดอาญาต่อเนื่อง ( Continuing offence ) เพื่อให้เกิดผลในการล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ตามเจตนารมณ์ที่ได้ประกาศไว้ต่อสาธารณชน
การเตรียมการรับร่างกฎหมายนิรโทษกรรมเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในวาระเปิดประชุมสภา และจะพิจารณาพ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้เสร็จสิ้นให้ได้นั้น การพิจารณาพ.ร.บ.นิรโทษกรรมจึงเป็นส่วนของแผนการเพื่อเป็นกบฏตามมาตรา 114 และ ได้มีการเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนมากหลายกองร้อย มีการซ้อมการใช้กำลังที่จะใช้กับประชาชนที่ต้องการจะชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธที่ไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายนิรโทษกรรม การกระทำดังกล่าวเป็นการขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายต่อประชาชนแล้ว มีรัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่ดูแลความทุกข์สุขของประชาชนได้ออกมาข่มขู่และกำหนดการวิธีการที่จะขัดขวางการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธของประชาชน มีคนเสื้อแดงออกมาจัดตั้งสถานที่และประกาศปกป้องรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภาออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับคนเสื้อแดงโดยรัฐสภาและรัฐบาลมิได้ทักท้วง ห้ามปราม และไม่ได้แสดงความห่วงใยต่อความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น และเมื่อสมาชิกรัฐสภาและรัฐมนตรีบางคนเป็นแกนนำคนเสื้อแดง การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายต่อประชาชนโดยอาศัยคนเสื้อแดงและเจ้าหน้าที่ของรัฐ การกระทำดังกล่าวจึงเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักรตามมาตรา 113 แล้ว แม้การใช้กำลังประทุษร้ายยังไม่เกิด แต่มีการกระทำที่มีลักษณะเป็นการขู่เข็ญ การข่มขู่ว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ความผิดอาญาตามมาตรา 113 ก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว
การกระทำดังกล่าวมิใช่เป็นการกระทำความผิดอาญาทางการเมือง ประชาชนจึงเป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีอาญาได้ที่ศาลอาญาหรือศาลมีเขตอำนาจพิจารณาคดีอาญา โดยไม่จำเป็นต้องมีการเผชิญหน้ากับคนเสื้อแดง หรือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งทำหน้าที่เป็นกองกำลังเพื่อการกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร และไร้ซึ่งสมรรถภาพของการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องรักษาความสงบเรียบร้อยของแผ่นดิน
30 ก.ค.56