คลิปเสียงสนทนาระหว่างชาย 2 คนในต่างแดน บอกเล่ายุทธศาสตร์การต่อสู้ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่ หรือปรับเปลี่ยนไปอย่างไรหลัง “เสียลับ” แล้ว
- ทำให้ผู้นำเหล่าทัพเชื่อใจและสนับสนุน
- อาศัยการประชุมสภากลาโหมเป็นที่อ้างอิงเหตุผลความจำเป็นในการตราพระราชกำหนด
หรือสรุปสั้น ๆ ตามคำสนทนาในคลิป
ชายคนที่ 1 - “มันทำอะไรไม่ได้หรอกครับ ไอ้ฝ่ายต่อต้านวันนี้นะ…”
ชายคนที่ 2 - “นิดเดียวเอง เพียงแต่ว่าสำคัญคือ ทหารไม่เอาด้วยก็จบ…”
ชายคนที่ 1 - “ทหารไม่เอาด้วยจบ แต่ต้องเอาทหารก่อน ผมถึงบอกต้องเอาทหารก่อน…”
ในเรื่องพระราชกำหนดนั้น แม้จะไม่ได้ระบุชัดในคลิป แต่ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าไม่ใช่พระราชกำหนดอื่นใดนอกจาก...
"พระราชกำหนดนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร"
จะชื่อนี้หรือชื่อไหน จะซ่อนรูปมาในชื่อปรองดองหรือไม่ จะมีเนื้อหาเหมือนฉบับเดินสุดซอยของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุงทั้งหมดหรือไม่ ไม่ทราบ ทราบแน่แต่ว่าเพื่ออำพรางเป้าหมายที่แท้จริงต้องมีเนื้อหานิรโทษกรรมทุกฝ่าย ทุกระดับ ไม่ใช่เฉพาะแต่นิรโทษกรรมตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเท่านั้น
พูดให้ชัดเจนคือต้องนิรโทษกรรมเจ้าหน้าที่ทหารและรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงเหตุการณ์เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ด้วย ซึ่งตรงข้ามกับเจตนารมณ์ของคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งที่ไม่ต้องการให้นิรโทษกรรมเจ้าหน้าที่ทหารและรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้เกิดปัญหาใหญ่พอสมควรในหมู่คนเสื้อแดงกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
และแน่นอนว่าตรงข้ามกับร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯฉบับนายวรชัย เหมะที่จ่อคิวพิจารณาอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร
ร่างฯ ของนายวรชัย เหมะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรยังไม่ได้ประโยชน์โดยตรง
ถ้าจะเอาแต่ร่างฯของนายวรชัย เหมะ ก็ไม่รู้ว่าเมื่อไร พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรจะได้กลับบ้าน เพราะโดยหลักการของร่างฯ นี้ แม้แต่แกนนำของคนเสื้อแดงก็อาจยังไม่ได้ประโยชน์
คนที่คิดแผนนี่โหดมาก !
เพราะ "การนิรโทษกรรม" ที่ทำเป็น "พระราชกำหนด" ไม่ว่าครั้งไหน โหดมากเสมอ !!
ดูความในรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรคสาม...
“……ถ้าสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ หรือสภาผู้แทนราษฎรอนุมัติแต่วุฒิสภาไม่อนุมัติและสภาผู้แทนราษฎรยืนยันการอนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ให้พระราชกำหนดนั้นตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น"
นี่คือความในรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรคสาม ซึ่งก็เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ ในมาตราเกี่ยวกับการตรา “พระราชกำหนด” กฎหมายที่ฝ่ายบริหารออกได้เลยหากเกิดเหตุ (1) วิกฤติ-ตามมาตรา 184 วรรคหนึ่ง (2) เร่งด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้-ตามมาตรา 184 วรรคสอง
นี่คือคำตอบที่ว่าทำไมการนิรโทษกรรมทักษิณ ชินวัตรต้องทำเป็นพระราชกำหนด !
การตราพระราชกำหนดไม่มีปัญหา เพราะเป็นอำนาจของรัฐบาล
การคัดค้านของรัฐสภาก็ไม่มีปัญหา นอกจากเพราะเสียงข้างมากในรัฐสภายืนอยู่ข้างรัฐบาลแล้ว ต่อให้เกิดเหตุไม่คาดฝัน รัฐสภาคัดค้านสำเร็จทำให้พระราชกำหนดตกไป ก็ไม่กระทบผลของการนิรโทษกรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
นอกจากจะเพื่อความรวดเร็ว ไม่ก่อให้เกิดความปั่นป่วนปรวนแปรเหมือนการตรา “พระราชบัญญัติ” ที่ต้องผ่านการพิจารณา 2 สภา ๆ ละ 3 วาระ สามารถถูกแปรญัตติให้ผิดเพี้ยนไปจากร่างฯเดิม ยังมีผลทันที แม้จะต้องมาผ่านการอนุมัติจาก 2 สภาในภายหลัง แต่ต่อให้ไม่อนุมัติ ก็ไม่กระทบผลที่ได้เกิดขึ้นแล้ว
ในกรณี “นิรโทษกรรม” เมื่อผลได้เกิดขึ้นแล้วทันทีเมื่อตราพระราชกำหนด ต่อให้ต่อมาสภาใดสภาหนึ่งไม่อนุมัติ แม้พระราชกำหนดจะตกไป แต่ก็ไม่กระทบผลที่เกิดขึ้นทันทีแล้วเมื่อประกาศใช้พระราชกำหนด คือเมื่อ “นิรโทษกรรม” ไปแล้วก็จะไม่ย้อนไป “ไม่นิรโทษกรรม” แม้พระราชกำหนดจะตกไปก็ตาม
"...ให้พระราชกำหนดนั้นตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น"
นี่คือผลทางกฎหมายที่โหดร้ายของ “พระราชกำหนดนิรโทษกรรม…” ครับพี่น้อง !
เคยเกิดขึ้นแล้วหลังเหตุการณ์พฤษภาคมทมิฬ 2535 ครั้งนั้นมีการออกพระราชกำหนดนิรโทษกรรมทันที แม้ในชั้นหลังสภาจะไม่อนุมัติพระราชกำหนดนั้น แต่ก็หามีผลทางกฎหมาย “ยกเลิกการนิรโทษกรรม” ที่เกิดขึ้นแล้วไม่ !!
คำถามคือจะต้องนำเรื่องนี้เข้าไปสู่สภากลาโหมทำไม ต้องการความเห็นของผู้นำเหล่าทัพบันทึกไว้ในการประชุมสภากลาโหมทำไม
คำตอบคือในเรื่องการตราพระราชกำหนดนั้น รัฐธรรมนูญไม่ได้มีแต่มาตรา 184 เท่านั้น ยังมีมาตรา 185 ด้วย
โดยเฉพาะมาตรา 185 วรรคสาม
พระราชกำหนดจะไม่มีผลมาแต่ต้นมีอยู่ทางเดียว คือศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพระราชกำหนดนั้นขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 184 ไม่ว่าวรรคหนึ่ง (วิกฤต) หรือวรรคสอง (เร่งด่วนอันมีอาจจะหลีกเลี่ยงได้) ผลที่เกิดขึ้นจะเป็นไปตามมาตรา 185 วรรคสาม
"...ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพระราชกำหนดใดไม่เป็นไปตามมาตรา 184 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้พระราชกำหนดนั้นไม่มีผลบังคับมาแต่ต้น"
ซึ่งถ้าเป็นพระราชกำหนดนิรโทษกรรม ก็ถือว่า “ไม่เคยมีการนิรโทษกรรม” !
นี่คือคำตอบว่าทำไมทักษิณ ชินวัตรต้องการนำเนื้อหาในร่างพระราชกำหนดมาให้ “สภากลาโหม” และ “สภาความมั่นคงแห่งชาติ” เห็นด้วยบันทึกไว้ในรายงานการประชุมก่อน
ก็เพื่อเอาไว้สู้ความในศาลรัฐธรรมนูญนั่นเอง
ศาลรัฐธรรมนูญจะรับฟังและให้น้ำหนักมากแค่ไหน ไม่ทราบ แต่หากมีบันทึกความเห็นของผู้นำเหล่าทัพในการประชุมสภากลาโหม และความเห็นของสภาความมั่นคงแห่งชาติ มาประกอบการพิจารณา อย่างไรก็เสียก็ยังดีกว่ามีแต่ความเห็นของคณะรัฐมนตรีอย่างเดียวแน่นอน
เมื่อมีคลิปทำให้ “เสียลับ” ออกมาอย่างนี้แล้ว ก็แปลว่าแผนแตก
ถ้าจะให้ดี ผู้นำเหล่าทัพควรแถลงให้ตรงประเด็นไปเลยว่าถ้ามีการนำเนื้อหากฎหมายนิรโทษกรรมฯลักษณะนี้เข้ามาสู่ที่ประชุมสภากลาโหมเป็นวาระจร พวกท่านจะคัดค้าน ไม่ขอร่วมพิจารณาและให้ความเห็น
ถ้ารัฐบาลจะทำ ก็ต้องเสี่ยงต่อกลไก “ศาลรัฐธรรมนูญ” เอาเอง !
- ทำให้ผู้นำเหล่าทัพเชื่อใจและสนับสนุน
- อาศัยการประชุมสภากลาโหมเป็นที่อ้างอิงเหตุผลความจำเป็นในการตราพระราชกำหนด
หรือสรุปสั้น ๆ ตามคำสนทนาในคลิป
ชายคนที่ 1 - “มันทำอะไรไม่ได้หรอกครับ ไอ้ฝ่ายต่อต้านวันนี้นะ…”
ชายคนที่ 2 - “นิดเดียวเอง เพียงแต่ว่าสำคัญคือ ทหารไม่เอาด้วยก็จบ…”
ชายคนที่ 1 - “ทหารไม่เอาด้วยจบ แต่ต้องเอาทหารก่อน ผมถึงบอกต้องเอาทหารก่อน…”
ในเรื่องพระราชกำหนดนั้น แม้จะไม่ได้ระบุชัดในคลิป แต่ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าไม่ใช่พระราชกำหนดอื่นใดนอกจาก...
"พระราชกำหนดนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร"
จะชื่อนี้หรือชื่อไหน จะซ่อนรูปมาในชื่อปรองดองหรือไม่ จะมีเนื้อหาเหมือนฉบับเดินสุดซอยของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุงทั้งหมดหรือไม่ ไม่ทราบ ทราบแน่แต่ว่าเพื่ออำพรางเป้าหมายที่แท้จริงต้องมีเนื้อหานิรโทษกรรมทุกฝ่าย ทุกระดับ ไม่ใช่เฉพาะแต่นิรโทษกรรมตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเท่านั้น
พูดให้ชัดเจนคือต้องนิรโทษกรรมเจ้าหน้าที่ทหารและรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงเหตุการณ์เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ด้วย ซึ่งตรงข้ามกับเจตนารมณ์ของคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งที่ไม่ต้องการให้นิรโทษกรรมเจ้าหน้าที่ทหารและรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้เกิดปัญหาใหญ่พอสมควรในหมู่คนเสื้อแดงกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
และแน่นอนว่าตรงข้ามกับร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯฉบับนายวรชัย เหมะที่จ่อคิวพิจารณาอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร
ร่างฯ ของนายวรชัย เหมะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรยังไม่ได้ประโยชน์โดยตรง
ถ้าจะเอาแต่ร่างฯของนายวรชัย เหมะ ก็ไม่รู้ว่าเมื่อไร พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรจะได้กลับบ้าน เพราะโดยหลักการของร่างฯ นี้ แม้แต่แกนนำของคนเสื้อแดงก็อาจยังไม่ได้ประโยชน์
คนที่คิดแผนนี่โหดมาก !
เพราะ "การนิรโทษกรรม" ที่ทำเป็น "พระราชกำหนด" ไม่ว่าครั้งไหน โหดมากเสมอ !!
ดูความในรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรคสาม...
“……ถ้าสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ หรือสภาผู้แทนราษฎรอนุมัติแต่วุฒิสภาไม่อนุมัติและสภาผู้แทนราษฎรยืนยันการอนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ให้พระราชกำหนดนั้นตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น"
นี่คือความในรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรคสาม ซึ่งก็เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ ในมาตราเกี่ยวกับการตรา “พระราชกำหนด” กฎหมายที่ฝ่ายบริหารออกได้เลยหากเกิดเหตุ (1) วิกฤติ-ตามมาตรา 184 วรรคหนึ่ง (2) เร่งด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้-ตามมาตรา 184 วรรคสอง
นี่คือคำตอบที่ว่าทำไมการนิรโทษกรรมทักษิณ ชินวัตรต้องทำเป็นพระราชกำหนด !
การตราพระราชกำหนดไม่มีปัญหา เพราะเป็นอำนาจของรัฐบาล
การคัดค้านของรัฐสภาก็ไม่มีปัญหา นอกจากเพราะเสียงข้างมากในรัฐสภายืนอยู่ข้างรัฐบาลแล้ว ต่อให้เกิดเหตุไม่คาดฝัน รัฐสภาคัดค้านสำเร็จทำให้พระราชกำหนดตกไป ก็ไม่กระทบผลของการนิรโทษกรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
นอกจากจะเพื่อความรวดเร็ว ไม่ก่อให้เกิดความปั่นป่วนปรวนแปรเหมือนการตรา “พระราชบัญญัติ” ที่ต้องผ่านการพิจารณา 2 สภา ๆ ละ 3 วาระ สามารถถูกแปรญัตติให้ผิดเพี้ยนไปจากร่างฯเดิม ยังมีผลทันที แม้จะต้องมาผ่านการอนุมัติจาก 2 สภาในภายหลัง แต่ต่อให้ไม่อนุมัติ ก็ไม่กระทบผลที่ได้เกิดขึ้นแล้ว
ในกรณี “นิรโทษกรรม” เมื่อผลได้เกิดขึ้นแล้วทันทีเมื่อตราพระราชกำหนด ต่อให้ต่อมาสภาใดสภาหนึ่งไม่อนุมัติ แม้พระราชกำหนดจะตกไป แต่ก็ไม่กระทบผลที่เกิดขึ้นทันทีแล้วเมื่อประกาศใช้พระราชกำหนด คือเมื่อ “นิรโทษกรรม” ไปแล้วก็จะไม่ย้อนไป “ไม่นิรโทษกรรม” แม้พระราชกำหนดจะตกไปก็ตาม
"...ให้พระราชกำหนดนั้นตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น"
นี่คือผลทางกฎหมายที่โหดร้ายของ “พระราชกำหนดนิรโทษกรรม…” ครับพี่น้อง !
เคยเกิดขึ้นแล้วหลังเหตุการณ์พฤษภาคมทมิฬ 2535 ครั้งนั้นมีการออกพระราชกำหนดนิรโทษกรรมทันที แม้ในชั้นหลังสภาจะไม่อนุมัติพระราชกำหนดนั้น แต่ก็หามีผลทางกฎหมาย “ยกเลิกการนิรโทษกรรม” ที่เกิดขึ้นแล้วไม่ !!
คำถามคือจะต้องนำเรื่องนี้เข้าไปสู่สภากลาโหมทำไม ต้องการความเห็นของผู้นำเหล่าทัพบันทึกไว้ในการประชุมสภากลาโหมทำไม
คำตอบคือในเรื่องการตราพระราชกำหนดนั้น รัฐธรรมนูญไม่ได้มีแต่มาตรา 184 เท่านั้น ยังมีมาตรา 185 ด้วย
โดยเฉพาะมาตรา 185 วรรคสาม
พระราชกำหนดจะไม่มีผลมาแต่ต้นมีอยู่ทางเดียว คือศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพระราชกำหนดนั้นขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 184 ไม่ว่าวรรคหนึ่ง (วิกฤต) หรือวรรคสอง (เร่งด่วนอันมีอาจจะหลีกเลี่ยงได้) ผลที่เกิดขึ้นจะเป็นไปตามมาตรา 185 วรรคสาม
"...ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพระราชกำหนดใดไม่เป็นไปตามมาตรา 184 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้พระราชกำหนดนั้นไม่มีผลบังคับมาแต่ต้น"
ซึ่งถ้าเป็นพระราชกำหนดนิรโทษกรรม ก็ถือว่า “ไม่เคยมีการนิรโทษกรรม” !
นี่คือคำตอบว่าทำไมทักษิณ ชินวัตรต้องการนำเนื้อหาในร่างพระราชกำหนดมาให้ “สภากลาโหม” และ “สภาความมั่นคงแห่งชาติ” เห็นด้วยบันทึกไว้ในรายงานการประชุมก่อน
ก็เพื่อเอาไว้สู้ความในศาลรัฐธรรมนูญนั่นเอง
ศาลรัฐธรรมนูญจะรับฟังและให้น้ำหนักมากแค่ไหน ไม่ทราบ แต่หากมีบันทึกความเห็นของผู้นำเหล่าทัพในการประชุมสภากลาโหม และความเห็นของสภาความมั่นคงแห่งชาติ มาประกอบการพิจารณา อย่างไรก็เสียก็ยังดีกว่ามีแต่ความเห็นของคณะรัฐมนตรีอย่างเดียวแน่นอน
เมื่อมีคลิปทำให้ “เสียลับ” ออกมาอย่างนี้แล้ว ก็แปลว่าแผนแตก
ถ้าจะให้ดี ผู้นำเหล่าทัพควรแถลงให้ตรงประเด็นไปเลยว่าถ้ามีการนำเนื้อหากฎหมายนิรโทษกรรมฯลักษณะนี้เข้ามาสู่ที่ประชุมสภากลาโหมเป็นวาระจร พวกท่านจะคัดค้าน ไม่ขอร่วมพิจารณาและให้ความเห็น
ถ้ารัฐบาลจะทำ ก็ต้องเสี่ยงต่อกลไก “ศาลรัฐธรรมนูญ” เอาเอง !