“พึงเลือกปฏิคาหก (ผู้รับ) ก่อนให้ทาน” นี่คือพุทธพจน์ที่ตรัสเกี่ยวกับการให้ทาน ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งบุญประการหนึ่งที่เรียกว่า ทานมัย คือบุญที่มาจากการให้ทาน และการให้ทานจะเกิดขึ้นได้ ถ้าถือตามนัยแห่งคำสอนของพระพุทธองค์แล้ว จะมีองค์ประกอบแห่งการให้ทาน และให้แล้วได้บุญ 3 ประการคือ
1. ปฏิคาหก หรือผู้รับทานจะต้องเป็นผู้มีศีล
2. ทายกคือผู้ให้ทานจะต้องมีศรัทธาในผู้รับ และศรัทธาต่อการให้
3. ผู้ให้ต้องมีทรัพย์
ในองค์ประกอบ 3 ประการนี้ ถ้าขาดประการใดประการหนึ่ง การให้ทานจะเกิดขึ้นไม่ได้ เช่น ถ้าไม่มีผู้รับแม้จะมีผู้ให้ การให้ทานก็ไม่เกิดขึ้น และถึงแม้จะมีผู้รับมีผู้ให้ แต่ผู้ให้ไม่มีศรัทธาหรือมีศรัทธาแต่ไม่มีทรัพย์ ก็ให้ไม่ได้ เป็นต้น
ถึงแม้จะมีองค์ประกอบ 3 ประการครบถ้วน ก็ใช่ว่าผู้ให้ทุกคนจะได้บุญเท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบ 3 ประการดังกล่าวแล้วคือ
1. ถ้าผู้รับมีศีลสมบูรณ์ไม่ด่างพร้อย
2. ผู้ให้มีศรัทธาในผู้รับมาก
3. ผู้ให้มีทรัพย์มาก
ตามที่ให้ด้วยความเพียบพร้อมด้วยปัจจัย 3 ประการนี้จะได้บุญมาก
ในทางกลับกัน ถ้าองค์ประกอบ 3 ประการมีเหตุบกพร่องประการใดประการหนึ่ง เป็นต้น ผู้รับไม่มีศีล หรือผู้ให้มีศรัทธาน้อย ถึงแม้จะมีทรัพย์มากก็ให้ได้น้อย บุญก็น้อยไปด้วย เป็นต้น
ทั้งหมดที่กล่าวมาคือหลักของการให้ทานที่ถูกต้องตามนัยแห่งพุทธศาสนา แต่สังคมไทยทุกวันนี้ชาวพุทธให้ทานมีน้อยแตกต่างออกไป กล่าวคือ ชาวพุทธส่วนหนึ่ง และอาจเป็นส่วนใหญ่ด้วยให้ทานโดยยึดกระแสสังคม โดยมิได้มีศรัทธาอันเกิดจากปัญญาวิเคราะห์เหตุปัจจัยให้ละเอียดรอบคอบ และแทนที่จะได้บุญ กลับเป็นการทำบาป ด้วยการส่งเสริมให้คนทำลายศาสนา เหิมเกริมและเกิดความกล้าในการทำลายศาสนาโดยไม่ตั้งใจ ดังกรณีที่เกิดขึ้นกับหลวงปู่เณรคำ แห่งสำนักสงฆ์ขันติธรรมที่จังหวัดศรีสะเกษ ที่กลายเป็นเรื่องฉาวโฉ่อยู่ในสื่อขณะนี้
จากข่าวที่ปรากฏในทางสื่อ ถ้านำเอาพระวินัยของพระภิกษุสงฆ์ตามที่ปรากฏในพระวินัยปิฎกที่ว่าด้วยศีล 227 ข้อของภิกษุแล้ว เป็นที่เชื่อได้ว่าหลวงปูเณรคำได้กระทำการอันเรียกได้ว่าต้องอาบัติปาราชิกอย่างน้อย 3 ข้อคือ
1. ห้ามภิกษุเสพเมถุนคือความสัมพันธ์ทางเพศในสิกขาบทข้อที่ 1
2. ลักทรัพย์ฉ้อโกงทรัพย์เกิน 5 มาสกขึ้นไปในสิกขาบทข้อที่ 2
3. ห้ามอวดอ้างคุณวิเศษที่ไม่มีในตนในสิกขาบทข้อที่ 4
ดังนั้น ถ้าทุกอย่างที่ปรากฏเป็นข่าวมีความจริงรองรับโดยมีหลักฐาน ก็เป็นอันลงความเห็นได้ว่า หลวงปู่เณรคำได้พ้นภาวะแห่งความเป็นภิกษุแล้วตั้งแต่วันที่กระทำความผิดข้อใดข้อหนึ่งใน 3 ข้อดังกล่าว
ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องเสียเวลาในการสอบสวนเพิ่มเติม ถ้าจะเสียเวลาก็เพียงรอให้หลวงปู่เณรคำกลับมา และทางคณะสงฆ์ตั้งคณะวินัยธรทำการสอบสวนเพื่อให้เป็นไปตามกระบวนการแห่งพระวินัยก็เพียงพอที่จะจัดการให้ผู้กระทำจะต้องรับโทษตามนัยแห่งพระวินัยได้
แต่เป็นที่น่าสังเกต ถ้าเทียบกับพระดังหลายๆ รูปที่ผ่านมา เช่น พระยันตระ เป็นต้น ไม่มีการดำเนินการใดๆ ทางพระวินัยให้เป็นที่ประจักษ์ และทำการสึกให้พ้นเพศภาวะแห่งนักบวช ยิ่งกว่านี้ถ้าหลังจากพ้นจากเพศนักบวชแล้ว แต่ยังแต่งกายเหมือนภิกษุก็ควรที่จะจัดการฟ้องร้องทางกฎหมายในข้อหาแต่งกายเลียนแบบสงฆ์ต่อไป
แต่ในความเป็นจริงมิได้ดำเนินการใดๆ จึงเท่ากับปล่อยให้ผู้กระทำผิดเหิมเกริม และอยู่ได้ด้วยการหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ต่อไปได้อีก
ในกรณีของหลวงปู่เณรคำ ก็มีแนวโน้มว่าจะจบลงแบบนั้นคือไม่ยอมกลับประเทศไทยเพื่อมารับการกล่าวโทษ และตัดสินความตามกระบวนการแห่งพระวินัย และอาศัยเพศนักบวชอยู่ในต่างประเทศก่อความเสื่อมเสียแห่งพระศาสนาต่อไป โดยที่ไม่มีใครจัดการใดๆ ได้
ถ้าเป็นเช่นนี้จะมีสำนักพุทธฯ ไว้ทำอะไร และมีการปกครองสงฆ์ในรูปมหาเถรสมาคมไว้เพื่อการใดบ้าง จะต้องมีการกำหนดบทบาทให้ชัดเจนกว่าที่เป็นอยู่ จะได้รู้ว่าถ้าเกิดกรณีเช่นนี้ต่อไปจะไปร้องเรียนใคร จึงจะช่วยปกป้องพระพุทธศาสนาไว้ได้
ทั้งหมดที่เขียนมาก็ด้วยความห่วงใยในพระพุทธศาสนา อันเป็นมรดกทางสังคมควบคู่กับสถาบันชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นที่รวมแห่งความสามัคคีของคนในชาติ
แต่ถ้าเผอิญวันนี้ ถึงวันที่สถาบันศาสนาต้องเสื่อม และผู้ที่รับผิดชอบไม่ทำอะไรก็ถือว่าเป็นกรรมของคนไทยก็แล้วกัน.
1. ปฏิคาหก หรือผู้รับทานจะต้องเป็นผู้มีศีล
2. ทายกคือผู้ให้ทานจะต้องมีศรัทธาในผู้รับ และศรัทธาต่อการให้
3. ผู้ให้ต้องมีทรัพย์
ในองค์ประกอบ 3 ประการนี้ ถ้าขาดประการใดประการหนึ่ง การให้ทานจะเกิดขึ้นไม่ได้ เช่น ถ้าไม่มีผู้รับแม้จะมีผู้ให้ การให้ทานก็ไม่เกิดขึ้น และถึงแม้จะมีผู้รับมีผู้ให้ แต่ผู้ให้ไม่มีศรัทธาหรือมีศรัทธาแต่ไม่มีทรัพย์ ก็ให้ไม่ได้ เป็นต้น
ถึงแม้จะมีองค์ประกอบ 3 ประการครบถ้วน ก็ใช่ว่าผู้ให้ทุกคนจะได้บุญเท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบ 3 ประการดังกล่าวแล้วคือ
1. ถ้าผู้รับมีศีลสมบูรณ์ไม่ด่างพร้อย
2. ผู้ให้มีศรัทธาในผู้รับมาก
3. ผู้ให้มีทรัพย์มาก
ตามที่ให้ด้วยความเพียบพร้อมด้วยปัจจัย 3 ประการนี้จะได้บุญมาก
ในทางกลับกัน ถ้าองค์ประกอบ 3 ประการมีเหตุบกพร่องประการใดประการหนึ่ง เป็นต้น ผู้รับไม่มีศีล หรือผู้ให้มีศรัทธาน้อย ถึงแม้จะมีทรัพย์มากก็ให้ได้น้อย บุญก็น้อยไปด้วย เป็นต้น
ทั้งหมดที่กล่าวมาคือหลักของการให้ทานที่ถูกต้องตามนัยแห่งพุทธศาสนา แต่สังคมไทยทุกวันนี้ชาวพุทธให้ทานมีน้อยแตกต่างออกไป กล่าวคือ ชาวพุทธส่วนหนึ่ง และอาจเป็นส่วนใหญ่ด้วยให้ทานโดยยึดกระแสสังคม โดยมิได้มีศรัทธาอันเกิดจากปัญญาวิเคราะห์เหตุปัจจัยให้ละเอียดรอบคอบ และแทนที่จะได้บุญ กลับเป็นการทำบาป ด้วยการส่งเสริมให้คนทำลายศาสนา เหิมเกริมและเกิดความกล้าในการทำลายศาสนาโดยไม่ตั้งใจ ดังกรณีที่เกิดขึ้นกับหลวงปู่เณรคำ แห่งสำนักสงฆ์ขันติธรรมที่จังหวัดศรีสะเกษ ที่กลายเป็นเรื่องฉาวโฉ่อยู่ในสื่อขณะนี้
จากข่าวที่ปรากฏในทางสื่อ ถ้านำเอาพระวินัยของพระภิกษุสงฆ์ตามที่ปรากฏในพระวินัยปิฎกที่ว่าด้วยศีล 227 ข้อของภิกษุแล้ว เป็นที่เชื่อได้ว่าหลวงปูเณรคำได้กระทำการอันเรียกได้ว่าต้องอาบัติปาราชิกอย่างน้อย 3 ข้อคือ
1. ห้ามภิกษุเสพเมถุนคือความสัมพันธ์ทางเพศในสิกขาบทข้อที่ 1
2. ลักทรัพย์ฉ้อโกงทรัพย์เกิน 5 มาสกขึ้นไปในสิกขาบทข้อที่ 2
3. ห้ามอวดอ้างคุณวิเศษที่ไม่มีในตนในสิกขาบทข้อที่ 4
ดังนั้น ถ้าทุกอย่างที่ปรากฏเป็นข่าวมีความจริงรองรับโดยมีหลักฐาน ก็เป็นอันลงความเห็นได้ว่า หลวงปู่เณรคำได้พ้นภาวะแห่งความเป็นภิกษุแล้วตั้งแต่วันที่กระทำความผิดข้อใดข้อหนึ่งใน 3 ข้อดังกล่าว
ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องเสียเวลาในการสอบสวนเพิ่มเติม ถ้าจะเสียเวลาก็เพียงรอให้หลวงปู่เณรคำกลับมา และทางคณะสงฆ์ตั้งคณะวินัยธรทำการสอบสวนเพื่อให้เป็นไปตามกระบวนการแห่งพระวินัยก็เพียงพอที่จะจัดการให้ผู้กระทำจะต้องรับโทษตามนัยแห่งพระวินัยได้
แต่เป็นที่น่าสังเกต ถ้าเทียบกับพระดังหลายๆ รูปที่ผ่านมา เช่น พระยันตระ เป็นต้น ไม่มีการดำเนินการใดๆ ทางพระวินัยให้เป็นที่ประจักษ์ และทำการสึกให้พ้นเพศภาวะแห่งนักบวช ยิ่งกว่านี้ถ้าหลังจากพ้นจากเพศนักบวชแล้ว แต่ยังแต่งกายเหมือนภิกษุก็ควรที่จะจัดการฟ้องร้องทางกฎหมายในข้อหาแต่งกายเลียนแบบสงฆ์ต่อไป
แต่ในความเป็นจริงมิได้ดำเนินการใดๆ จึงเท่ากับปล่อยให้ผู้กระทำผิดเหิมเกริม และอยู่ได้ด้วยการหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ต่อไปได้อีก
ในกรณีของหลวงปู่เณรคำ ก็มีแนวโน้มว่าจะจบลงแบบนั้นคือไม่ยอมกลับประเทศไทยเพื่อมารับการกล่าวโทษ และตัดสินความตามกระบวนการแห่งพระวินัย และอาศัยเพศนักบวชอยู่ในต่างประเทศก่อความเสื่อมเสียแห่งพระศาสนาต่อไป โดยที่ไม่มีใครจัดการใดๆ ได้
ถ้าเป็นเช่นนี้จะมีสำนักพุทธฯ ไว้ทำอะไร และมีการปกครองสงฆ์ในรูปมหาเถรสมาคมไว้เพื่อการใดบ้าง จะต้องมีการกำหนดบทบาทให้ชัดเจนกว่าที่เป็นอยู่ จะได้รู้ว่าถ้าเกิดกรณีเช่นนี้ต่อไปจะไปร้องเรียนใคร จึงจะช่วยปกป้องพระพุทธศาสนาไว้ได้
ทั้งหมดที่เขียนมาก็ด้วยความห่วงใยในพระพุทธศาสนา อันเป็นมรดกทางสังคมควบคู่กับสถาบันชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นที่รวมแห่งความสามัคคีของคนในชาติ
แต่ถ้าเผอิญวันนี้ ถึงวันที่สถาบันศาสนาต้องเสื่อม และผู้ที่รับผิดชอบไม่ทำอะไรก็ถือว่าเป็นกรรมของคนไทยก็แล้วกัน.