ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอะไรไม่ค่อยเหมือนกับประเทศอื่น เช่น เรามีการเลือกตั้งโดยไม่ให้มีพรรคการเมือง เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเรากลัว “พรรคคนจีน” ในเวลานั้นคนไทยยังประกอบอาชีพกสิกรรม ชาวนาต่างคนต่างอยู่ขาดการรวมตัวเป็นกลุ่มเป็นก้อน เพราะลักษณะทางการผลิตแยกกันทำ คนจีนเป็นคนกลุ่มน้อย เมื่อมาอยู่เมืองไทยก็มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มตามแซ่บ้าง ตามกลุ่มอาชีพบ้าง เนื่องจากชาวจีนไม่ใช่ไพร่ในสังคมไทย จึงไม่มีสังกัด และถูกกดขี่รีดไถโดยเจ้าหน้าที่ เป็นเหตุให้เกิดการตั้งสมาคมลับมาดูแลชาวจีน หัวหน้าสมาคมลับเรียกว่า “ตั้วเฮีย” ในสมัยก่อนหัวหน้าคนจีนที่โด่งดังคือ “ยี่กอฮง” ย่าผมเคยเล่าให้ฟังว่า ยี่กอฮง เป็นเพื่อนกับคุณก๋งของผม ก๋งของผมทำเหล้ามีชื่อว่า “นายฮกหงวน แซ่แต้” เรียกกันว่า นายอากรฮกหงวน มีเจ้านายเป็นขุนนางคือ พวกบุนนาค คุณก๋งเป็นคนจีนที่ก้าวหน้า เป็นผู้บุกเบิกตั้งโรงงานน้ำตาลที่แปดริ้ว
คนจีนสมัยก่อนจะอยู่แถวเยาวราช พวกผมอยู่ที่โรงหนังเท็กซัส และมีบ้านเรือนอยู่ฝั่งธนบุรี ที่เรียกว่า “บ้านล่าง” การที่คนจีนมีการรวมกลุ่มกันนี้ หากมีพรรคการเมืองก็จะสามารถพัฒนาเป็นพรรคการเมืองไทยเพราะมีปัจจัยผลักดันที่จะให้คนจีนตั้งพรรคการเมือง
ด้วยเหตุนี้เองทำให้รัฐบาลไม่ว่าจะเป็นสมัยใดก็หวาดระแวง และออกกฎหมายสมาคมห้ามมิให้สมาคมเกี่ยวข้องกับการเมือง บุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกรัฐธรรมนูญห้ามไม่ให้เกี่ยวข้องกับการเมืองคือ พวกเจ้าได้แก่ หม่อมเจ้าขึ้นไป ห้ามไม่ให้เกี่ยวข้องกับการเมือง
เมื่อมีพรรคการเมืองเพราะมีพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2495 พรรคก็อยู่ได้ไม่นาน เพราะมีการปฏิวัติรัฐประหารเป็นระยะๆ พรรคก็ถูกยุบไป พรรคจึงไม่มีความยั่งยืน และไม่มีผู้สนใจเป็นสมาชิกพรรค พรรคจะต้องมีนโยบายแต่ก็ไม่มีความหมาย เพราะพรรครัฐบาลที่มาจากคณะทหารและข้าราชการ ก็จะเป็นฝ่ายกำหนดนโยบายที่ไม่มีอะไร แตกต่างไปจากการดำเนินงานตามงานประจำของกระทรวง ทบวง กรม ข้าราชการไม่ต้องมีความกดดัน ทำงานโดยไม่มีการควบคุม และประเมินผลจากฝ่ายการเมือง
ดังนั้น แม้ว่าจะมีฝ่ายการเมือง แต่ในทางความเป็นจริงแล้ว ฝ่ายการเมืองก็ไม่มีความหมายอะไร ต่อมาเมื่อมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาก็กลายเป็นกรอบอ้างอิงของการกำหนดนโยบายของพรรคการเมือง จะเห็นได้ว่านโยบายของพรรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพรรครัฐบาลหรือพรรคฝ่ายค้าน ล้วนแล้วแต่ถือเอาแผนพัฒนาเป็นตัวตั้งทั้งสิ้น
ด้วยเหตุนี้เอง พรรคการเมืองจึงเป็นสถาบันที่ไม่มีความหมายในการเมืองไทย จะมีการเปลี่ยนแปลงก็เมื่อมีกระแสโลกาภิวัตน์ พลังกดดันจากกระแสประชาธิปไตยที่ประชาชนมีความสำคัญมากขึ้น การเมืองมีความต่อเนื่องทำให้พรรคการเมืองกลายเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสำคัญที่สุด เพราะคณะทหารและข้าราชการหมดบทบาทลง พรรคการเมืองมีความจำเป็นต้องแข่งขันกันเพื่อเรียกคะแนนเสียงจากผู้เลือกตั้ง
การแหวกออกจากกรอบของแผนพัฒนาเกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2535 สมัยพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ซึ่งรัฐบาลยุคนั้นเริ่มมีนโยบายเป็นของตนเอง โดยเฉพาะนโยบายต่างประเทศที่มีท่าทีใหม่ต่อเวียดนาม ในการเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า
แต่การเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดเจนที่สุดก็คือ ในสมัยของพรรคไทยรักไทย ซึ่งนำความแปลกใหม่มาสู่การเมืองไทย ด้วยการถือว่าประชาชนคือ “ลูกค้า” ดังนั้น นโยบายจึงเป็น “สินค้า” และจะต้องเป็นสิ่งที่ประชาชนมีความต้องการ มีการทำการสำรวจความเห็นของประชาชนเพื่อดูลำดับความสำคัญ และนำมากำหนดเป็นนโยบายของพรรค ที่โดดเด่นก็คือนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค และนโยบายกองทุนหมู่บ้าน
ชัยชนะอย่างท่วมท้นของพรรคไทยรักไทย มีผลทำให้พรรคอื่นๆ โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ต้องปรับตัว และพยายามหานโยบายใหม่ๆ มาเรียกความสนับสนุนจากประชาชน เป็นเหตุให้เกิดนโยบายประชานิยมขึ้น
ตราบเท่าที่เศรษฐกิจยังดี พรรคก็ยังจะแข่งขันจัดนโยบายประชานิยม ซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และก่อให้เกิดการแสวงหาผลประโยชน์มากขึ้น ปัจจุบันแผนพัฒนามีความสำคัญน้อยลง เพราะนโยบายกลายเป็นกรอบการทำงานที่ข้าราชการจะต้องปฏิบัติตาม ทำให้ไทยเข้าสู่ยุคการแข่งขันด้วยนโยบายประชานิยมเต็มที่
คนจีนสมัยก่อนจะอยู่แถวเยาวราช พวกผมอยู่ที่โรงหนังเท็กซัส และมีบ้านเรือนอยู่ฝั่งธนบุรี ที่เรียกว่า “บ้านล่าง” การที่คนจีนมีการรวมกลุ่มกันนี้ หากมีพรรคการเมืองก็จะสามารถพัฒนาเป็นพรรคการเมืองไทยเพราะมีปัจจัยผลักดันที่จะให้คนจีนตั้งพรรคการเมือง
ด้วยเหตุนี้เองทำให้รัฐบาลไม่ว่าจะเป็นสมัยใดก็หวาดระแวง และออกกฎหมายสมาคมห้ามมิให้สมาคมเกี่ยวข้องกับการเมือง บุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกรัฐธรรมนูญห้ามไม่ให้เกี่ยวข้องกับการเมืองคือ พวกเจ้าได้แก่ หม่อมเจ้าขึ้นไป ห้ามไม่ให้เกี่ยวข้องกับการเมือง
เมื่อมีพรรคการเมืองเพราะมีพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2495 พรรคก็อยู่ได้ไม่นาน เพราะมีการปฏิวัติรัฐประหารเป็นระยะๆ พรรคก็ถูกยุบไป พรรคจึงไม่มีความยั่งยืน และไม่มีผู้สนใจเป็นสมาชิกพรรค พรรคจะต้องมีนโยบายแต่ก็ไม่มีความหมาย เพราะพรรครัฐบาลที่มาจากคณะทหารและข้าราชการ ก็จะเป็นฝ่ายกำหนดนโยบายที่ไม่มีอะไร แตกต่างไปจากการดำเนินงานตามงานประจำของกระทรวง ทบวง กรม ข้าราชการไม่ต้องมีความกดดัน ทำงานโดยไม่มีการควบคุม และประเมินผลจากฝ่ายการเมือง
ดังนั้น แม้ว่าจะมีฝ่ายการเมือง แต่ในทางความเป็นจริงแล้ว ฝ่ายการเมืองก็ไม่มีความหมายอะไร ต่อมาเมื่อมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาก็กลายเป็นกรอบอ้างอิงของการกำหนดนโยบายของพรรคการเมือง จะเห็นได้ว่านโยบายของพรรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพรรครัฐบาลหรือพรรคฝ่ายค้าน ล้วนแล้วแต่ถือเอาแผนพัฒนาเป็นตัวตั้งทั้งสิ้น
ด้วยเหตุนี้เอง พรรคการเมืองจึงเป็นสถาบันที่ไม่มีความหมายในการเมืองไทย จะมีการเปลี่ยนแปลงก็เมื่อมีกระแสโลกาภิวัตน์ พลังกดดันจากกระแสประชาธิปไตยที่ประชาชนมีความสำคัญมากขึ้น การเมืองมีความต่อเนื่องทำให้พรรคการเมืองกลายเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสำคัญที่สุด เพราะคณะทหารและข้าราชการหมดบทบาทลง พรรคการเมืองมีความจำเป็นต้องแข่งขันกันเพื่อเรียกคะแนนเสียงจากผู้เลือกตั้ง
การแหวกออกจากกรอบของแผนพัฒนาเกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2535 สมัยพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ซึ่งรัฐบาลยุคนั้นเริ่มมีนโยบายเป็นของตนเอง โดยเฉพาะนโยบายต่างประเทศที่มีท่าทีใหม่ต่อเวียดนาม ในการเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า
แต่การเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดเจนที่สุดก็คือ ในสมัยของพรรคไทยรักไทย ซึ่งนำความแปลกใหม่มาสู่การเมืองไทย ด้วยการถือว่าประชาชนคือ “ลูกค้า” ดังนั้น นโยบายจึงเป็น “สินค้า” และจะต้องเป็นสิ่งที่ประชาชนมีความต้องการ มีการทำการสำรวจความเห็นของประชาชนเพื่อดูลำดับความสำคัญ และนำมากำหนดเป็นนโยบายของพรรค ที่โดดเด่นก็คือนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค และนโยบายกองทุนหมู่บ้าน
ชัยชนะอย่างท่วมท้นของพรรคไทยรักไทย มีผลทำให้พรรคอื่นๆ โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ต้องปรับตัว และพยายามหานโยบายใหม่ๆ มาเรียกความสนับสนุนจากประชาชน เป็นเหตุให้เกิดนโยบายประชานิยมขึ้น
ตราบเท่าที่เศรษฐกิจยังดี พรรคก็ยังจะแข่งขันจัดนโยบายประชานิยม ซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และก่อให้เกิดการแสวงหาผลประโยชน์มากขึ้น ปัจจุบันแผนพัฒนามีความสำคัญน้อยลง เพราะนโยบายกลายเป็นกรอบการทำงานที่ข้าราชการจะต้องปฏิบัติตาม ทำให้ไทยเข้าสู่ยุคการแข่งขันด้วยนโยบายประชานิยมเต็มที่