"พีทีที โกลบอล" แจงสลายคราบน้ำมัน จากเหตุท่อน้ำมันดิบรั่วกลางทะเล จนเหลือเพียงฟิล์มบางๆ ขณะศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรพบคราบน้ำมันกำลังลอยเข้าฝั่งเกาะเสม็ด บริเวณอ่าวพร้าว ชี้ใช้น้ำยาเคมีสลายคราบ กระทบสิ่งแวดล้อม ชาวระยองลั่น "ปตท." ต้องรับผิดชอบ สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนจี้รัฐเรียกค่าเสียหายแทนประชาชน ขู่หากละเว้น เพิกเฉย จะยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อบังคับให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการ-เอาผิดเจ้าหน้าที่ฐานละเว้น
วานนี้ (28 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้า กรณีท่อน้ำมันดิบของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) รั่วกลางทะเลใกล้ชายฝั่งมาบตาพุด จ.ระยอง ล่าสุด บริษัทได้ชี้แจงต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่ได้เกิดเหตุท่อรับน้ำมันดิบขนาด 16 นิ้วรั่วที่บริเวณทุ่นรับน้ำมันดิบ (Single Point Mooring) ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งท่าเรือมาบตาพุด ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร ขณะกำลังส่งน้ำมันมายังโรงกลั่นน้ำมันของบริษัเมื่อเวลา 06.50 น. วันที่ 27 กรกฎาคม โดยมีน้ำมันดิบรั่วประมาณ 50,000 ลิตรนั้น บริษัทฯ ขอรายงานความคืบหน้าว่า เครื่องบินของกองทัพเรือได้บินลาดตระเวณบริเวณที่เกิดเหตุ ช่วงเวลาประมาณ 07.35 น. พบว่าคราบน้ำมันได้มีขนาดเล็กลงอย่างเห็นได้ชัด น้ำมันดิบถูกสลายอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนที่เหลือเป็นฟิล์มน้ำมันบางๆ เท่านั้น และขณะนี้สามารถจำกัดบริเวณให้อยู่ในจุดที่สามารถควบคุมได้ ขณะที่เรือพ่นน้ำยาสลายคราบน้ำมัน ยังคงพ่นน้ำยาต่อไป โดยมีเรือของบริษัท 5 ลำ และได้รับการสนับสนุนจากกองทัพเรือ กรมเจ้าท่า บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) อีก 5 ลำ
ทั้งนี้ บริษัทได้จัดทีมสิ่งแวดล้อม และตั้งจุดตรวจสอบตามชายหาด จนถึงปลายหาดแม่รำพึง เพื่อตรวจสอบ และวิเคราะห์น้ำทะเล ให้มั่นใจว่าขจัดคราบน้ำมันได้หมด โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล
ด้าน พล.ร.ท.รุ่งศักดิ์ เสรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 และผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเขต 1 ได้รับรายงานว่า มีคราบน้ำมันบนผิวน้ำทะเล ไหลตามกระแสคลื่นและลมเข้าไปทางชายทะเลอ่าวระยอง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวตลอดแนว จึงให้พล.ร.ต.ทิวา ดาราเมือง เสนาธิการทัพเรือภาคที่ 1 และ น.อ.สุทธินันท์ สมานรักษ์ ผู้อำนวยการกองยุทธการ ทัพเรือภาคที่ 1 จัดส่งเครื่องบินดอร์เนียออกลาดตระเวนทั้งด้านนอกและด้านในชายฝั่ง เพื่อรายงานศูนย์รักษาความปลอดภัย กองทัพเรือ เร่งป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยว
ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 1 พบคราบน้ำมันบางส่วนกำลังลอยเข้าฝั่งเกาะเสม็ดหมู่ 4 ต.เพ อ.เมือง จ.ระยอง บริเวณอ่าวพร้าว ห่างจากเกาะประมาณ 1 กิโลเมตร โดยคราบน้ำมันมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 500 เมตร กระจายเป็นกลุ่มมีลักษณะสีดำ มีความหนืดเป็นแผ่นหนา
ด้านนางรัตนา มั่นประสิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออก กล่าวว่า ทางศูนย์ได้นำเรือไปเก็บน้ำทะเล และสังเกตคุณภาพสัตว์น้ำ ซึ่งยังไม่พบลอยตาย ซึ่งได้ประสานชาวประมงพื้นบ้านตลอดแนวชายฝั่งจ.ระยอง ช่วยกันเฝ้าดูคราบน้ำมัน และสัตว์น้ำที่จะได้รับผลกระทบบริเวณชายฝั่ง และแหล่งประมง
นางรัตนา กล่าวว่า กรณีการใช้น้ำยาขจัดคราบน้ำมัน ให้แตกเป็นเม็ดเล็กจมลงทะเล กลายเป็นอาหารสัตว์ทะเลนั้น ทางศูนย์ยังไม่ทราบรายละเอียดของน้ำยาที่ใช้ แต่คงเป็นไปไม่ได้ที่จะย่อยสลายเป็นอาหารสัตว์น้ำ เพราะเป็นน้ำยาเคมี ซึ่งอาจทำให้เกิดการจับตัวของคราบน้ำมัน แล้วตกตะกอนจมลงสู่ก้นทะเล ไปจับกับสิ่งที่มีชีวิตที่เกาะติดอยู่กับที่ เช่น ปะการัง หรือหอย ซึ่งจะเกิดผลกระทบต่อสัตว์น้ำ และสิ่งแวดล้อมแน่นอน อย่างไรก็ตาม ต้องดูข้อมูลน้ำยาเคมีที่ใช้ก่อน ว่าเป็นตัวไหน มีคุณสมบัติอย่างไร ขณะนี้จึงยังไม่สามารถชี้ชัดได้เต็มที่
นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า อยากเรียกร้องบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นต้นเหตุรับผิดชอบทุกกรณี โดยน่าจะตั้งกองทุนดูแลผลกระทบในอนาคต พร้อมประเมินค่าความเสียหายของหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบ เช่น เทศบาลเมืองมาบตาพุด เทศบาลนครระยอง องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ตะพง เทศบาลตำบลเพ และเทศบาลอื่นที่มีแนวเขตติดต่อชายฝั่ง ซึ่งจะได้รับผลกระทบแน่นอน หากมีคราบน้ำมันพัดเข้าชายาฝั่ง หรือเข้าสู่เกาะเสม็ด
ซึ่งคาดว่าหากถึงเกาะเสม็ดจะเกิดความเสียหายอย่างมหาศาลแน่นอน ดังนั้นเมื่อประเมินความเสียหายไม่ได้ ก็ต้องตั้งกองทุนเพื่อรองรับ เพราะบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีกำไรปีละหลายแสนล้านบาท อธิบดีกรมเจ้าท่าพูดชัดเจนว่าทางบริษัทต้องรับผิดชอบทั้งหมด หน่วยงานที่ได้รับผลกระทบ ต้องดำเนินคดีกับบริษัท โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นายอุดม ศิริภักดี เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กล่าวว่า ไม่มีใครคาดคิดว่าบริษัทใหญ่ มีมาตรฐาน ยังเกิดเหตุเช่นนี้ แต่เมื่อเกิดเหตุแล้วต้องมีมาตรการแก้ไข เพราะข้อเท็จจริงยังมีคราบน้ำมันลอยเข้าใกล้ชายฝั่ง ซึ่งทิศทางลมพัดเข้าฝั่งตลอด ถ้ายังขจัดคราบน้ำมันไม่หมด คาดว่าการท่องเที่ยวเสียหายแน่นอน อย่างไรก็ตามอยากให้ทุกฝ่ายโปร่งใส เยียวยาผลกระทบ เพราะคงไม่มีใครปฏิเสธว่าน้ำมันรั่วขนาด 50,000-70,000 ลิตร ไม่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากต้องกระทบแน่นอนอยู่แล้ว
นายจัตุรัส เอี่ยมวรนิรันดร์ นายกสมาคมประมงเรือเล็กระยอง กล่าวว่า ประมงเรือเล็กได้รับผลกระทบโดยตรง อย่างไรก็ตามต่างประเทศก็รั่วไหลเช่นกัน และไม่สามารถควบคุมได้ 100% เมื่อมีผลกระทบด้านการประมง เขาก็ชดเชย แต่ประเทศไทยยังไม่เคยเห็น และครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกของจ.ระยอง และก็ยังไม่มีการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งวันนี้บริษัทนำสารเคมีมาสลายให้น้ำมันจมลง ซึ่งจะทำลายสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
**จี้รัฐเรียกค่าเสียหายแทนประชาชน
นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ออกแถลงการณ์ เรื่องรัฐต้องเรียกค่าเสียหายทางทรัพยากร แทนประชาชนกรณีท่อน้ำมันรั่วกลางอ่าวไทย ว่า คราบน้ำมันดังกล่าวจะมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง กระทบต่อการดำรงชีพของสัตว์ทะเล อาทิเช่น วงจรของปลาทู กระทบต่ออาชีพของชาวประมง กระทบต่อระบบการท่องเที่ยว เพราะคราบน้ำมันจะถูกคลื่นซัดมาถึงชายหาดพื้นที่ท่องเที่ยวได้ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยชัดแจ้ง ฯลฯ
แม้บริษัทดังกล่าวได้ดำเนินการใช้เรือฉีดพ่นน้ำยาขจัดคราบน้ำมันจำนวน 4 ลำ พร้อมน้ำยาขจัดคราบน้ำมันจำนวน 35,000 ลิตร แม้จะไปแยกสลายคราบน้ำมันดังกล่าวบนพื้นผิวทะเลให้จมลงแล้วก็ตาม แต่ทว่าน้ำยาขจัดคราบน้ำมันกลับจะเป็นพิษต่อความหลากหลายทางชีวภาพของทะเล เพราะสารอันตรายดังกล่าวมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล โดยเฉพาะบริเวณก้นทะเลที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และขยายพันธุ์ของสัตว์ทะเลขนาดเล็ก ซึ่งเป็นห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิต กุ้ง หอย ปู ปลา ที่เป็นอาหารของมนุษย์ทั้งหมด ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสัตว์น้ำ และอาชีพประมงของชาวบ้านทั้งระบบในพื้นที่ทะเลอ่าวไทย หาใช่พื้นที่ทะเลมาบตาพุดแต่เพียงแห่งเดียวไม่
ดังนั้น สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ขอเรียกร้องให้รัฐบาล โดยเฉพาะกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน กรมประมง กระทรงเกษตรและสหกรณ์ กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ต้องเป็นธุระในการดำเนินการเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสียหายไป ซึ่งเป็นทรัพยากรของของชาติจากบริษัท พีทีทีฯ แทนประชาชนหรือผู้มีส่วนได้เสียโดยทันที ตามมาตรา 96 และมาตรา 97 แห่ง พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 โดยทันที พร้อมกับนำเงินดังกล่าวจัดตั้งกองทุนดูแล ชดเชย อาชีพของชาวประมง และอาชีพต่อเนื่อง ในพื้นที่ต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากคราบน้ำมันดังกล่าว
หากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องดังกล่าว ละเว้น เพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องนี้ สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน จำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลแทนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการรั่วไหลของน้ำมันดิบดังกล่าว ในการยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อบังคับให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายข้างต้น รวมทั้งการร้องเอาผิดทางวินัยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ละเว้นเพิกเฉยต่อเรื่องดังกล่าวตามกฎหมายต่อไป.
วานนี้ (28 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้า กรณีท่อน้ำมันดิบของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) รั่วกลางทะเลใกล้ชายฝั่งมาบตาพุด จ.ระยอง ล่าสุด บริษัทได้ชี้แจงต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่ได้เกิดเหตุท่อรับน้ำมันดิบขนาด 16 นิ้วรั่วที่บริเวณทุ่นรับน้ำมันดิบ (Single Point Mooring) ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งท่าเรือมาบตาพุด ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร ขณะกำลังส่งน้ำมันมายังโรงกลั่นน้ำมันของบริษัเมื่อเวลา 06.50 น. วันที่ 27 กรกฎาคม โดยมีน้ำมันดิบรั่วประมาณ 50,000 ลิตรนั้น บริษัทฯ ขอรายงานความคืบหน้าว่า เครื่องบินของกองทัพเรือได้บินลาดตระเวณบริเวณที่เกิดเหตุ ช่วงเวลาประมาณ 07.35 น. พบว่าคราบน้ำมันได้มีขนาดเล็กลงอย่างเห็นได้ชัด น้ำมันดิบถูกสลายอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนที่เหลือเป็นฟิล์มน้ำมันบางๆ เท่านั้น และขณะนี้สามารถจำกัดบริเวณให้อยู่ในจุดที่สามารถควบคุมได้ ขณะที่เรือพ่นน้ำยาสลายคราบน้ำมัน ยังคงพ่นน้ำยาต่อไป โดยมีเรือของบริษัท 5 ลำ และได้รับการสนับสนุนจากกองทัพเรือ กรมเจ้าท่า บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) อีก 5 ลำ
ทั้งนี้ บริษัทได้จัดทีมสิ่งแวดล้อม และตั้งจุดตรวจสอบตามชายหาด จนถึงปลายหาดแม่รำพึง เพื่อตรวจสอบ และวิเคราะห์น้ำทะเล ให้มั่นใจว่าขจัดคราบน้ำมันได้หมด โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล
ด้าน พล.ร.ท.รุ่งศักดิ์ เสรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 และผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเขต 1 ได้รับรายงานว่า มีคราบน้ำมันบนผิวน้ำทะเล ไหลตามกระแสคลื่นและลมเข้าไปทางชายทะเลอ่าวระยอง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวตลอดแนว จึงให้พล.ร.ต.ทิวา ดาราเมือง เสนาธิการทัพเรือภาคที่ 1 และ น.อ.สุทธินันท์ สมานรักษ์ ผู้อำนวยการกองยุทธการ ทัพเรือภาคที่ 1 จัดส่งเครื่องบินดอร์เนียออกลาดตระเวนทั้งด้านนอกและด้านในชายฝั่ง เพื่อรายงานศูนย์รักษาความปลอดภัย กองทัพเรือ เร่งป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยว
ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 1 พบคราบน้ำมันบางส่วนกำลังลอยเข้าฝั่งเกาะเสม็ดหมู่ 4 ต.เพ อ.เมือง จ.ระยอง บริเวณอ่าวพร้าว ห่างจากเกาะประมาณ 1 กิโลเมตร โดยคราบน้ำมันมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 500 เมตร กระจายเป็นกลุ่มมีลักษณะสีดำ มีความหนืดเป็นแผ่นหนา
ด้านนางรัตนา มั่นประสิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออก กล่าวว่า ทางศูนย์ได้นำเรือไปเก็บน้ำทะเล และสังเกตคุณภาพสัตว์น้ำ ซึ่งยังไม่พบลอยตาย ซึ่งได้ประสานชาวประมงพื้นบ้านตลอดแนวชายฝั่งจ.ระยอง ช่วยกันเฝ้าดูคราบน้ำมัน และสัตว์น้ำที่จะได้รับผลกระทบบริเวณชายฝั่ง และแหล่งประมง
นางรัตนา กล่าวว่า กรณีการใช้น้ำยาขจัดคราบน้ำมัน ให้แตกเป็นเม็ดเล็กจมลงทะเล กลายเป็นอาหารสัตว์ทะเลนั้น ทางศูนย์ยังไม่ทราบรายละเอียดของน้ำยาที่ใช้ แต่คงเป็นไปไม่ได้ที่จะย่อยสลายเป็นอาหารสัตว์น้ำ เพราะเป็นน้ำยาเคมี ซึ่งอาจทำให้เกิดการจับตัวของคราบน้ำมัน แล้วตกตะกอนจมลงสู่ก้นทะเล ไปจับกับสิ่งที่มีชีวิตที่เกาะติดอยู่กับที่ เช่น ปะการัง หรือหอย ซึ่งจะเกิดผลกระทบต่อสัตว์น้ำ และสิ่งแวดล้อมแน่นอน อย่างไรก็ตาม ต้องดูข้อมูลน้ำยาเคมีที่ใช้ก่อน ว่าเป็นตัวไหน มีคุณสมบัติอย่างไร ขณะนี้จึงยังไม่สามารถชี้ชัดได้เต็มที่
นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า อยากเรียกร้องบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นต้นเหตุรับผิดชอบทุกกรณี โดยน่าจะตั้งกองทุนดูแลผลกระทบในอนาคต พร้อมประเมินค่าความเสียหายของหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบ เช่น เทศบาลเมืองมาบตาพุด เทศบาลนครระยอง องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ตะพง เทศบาลตำบลเพ และเทศบาลอื่นที่มีแนวเขตติดต่อชายฝั่ง ซึ่งจะได้รับผลกระทบแน่นอน หากมีคราบน้ำมันพัดเข้าชายาฝั่ง หรือเข้าสู่เกาะเสม็ด
ซึ่งคาดว่าหากถึงเกาะเสม็ดจะเกิดความเสียหายอย่างมหาศาลแน่นอน ดังนั้นเมื่อประเมินความเสียหายไม่ได้ ก็ต้องตั้งกองทุนเพื่อรองรับ เพราะบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีกำไรปีละหลายแสนล้านบาท อธิบดีกรมเจ้าท่าพูดชัดเจนว่าทางบริษัทต้องรับผิดชอบทั้งหมด หน่วยงานที่ได้รับผลกระทบ ต้องดำเนินคดีกับบริษัท โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นายอุดม ศิริภักดี เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กล่าวว่า ไม่มีใครคาดคิดว่าบริษัทใหญ่ มีมาตรฐาน ยังเกิดเหตุเช่นนี้ แต่เมื่อเกิดเหตุแล้วต้องมีมาตรการแก้ไข เพราะข้อเท็จจริงยังมีคราบน้ำมันลอยเข้าใกล้ชายฝั่ง ซึ่งทิศทางลมพัดเข้าฝั่งตลอด ถ้ายังขจัดคราบน้ำมันไม่หมด คาดว่าการท่องเที่ยวเสียหายแน่นอน อย่างไรก็ตามอยากให้ทุกฝ่ายโปร่งใส เยียวยาผลกระทบ เพราะคงไม่มีใครปฏิเสธว่าน้ำมันรั่วขนาด 50,000-70,000 ลิตร ไม่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากต้องกระทบแน่นอนอยู่แล้ว
นายจัตุรัส เอี่ยมวรนิรันดร์ นายกสมาคมประมงเรือเล็กระยอง กล่าวว่า ประมงเรือเล็กได้รับผลกระทบโดยตรง อย่างไรก็ตามต่างประเทศก็รั่วไหลเช่นกัน และไม่สามารถควบคุมได้ 100% เมื่อมีผลกระทบด้านการประมง เขาก็ชดเชย แต่ประเทศไทยยังไม่เคยเห็น และครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกของจ.ระยอง และก็ยังไม่มีการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งวันนี้บริษัทนำสารเคมีมาสลายให้น้ำมันจมลง ซึ่งจะทำลายสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
**จี้รัฐเรียกค่าเสียหายแทนประชาชน
นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ออกแถลงการณ์ เรื่องรัฐต้องเรียกค่าเสียหายทางทรัพยากร แทนประชาชนกรณีท่อน้ำมันรั่วกลางอ่าวไทย ว่า คราบน้ำมันดังกล่าวจะมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง กระทบต่อการดำรงชีพของสัตว์ทะเล อาทิเช่น วงจรของปลาทู กระทบต่ออาชีพของชาวประมง กระทบต่อระบบการท่องเที่ยว เพราะคราบน้ำมันจะถูกคลื่นซัดมาถึงชายหาดพื้นที่ท่องเที่ยวได้ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยชัดแจ้ง ฯลฯ
แม้บริษัทดังกล่าวได้ดำเนินการใช้เรือฉีดพ่นน้ำยาขจัดคราบน้ำมันจำนวน 4 ลำ พร้อมน้ำยาขจัดคราบน้ำมันจำนวน 35,000 ลิตร แม้จะไปแยกสลายคราบน้ำมันดังกล่าวบนพื้นผิวทะเลให้จมลงแล้วก็ตาม แต่ทว่าน้ำยาขจัดคราบน้ำมันกลับจะเป็นพิษต่อความหลากหลายทางชีวภาพของทะเล เพราะสารอันตรายดังกล่าวมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล โดยเฉพาะบริเวณก้นทะเลที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และขยายพันธุ์ของสัตว์ทะเลขนาดเล็ก ซึ่งเป็นห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิต กุ้ง หอย ปู ปลา ที่เป็นอาหารของมนุษย์ทั้งหมด ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสัตว์น้ำ และอาชีพประมงของชาวบ้านทั้งระบบในพื้นที่ทะเลอ่าวไทย หาใช่พื้นที่ทะเลมาบตาพุดแต่เพียงแห่งเดียวไม่
ดังนั้น สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ขอเรียกร้องให้รัฐบาล โดยเฉพาะกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน กรมประมง กระทรงเกษตรและสหกรณ์ กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ต้องเป็นธุระในการดำเนินการเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสียหายไป ซึ่งเป็นทรัพยากรของของชาติจากบริษัท พีทีทีฯ แทนประชาชนหรือผู้มีส่วนได้เสียโดยทันที ตามมาตรา 96 และมาตรา 97 แห่ง พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 โดยทันที พร้อมกับนำเงินดังกล่าวจัดตั้งกองทุนดูแล ชดเชย อาชีพของชาวประมง และอาชีพต่อเนื่อง ในพื้นที่ต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากคราบน้ำมันดังกล่าว
หากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องดังกล่าว ละเว้น เพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องนี้ สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน จำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลแทนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการรั่วไหลของน้ำมันดิบดังกล่าว ในการยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อบังคับให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายข้างต้น รวมทั้งการร้องเอาผิดทางวินัยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ละเว้นเพิกเฉยต่อเรื่องดังกล่าวตามกฎหมายต่อไป.