เมื่อ 09.00น.วานนี้ (24 ก.ค. ) ที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้เดินทางไปเป็นประธานการประชุมคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง หรือเทียบเท่า ครั้งที่ 6/2556 ซึ่งมีกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นเจ้าภาพ โดยนางปวีณา หงสกุล รมว.พม. ได้ให้การต้อนรับ และนำนายกฯ เยี่ยมชมศูนย์ OSCC (One Stop Crisis Center) หรือศูนย์ช่วยเหลือสังคม ซึ่งเป็นศูนย์ที่จะคอยรับเรื่องราวร้องทุกข์ ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกที่รับแจ้งปัญหาและเบาะแสผ่านสายด่วน 1300 พร้อมกันนี้ นายกฯได้สอบถามและให้กำลังใจกับประชาชนที่ประสบปัญหาทางสังคมที่เดินทางมาร้องทุกข์ อาทิ นายกิตติ์ธเนศ เป็นเอกชนะศักดิ์ บิดาของ น้องธันว์ ด.ญ.ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ อายุ 14 ปี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จ.ตรัง ที่ประสบอุบัติเหตุรถไฟฟ้า MRTทับขาขาดทั้งสองข้างระหว่างเดินทางไปเรียนซัมเมอร์คอร์สภาษาอังกฤษ เคมบริดจ์ ที่ประเทศสิงคโปร์ ได้เข้าร้องเรียนต่อศูนย์ OSCC ด้วยเช่นกัน
นายนายกิตติ์ธเนศ ระบุว่า มาร้องเรียนต่อกระทรวงพม. เพื่อให้เป็นบรรทัดฐาน ให้รัฐบาลวางแนวทางและมีองค์กรรองรับและดูแลเยาวชนซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญของประเทศ ที่เดินทางไปศึกษายังต่างประเทศ และหากมีปัญหา หรืออุบัติเหตุอะไรจะได้มีการดูแลอย่างทั่วถึง
ต่อมาเวลา 10.00 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวเปิดการประชุมตอนหนึ่งว่า การขับเคลื่อนประเทศนั้น รัฐบาลมียุทธศาสตร์ในการพัฒนาหลายด้าน ซึ่งการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่ทุกภาคส่วนต้องทำงานร่วมกัน ดังนั้นรัฐบาลต้องการเห็นการช่วยเหลือสังคม โดยเป็นช่วงอายุ เช่น วัยแรกเกิด วัยเรียน วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ และกลุ่มพิเศษ ซึ่งในปัจจุบันพบว่าหลายกระทรวงมีแนวทางในการดูแลประชาชนอยู่ แต่ควรจะต้องมาบูรณาการร่วมกันตามช่วงอายุดังกล่าว เพื่อจะได้ให้บริการกับประชาชนได้อย่างเต็มที่ โดยแต่ละกระทรวงจะต้องหันกลับมาดูการดำเนินยุทธศาสตร์ของตนเองตามช่วงอายุที่มีความสำคัญมาก เพราะจะได้ให้การพัฒนาการประชาชนในแต่ละช่วงวัยที่เหมาะสม รวมถึงมีการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสังคม นอกจากนี้ต้องการให้การบริการของภาครัฐมีส่วนเข้ามาช่วยเหลือสังคมได้อย่างเต็มที่
นายกฯ กล่าวต่อว่า การเดินทางมากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในครั้งนี้ ได้เห็นความคืบหน้าในการดำเนินการของ OSCC หรือศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 โดยได้มอบหมายนโยบายให้ทุกกระทรวงช่วยประชาสัมพันธ์ OSCC ในจุดบริการ 21,000 จุด รวมถึงการให้ทุกกระทรวงนำระบบไปใช้ในการช่วยเหลือประชาชนได้ทันท่วงที และให้ทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สรุปปัญหาอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้อยากเห็นการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือสังคม โดยอาจจะเป็นไปด้วยความสมัครใจ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้วยการเพิ่มสิทธิพิเศษจูงใจทางภาษีให้
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวต่อว่า การประชุมเวิร์กชอประดับปลัดกระทรวงครั้งต่อไป จะเป็นวาระพิเศษ โดยจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 8-9 ส.ค.นี้ ที่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยเนื้อหาการประชุมจะเน้นยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาด้านสังคม ทั้งนี้จะมอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เตรียมข้อมูล เพื่อเป็นการเน้นการพัฒนาประเทศตามแกนของกระทรวง ด้วยการนำปัญหาของสังคม เช่น เด็ก คนชรา มาปรับน้ำหนักในการดำเนินยุทธศาสตร์ของกระทรวงให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดที่กำลังดำเนินการอยู่ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยการประชุมเวิร์กชอปครั้งนี้ กระทรวงการคลังเป็นเจ้าภาพ และจะเดินทางด้วยรถไฟ ซึ่งถือเป็นการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงในรถไฟเป็นครั้งแรก และจะถือโอกาสนี้ดูในเรื่องของระบบรถไฟด้วย
นายนายกิตติ์ธเนศ ระบุว่า มาร้องเรียนต่อกระทรวงพม. เพื่อให้เป็นบรรทัดฐาน ให้รัฐบาลวางแนวทางและมีองค์กรรองรับและดูแลเยาวชนซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญของประเทศ ที่เดินทางไปศึกษายังต่างประเทศ และหากมีปัญหา หรืออุบัติเหตุอะไรจะได้มีการดูแลอย่างทั่วถึง
ต่อมาเวลา 10.00 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวเปิดการประชุมตอนหนึ่งว่า การขับเคลื่อนประเทศนั้น รัฐบาลมียุทธศาสตร์ในการพัฒนาหลายด้าน ซึ่งการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่ทุกภาคส่วนต้องทำงานร่วมกัน ดังนั้นรัฐบาลต้องการเห็นการช่วยเหลือสังคม โดยเป็นช่วงอายุ เช่น วัยแรกเกิด วัยเรียน วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ และกลุ่มพิเศษ ซึ่งในปัจจุบันพบว่าหลายกระทรวงมีแนวทางในการดูแลประชาชนอยู่ แต่ควรจะต้องมาบูรณาการร่วมกันตามช่วงอายุดังกล่าว เพื่อจะได้ให้บริการกับประชาชนได้อย่างเต็มที่ โดยแต่ละกระทรวงจะต้องหันกลับมาดูการดำเนินยุทธศาสตร์ของตนเองตามช่วงอายุที่มีความสำคัญมาก เพราะจะได้ให้การพัฒนาการประชาชนในแต่ละช่วงวัยที่เหมาะสม รวมถึงมีการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสังคม นอกจากนี้ต้องการให้การบริการของภาครัฐมีส่วนเข้ามาช่วยเหลือสังคมได้อย่างเต็มที่
นายกฯ กล่าวต่อว่า การเดินทางมากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในครั้งนี้ ได้เห็นความคืบหน้าในการดำเนินการของ OSCC หรือศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 โดยได้มอบหมายนโยบายให้ทุกกระทรวงช่วยประชาสัมพันธ์ OSCC ในจุดบริการ 21,000 จุด รวมถึงการให้ทุกกระทรวงนำระบบไปใช้ในการช่วยเหลือประชาชนได้ทันท่วงที และให้ทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สรุปปัญหาอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้อยากเห็นการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือสังคม โดยอาจจะเป็นไปด้วยความสมัครใจ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้วยการเพิ่มสิทธิพิเศษจูงใจทางภาษีให้
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวต่อว่า การประชุมเวิร์กชอประดับปลัดกระทรวงครั้งต่อไป จะเป็นวาระพิเศษ โดยจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 8-9 ส.ค.นี้ ที่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยเนื้อหาการประชุมจะเน้นยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาด้านสังคม ทั้งนี้จะมอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เตรียมข้อมูล เพื่อเป็นการเน้นการพัฒนาประเทศตามแกนของกระทรวง ด้วยการนำปัญหาของสังคม เช่น เด็ก คนชรา มาปรับน้ำหนักในการดำเนินยุทธศาสตร์ของกระทรวงให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดที่กำลังดำเนินการอยู่ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยการประชุมเวิร์กชอปครั้งนี้ กระทรวงการคลังเป็นเจ้าภาพ และจะเดินทางด้วยรถไฟ ซึ่งถือเป็นการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงในรถไฟเป็นครั้งแรก และจะถือโอกาสนี้ดูในเรื่องของระบบรถไฟด้วย