วานนี้ (23 ก.ค.) ที่พรรคเพื่อไทย นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงว่า สำหรับกรณีที่ยังมีการโจมตีเรื่องข้าวในประเด็นสารตกค้าง ตนได้พบกับเกษตรกรหลายจังหวัดมีการตั้งข้อสังเกตว่า ข้าวที่นำมาเข้าโครงการของรัฐ ทั้งรัฐบาลที่แล้วและรัฐบาลปัจจุบัน มีมาตรฐานในการเก็บรักษาเหมือกัน แต่มายุคนี้กลับหยิบยกมาโจมตี และกรณีที่ภาคประชาชนโดยมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคมีการตรวจสอบ พบว่ามีข้าวยี่ห้อหนึ่งมีสารตกค้าง แต่เมื่อกรมวิชาการเกษตร ตรวจสอบกลับไม่พบว่าสารตกค้าง ทำให้ประชาชนเกิดความสับสน ขอยืนยันว่ารัฐบาลเอาจริงกับการตรวจสอบข้าวเพราะข้าวเป็นภาพลักษณ์และพืชเศรษฐกิจสำคัญ
อย่างไรก็ดี ขอตั้งข้อสังเกตกรณีน.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ที่ไม่ยอมเปิดเผยแหล่งที่มาของการตรวจสอบว่าคือที่ใด มูลนิธิฯเป็นอง์กรเอกชนที่ใช้เงินสนับสนุนจากในและต่างประเทศ เมื่อเกิดกรณีตรวจสอบเรื่องข้าวบอกว่ามีการใช้เงินถึง 7 แสนบาทในการตรวจสอบเรื่องนี้ ตนอยากให้มีการเปิดเผยรายละเอียดในการใช้เงินตรวจสอบ การไม่บอกถึงแลปที่ตรวจแต่อ้างว่าเปิดเผยแล้วจะมีผลกระทบกับแลปที่ตรวจ และไม่เปิดเผยแหล่งเงิน เรื่องนี้อาจมีนัยยะทางการเมือง ขณะที่ฝ่ายค้านพยายามเอาเรื่องนี้มาล้มรัฐบาล เรื่องเหล่านี้ประชาชนเฝ้าดูและอยากให้เปิดเผยความชัดเจน
"ถ้ามีคนออกมามาโหนกระแสโจมตีเรื่องนี้กันแล้วเกิดความเสียหายกับข้าวไทยแล้วคุณสารีจะรับผิดชอบไหมครับ ผมไม่อยากให้เหมือนกรณีผู้บริหารทีวีบูรพา แต่อยากให้มีความโปร่งใส" นายพร้อมพงศ์ กล่าว
ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงกรณีที่จะมีการปรับลดราคารับจำนำข้าวลงเหลือตันละ 13,500 บาทว่า พรรคประชาธิปัตย์ ไม่เห็นด้วย เพราะรัฐบาลมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ได้หาเสียงไว้ เนื่องจากคนอีสาน หรือประชาชน เลือกพรรคเพื่อไทยเข้ามาเป็นรัฐบาล ก็เพราะป้ายหาเสียงโครงการรับจำนำข้าว 15,000 บาททุกเมล็ด สิ่งเหล่านี้ถือเป็นสัจจะที่นักการเมืองให้กับประชาชน การหาข้ออ้างไม่รับผิดชอบต่อนโยบายที่ให้ไว้กับประชาชน จะกลายเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้กับพรรคการเมือง
ดังนั้นขอเรียกร้องให้รัฐบาลกลับไปรับจำนำข้าว ในราคาที่ตันละ 15,000 บาทตลอดอายุการทำงานของรัฐบาล และรัฐบาลต้องปิดช่องการทุจริต และผิดช่องทางการหากินอื่นๆ เพราะในรายงานของคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ระบุว่า ในปี 54/55 มีข้าวเปลือกเข้าโครงการจำนำข้าวทั้งหมด 21.68 ล้านตัน หรือเฉลี่ยประมาณ 22 ล้านตัน หากรับจำนำที่ 15,000 บาท และขายในราคาตลาดที่ 11,000 บาท เท่ากับว่า จะทำให้รัฐขาดทุน 8.8 หมื่นล้านบาท แต่ปรากฏรายงานน.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง และประธานคณะกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว ระบุชัดว่า รัฐขาดทุนจำนำข้าว ในปี 54/55 ประมาณ 1.3 แสนล้านบาท จึงอยากถามว่า เงินอีก 5 หมื่นล้านบาท หายไปไหน นี่จึงเป็นปัญหาที่นายกฯ ต้องแก้ไขโครงสร้างจำนำข้าวที่เอื้อต่อการทุจริต ไม่ใช่โยนภาระให้ชาวนาเช่นนี้
มีรายงานว่า นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) เตรียมประชุมหารือกับชาวนาอีกครั้งในวันที่ 29 กรกฎาคม 2556 และในสัปดาห์หน้ากรมการค้าภายในจะได้มีการเชิญโรงสีมาหารือเพื่อพิจารณาปรับลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการเช่นกัน รวมทั้งจะมีการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้งเพื่อให้ได้ข้อยุติก่อนนำเสนอ กขช. พิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ภายหลังจากเชิญตัวแทนชาวนา ได้แก่ นายกสมาคมชาวนาไทย สมาคมส่งเสริมชาวนาไทย สมาคมชาวนาไทยและเกษตรกรไทย และประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์การคลังสินค้า(อคส.) องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อ.ต.ก.) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรกรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มาประชุมหารือเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57
โดยเบื้องต้นกำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าที่ตันละ 13,500 บาท ณ ความชื้น 15% โดยพิจารณาจากต้นทุนผลิตของชาวนาประมาณตันละ 8,000-9,000 บาท วงเงินรับจำนำไม่เกิน 400,000 บาท/ราย โดยขอให้ใช้ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยรายจังหวัดที่ใกล้เคียงกับข้อเท็จจริงตามมติคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิต.
มีรายงานว่า ประมาณต้นเดือนสิงหาคมนี้ กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน เตรียมจัดมหกรรม "ข้าวไทยไร้สารพิษ"ด้วย
อย่างไรก็ดี ขอตั้งข้อสังเกตกรณีน.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ที่ไม่ยอมเปิดเผยแหล่งที่มาของการตรวจสอบว่าคือที่ใด มูลนิธิฯเป็นอง์กรเอกชนที่ใช้เงินสนับสนุนจากในและต่างประเทศ เมื่อเกิดกรณีตรวจสอบเรื่องข้าวบอกว่ามีการใช้เงินถึง 7 แสนบาทในการตรวจสอบเรื่องนี้ ตนอยากให้มีการเปิดเผยรายละเอียดในการใช้เงินตรวจสอบ การไม่บอกถึงแลปที่ตรวจแต่อ้างว่าเปิดเผยแล้วจะมีผลกระทบกับแลปที่ตรวจ และไม่เปิดเผยแหล่งเงิน เรื่องนี้อาจมีนัยยะทางการเมือง ขณะที่ฝ่ายค้านพยายามเอาเรื่องนี้มาล้มรัฐบาล เรื่องเหล่านี้ประชาชนเฝ้าดูและอยากให้เปิดเผยความชัดเจน
"ถ้ามีคนออกมามาโหนกระแสโจมตีเรื่องนี้กันแล้วเกิดความเสียหายกับข้าวไทยแล้วคุณสารีจะรับผิดชอบไหมครับ ผมไม่อยากให้เหมือนกรณีผู้บริหารทีวีบูรพา แต่อยากให้มีความโปร่งใส" นายพร้อมพงศ์ กล่าว
ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงกรณีที่จะมีการปรับลดราคารับจำนำข้าวลงเหลือตันละ 13,500 บาทว่า พรรคประชาธิปัตย์ ไม่เห็นด้วย เพราะรัฐบาลมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ได้หาเสียงไว้ เนื่องจากคนอีสาน หรือประชาชน เลือกพรรคเพื่อไทยเข้ามาเป็นรัฐบาล ก็เพราะป้ายหาเสียงโครงการรับจำนำข้าว 15,000 บาททุกเมล็ด สิ่งเหล่านี้ถือเป็นสัจจะที่นักการเมืองให้กับประชาชน การหาข้ออ้างไม่รับผิดชอบต่อนโยบายที่ให้ไว้กับประชาชน จะกลายเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้กับพรรคการเมือง
ดังนั้นขอเรียกร้องให้รัฐบาลกลับไปรับจำนำข้าว ในราคาที่ตันละ 15,000 บาทตลอดอายุการทำงานของรัฐบาล และรัฐบาลต้องปิดช่องการทุจริต และผิดช่องทางการหากินอื่นๆ เพราะในรายงานของคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ระบุว่า ในปี 54/55 มีข้าวเปลือกเข้าโครงการจำนำข้าวทั้งหมด 21.68 ล้านตัน หรือเฉลี่ยประมาณ 22 ล้านตัน หากรับจำนำที่ 15,000 บาท และขายในราคาตลาดที่ 11,000 บาท เท่ากับว่า จะทำให้รัฐขาดทุน 8.8 หมื่นล้านบาท แต่ปรากฏรายงานน.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง และประธานคณะกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว ระบุชัดว่า รัฐขาดทุนจำนำข้าว ในปี 54/55 ประมาณ 1.3 แสนล้านบาท จึงอยากถามว่า เงินอีก 5 หมื่นล้านบาท หายไปไหน นี่จึงเป็นปัญหาที่นายกฯ ต้องแก้ไขโครงสร้างจำนำข้าวที่เอื้อต่อการทุจริต ไม่ใช่โยนภาระให้ชาวนาเช่นนี้
มีรายงานว่า นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) เตรียมประชุมหารือกับชาวนาอีกครั้งในวันที่ 29 กรกฎาคม 2556 และในสัปดาห์หน้ากรมการค้าภายในจะได้มีการเชิญโรงสีมาหารือเพื่อพิจารณาปรับลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการเช่นกัน รวมทั้งจะมีการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้งเพื่อให้ได้ข้อยุติก่อนนำเสนอ กขช. พิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ภายหลังจากเชิญตัวแทนชาวนา ได้แก่ นายกสมาคมชาวนาไทย สมาคมส่งเสริมชาวนาไทย สมาคมชาวนาไทยและเกษตรกรไทย และประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์การคลังสินค้า(อคส.) องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อ.ต.ก.) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรกรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มาประชุมหารือเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57
โดยเบื้องต้นกำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าที่ตันละ 13,500 บาท ณ ความชื้น 15% โดยพิจารณาจากต้นทุนผลิตของชาวนาประมาณตันละ 8,000-9,000 บาท วงเงินรับจำนำไม่เกิน 400,000 บาท/ราย โดยขอให้ใช้ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยรายจังหวัดที่ใกล้เคียงกับข้อเท็จจริงตามมติคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิต.
มีรายงานว่า ประมาณต้นเดือนสิงหาคมนี้ กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน เตรียมจัดมหกรรม "ข้าวไทยไร้สารพิษ"ด้วย