วานนี้ (25ก.ค.) นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ภายหลังผู้แทนองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) เข้าพบว่า ทางเจโทรรายงานว่าในสิ้นเดือนก.ค. จะมีผลการสำรวจความคิดเห็นของนักลงทุนญี่ปุ่นในประเทศไทยออกมา ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นทางนักลงทุนญี่ปุ่นเห็นว่าสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของไทยยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีพอสมควร แม้ว่าช่วงครึ่งปีแรกบรรยากาศของการเติบโตทางเศรษฐกิจจะดูไม่สดใสเหมือนปีที่ผ่านมา แต่ในช่วงครึ่งปีหลังจะอยู่ในภาวะที่ดีขึ้น
สำหรับสิ่งที่ทางเจโทรอยากเห็นรัฐบาลดำเนินการอันดับแรกคือ อยากให้รัฐบาลดูแลปรับมาตรฐานด้านศุลกากร ทั้งการนำเข้าและส่งออกให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้น และต้องการให้รัฐบาลปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้เพียงพอโดยเฉพาะด้านการขนส่ง จึงได้ตอบไปว่าขณะนี้ประเทศไทยมี พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ โดยอยู่ระหว่างขั้นตอนของรัฐสภา ขณะเดียวกันทางเจโทร ได้มีข้อกังวลเรื่องการลงทุนระบบบริหารจัดการน้ำ ทั้งการแก้ปัญหาน้ำขาดแคลน และแก้ปัญหาอุทกภัย ในส่วนนี้ได้ตอบไปว่า จะใช้เวลาเพิ่มขึ้นในการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนก่อนที่จะเดินหน้าโครงการต่อ แต่จะใช้เวลาไม่นานนัก ขณะเดียวกัน เจโทร ก็ยังอยากให้บรรยากาศทางการเมืองของไทยมีเสถียรภาพ
ทั้งนี้ การดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของประเทศอาจจะใช้เวลาบ้าง แต่เมื่อเริ่มลงทุนก่อสร้างจะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโต และหลังจากก่อสร้างเสร็จแล้วเศรษฐกิจจะเติบโตแบบก้าวกระโดด จากประสิทธิภาพด้านคมนาคมที่ดีขึ้นมาก
รองนายกฯ กล่าวว่า หลังจากการเข้าพบของเจโทรแล้วได้หารือร่วมกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่องการกำหนดเขตเศรษฐกิจการเกษตรหรือโซนนิ่ง ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และสภาหอการค้าไทย
“ในเบื้องต้นได้เลือกอ้อยเป็นพืชที่จะทำโซนนิ่งในอันดับแรก เพราะเป็นทั้งพืชอาหาร และพลังงาน อ้อยสามารถปลูกในพื้นที่นาดอน ซึ่งจะทำนาได้เพียงปีละครั้ง ถ้าปรับมาปลูกอ้อยจะมีรายได้ที่ดีขึ้นจากรายได้สุทธิจากการทำนาในพื้นที่ดอนอยู่ที่ 1,000 บาทต่อไร่ จะเพิ่มขึ้นเป็น 7,000 บาทต่อไร่ หากหันมาปลูกอ้อย มีรายได้เพิ่มขึ้นหลายเท่า จะช่วยให้กำลังซื้อของเกษตรกรดีขึ้นและเป็นอุปสงค์ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยที่ไม่ต้องอัดฉีดมาตรการกระตุ้นอะไรอีก โดยจะประชุมหน่วยงานรัฐร่วมกับโรงงานน้ำตาลกว่า 40 แห่ง เตรียมความพร้อมการจัดโซนนิ่งอ้อย เพื่อให้ทันฤดูกาลปลู
กอ้อยช่วงเดือนต.ค.-พ.ย.นี้”
สำหรับการทำโซนนิ่งปลูกอ้อยนั้น ทางโรงงานน้ำตาลพร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงให้เกษตรกรที่จะปรับเปลี่ยนจากการทำนามาปลูกอ้อย รวมทั้งกรมส่งเสริมการเกษตรจะร่วมเข้าไปส่งเสริม และรัฐบาลพร้อมจะสนับสนุนด้านงบประมาณ ขณะเดียวกันทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พร้อมจะเข้ามาสนับสนุนด้านสินเชื่อให้ด้วย โดยมีเป้าหมายไกลๆ จะเพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อยอีก 10 ล้านไร่ จากประมาณ 8 - 9 ล้านไร่ในปัจจุบันหรือเพิ่มอีกเท่าตัว โดยอ้อยเป็นพืชที่ผลิตเป็นน้ำตาลป้อนตลาดโลกมากกว่าการบริโภคในประเทศ โดยเฉพาะในตลาดเอเชียผลผลิตน้ำตาลยังน้อยกว่าความต้องการต้องนำเข้าน้ำตาลจากซีกโลกอื่นกว่า 10 ล้านตัน ดังนั้นการเพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อยจึงมีตลาดต้องการอยู่แล้ว เป็นการปลูกอ้อยเพี่อการส่งออก
สำหรับสิ่งที่ทางเจโทรอยากเห็นรัฐบาลดำเนินการอันดับแรกคือ อยากให้รัฐบาลดูแลปรับมาตรฐานด้านศุลกากร ทั้งการนำเข้าและส่งออกให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้น และต้องการให้รัฐบาลปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้เพียงพอโดยเฉพาะด้านการขนส่ง จึงได้ตอบไปว่าขณะนี้ประเทศไทยมี พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ โดยอยู่ระหว่างขั้นตอนของรัฐสภา ขณะเดียวกันทางเจโทร ได้มีข้อกังวลเรื่องการลงทุนระบบบริหารจัดการน้ำ ทั้งการแก้ปัญหาน้ำขาดแคลน และแก้ปัญหาอุทกภัย ในส่วนนี้ได้ตอบไปว่า จะใช้เวลาเพิ่มขึ้นในการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนก่อนที่จะเดินหน้าโครงการต่อ แต่จะใช้เวลาไม่นานนัก ขณะเดียวกัน เจโทร ก็ยังอยากให้บรรยากาศทางการเมืองของไทยมีเสถียรภาพ
ทั้งนี้ การดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของประเทศอาจจะใช้เวลาบ้าง แต่เมื่อเริ่มลงทุนก่อสร้างจะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโต และหลังจากก่อสร้างเสร็จแล้วเศรษฐกิจจะเติบโตแบบก้าวกระโดด จากประสิทธิภาพด้านคมนาคมที่ดีขึ้นมาก
รองนายกฯ กล่าวว่า หลังจากการเข้าพบของเจโทรแล้วได้หารือร่วมกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่องการกำหนดเขตเศรษฐกิจการเกษตรหรือโซนนิ่ง ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และสภาหอการค้าไทย
“ในเบื้องต้นได้เลือกอ้อยเป็นพืชที่จะทำโซนนิ่งในอันดับแรก เพราะเป็นทั้งพืชอาหาร และพลังงาน อ้อยสามารถปลูกในพื้นที่นาดอน ซึ่งจะทำนาได้เพียงปีละครั้ง ถ้าปรับมาปลูกอ้อยจะมีรายได้ที่ดีขึ้นจากรายได้สุทธิจากการทำนาในพื้นที่ดอนอยู่ที่ 1,000 บาทต่อไร่ จะเพิ่มขึ้นเป็น 7,000 บาทต่อไร่ หากหันมาปลูกอ้อย มีรายได้เพิ่มขึ้นหลายเท่า จะช่วยให้กำลังซื้อของเกษตรกรดีขึ้นและเป็นอุปสงค์ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยที่ไม่ต้องอัดฉีดมาตรการกระตุ้นอะไรอีก โดยจะประชุมหน่วยงานรัฐร่วมกับโรงงานน้ำตาลกว่า 40 แห่ง เตรียมความพร้อมการจัดโซนนิ่งอ้อย เพื่อให้ทันฤดูกาลปลู
กอ้อยช่วงเดือนต.ค.-พ.ย.นี้”
สำหรับการทำโซนนิ่งปลูกอ้อยนั้น ทางโรงงานน้ำตาลพร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงให้เกษตรกรที่จะปรับเปลี่ยนจากการทำนามาปลูกอ้อย รวมทั้งกรมส่งเสริมการเกษตรจะร่วมเข้าไปส่งเสริม และรัฐบาลพร้อมจะสนับสนุนด้านงบประมาณ ขณะเดียวกันทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พร้อมจะเข้ามาสนับสนุนด้านสินเชื่อให้ด้วย โดยมีเป้าหมายไกลๆ จะเพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อยอีก 10 ล้านไร่ จากประมาณ 8 - 9 ล้านไร่ในปัจจุบันหรือเพิ่มอีกเท่าตัว โดยอ้อยเป็นพืชที่ผลิตเป็นน้ำตาลป้อนตลาดโลกมากกว่าการบริโภคในประเทศ โดยเฉพาะในตลาดเอเชียผลผลิตน้ำตาลยังน้อยกว่าความต้องการต้องนำเข้าน้ำตาลจากซีกโลกอื่นกว่า 10 ล้านตัน ดังนั้นการเพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อยจึงมีตลาดต้องการอยู่แล้ว เป็นการปลูกอ้อยเพี่อการส่งออก