พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก กล่าวถึงสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในช่วงเดือนรอมฎอน ว่า กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบยังคงมีการก่อเหตุ โดยการดำเนินการของฝ่ายตรงข้ามในขณะนี้ยังไม่สามารถวางใจได้ โดยเฉพาะยังมีกระแสข่าวว่า มีบางกลุ่มพยายามใส่ร้าย บิดเบือนป้ายความผิดให้เจ้าหน้าที่ ด้วยการสร้างกระแสข่าวว่า เหตุความรุนแรงเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ซึ่งการกระทำในลักษณะดังกล่าวเคยใช้เกือบได้ผลในอดีต แต่ปัจจุบันเป็นไปได้ยาก เพราะเจ้าหน้าที่และประชาชนส่วนใหญ่รู้เท่าทัน อีกทั้งยังมีขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องพิสูจน์
อย่างไรก็ตาม กองทัพบก ขอให้พี่น้องประชาชนมีความอดทน โดยเจ้าหน้าที่ทั้ง 3 ฝ่ายได้แก่ ทหาร ตำรวจ และภาครัฐ จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด และยืนยันว่า จะไม่ประมาท เนื่องจากที่ผ่านมายังไม่มีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่า ปฏิกิริยาการก่อเหตุจะมีขึ้นหรือลดลงอย่างไร ซึ่งเจ้าหน้าที่คงต้องเตรียมความพร้อมไปอีกกว่า 30 วัน นับจากนี้ในช่วงรอมฎอน ขอให้พี่น้องประชาชนได้ใช้วิจารณญาณ ใช้หลักเหตุและผลในการบริโภคข่าวสารที่มีความละเอียดอ่อน โดยฝ่ายตรงข้ามพยายามใช้รูปแบบการดำเนินการงานมวลชน เพื่อให้เกิดผลในด้านจิตวิทยาสื่อสารแฝงผ่านกลุ่มมวลชนหรือองค์กรต่างฯ บางองค์กร ที่ยังมีทัศนคติเชิงลบต่อเจ้าหน้าที่รัฐ นอกเหนือจากการต่อสู้ด้วยการใช้กองกำลัง
**"ประชา"ยันบึ้มใต้รายวันไม่ใช่ฝีมือBRN
เวลา 10.00 น.วานนี้ (18ก.ค.) พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยม และมอบนโยบายให้กับสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โดยเน้นย้ำเรื่องการประสานงานทางการข่าวให้เกิดความกระชับ ให้ทันต่อสถานการณ์ และให้ทำงานเชิงรุกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาการทำงานด้านการข่าวก็ไม่ได้มีปัญหา แต่ก็อยากให้มีความคล่องตัวมากกว่าที่เป็นอยู่ และในวันที่ 21 ก.ค.นี้ ตนจะเดินทางลงไปเยี่ยม และมอบนโยบายให้กับหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ส่วนเหตุก่อความไม่สงบรายวันที่ยังเกิดขึ้นต่อเนื่องในช่วงเดือนรอมฏอนนั้น จากการข่าวพบว่าเป็นฝีมือของกลุ่มก่อกวนธรรมดา ที่ไม่ต้องการเห็นการพูดคุยเพื่อสันติภาพเกิดขึ้น และเหตุที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนรอมฏอน จากการประสานงานพบว่า ยังไม่มีการก่อเหตุที่มาจากฝีมือของกลุ่มบีอาร์เอ็น อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ยังคงต้องใช้การเจรจาพูดคุยกันเป็นหลัก ทั้งนี้หลังเดือนรอมฏอนเสร็จสิ้น จะมีการพูดคุยเรื่องข้อเสนอการลดความรุนแรงระหว่างไทย กับบีอาร์เอ็นใหม่อีกครั้ง
** "พีรยศ"ชี้เป็นฝีมือแนวร่วมกลุ่มใหม่
ด้านนายพีรยศ ราฮิมมูลา ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ช่วงเดือนรอมฎอน ทั้งๆ ที่มีการตกลงยุติความรุนแรงในห้วงเวลานี้ ว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าในพื้นที่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มิได้มีเพียงแค่แนวร่วมที่ปฏิบัติการภายใต้คำสั่งการของกลุ่มบีอาร์เอ็นเท่านั้น แต่วันนี้ยังมีหน่วยจรยุทธ์ ซึ่งเคลื่อนไหวสร้างเหตุการณ์อีกหลายกลุ่ม จากหลายขบวนการ โดยเฉพาะกลุ่มแนวร่วม หรือขบวนการอื่นที่ไม่ยอมรับกับแนวทางของ บีอาร์เอ็น โดยเฉพาะความรู้สึกของขบวรการอื่นที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่มีการลงนามความร่วมมือยุติความรุนแรง จนมาถึงการพูดคุยสันติภาพทั้ง 3 ครั้ง บ่งชี้ว่ารัฐให้ความสำคัญกับกลุ่มบีอาร์เอ็น เพียงกลุ่มเดียวมากจนแทบจะไม่ให้ความสนใจกลุ่มอื่น ทั้งที่การเคลื่อนไหวต่อสู้ตามอดุมการณ์ของคนเหล่านี้ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ล้วนมีเป้าหมายที่ไม่ต่างจาก กลุ่มบีอาร์เอ็น
"สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ภาพของบีอาร์เอ็น ที่ได้รับการยกระดับ หรือฝ่ายไทยให้การยอมรับอย่างชัดเจน ทำให้ขบวนการอื่นๆ รวมถึงแนวร่วมในปีกที่ไม่ขึ้นตรงกับบีอาร์เอ็น แสดงปฏิกิริยาตอบกลับด้วยการก่อเหตุเพื่อสวนทางกับแนวทางของบีอาร์เอ็น หรือจะพูดภาษาชาวบ้านคือ กลุ่มอื่นออกอาการหมั่นไส้บีอาร์เอ็น นั่นเอง" นายพีรยศ กล่าว
นายพีรยศ กล่าวว่า ในฐานะเป็นคนพื้นที่ ต.บูกิต อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส พอจะรู้ว่าพื้นที่เกิดเหตุใน จ.นราธิวาสนั้น พื้นที่ใดเป็นเขตเคลื่อนไหวของบีอาร์เอ็น และพื้นที่ไหนเป็นเขตปฏิบัติการของกลุ่มที่ไม่ขึ้นตรงกับบีอาร์เอ็น ซึ่งหน่วยด้านการข่าวของรัฐก็รับรู้สิ่งนี้เป็นอย่างดี ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุในพื้นที่ อ.เจาะไอร้อง ทำไม หรือเพราะอะไร บีอาร์เอ็น จึงไม่ออกมาระบุให้ชัดว่าความรุนแรงเป็นการกระทำของกลุ่มใด หรือมีส่วนเกี่ยวพันกับขบวนการบีอาร์เอ็น หรือไม่
"หากบีอาร์เอ็นออกมาระบุว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ถามว่ารัฐจะรับได้ไหม ในทางตรงข้าม หากบีอาร์เอ็นบอกว่าเป็นการกระทำของกลุ่มอื่นลองคิดดูว่า ความรุนแรงจะสะท้อนกลับมาหนักแค่ไหน" นายพีรยศ กล่าว
นายพีรยศ กล่าวด้วยว่า จากข้อมูลที่ได้รับ พบว่ามีกลุ่มนักรบใหม่ที่เรียกขานกันว่า“เปอมูดอบารู”ซึ่งเป็นกลุ่มที่รับเอาแนวคิดของของ นายมะรอโซ จันทราวดี ที่นำกองกำลังติดอาวุธเข้าโจมตีฐานปฏิบัติการกองร้อยปืนเล็กที่ 2 บ้านยือลอ ต.บาเระเหนือ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 13 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งแนวร่วมกลุ่มนี้คือ กลุ่มที่ไม่รับบีอาร์เอ็นในเวลานี้ เช่นเดียวกับแนวร่วมกลุ่มกองกำลังอาร์เคเคนั้น ไม่ได้มีเพียงแค่กลุ่มที่เคลื่อนไหวในนามบีอาร์เอ็นเท่านั้น แต่ขบวนการอื่นๆ ก็มีอาร์เคเคเคลื่อนไหวก่อเหตุเหมือนกัน โดยเฉพาะขบวนการกลุ่มอื่นที่ไม่อยู่บนโต๊ะพูดคุยสันติภาพ ดังนั้นเป็นเรื่องยากที่กลุ่มบีอาร์เอ็น จะสั่งการให้ยุติปฏิบัติการทางทหารทั้งหมดในช่วงเดือนรอมฎอน เพราะไม่สามารถสั่งการกลุ่มอาร์เคเค ที่ขึ้นอยู่กับขบวนการกลุ่มอื่นได้นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม กองทัพบก ขอให้พี่น้องประชาชนมีความอดทน โดยเจ้าหน้าที่ทั้ง 3 ฝ่ายได้แก่ ทหาร ตำรวจ และภาครัฐ จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด และยืนยันว่า จะไม่ประมาท เนื่องจากที่ผ่านมายังไม่มีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่า ปฏิกิริยาการก่อเหตุจะมีขึ้นหรือลดลงอย่างไร ซึ่งเจ้าหน้าที่คงต้องเตรียมความพร้อมไปอีกกว่า 30 วัน นับจากนี้ในช่วงรอมฎอน ขอให้พี่น้องประชาชนได้ใช้วิจารณญาณ ใช้หลักเหตุและผลในการบริโภคข่าวสารที่มีความละเอียดอ่อน โดยฝ่ายตรงข้ามพยายามใช้รูปแบบการดำเนินการงานมวลชน เพื่อให้เกิดผลในด้านจิตวิทยาสื่อสารแฝงผ่านกลุ่มมวลชนหรือองค์กรต่างฯ บางองค์กร ที่ยังมีทัศนคติเชิงลบต่อเจ้าหน้าที่รัฐ นอกเหนือจากการต่อสู้ด้วยการใช้กองกำลัง
**"ประชา"ยันบึ้มใต้รายวันไม่ใช่ฝีมือBRN
เวลา 10.00 น.วานนี้ (18ก.ค.) พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยม และมอบนโยบายให้กับสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โดยเน้นย้ำเรื่องการประสานงานทางการข่าวให้เกิดความกระชับ ให้ทันต่อสถานการณ์ และให้ทำงานเชิงรุกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาการทำงานด้านการข่าวก็ไม่ได้มีปัญหา แต่ก็อยากให้มีความคล่องตัวมากกว่าที่เป็นอยู่ และในวันที่ 21 ก.ค.นี้ ตนจะเดินทางลงไปเยี่ยม และมอบนโยบายให้กับหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ส่วนเหตุก่อความไม่สงบรายวันที่ยังเกิดขึ้นต่อเนื่องในช่วงเดือนรอมฏอนนั้น จากการข่าวพบว่าเป็นฝีมือของกลุ่มก่อกวนธรรมดา ที่ไม่ต้องการเห็นการพูดคุยเพื่อสันติภาพเกิดขึ้น และเหตุที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนรอมฏอน จากการประสานงานพบว่า ยังไม่มีการก่อเหตุที่มาจากฝีมือของกลุ่มบีอาร์เอ็น อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ยังคงต้องใช้การเจรจาพูดคุยกันเป็นหลัก ทั้งนี้หลังเดือนรอมฏอนเสร็จสิ้น จะมีการพูดคุยเรื่องข้อเสนอการลดความรุนแรงระหว่างไทย กับบีอาร์เอ็นใหม่อีกครั้ง
** "พีรยศ"ชี้เป็นฝีมือแนวร่วมกลุ่มใหม่
ด้านนายพีรยศ ราฮิมมูลา ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ช่วงเดือนรอมฎอน ทั้งๆ ที่มีการตกลงยุติความรุนแรงในห้วงเวลานี้ ว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าในพื้นที่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มิได้มีเพียงแค่แนวร่วมที่ปฏิบัติการภายใต้คำสั่งการของกลุ่มบีอาร์เอ็นเท่านั้น แต่วันนี้ยังมีหน่วยจรยุทธ์ ซึ่งเคลื่อนไหวสร้างเหตุการณ์อีกหลายกลุ่ม จากหลายขบวนการ โดยเฉพาะกลุ่มแนวร่วม หรือขบวนการอื่นที่ไม่ยอมรับกับแนวทางของ บีอาร์เอ็น โดยเฉพาะความรู้สึกของขบวรการอื่นที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่มีการลงนามความร่วมมือยุติความรุนแรง จนมาถึงการพูดคุยสันติภาพทั้ง 3 ครั้ง บ่งชี้ว่ารัฐให้ความสำคัญกับกลุ่มบีอาร์เอ็น เพียงกลุ่มเดียวมากจนแทบจะไม่ให้ความสนใจกลุ่มอื่น ทั้งที่การเคลื่อนไหวต่อสู้ตามอดุมการณ์ของคนเหล่านี้ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ล้วนมีเป้าหมายที่ไม่ต่างจาก กลุ่มบีอาร์เอ็น
"สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ภาพของบีอาร์เอ็น ที่ได้รับการยกระดับ หรือฝ่ายไทยให้การยอมรับอย่างชัดเจน ทำให้ขบวนการอื่นๆ รวมถึงแนวร่วมในปีกที่ไม่ขึ้นตรงกับบีอาร์เอ็น แสดงปฏิกิริยาตอบกลับด้วยการก่อเหตุเพื่อสวนทางกับแนวทางของบีอาร์เอ็น หรือจะพูดภาษาชาวบ้านคือ กลุ่มอื่นออกอาการหมั่นไส้บีอาร์เอ็น นั่นเอง" นายพีรยศ กล่าว
นายพีรยศ กล่าวว่า ในฐานะเป็นคนพื้นที่ ต.บูกิต อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส พอจะรู้ว่าพื้นที่เกิดเหตุใน จ.นราธิวาสนั้น พื้นที่ใดเป็นเขตเคลื่อนไหวของบีอาร์เอ็น และพื้นที่ไหนเป็นเขตปฏิบัติการของกลุ่มที่ไม่ขึ้นตรงกับบีอาร์เอ็น ซึ่งหน่วยด้านการข่าวของรัฐก็รับรู้สิ่งนี้เป็นอย่างดี ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุในพื้นที่ อ.เจาะไอร้อง ทำไม หรือเพราะอะไร บีอาร์เอ็น จึงไม่ออกมาระบุให้ชัดว่าความรุนแรงเป็นการกระทำของกลุ่มใด หรือมีส่วนเกี่ยวพันกับขบวนการบีอาร์เอ็น หรือไม่
"หากบีอาร์เอ็นออกมาระบุว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ถามว่ารัฐจะรับได้ไหม ในทางตรงข้าม หากบีอาร์เอ็นบอกว่าเป็นการกระทำของกลุ่มอื่นลองคิดดูว่า ความรุนแรงจะสะท้อนกลับมาหนักแค่ไหน" นายพีรยศ กล่าว
นายพีรยศ กล่าวด้วยว่า จากข้อมูลที่ได้รับ พบว่ามีกลุ่มนักรบใหม่ที่เรียกขานกันว่า“เปอมูดอบารู”ซึ่งเป็นกลุ่มที่รับเอาแนวคิดของของ นายมะรอโซ จันทราวดี ที่นำกองกำลังติดอาวุธเข้าโจมตีฐานปฏิบัติการกองร้อยปืนเล็กที่ 2 บ้านยือลอ ต.บาเระเหนือ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 13 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งแนวร่วมกลุ่มนี้คือ กลุ่มที่ไม่รับบีอาร์เอ็นในเวลานี้ เช่นเดียวกับแนวร่วมกลุ่มกองกำลังอาร์เคเคนั้น ไม่ได้มีเพียงแค่กลุ่มที่เคลื่อนไหวในนามบีอาร์เอ็นเท่านั้น แต่ขบวนการอื่นๆ ก็มีอาร์เคเคเคลื่อนไหวก่อเหตุเหมือนกัน โดยเฉพาะขบวนการกลุ่มอื่นที่ไม่อยู่บนโต๊ะพูดคุยสันติภาพ ดังนั้นเป็นเรื่องยากที่กลุ่มบีอาร์เอ็น จะสั่งการให้ยุติปฏิบัติการทางทหารทั้งหมดในช่วงเดือนรอมฎอน เพราะไม่สามารถสั่งการกลุ่มอาร์เคเค ที่ขึ้นอยู่กับขบวนการกลุ่มอื่นได้นั่นเอง