1. คำนำ
นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2556 เป็นต้นไป รัฐบาลนี้จะขึ้นราคาก๊าซหุงต้มหรือก๊าซแอลพีจีสำหรับภาคครัวเรือนในอัตราเดือนละประมาณ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม ติดต่อกัน 12 เดือน เมื่อถึงวันนั้นราคาก๊าซจะเพิ่มขึ้นอีกกิโลกรัมละ 6.69 บาท
ในวันนี้ราคาก๊าซหุงต้ม (เฉพาะภาคครัวเรือน) ที่หน้าโรงกลั่นอยู่ที่กิโลกรัมละ 18.13 บาท ก็จะถูกขยับไปอยู่ที่ 24.82 บาทในอีก 12 เดือน หรือเพิ่มขึ้น 37% ถ้าเป็นถังละ 15 กิโลกรัมก็เพิ่มขึ้นอีกถังละ 100.35 บาท
ถ้าใช้ข้อมูลในปี 2555 เป็นหลัก พบว่าภาคครัวเรือนใช้ก๊าซหุงต้มรวมกัน 3,047 ล้านกิโลกรัม (หรือ 3.0 ล้านตัน) คิดเป็นมูลค่า 5.5 หมื่นล้านบาท ก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 7.6 หมื่นล้านบาท
ถ้าคิดว่าจำนวนประชากรในประเทศไทยมี 68 ล้านคน ก็จะได้ว่าภาระค่าใช้จ่ายเรื่องก๊าซหุงต้มจะเพิ่มขึ้นจากเฉลี่ยคนละ 809 บาทเป็น 1,117 บาท หรือเพิ่มขึ้นคนละประมาณ 300 บาทต่อปี ครอบครัวใดมีกี่คนก็คูณกันเอาเองนะครับ
ในขณะที่ตอนหาเสียงเลือกตั้งปี 2554 พรรคเพื่อไทยโดยนายกฯ ท่านนี้บอกว่า “จะกระชากค่าครองชีพลงมา” แต่สิ่งที่รัฐบาลนี้กำลังกระทำมันกลับตรงกันข้ามกับที่เคยพูดไว้ และเป็นที่เชื่อขนมกินได้เลยว่า เมื่อก๊าซขึ้นราคาแม้เพียง 6.69 บาทต่อกิโลกรัม แต่ราคาอาหารสำเร็จรูปจะต้องขึ้นราคาในอัตราที่มากกว่าไปหลายเท่าตัวอย่างแน่นอน
2. เหตุผลของรัฐบาล
การขึ้นราคาก๊าซหุงต้มครั้งนี้รัฐบาลอ้างเหตุผลแต่เพียงสั้นๆ ว่า “เพื่อให้สะท้อนต้นทุนโรงแยกก๊าซธรรมชาติที่ 24.82 บาท/กก” (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 16 ก.ค.56) ผมขอยังไม่แสดงความเห็นในเหตุผลดังกล่าวก่อนนะครับ แต่จะค่อยๆ ทำความเข้าใจกับท่านผู้อ่านเป็นลำดับ ดังนี้
3. ข้อสงสัย 4 ประการ
ข้อสงสัยประการที่หนึ่ง ทั้งๆ ที่กระทรวงพลังงาน (โดยสำนักนโยบายและแผนพลังงาน-สนพ. www.eppo.go.th) ได้จำแนกกลุ่มผู้ใช้ก๊าซแอลพีจี (หรือก๊าซหุงต้ม) ออกเป็น 4 กลุ่มคือ ภาคครัวเรือน (cooking) ภาคขนส่ง (automobile) ภาคอุตสาหกรรม (industry) และภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี (feedstock) แต่ทำไม การประกาศราคาของ สนพ. จึงไม่มีราคาสำหรับภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
เพื่อความชัดเจน ผมได้นำรายการราคาสำหรับวันล่าสุดมาแสดง (โดยตัดบางรายการที่ไม่ค่อยสำคัญออกไป)ในที่นี้ด้วย
ข้อสงสัยประการที่สอง ถ้าจะเหมารวมว่า ราคาของภาคอุตสาหกรรมนั้นได้รวมภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเอาไว้ด้วยแล้วนั้น ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะคุณพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีพลังงานได้ตอบกระทู้ของคุณรสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพฯ (28 พ.ย. 55) ว่า “ในอดีตราคา 16.20 บาทต่อกิโลกรัม” ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าภาคครัวเรือนเกือบ 2 บาทต่อกิโลกรัม
นั่นหมายความว่า ราคาของภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้ถูกแยกออกมาต่างหากแล้ว แต่ทำไม สนพ.จึงไม่แสดงราคาให้ชัดเจนและตรงไปตรงมา
ข้อสงสัยของผมในตอนนี้ก็คือ ทำไมกระทรวงพลังงานจึงได้ยอมให้มีการขายให้ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในราคาที่ต่ำกว่าภาคครัวเรือน ซึ่งถือว่าเป็นประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรปิโตรเลียม
ข้อสงสัยของผมดังกล่าวได้เพิ่มมากขึ้น เมื่อ สนพ.ได้ออกเอกสารเรื่อง “ความจริงวันนี้ของ LPG” (สามารถค้นหาได้จากเว็บไซต์ของสำนักงาน -ผมตัดบางส่วนมาให้ดูด้วย)
พบว่า ราคาหน้าโรงกลั่นของแอลพีจีสำหรับภาคปิโตรเคมีมีราคาแพงกว่าภาคอื่นๆ คือ เท่ากับ 22.30 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ภาคอื่นๆ ทั้ง 3 ภาคเท่ากับ 10.2609 บาทเท่านั้น
และเมื่อรวมภาษีและค่าอื่นๆ ทุกอย่างแล้วพบว่า ราคาภาคปิโตรเคมีเท่ากับ 24.93 บาทต่อกิโลกรัม แต่ก็ยังถูกกว่าภาคอุตสาหกรรม (ดูเอกสารแนบ) ซึ่งในจำนวนนี้เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เช่น โรงเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
ข้อสงสัยของผมตอนนี้มี 2 ประการ คือ (1) ตกลงภาคปิโตรเคมีซื้อเท่าใดกันแน่ รัฐมนตรีตอบในสภาอย่างหนึ่ง (มีคลิปด้วย) แต่เอกสารของ สนพ.เป็นอีกอย่างหนึ่ง และ (2) ทำไมภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งมีอำนาจคับบ้านคับเมืองจึงยอมซื้อแพงกว่าภาคขนส่งซึ่งอ่อนแอกว่า
งงไหมครับ?
ถ้าว่ากันตามหลักตรรกศาสตร์ ก็พอจะสรุปในเบื้องต้นว่า ต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้ข้อมูลเท็จต่อสังคม และผมจะสรุปในตอนท้ายว่า มีความเป็นไปได้ที่ทั้งสองฝ่าย คือทั้งรัฐมนตรีและสนพ.ได้ให้ข้อมูลเท็จทั้งสองฝ่าย
ข้อสงสัยประการที่สาม ประเทศไทยเคยเป็นประเทศส่งออกก๊าซแอลพีจีนานติดต่อกันกว่า 10 ปี คือจากปี 2537 ถึงปี 2550 โดยมียอดส่งออกสูงสุดถึงเกือบ 1 ล้านตันต่อปี แต่จู่ๆ ทำไมจึงมีการนำเข้าติดต่อกันมาถึง 5 ปีล่าสุด โดยมียอดนำเข้าสูงสุดกว่า 1.7 ล้านตัน (ดูกราฟประกอบ)
จากข้อมูลของ สนพ. เช่นเดียวกันพบว่า ในปี 2550 ในขณะที่ประเทศไทยมีการใช้ในภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอยู่ที่ 0.968 ล้านตันนั้น เรายังมีการส่งออกถึง 0.278 ล้านตัน
แต่ในช่วงปี 2550 ถึง 2554 ในขณะที่ภาคครัวเรือนที่การใช้เพิ่มขึ้นจาก 1.884 ล้านตันเป็น 2.658 ล้านตัน (หรือ 41%) แต่ภาคปิโตรเคมีเพิ่มขึ้นจาก 0.968 ล้านตัน เป็น 2.466 ล้านตัน (หรือเพิ่มขึ้นถึง 155%) โดยที่ได้มีการนำเข้าเป็นครั้งแรกในปี 2554 จำนวน 1.437 ล้านตัน
ประเด็นคำถามที่คนในสังคมนี้ต้องช่วยกันตอบ 2 คำถาม ก็คือ
(1) เมื่อเกิดสภาพขาดแคลน รัฐบาลซึ่งมีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศควรจะมีการจัดการอย่างไรจึงจะเป็นธรรม คงไม่ใช่ปล่อยไปตามยถากรรมหรือให้แย่งกันใช้
(2) การผลิตก๊าซแอลพีจีมาจาก 2 ส่วนคือ หนึ่ง โรงแยกก๊าซธรรมชาติซึ่งทั้งหมดใช้ทรัพยากรดั้งเดิมของประเทศไทย และ สอง จากโรงกลั่นน้ำมัน (ซึ่งประมาณ 22% ของน้ำมันดิบมาจากประเทศไทยเราเอง อีก 78% เป็นการนำเข้า) จากตารางปริมาณการจัดหาข้างต้นพบว่า ในปี 2555 โรงแยกก๊าซผลิตได้ 67% ของการผลิตทั้งหมด
จากข้อมูลดังกล่าวเราสามารถคำนวณได้ว่าประมาณร้อยละ 75 ของก๊าซแอลพีจีที่ผลิตในประเทศไทยนั้นมาจากทรัพยากรธรรมชาติของคนไทยซึ่งบรรพบุรุษของเราร่วมรักษากันมา
คำถามย้ำอีกครั้งก็คือ รัฐบาลควรจะจัดการกับปัญหาการขาดแอลพีจีอย่างไร
ข้อสงสัยประการที่สี่ ในขณะที่เรากำลังสงสัยในประการที่สามว่ารัฐบาลควรจะจัดการอย่างไรจึงจะเป็นธรรม ปรากฏว่าทางบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้จัดการกับปัญหาดังกล่าวเรียบร้อยโรงเรียน ปตท.ไปแล้ว
คือ ปตท. ได้สร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 (ซึ่งเป็นโรงแยกก๊าซที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เริ่มสร้างในปี 2548 เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปี 2554) วัตถุประสงค์ของโรงแยกก๊าซนี้เขียนไว้ชัดเจนว่า “เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศเป็นหลัก พร้อมทั้งผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) รองรับความต้องการใช้ภายในประเทศ ซึ่งจะเป็นการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับก๊าซธรรมชาติที่จัดหาได้จากอ่าวไทย และเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด”
นั่นหมายความว่า บริษัท ปตท.ได้นำก๊าซแอลพีจีไปป้อนให้กับโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งเป็นบริษัทลูกของตนเองก่อนแล้ว โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 3-40 เท่าตัว (ตามเอกสารของ ปตท. เพื่อชี้แจงต่ออนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา เมื่อ 6 ก.พ. 56)
ผู้บริหารของ ปตท.อ้างว่า การนำก๊าซแอลพีจี (ซึ่งก่อนหน้านี้เขาบอกสังคมว่าให้เรียกก๊าซหุงต้ม แต่เมื่อเขาต้องการนำไปทำอย่างอื่นเขาก็เปลี่ยนชื่อเฉยเลย) ไปเป็นเชื้อเพลิงนั้น ก็เหมือนเอาไม้สักมาทำฟืน ทำให้เสียของ ไม้สักควรจะเอาไปทำเฟอร์นิเจอร์ ทำนองเดียวกันก๊าซแอลพีจีควรจะนำไปทำอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งได้แก่ เม็ดพลาสติก ชิ้นส่วนรถยนต์ เส้นใยสังเคราะห์จะได้มูลค่ามากกว่า 3-40 เท่าตัว
โดยแกล้งลืมประเด็นที่ว่า ทรัพยากรปิโตรเลียมที่อยู่ใต้ดินใต้ทะเลนั้นเป็นของประชาชนทั้งชาติและกำลังต้องการใช้ แต่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีหรือ ปตท.นั้นเป็นของรัฐเพียง 51% เท่านั้น
1. เสียงร้องของประชาชนผู้อ่อนแอ
เนื่องจากราคาก๊าซแอลพีจีที่ผลิตในประเทศไทยมีราคาถูกกว่าที่นำเข้าจากต่างประเทศ (รัฐบาลอ้างอย่างนั้น แต่ก็ไม่มีตัวเลขชัดเจน) ภาคประชาชนจึงได้เสนอต่อรัฐบาลว่า ขอให้รัฐบาลขายให้ประชาชนได้ใช้ก๊าซที่ผลิตจากวัตถุดิบที่มาจากทรัพยากรของประเทศก่อน ส่วนที่เหลือก็ให้ภาคปิโตรเคมีใช้ หากยังไม่พอก็ขอให้ภาคปิโตรเคมีเป็นผู้นำเข้าในราคาตลาดโลกเอง
จะกลัวอะไรกับราคานำเข้าที่สูงขึ้นเพียงเล็กน้อย ในเมื่อภาคปิโตรเคมีสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ถึง 30-40 เท่าตัวหรือกำไรอื้อซ่าอยู่แล้ว
ภาคประชาชนเปรียบเปรยว่า การที่รัฐบาลยอมให้บริษัท ปตท. ซึ่งเป็นเจ้าของโรงแยกก๊าซทั้งหมด ขายก๊าซแอลพีจีให้กับบริษัทปิโตรเคมี (ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ปตท.) ก่อนนั้น ก็เหมือนกับการกินข้าวในครอบครัว พ่อ แม่ ได้ปล่อยให้ลูกคนที่แข็งแรงที่สุดเป็นผู้คดข้าวจากหม้อไปกินก่อนจนเป็นที่พอใจหรือจนอิ่มแล้ว ข้าวที่เหลือจึงอนุญาตให้ลูกคนอื่นๆ ได้ตักกิน
เมื่อครอบครัวเกิดสภาพข้าวหมดหม้อไม่พอกิน พ่อ แม่ก็ไม่สนใจมาดูแล ได้แต่บอกลูกคนที่อ่อนแอกว่าว่า “ก็ไปหาซื้อจากนอกบ้านมากินกันเองซิ” นี่คือสภาพที่เป็นจริงของบ้านเราในขณะนี้ครับ
อาจมีคำถามว่า ทำไมราคาก๊าซแอลพีจีที่ผลิตในประเทศไทยเองจึงมีราคาถูกกว่าที่นำเข้าจากต่างประเทศ คำตอบมี 3 ข้อ คือ (1) ค่าภาคหลวงและผลประโยชน์ที่รัฐได้รับต่ำ ราคาจึงถูก และ (2) มาตรการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน และ (3) ไม่ต้องเสียค่าขนส่งจากต่างประเทศ
ในเดือนพฤษภาคม 2556 ราคาแอลพีจีที่ผลิตจากแหล่งสิริกิติ์ราคากิโลกรัมละ 8.89 บาท (ค่าภาคหลวงร้อยละ 12.5 โดยที่ผลิตได้ทั้งเดือน 7,539 ตัน) แต่ราคาแอลพีจีที่หน้าโรงกลั่นในกลางเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกันเท่ากับ 9.72 บาทต่อกิโลกรัม แต่ด้วยมาตรการภาษีและการเก็บเข้ากองทุนน้ำมัน ทำให้ราคาขายปลีก (ไม่รวมค่าขนส่ง)ในภาคครัวเรือน ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรมเป็น 18.13, 21.38 และ 28.07 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ (แต่ไม่ทราบภาคปิโตรเคมี)
ในกระบวนการผลิตก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย แม้ว่ามีหลายบริษัทได้รับสัมปทานไป แต่เมื่อก๊าซขึ้นมาแล้วต้องขายให้กับบริษัท ปตท.เท่านั้น (เพราะผูกขาดระบบท่อก๊าซ) หลังจากนั้นก๊าซก็จะถูกส่งไปโรงแยกก๊าซ (ซึ่งทั้งหมดเป็นของ ปตท.)
ดังนั้น ปตท.จึงมีอำนาจที่จะนำก๊าซแอลพีจี (ซึ่งได้จากโรงแยก) ไปขายให้ใคร ในราคาเท่าใดก็ได้ แต่ถ้าจะขายในราคาขาดทุนได้หรือไม่ ผมคิดว่าไม่น่าจะได้นะ มันคงมีกฎหมายดีๆ อยู่บ้างนะ!
2. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง : ความจริงที่รัฐบาลไม่กล้าบอกประชาชน
ถ้าถามว่าสิ่งที่ทาง ปตท.ทำอยู่คือขายก๊าซแอลพีจีให้บริษัทลูกของตนเองแล้วผลักภาระให้ประชาชนไปใช้ก๊าซนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพงกว่านั้น เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือไม่ เท่าที่ผมทราบ โดยอาศัยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม 2514 ผมว่าไม่ผิดนะครับ
กฎหมายระบุว่า ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ (“มาตรา 23 ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ผู้ใดสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมในที่ใดไม่ว่าที่นั้นเป็นของตนเองหรือของบุคคลอื่น ต้องได้รับสัมปทาน”) แต่เมื่อผู้รับสัมปทานขุดขึ้นมาแล้วการจะขายให้กับใครเป็นเรื่องของบริษัท (มาตรา 56 ภายใต้บังคับหมวดนี้ ผู้รับสัมปทานมีสิทธิขายและจำหน่ายปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานผลิตได้)
ดังนั้น ใครมีน้ำมันหรือปิโตรเลียมอยู่ใต้ที่ดินของตนเองก็ไม่มีสิทธิ์ ต้องถือว่าเป็นของรัฐ (ซึ่งรัฐบาลใช้อำนาจดูแล) แต่เมื่อขุดขึ้นมาแล้วผลผลิตเป็นของเอกชนที่ได้รับสัมปทาน
ในขณะที่กฎหมายของสหรัฐอเมริกาถือว่า ถ้าอยู่ในที่ดินของเอกชนก็เป็นของเอกชน แต่ประเทศอินโดนีเซียถือว่า ผลผลิตปิโตรเลียมที่ขุดขึ้นมาได้ก็ยังคงตกเป็นของรัฐ รัฐบาลมีสิทธิ์ทั้งในแง่ของการกำหนดราคา การขายหรือไม่ขายให้ใคร รวมทั้งนโยบายการผลิตว่าช่วงไหนควรผลิตน้อยหรือผลิตมาก
เท่าที่ผมฟังจาก หม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ เกษมศรี ทราบว่ารัฐบาลอินโดนีเซียได้ส่วนแบ่งถึง 85% แต่ประเทศไทยเราได้ส่วนแบ่งน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับทุกประเทศในเอเชีย
นอกจากรัฐบาลจะได้รับผลประโยชน์น้อยแล้ว ยังไม่มีอำนาจใดๆ ทั้งในเรื่องจะขายหรือไม่ขายให้ใคร ทั้งหมดอยู่ในกำมือของบริษัทรับสัมปทานแต่ผู้เดียว ดังที่ บริษัท ปตท. มหาชน (จำกัด) กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันนี้
ถ้าผมเป็น บริษัท ปตท. ผมจะตะโกนดังๆ ว่า
“ไอ้คนไทยหน้าโง่ พวกเอ็งยังไม่รู้ตัวอีกหรือว่า ก๊าซแอลพีจีที่ผลิตจากทรัพยากรของชาติทั้งหมดนั้นเป็นของข้าฯ แต่ผู้เดียว ข้าฯ เป็นเจ้าของโรงแยกก๊าซทุกโรงในแผ่นดินนี้ และเป็นเจ้าของโรงกลั่นน้ำมันถึงไม่ 100% ก็เกือบๆ ข้าฯ ควบคุมได้ทั้งหมด อย่างถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ ข้าฯ จะขายให้ใครหรือไม่ขายให้ใครเป็นเรื่องของข้าฯ ไม่ใช่เรื่องของพวกเอ็งโว้ย หุบปากเสียที รำคาญวะ”
แต่ ปตท.ไม่กล้าจะพูดอย่างที่ผมว่ามาเท่านั้นเอง เพราะเขากลัวพวกไทยเฉยจะไม่อยู่เฉย จึงได้ให้เหตุผลต่อสังคมแบบข้างๆ คูๆ
คำถามที่น่าคิดก็คือ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม 2514 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 หรือไม่ โดยเฉพาะในส่วนที่ว่าด้วย แนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาตรา 85 (4) ที่ว่า “จัดให้มีแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและทรัพยากรธรรมชาติอื่นอย่างเป็นระบบและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม …”
ผมว่าสิ่งที่ ปตท.กำลังทำอยู่นั้นมันไม่น่าจะเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมนะครับ
ในช่วง 20 ปีมานี้ คนไทยได้ถูกกระทำด้วยกระบวนการโฆษณาชวนเชื่อว่า “ก๊าซเป็นพลังงานสะอาด” จนทำให้แม้แต่ชาวเกาะที่อยู่ไกลๆ ก็ต้องทิ้งไม้ฟืนแล้วมาเสพติดก๊าซหุงต้ม เพราะรู้สึกว่า “ก้นหม้อดำนั้นไม่สะอาด”
แต่เมื่อคนไทยพากันเสพติดกันทั่วหน้าแล้ว กลับถูกบีบบังคับให้ต้องซื้อในราคาแพงอย่างไม่เป็นธรรม โดยมีรัฐบาลยืนอยู่ข้างพ่อค้าพลังงาน
3. สรุป
ทางออกของเรื่องดังกล่าวทั้งหมดอยู่ที่ประชาชนครับ หน้าที่ของผมมีเพียง 2 ประการเท่านั้นคือ (1) พูดความจริง และ (2) ชี้ให้เห็นการโกหก ก็เท่านี้เอง
สวัสดีครับ
นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2556 เป็นต้นไป รัฐบาลนี้จะขึ้นราคาก๊าซหุงต้มหรือก๊าซแอลพีจีสำหรับภาคครัวเรือนในอัตราเดือนละประมาณ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม ติดต่อกัน 12 เดือน เมื่อถึงวันนั้นราคาก๊าซจะเพิ่มขึ้นอีกกิโลกรัมละ 6.69 บาท
ในวันนี้ราคาก๊าซหุงต้ม (เฉพาะภาคครัวเรือน) ที่หน้าโรงกลั่นอยู่ที่กิโลกรัมละ 18.13 บาท ก็จะถูกขยับไปอยู่ที่ 24.82 บาทในอีก 12 เดือน หรือเพิ่มขึ้น 37% ถ้าเป็นถังละ 15 กิโลกรัมก็เพิ่มขึ้นอีกถังละ 100.35 บาท
ถ้าใช้ข้อมูลในปี 2555 เป็นหลัก พบว่าภาคครัวเรือนใช้ก๊าซหุงต้มรวมกัน 3,047 ล้านกิโลกรัม (หรือ 3.0 ล้านตัน) คิดเป็นมูลค่า 5.5 หมื่นล้านบาท ก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 7.6 หมื่นล้านบาท
ถ้าคิดว่าจำนวนประชากรในประเทศไทยมี 68 ล้านคน ก็จะได้ว่าภาระค่าใช้จ่ายเรื่องก๊าซหุงต้มจะเพิ่มขึ้นจากเฉลี่ยคนละ 809 บาทเป็น 1,117 บาท หรือเพิ่มขึ้นคนละประมาณ 300 บาทต่อปี ครอบครัวใดมีกี่คนก็คูณกันเอาเองนะครับ
ในขณะที่ตอนหาเสียงเลือกตั้งปี 2554 พรรคเพื่อไทยโดยนายกฯ ท่านนี้บอกว่า “จะกระชากค่าครองชีพลงมา” แต่สิ่งที่รัฐบาลนี้กำลังกระทำมันกลับตรงกันข้ามกับที่เคยพูดไว้ และเป็นที่เชื่อขนมกินได้เลยว่า เมื่อก๊าซขึ้นราคาแม้เพียง 6.69 บาทต่อกิโลกรัม แต่ราคาอาหารสำเร็จรูปจะต้องขึ้นราคาในอัตราที่มากกว่าไปหลายเท่าตัวอย่างแน่นอน
2. เหตุผลของรัฐบาล
การขึ้นราคาก๊าซหุงต้มครั้งนี้รัฐบาลอ้างเหตุผลแต่เพียงสั้นๆ ว่า “เพื่อให้สะท้อนต้นทุนโรงแยกก๊าซธรรมชาติที่ 24.82 บาท/กก” (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 16 ก.ค.56) ผมขอยังไม่แสดงความเห็นในเหตุผลดังกล่าวก่อนนะครับ แต่จะค่อยๆ ทำความเข้าใจกับท่านผู้อ่านเป็นลำดับ ดังนี้
3. ข้อสงสัย 4 ประการ
ข้อสงสัยประการที่หนึ่ง ทั้งๆ ที่กระทรวงพลังงาน (โดยสำนักนโยบายและแผนพลังงาน-สนพ. www.eppo.go.th) ได้จำแนกกลุ่มผู้ใช้ก๊าซแอลพีจี (หรือก๊าซหุงต้ม) ออกเป็น 4 กลุ่มคือ ภาคครัวเรือน (cooking) ภาคขนส่ง (automobile) ภาคอุตสาหกรรม (industry) และภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี (feedstock) แต่ทำไม การประกาศราคาของ สนพ. จึงไม่มีราคาสำหรับภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
เพื่อความชัดเจน ผมได้นำรายการราคาสำหรับวันล่าสุดมาแสดง (โดยตัดบางรายการที่ไม่ค่อยสำคัญออกไป)ในที่นี้ด้วย
ข้อสงสัยประการที่สอง ถ้าจะเหมารวมว่า ราคาของภาคอุตสาหกรรมนั้นได้รวมภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเอาไว้ด้วยแล้วนั้น ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะคุณพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีพลังงานได้ตอบกระทู้ของคุณรสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพฯ (28 พ.ย. 55) ว่า “ในอดีตราคา 16.20 บาทต่อกิโลกรัม” ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าภาคครัวเรือนเกือบ 2 บาทต่อกิโลกรัม
นั่นหมายความว่า ราคาของภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้ถูกแยกออกมาต่างหากแล้ว แต่ทำไม สนพ.จึงไม่แสดงราคาให้ชัดเจนและตรงไปตรงมา
ข้อสงสัยของผมในตอนนี้ก็คือ ทำไมกระทรวงพลังงานจึงได้ยอมให้มีการขายให้ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในราคาที่ต่ำกว่าภาคครัวเรือน ซึ่งถือว่าเป็นประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรปิโตรเลียม
ข้อสงสัยของผมดังกล่าวได้เพิ่มมากขึ้น เมื่อ สนพ.ได้ออกเอกสารเรื่อง “ความจริงวันนี้ของ LPG” (สามารถค้นหาได้จากเว็บไซต์ของสำนักงาน -ผมตัดบางส่วนมาให้ดูด้วย)
พบว่า ราคาหน้าโรงกลั่นของแอลพีจีสำหรับภาคปิโตรเคมีมีราคาแพงกว่าภาคอื่นๆ คือ เท่ากับ 22.30 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ภาคอื่นๆ ทั้ง 3 ภาคเท่ากับ 10.2609 บาทเท่านั้น
และเมื่อรวมภาษีและค่าอื่นๆ ทุกอย่างแล้วพบว่า ราคาภาคปิโตรเคมีเท่ากับ 24.93 บาทต่อกิโลกรัม แต่ก็ยังถูกกว่าภาคอุตสาหกรรม (ดูเอกสารแนบ) ซึ่งในจำนวนนี้เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เช่น โรงเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
ข้อสงสัยของผมตอนนี้มี 2 ประการ คือ (1) ตกลงภาคปิโตรเคมีซื้อเท่าใดกันแน่ รัฐมนตรีตอบในสภาอย่างหนึ่ง (มีคลิปด้วย) แต่เอกสารของ สนพ.เป็นอีกอย่างหนึ่ง และ (2) ทำไมภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งมีอำนาจคับบ้านคับเมืองจึงยอมซื้อแพงกว่าภาคขนส่งซึ่งอ่อนแอกว่า
งงไหมครับ?
ถ้าว่ากันตามหลักตรรกศาสตร์ ก็พอจะสรุปในเบื้องต้นว่า ต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้ข้อมูลเท็จต่อสังคม และผมจะสรุปในตอนท้ายว่า มีความเป็นไปได้ที่ทั้งสองฝ่าย คือทั้งรัฐมนตรีและสนพ.ได้ให้ข้อมูลเท็จทั้งสองฝ่าย
ข้อสงสัยประการที่สาม ประเทศไทยเคยเป็นประเทศส่งออกก๊าซแอลพีจีนานติดต่อกันกว่า 10 ปี คือจากปี 2537 ถึงปี 2550 โดยมียอดส่งออกสูงสุดถึงเกือบ 1 ล้านตันต่อปี แต่จู่ๆ ทำไมจึงมีการนำเข้าติดต่อกันมาถึง 5 ปีล่าสุด โดยมียอดนำเข้าสูงสุดกว่า 1.7 ล้านตัน (ดูกราฟประกอบ)
จากข้อมูลของ สนพ. เช่นเดียวกันพบว่า ในปี 2550 ในขณะที่ประเทศไทยมีการใช้ในภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอยู่ที่ 0.968 ล้านตันนั้น เรายังมีการส่งออกถึง 0.278 ล้านตัน
แต่ในช่วงปี 2550 ถึง 2554 ในขณะที่ภาคครัวเรือนที่การใช้เพิ่มขึ้นจาก 1.884 ล้านตันเป็น 2.658 ล้านตัน (หรือ 41%) แต่ภาคปิโตรเคมีเพิ่มขึ้นจาก 0.968 ล้านตัน เป็น 2.466 ล้านตัน (หรือเพิ่มขึ้นถึง 155%) โดยที่ได้มีการนำเข้าเป็นครั้งแรกในปี 2554 จำนวน 1.437 ล้านตัน
ประเด็นคำถามที่คนในสังคมนี้ต้องช่วยกันตอบ 2 คำถาม ก็คือ
(1) เมื่อเกิดสภาพขาดแคลน รัฐบาลซึ่งมีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศควรจะมีการจัดการอย่างไรจึงจะเป็นธรรม คงไม่ใช่ปล่อยไปตามยถากรรมหรือให้แย่งกันใช้
(2) การผลิตก๊าซแอลพีจีมาจาก 2 ส่วนคือ หนึ่ง โรงแยกก๊าซธรรมชาติซึ่งทั้งหมดใช้ทรัพยากรดั้งเดิมของประเทศไทย และ สอง จากโรงกลั่นน้ำมัน (ซึ่งประมาณ 22% ของน้ำมันดิบมาจากประเทศไทยเราเอง อีก 78% เป็นการนำเข้า) จากตารางปริมาณการจัดหาข้างต้นพบว่า ในปี 2555 โรงแยกก๊าซผลิตได้ 67% ของการผลิตทั้งหมด
จากข้อมูลดังกล่าวเราสามารถคำนวณได้ว่าประมาณร้อยละ 75 ของก๊าซแอลพีจีที่ผลิตในประเทศไทยนั้นมาจากทรัพยากรธรรมชาติของคนไทยซึ่งบรรพบุรุษของเราร่วมรักษากันมา
คำถามย้ำอีกครั้งก็คือ รัฐบาลควรจะจัดการกับปัญหาการขาดแอลพีจีอย่างไร
ข้อสงสัยประการที่สี่ ในขณะที่เรากำลังสงสัยในประการที่สามว่ารัฐบาลควรจะจัดการอย่างไรจึงจะเป็นธรรม ปรากฏว่าทางบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้จัดการกับปัญหาดังกล่าวเรียบร้อยโรงเรียน ปตท.ไปแล้ว
คือ ปตท. ได้สร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 (ซึ่งเป็นโรงแยกก๊าซที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เริ่มสร้างในปี 2548 เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปี 2554) วัตถุประสงค์ของโรงแยกก๊าซนี้เขียนไว้ชัดเจนว่า “เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศเป็นหลัก พร้อมทั้งผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) รองรับความต้องการใช้ภายในประเทศ ซึ่งจะเป็นการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับก๊าซธรรมชาติที่จัดหาได้จากอ่าวไทย และเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด”
นั่นหมายความว่า บริษัท ปตท.ได้นำก๊าซแอลพีจีไปป้อนให้กับโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งเป็นบริษัทลูกของตนเองก่อนแล้ว โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 3-40 เท่าตัว (ตามเอกสารของ ปตท. เพื่อชี้แจงต่ออนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา เมื่อ 6 ก.พ. 56)
ผู้บริหารของ ปตท.อ้างว่า การนำก๊าซแอลพีจี (ซึ่งก่อนหน้านี้เขาบอกสังคมว่าให้เรียกก๊าซหุงต้ม แต่เมื่อเขาต้องการนำไปทำอย่างอื่นเขาก็เปลี่ยนชื่อเฉยเลย) ไปเป็นเชื้อเพลิงนั้น ก็เหมือนเอาไม้สักมาทำฟืน ทำให้เสียของ ไม้สักควรจะเอาไปทำเฟอร์นิเจอร์ ทำนองเดียวกันก๊าซแอลพีจีควรจะนำไปทำอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งได้แก่ เม็ดพลาสติก ชิ้นส่วนรถยนต์ เส้นใยสังเคราะห์จะได้มูลค่ามากกว่า 3-40 เท่าตัว
โดยแกล้งลืมประเด็นที่ว่า ทรัพยากรปิโตรเลียมที่อยู่ใต้ดินใต้ทะเลนั้นเป็นของประชาชนทั้งชาติและกำลังต้องการใช้ แต่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีหรือ ปตท.นั้นเป็นของรัฐเพียง 51% เท่านั้น
1. เสียงร้องของประชาชนผู้อ่อนแอ
เนื่องจากราคาก๊าซแอลพีจีที่ผลิตในประเทศไทยมีราคาถูกกว่าที่นำเข้าจากต่างประเทศ (รัฐบาลอ้างอย่างนั้น แต่ก็ไม่มีตัวเลขชัดเจน) ภาคประชาชนจึงได้เสนอต่อรัฐบาลว่า ขอให้รัฐบาลขายให้ประชาชนได้ใช้ก๊าซที่ผลิตจากวัตถุดิบที่มาจากทรัพยากรของประเทศก่อน ส่วนที่เหลือก็ให้ภาคปิโตรเคมีใช้ หากยังไม่พอก็ขอให้ภาคปิโตรเคมีเป็นผู้นำเข้าในราคาตลาดโลกเอง
จะกลัวอะไรกับราคานำเข้าที่สูงขึ้นเพียงเล็กน้อย ในเมื่อภาคปิโตรเคมีสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ถึง 30-40 เท่าตัวหรือกำไรอื้อซ่าอยู่แล้ว
ภาคประชาชนเปรียบเปรยว่า การที่รัฐบาลยอมให้บริษัท ปตท. ซึ่งเป็นเจ้าของโรงแยกก๊าซทั้งหมด ขายก๊าซแอลพีจีให้กับบริษัทปิโตรเคมี (ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ปตท.) ก่อนนั้น ก็เหมือนกับการกินข้าวในครอบครัว พ่อ แม่ ได้ปล่อยให้ลูกคนที่แข็งแรงที่สุดเป็นผู้คดข้าวจากหม้อไปกินก่อนจนเป็นที่พอใจหรือจนอิ่มแล้ว ข้าวที่เหลือจึงอนุญาตให้ลูกคนอื่นๆ ได้ตักกิน
เมื่อครอบครัวเกิดสภาพข้าวหมดหม้อไม่พอกิน พ่อ แม่ก็ไม่สนใจมาดูแล ได้แต่บอกลูกคนที่อ่อนแอกว่าว่า “ก็ไปหาซื้อจากนอกบ้านมากินกันเองซิ” นี่คือสภาพที่เป็นจริงของบ้านเราในขณะนี้ครับ
อาจมีคำถามว่า ทำไมราคาก๊าซแอลพีจีที่ผลิตในประเทศไทยเองจึงมีราคาถูกกว่าที่นำเข้าจากต่างประเทศ คำตอบมี 3 ข้อ คือ (1) ค่าภาคหลวงและผลประโยชน์ที่รัฐได้รับต่ำ ราคาจึงถูก และ (2) มาตรการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน และ (3) ไม่ต้องเสียค่าขนส่งจากต่างประเทศ
ในเดือนพฤษภาคม 2556 ราคาแอลพีจีที่ผลิตจากแหล่งสิริกิติ์ราคากิโลกรัมละ 8.89 บาท (ค่าภาคหลวงร้อยละ 12.5 โดยที่ผลิตได้ทั้งเดือน 7,539 ตัน) แต่ราคาแอลพีจีที่หน้าโรงกลั่นในกลางเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกันเท่ากับ 9.72 บาทต่อกิโลกรัม แต่ด้วยมาตรการภาษีและการเก็บเข้ากองทุนน้ำมัน ทำให้ราคาขายปลีก (ไม่รวมค่าขนส่ง)ในภาคครัวเรือน ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรมเป็น 18.13, 21.38 และ 28.07 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ (แต่ไม่ทราบภาคปิโตรเคมี)
ในกระบวนการผลิตก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย แม้ว่ามีหลายบริษัทได้รับสัมปทานไป แต่เมื่อก๊าซขึ้นมาแล้วต้องขายให้กับบริษัท ปตท.เท่านั้น (เพราะผูกขาดระบบท่อก๊าซ) หลังจากนั้นก๊าซก็จะถูกส่งไปโรงแยกก๊าซ (ซึ่งทั้งหมดเป็นของ ปตท.)
ดังนั้น ปตท.จึงมีอำนาจที่จะนำก๊าซแอลพีจี (ซึ่งได้จากโรงแยก) ไปขายให้ใคร ในราคาเท่าใดก็ได้ แต่ถ้าจะขายในราคาขาดทุนได้หรือไม่ ผมคิดว่าไม่น่าจะได้นะ มันคงมีกฎหมายดีๆ อยู่บ้างนะ!
2. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง : ความจริงที่รัฐบาลไม่กล้าบอกประชาชน
ถ้าถามว่าสิ่งที่ทาง ปตท.ทำอยู่คือขายก๊าซแอลพีจีให้บริษัทลูกของตนเองแล้วผลักภาระให้ประชาชนไปใช้ก๊าซนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพงกว่านั้น เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือไม่ เท่าที่ผมทราบ โดยอาศัยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม 2514 ผมว่าไม่ผิดนะครับ
กฎหมายระบุว่า ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ (“มาตรา 23 ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ผู้ใดสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมในที่ใดไม่ว่าที่นั้นเป็นของตนเองหรือของบุคคลอื่น ต้องได้รับสัมปทาน”) แต่เมื่อผู้รับสัมปทานขุดขึ้นมาแล้วการจะขายให้กับใครเป็นเรื่องของบริษัท (มาตรา 56 ภายใต้บังคับหมวดนี้ ผู้รับสัมปทานมีสิทธิขายและจำหน่ายปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานผลิตได้)
ดังนั้น ใครมีน้ำมันหรือปิโตรเลียมอยู่ใต้ที่ดินของตนเองก็ไม่มีสิทธิ์ ต้องถือว่าเป็นของรัฐ (ซึ่งรัฐบาลใช้อำนาจดูแล) แต่เมื่อขุดขึ้นมาแล้วผลผลิตเป็นของเอกชนที่ได้รับสัมปทาน
ในขณะที่กฎหมายของสหรัฐอเมริกาถือว่า ถ้าอยู่ในที่ดินของเอกชนก็เป็นของเอกชน แต่ประเทศอินโดนีเซียถือว่า ผลผลิตปิโตรเลียมที่ขุดขึ้นมาได้ก็ยังคงตกเป็นของรัฐ รัฐบาลมีสิทธิ์ทั้งในแง่ของการกำหนดราคา การขายหรือไม่ขายให้ใคร รวมทั้งนโยบายการผลิตว่าช่วงไหนควรผลิตน้อยหรือผลิตมาก
เท่าที่ผมฟังจาก หม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ เกษมศรี ทราบว่ารัฐบาลอินโดนีเซียได้ส่วนแบ่งถึง 85% แต่ประเทศไทยเราได้ส่วนแบ่งน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับทุกประเทศในเอเชีย
นอกจากรัฐบาลจะได้รับผลประโยชน์น้อยแล้ว ยังไม่มีอำนาจใดๆ ทั้งในเรื่องจะขายหรือไม่ขายให้ใคร ทั้งหมดอยู่ในกำมือของบริษัทรับสัมปทานแต่ผู้เดียว ดังที่ บริษัท ปตท. มหาชน (จำกัด) กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันนี้
ถ้าผมเป็น บริษัท ปตท. ผมจะตะโกนดังๆ ว่า
“ไอ้คนไทยหน้าโง่ พวกเอ็งยังไม่รู้ตัวอีกหรือว่า ก๊าซแอลพีจีที่ผลิตจากทรัพยากรของชาติทั้งหมดนั้นเป็นของข้าฯ แต่ผู้เดียว ข้าฯ เป็นเจ้าของโรงแยกก๊าซทุกโรงในแผ่นดินนี้ และเป็นเจ้าของโรงกลั่นน้ำมันถึงไม่ 100% ก็เกือบๆ ข้าฯ ควบคุมได้ทั้งหมด อย่างถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ ข้าฯ จะขายให้ใครหรือไม่ขายให้ใครเป็นเรื่องของข้าฯ ไม่ใช่เรื่องของพวกเอ็งโว้ย หุบปากเสียที รำคาญวะ”
แต่ ปตท.ไม่กล้าจะพูดอย่างที่ผมว่ามาเท่านั้นเอง เพราะเขากลัวพวกไทยเฉยจะไม่อยู่เฉย จึงได้ให้เหตุผลต่อสังคมแบบข้างๆ คูๆ
คำถามที่น่าคิดก็คือ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม 2514 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 หรือไม่ โดยเฉพาะในส่วนที่ว่าด้วย แนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาตรา 85 (4) ที่ว่า “จัดให้มีแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและทรัพยากรธรรมชาติอื่นอย่างเป็นระบบและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม …”
ผมว่าสิ่งที่ ปตท.กำลังทำอยู่นั้นมันไม่น่าจะเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมนะครับ
ในช่วง 20 ปีมานี้ คนไทยได้ถูกกระทำด้วยกระบวนการโฆษณาชวนเชื่อว่า “ก๊าซเป็นพลังงานสะอาด” จนทำให้แม้แต่ชาวเกาะที่อยู่ไกลๆ ก็ต้องทิ้งไม้ฟืนแล้วมาเสพติดก๊าซหุงต้ม เพราะรู้สึกว่า “ก้นหม้อดำนั้นไม่สะอาด”
แต่เมื่อคนไทยพากันเสพติดกันทั่วหน้าแล้ว กลับถูกบีบบังคับให้ต้องซื้อในราคาแพงอย่างไม่เป็นธรรม โดยมีรัฐบาลยืนอยู่ข้างพ่อค้าพลังงาน
3. สรุป
ทางออกของเรื่องดังกล่าวทั้งหมดอยู่ที่ประชาชนครับ หน้าที่ของผมมีเพียง 2 ประการเท่านั้นคือ (1) พูดความจริง และ (2) ชี้ให้เห็นการโกหก ก็เท่านี้เอง
สวัสดีครับ