เอเจนซีส์ – อียิปต์นองเลือดอีกรอบ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 72 รายจากการปะทะในกรุงไคโรเมื่อวันเสาร์ (27) เรียกเสียงประณามจากในและนอกประเทศ โดยกลุ่มผู้ชุมนุมสนับสนุนอดีตประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซี กล่าวหาว่า กองกำลังความมั่นคงใช้กระสุนจริงยิงผู้ประท้วง ขณะที่รัฐมนตรีมหาดไทยยืนยันใช้ก๊าซน้ำตาเท่านั้น พร้อมระบุกลุ่มผู้สนับสนุนมอร์ซียั่วยุให้เกิดความรุนแรง
เหตุการณ์นี้นับเป็นการนองเลือดที่ถือว่าร้ายแรงที่สุดนับจากวันที่ 8 เดือนนี้ที่ผู้สนับสนุนมอร์ซีกว่าครึ่งร้อยเสียชีวิตในเหตุรุนแรงหน้ากองบัญชาการกองกำลังพิทักษ์สาธารณรัฐ หรือ กองพลทหารรักษานครหลวง ในกรุงไคโร
กระทรวงสาธารณสุขของอียิปต์ให้ตัวเลขผู้เสียชีวิตไว้ที่อย่างน้อย 72 คน และสำทับว่า ยังมีผู้เสียชีวิตอีก 9 คนในอเล็กซานเดรีย เมืองใหญ่อันดับ 2 ของอียิปต์ในวันศุกร์ (26) ทำให้ตัวเลขผู้เสียชีวิตในรอบ 2 วันรวมเป็น 81 ราย และมีผู้บาดเจ็บ 748 ราย
ขณะที่ อาเหม็ด อาเรฟ โฆษกกลุ่มภราดรภาพมุสลิมของมอร์ซี บอกว่า มีผู้ถูกสังหาร 66 คนที่บริเวณด้านนอกมัสยิดราบา อัล-อดาวิยา ในกรุงไคโร ซึ่งบรรดาผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเสรีของอียิปต์ กำลังปักหลักนั่งชุมนุมเรียกร้องให้คืนตำแหน่งแก่มอร์ซี
เหตุรุนแรงในวันเสาร์เกิดขึ้นหลังจากการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มสนับสนุนและกลุ่มต่อต้านมอร์ซีในไคโรและเมืองอื่นๆ เมื่อคืนวันศุกร์
พวกผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า การนองเลือดในวันเสาร์เกิดขึ้นจากกองกำลังความมั่นคงของทางการยิงกระสุนจริงใส่กลุ่มผู้สนับสนุนมอร์ซีที่ชุมนุมกันอย่างสงบ ขณะที่กระทรวงมหาดไทยยืนยันว่า กองกำลังความมั่นคงใช้แต่ก๊าซน้ำตาเท่านั้น และกล่าวหา สมาชิกภราดรภาพมุสลิม ยั่วยุด้วยการใช้ก้อนหินขว้างปาและยิงใส่กองกำลังความมั่นคง เป็นผลให้ตำรวจได้รับบาดเจ็บ 14 นาย
โมฮัมเหม็ด อิบราฮิม รัฐมนตรีมหาดไทย ยังเตือนว่า จะมีการสลายการชุมนุมของกลุ่มสนับสนุนมอร์ซีด้วยวิธีที่ถูกกฎหมายโดยเร็วที่สุด พร้อมเรียกร้องให้ผู้ประท้วงใช้เหตุผลและแยกย้ายกลับบ้าน
ทว่า กลุ่มภราดรภาพมุสลิมได้ออกคำแถลงระบุว่า “การสังหารหมู่อย่างป่าเถื่อน” ยิ่งทำให้จุดยืนในการต่อต้าน “การรัฐประหารยึดอำนาจ”อย่างสันติวิธีของกลุ่มตนเพิ่มความเข้มแข็งขึ้น พร้อมประกาศปักหลักประท้วงจนกว่าข้อเรียกร้องจะได้รับการตอบสนอง และมอร์ซีได้กลับมาบริหารประเทศ โดยในวันอาทิตย์ (28) ยังมีผู้สนับสนุนภราดรภาพมุสลิมหลายพันคนชุมนุมกันในไคโร
เหตุการณ์นองเลือดในวันเสาร์ ยังทำให้บุคคลสำคัญของอียิปต์ 2 คน ที่ได้ให้การสนับสนุนการที่ฝ่ายทหารยึดอำนาจและโค่นล้มมอร์ซี ออกมาประณามการใช้ความรุนแรงเช่นนี้
โดยที่ ชีค อาเหม็ด อัล-เทย์เยป อิหม่ามใหญ่แห่งมัสยิดอัล-อัคซาร์ ซึ่งถือเป็นนักการศาสนาผู้ทรงอำนาจระดับสูงสุดของศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ในอียิปต์ ยังเรียกร้องให้สอบสวนโดยด่วนเพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ ไม่ว่าบุคคลหรือกลุ่มนั้นๆ จะสังกัดฝ่ายใดก็ตาม
ส่วนรองประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด เอลบาราดี ที่ร่วมคณะผู้ปกครองเฉพาะกาลของอียิปต์ ก็ประณาม "การใช้กำลังเกินกว่าเหตุ”
ทางด้านแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ อันเป็นกลุ่มแนวร่วมฝ่ายซ้ายและเสรีนิยมของอียิปต์ แสดงความเสียใจต่อผู้เสียชีวิต แต่สำทับว่า กลุ่มภราดรภาพฯมีส่วนร่วมจากการยั่วยุให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงครั้งนี้
สำหรับอเมริกาเรียกร้องให้กองกำลังความมั่นคงของอียิปต์เคารพสิทธิ์ในการประท้วงอย่างสันติ โดยมีรายงานว่า ชัค เฮเกล รัฐมนตรีกลาโหม ได้หารือทางโทรศัพท์กับพลเอกอับเดล ฟัตตาห์ อัล-ซิซี ผู้บัญชาการกองทัพอียิปต์ที่โค่นล้มมอร์ซีเมื่อวันที่ 3 ก.ค.ที่ผ่านมาตามกระแสเรียกร้องของมวลชน และเป็นผู้เรียกร้องให้ประชาชนออกมาชุมนุมเมื่อวันศุกร์เพื่อสนับสนุนการปราบปราม “กลุ่มก่อการร้าย”
ขณะที่จอห์น เคร์รี รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้แสดงความกังวลอย่างลึกซึ้งผ่านสมาชิกอาวุโสในรัฐบาลเฉพาะกาลของอียิปต์
ทางด้าน แคทเธอลีน แอชตัน ประธานด้านนโยบายการต่างประเทศของสหภาพยุโรป (อียู) ก็ประณามการสังหารผู้ประท้วง
เช่นเดียวกับรีเซ็ป เทย์ยิป เออร์โดแกน นายกรัฐมนตรีตุรกี ผู้สร้างความไม่พอใจให้แก่รัฐบาลเฉพาะกาลของอียิปต์ด้วยการประกาศสนับสนุนมอร์ซีนั้น ได้ออกมาประณามการสังหารหมู่ครั้งนี้
ขณะที่วิลเลียม เฮก รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ เรียกร้องให้รัฐบาลรักษาการของอียิปต์ยุติการใช้ความรุนแรงต่อผู้ประท้วง และนำตัวคนผิดมาลงโทษ
ความแตกแยกทางการเมืองในอียิปต์เวลานี้ ก่อให้เกิดความกังวลว่าสถานการณ์รุนแรงจะยืดเยื้อต่อไป ขณะที่พวกหัวรุนแรงติดอาวุธในคาบสมุทรซีนาย ก็ออกเคลื่อนเปิดการโจมตีอยู่ทุกวัน
นอกจากนั้น สถานการณ์ความไม่สงบเช่นนี้ยังทำให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ ตัดสินใจเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ชะลอการส่งเครื่องบินขับไล่เอฟ-16 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความช่วยเหลือทางทหารปีละ 1,500 ล้านดอลลาร์ที่มอบให้แก่อียิปต์ แม้เจ้าหน้าที่อเมริกันระบุว่า วอชิงตันจะไม่ระงับการสนับสนุนอียิปต์ ซึ่งเป็นพันธมิตรรายสำคัญก็ตาม
เหตุการณ์นี้นับเป็นการนองเลือดที่ถือว่าร้ายแรงที่สุดนับจากวันที่ 8 เดือนนี้ที่ผู้สนับสนุนมอร์ซีกว่าครึ่งร้อยเสียชีวิตในเหตุรุนแรงหน้ากองบัญชาการกองกำลังพิทักษ์สาธารณรัฐ หรือ กองพลทหารรักษานครหลวง ในกรุงไคโร
กระทรวงสาธารณสุขของอียิปต์ให้ตัวเลขผู้เสียชีวิตไว้ที่อย่างน้อย 72 คน และสำทับว่า ยังมีผู้เสียชีวิตอีก 9 คนในอเล็กซานเดรีย เมืองใหญ่อันดับ 2 ของอียิปต์ในวันศุกร์ (26) ทำให้ตัวเลขผู้เสียชีวิตในรอบ 2 วันรวมเป็น 81 ราย และมีผู้บาดเจ็บ 748 ราย
ขณะที่ อาเหม็ด อาเรฟ โฆษกกลุ่มภราดรภาพมุสลิมของมอร์ซี บอกว่า มีผู้ถูกสังหาร 66 คนที่บริเวณด้านนอกมัสยิดราบา อัล-อดาวิยา ในกรุงไคโร ซึ่งบรรดาผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเสรีของอียิปต์ กำลังปักหลักนั่งชุมนุมเรียกร้องให้คืนตำแหน่งแก่มอร์ซี
เหตุรุนแรงในวันเสาร์เกิดขึ้นหลังจากการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มสนับสนุนและกลุ่มต่อต้านมอร์ซีในไคโรและเมืองอื่นๆ เมื่อคืนวันศุกร์
พวกผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า การนองเลือดในวันเสาร์เกิดขึ้นจากกองกำลังความมั่นคงของทางการยิงกระสุนจริงใส่กลุ่มผู้สนับสนุนมอร์ซีที่ชุมนุมกันอย่างสงบ ขณะที่กระทรวงมหาดไทยยืนยันว่า กองกำลังความมั่นคงใช้แต่ก๊าซน้ำตาเท่านั้น และกล่าวหา สมาชิกภราดรภาพมุสลิม ยั่วยุด้วยการใช้ก้อนหินขว้างปาและยิงใส่กองกำลังความมั่นคง เป็นผลให้ตำรวจได้รับบาดเจ็บ 14 นาย
โมฮัมเหม็ด อิบราฮิม รัฐมนตรีมหาดไทย ยังเตือนว่า จะมีการสลายการชุมนุมของกลุ่มสนับสนุนมอร์ซีด้วยวิธีที่ถูกกฎหมายโดยเร็วที่สุด พร้อมเรียกร้องให้ผู้ประท้วงใช้เหตุผลและแยกย้ายกลับบ้าน
ทว่า กลุ่มภราดรภาพมุสลิมได้ออกคำแถลงระบุว่า “การสังหารหมู่อย่างป่าเถื่อน” ยิ่งทำให้จุดยืนในการต่อต้าน “การรัฐประหารยึดอำนาจ”อย่างสันติวิธีของกลุ่มตนเพิ่มความเข้มแข็งขึ้น พร้อมประกาศปักหลักประท้วงจนกว่าข้อเรียกร้องจะได้รับการตอบสนอง และมอร์ซีได้กลับมาบริหารประเทศ โดยในวันอาทิตย์ (28) ยังมีผู้สนับสนุนภราดรภาพมุสลิมหลายพันคนชุมนุมกันในไคโร
เหตุการณ์นองเลือดในวันเสาร์ ยังทำให้บุคคลสำคัญของอียิปต์ 2 คน ที่ได้ให้การสนับสนุนการที่ฝ่ายทหารยึดอำนาจและโค่นล้มมอร์ซี ออกมาประณามการใช้ความรุนแรงเช่นนี้
โดยที่ ชีค อาเหม็ด อัล-เทย์เยป อิหม่ามใหญ่แห่งมัสยิดอัล-อัคซาร์ ซึ่งถือเป็นนักการศาสนาผู้ทรงอำนาจระดับสูงสุดของศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ในอียิปต์ ยังเรียกร้องให้สอบสวนโดยด่วนเพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ ไม่ว่าบุคคลหรือกลุ่มนั้นๆ จะสังกัดฝ่ายใดก็ตาม
ส่วนรองประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด เอลบาราดี ที่ร่วมคณะผู้ปกครองเฉพาะกาลของอียิปต์ ก็ประณาม "การใช้กำลังเกินกว่าเหตุ”
ทางด้านแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ อันเป็นกลุ่มแนวร่วมฝ่ายซ้ายและเสรีนิยมของอียิปต์ แสดงความเสียใจต่อผู้เสียชีวิต แต่สำทับว่า กลุ่มภราดรภาพฯมีส่วนร่วมจากการยั่วยุให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงครั้งนี้
สำหรับอเมริกาเรียกร้องให้กองกำลังความมั่นคงของอียิปต์เคารพสิทธิ์ในการประท้วงอย่างสันติ โดยมีรายงานว่า ชัค เฮเกล รัฐมนตรีกลาโหม ได้หารือทางโทรศัพท์กับพลเอกอับเดล ฟัตตาห์ อัล-ซิซี ผู้บัญชาการกองทัพอียิปต์ที่โค่นล้มมอร์ซีเมื่อวันที่ 3 ก.ค.ที่ผ่านมาตามกระแสเรียกร้องของมวลชน และเป็นผู้เรียกร้องให้ประชาชนออกมาชุมนุมเมื่อวันศุกร์เพื่อสนับสนุนการปราบปราม “กลุ่มก่อการร้าย”
ขณะที่จอห์น เคร์รี รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้แสดงความกังวลอย่างลึกซึ้งผ่านสมาชิกอาวุโสในรัฐบาลเฉพาะกาลของอียิปต์
ทางด้าน แคทเธอลีน แอชตัน ประธานด้านนโยบายการต่างประเทศของสหภาพยุโรป (อียู) ก็ประณามการสังหารผู้ประท้วง
เช่นเดียวกับรีเซ็ป เทย์ยิป เออร์โดแกน นายกรัฐมนตรีตุรกี ผู้สร้างความไม่พอใจให้แก่รัฐบาลเฉพาะกาลของอียิปต์ด้วยการประกาศสนับสนุนมอร์ซีนั้น ได้ออกมาประณามการสังหารหมู่ครั้งนี้
ขณะที่วิลเลียม เฮก รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ เรียกร้องให้รัฐบาลรักษาการของอียิปต์ยุติการใช้ความรุนแรงต่อผู้ประท้วง และนำตัวคนผิดมาลงโทษ
ความแตกแยกทางการเมืองในอียิปต์เวลานี้ ก่อให้เกิดความกังวลว่าสถานการณ์รุนแรงจะยืดเยื้อต่อไป ขณะที่พวกหัวรุนแรงติดอาวุธในคาบสมุทรซีนาย ก็ออกเคลื่อนเปิดการโจมตีอยู่ทุกวัน
นอกจากนั้น สถานการณ์ความไม่สงบเช่นนี้ยังทำให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ ตัดสินใจเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ชะลอการส่งเครื่องบินขับไล่เอฟ-16 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความช่วยเหลือทางทหารปีละ 1,500 ล้านดอลลาร์ที่มอบให้แก่อียิปต์ แม้เจ้าหน้าที่อเมริกันระบุว่า วอชิงตันจะไม่ระงับการสนับสนุนอียิปต์ ซึ่งเป็นพันธมิตรรายสำคัญก็ตาม