ASTVผู้จัดการรายวัน - องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน จี้ “ยิ่งลักษณ์” ปราบโกง 4 โครงการเมกะโปรเจ็กต์ เร่งด่วน “ปชป.-40 สว.”ขู่ยื่นศาล รธน.ตีความ กม.กู้เงิน 2 ล้านล้าน หลังผ่านสภา “ปชป.”จวกรัฐบาลเผด็จการ ปิดช่องประชาชนมีส่วนร่วม จี้ทบทวนข้อเสนอ คปก.หวั่นซ้ำรอยเค้กน้ำ “คนพท.”ประสานเสียง ไม่ขัดรธน. อ้างไม่ใช่ร่างงบประมาณ
วานนี้(4 ก.ค.56) นายประมนต์ สุธีวงค์ ประธาน องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย) เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น อย่างจริงจัง เห็นผลเป็นรูปธรรม พร้อมเรียกร้องแก้ไข 4 โครงการเมกะโปรเจ็คต์เร่งด่วนให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ทั้งโครงการประมูลขายข้าว ข้อตกลงคุณธรรมของรัฐบาล โครงการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย และโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ทั้งนี้ ทางองค์กรฯ เห็นว่า โครงการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย 3.5 แสนล้านบาทที่ต้องมีการทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนนั้น ผลจากการทำประชาพิจารณ์นี้จะต้องมีการทบทวนร่าง TOR ใหม่เพื่อปิดช่องทางการทุจริตคอร์รัปชั่นในกระบวนการ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้มีความโปร่งใส
เช่นเดียวกับโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทของกระทรวงคมนาคมนั้น องค์กรฯ สนับสนุนในหลักการ แต่การดำเนินการจำเป็นต้องมีกระบวนการทำงานอย่างเหมาะสมตามขั้นตอน ทั้งกรอบความยุติธรรมและความโปร่งใสต่อประชาชน
ส่วนความคืบหน้าของข้อตกลงด้านข้อตกลงคุณธรรม Integrity Pact ที่รัฐบาลประกาศออกมานั้น ยังมีความแตกต่างกับแนวทางและต่ำกว่ามาตรฐานของข้อเสนอขององค์กรฯ เช่นการให้บุคคลจากภาคเอกชนเข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ และการกำหนดบทลงโทษของผู้สังเกตการณ์นั้นจะเป็นปัญหาในการที่ภาคเอกชนจะพิจารณาตอบรับการเป็นผู้สังเกตการณ์ ดังนั้นต้องมีการหารือกันในรายละเอียด
**พงศ์เทพยันไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ม.169
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายพงศ์เทพ เทพกาญจา รองนายกรัฐมนตรี แถลงถึงกรณีที่คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ท้วงติงการออกร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง พ.ศ. … หรือ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 169 ว่า ตนยืนยันว่าประเด็นดังกล่าวไม่ขัดรัฐธรรมนูญแน่นอน เพราะเงินที่กู้มาไม่ถือเป็นเงินแผ่นดิน อีกทั้งมีการกู้เงินทำนองนี้มาหลายรัฐบาลแล้ว ไม่ใช่ครั้งแรก ฉะนั้น จึงสามารถที่จะใช้จ่ายตามพ.ร.บ.ดังกล่าวได้ ส่วนที่นายคณิต ณ นคร ประธาน คปก.ให้ความคิดเห็นไว้เรื่องของการรับฟังความคิดเห็นและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมนั้น รัฐบาลทำอยู่แล้วและทำแน่นอน ต้องขอบคุณนายคณิตที่ได้กรุณาเตือนและแนะนำ แต่ในการทำโครงการอะไรของรัฐบาล กฎหมายที่เกี่ยวข้องเรื่องสิ่งแวดล้อมและกฎหมายต่างๆ รัฐบาลต้องปฏิบัติอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมั่นใจว่าร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้จะไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ใช่เป็นกรณีเงินของแผ่นดิน
ส่วนที่ระบุว่าการออกร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จะทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติตรวจสอบไม่ได้นั้น ไม่ใช่แน่นอน เพราะฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจที่จะสอบถาม ติติง ตั้งกระทู้ หรือแม้กระทั่งการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล สิ่งเหล่านี้ทำได้อยู่แล้ว ไม่มีปัญหาอะไร เพราะช่วงแรกในการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวของฝ่ายนิติบัญญัติก็มีการตรวจสอบแล้วว่าตัวร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นอย่างไร ตรวจสอบโดยสภาผู้แทนราษฎร และแม้ตัวรัฐบาลจะมีเสียงข้างมากแต่ก็มีฝ่ายค้านอยู่ รวมทั้งมีการตรวจสอบโดยวุฒิสภา ซึ่งรัฐบาลเองไม่มีสมาชิกวุฒิสภาอยู่เลย ดังนั้น จึงมีการตรวจสอบโดยสองสภาก่อนที่จะไปกู้เงินได้ หลังจากกู้เงินมาแล้วกระบวนการทางฝ่ายนิติบัญญัติยังทำได้ตลอดเวลา
วันเดียวกัน นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ส่งอีเมลย์ตรงจากประเทศโปรแลนด์โต้นายคณิต โดยย้ำว่า ไม่ขัดรธน.
ร่าง พรบ. ฉบับนี้จำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเกินกว่าความจำเป็นโดยควบคุมองค์กรนิติบัญญัติ ไม่ให้มีโอกาสในการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินเป็นเวลา 7 ปี
**ร่างกมธ. เงินกู้ จ่อชงสภา 10 ก.ค.
นายไพจิต ศรีวรขาน รองประธานกรรมาธิการพิจารณาร่าง ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้สองล้านล้าน กล่าวว่าข้อเสนอของ คปก.ไม่มีผลกระทบต่อการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ เพราะในวันที่ 10 ก.ค. กรรมาธิการจะประชุมสรุปรายงานและตรวจเช็ครายงานที่จะส่งให้สภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง และหากเอกสารไม่มีอะไรผิดพลาดก็จะยื่นให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรรัฐสภาได้ในวันเดียวกัน เพื่อมให้ประธานฯพิจารณาบรรจุในระเบียบวาระต่อไป ส่วนข้อเสนอของ คปก. เชื่อว่าหากนำไปพิจารณาในวาระ 2 น่าจะเป็นประโยชน์กว่าการที่จะนำมาทบทวนในชั้นกรรมาธิการอีกครั้งหนึ่ง
นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่1 กล่าวว่า การแสดงความเห็นของคปก.นั้นเป็นเรื่องของคปก. ซึ่งก่อนที่จะมีการนำเข้าพิจารณาทางสภาฯก็ได้ดูข้อกฎหมายแล้ว และยืนยันว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยการที่คปก.ระบุว่ากฎหมายฉบับบนี้อาจจะขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา57 วรรค 2 และมาตรา 67 วรรค 2 มีปัญหาตามหลักสิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้น เห็นว่าในแต่ละเรื่องก็มีโครงสร้างอยู่แล้ว แต่ก็ต้องมีการมาขอเงินจากสภาฯก่อน และมีการอนุมัติโดยบองอย่างต้องมีการทำประชาพิจารณ์อยู่แล้วในภายหลังกฎหมายผ่านจากสภาฯ
** แนะรีบสรุปข้อเสนอของคปก.
นายอุดมเดช รัตนเสถียร สส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย และที่ปรึกษาวิปรัฐบาล กล่าวยืนยันว่า ข้อเสนอ คปก.ที่ระบุว่าร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทส่อขัดรัฐธรรมนูญนั้น ไม่กระทบต่อการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ในเดือน ส.ค.นี้ เพราะร่าง พ.ร.บ.ต้องเข้าสู่การพิจารณาต่อในวาระ 2 และ 3 ตามอำนาจหน้าที่ของสภา การจะตรวจสอบว่าร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ต้องรอให้ผ่านการพิจารณาของสภาและวุฒิสภาเสร็จสิ้นแล้วเท่านั้น
อย่างไรก็ตามมองว่าหาก คปก.ส่งหนังสือแจ้งเตือนมายังรัฐบาลเเล้ว ทางรัฐบาลเองควรส่งเรื่องให้หน่วยงานด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือตั้งคณะกรรมการหรือชุดทำงานขึ้นมาตรวจสอบเเละพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือขัดในประเด็นใด เพื่อหาข้อสรุปที่ชัดเจนก่อนเปิดสมัยประชุมสภาในเดือน ส.ค.ที่จะมีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้
**เพื่อไทยอัดคปก.จุ้นกม.กู้2ล้านล้าน
นายสงวน พงษ์มณี สส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า คปก.เป็นหน่วยงานที่ถูกตั้งขึ้นโดยรัฐธรรมนูญปี 50 ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีอำนาจหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องข้อกฎหมาย แต่ไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายได้ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของสภาในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ ดังนั้นการให้ความเห็นว่าร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 169 ถือเป็นสิ่งที่พอรับฟังได้ แต่หากจะบอกว่าการออกร่างกฎหมายดังกล่าวจะไม่คุ้มค่าการลงทุนจะมีผลกระทบต่อประเทศในระยะยาว เสนอให้ลดวงเงินกู้ หรือจัดทำเป็นวิธีการงบประมาณปกตินั้นถือว่านอกเหนือหน้าที่ของ คปก.เพราะเป็นเรื่องทางนโยบาย ดังนั้น คปก.ควรจะรู้หน้าที่ว่าตนเองควรจะมีบทบาทอย่างไร
**ปชป.ขู่ยื่นศาลรธน.ตีความกม.เงินกู้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการฟ้าวันใหม่ ทาง Blue Sky Channel กล่าวว่า เป็นข้อเสนอที่รัฐบาลควรรับฟังแต่ไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะฟัง ซึ่งเรื่องการกู้เงินรวดเดียว 2 ล้านล้านสามารถทำในระบบงบประมาณได้ และการทำโครงการต่าง ๆ ก็ปรากฏว่า หลายโครงการ ยังไม่ได้มีการศึกษาอย่างชัดเจนว่ามีความคุ้มค่า
นอกจากนี้คงจะไม่ต่างจากกรณีของเงินกู้ 3 แสน 5 หมื่นล้านบาท ในเรื่องโครงการน้ำที่หลายโครงการยังไม่มีการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลกระทบต่อชุมชน สังคม ดังนั้นข้อเสนอนี้ก็เป็นข้อเสนอที่อิงอยู่กับบทบัญญัติของกฎหมายทั้งสิ้น ก็หวังว่ารัฐบาลจะไปลองพิจารณาและทบทวนดู ส่วนการที่จะยื่นตีความร่างพ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาทนั้นคงต้องรอขั้นตอนสุดท้ายของการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฏร และก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ตรงนี้เป็นจังหวะที่รัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้ส.ส. ที่เห็นว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญไปยื่นให้ตีความได้ ทั้งนี้ข้อเสนอของคปก.อาจถูกนำไปใช้เป็นหลักฐานได้ ว่า รัฐบาลรู้ หรือสมควรรู้ว่ามันขัด แต่ก็ยังทำ ดังนั้นอยู่ที่รัฐบาลว่า จะพิจารณาหรือไม่อย่างไร ถ้าไม่พิจารณาก็ต้องรับผิดชอบกับการตัดสินใจของตนเอง
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เรามีความจำเป็นที่จะต้องตักเตือนและทักท้วงในสิ่งที่รัฐบาลกำลังพาประเทศไปสู่ความเสียหายและเสียโอกาส เช่น โครงการบริหารน้ำ 3.5 แสนล้านบาทที่รัฐบาลมีเวลากว่าปีครึ่งแต่กลับใช้เวลาไปอย่างว่างเปล่าไม่มีการดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศ แสดงว่ารัฐบาลขาดความเข้าใจในการบริหารงานและปฏิบัติตามกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่นเดียวกับกฎหมายเงินกู้2ล้านล้านบาทที่ นายคณิต ณ นคร ชี้ว่าขัดรัฐธรรมนูญหลายมาตรา ซึงส่อว่าจะซ้ำรอยกับเงินกู้ 3.5 แสนล้าน เพราะมีการระบุถึงมาตรา 57 และ 67 เหมือนกัน
"แปลกใจว่ารัฐบาลที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตยกลับทำตัวเหมือนเผด็จการไม่รับฟังความเห็นประชาชน ตัดโอกาสและสิทธิของประชาชน สุดท้ายก็ทำงานไม่ได้ติดขัดในเรื่องรัฐธรรมนูญ ผมไม่อยากให้เงินกู้2ล้านล้านบาทจะมีจุดจบเหมือนกันจนประเทศเสียโอกาส "
ส่วนกรณีที่นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรมช.เกษตรฯ ระบุว่า ฝ่ายค้านสามารถยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้เมื่อกฎหมายผ่านสภาหากเห็นว่าขัดรัฐธรรมนูญนั้น นายชวนนท์ กล่าวว่า ถ้าสุดท้ายรัฐบาลไม่ฟังฝ่ายตรวจสอบก็ต้องดำเนินการยื่นศาลรัฐธรรมนูญแน่นอน
"แต่ต้องถามว่าทำตามกฎหมายยากเย็นมากหรืออย่างไรที่จะต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกติ เพราะรัฐบาลกำลังจะบอกว่าตัวเองเป็นรัฐบาลพิเศษไม่ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ซึ่งสุดท้ายไม่มีใครได้ประโยชน์ นอกจากประเทศเสียหาย"
** 40ส.ว.เล็งยื่นศาลหากกูกู้เงินผ่านสภา
ที่รัฐสภา นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา กลุ่ม 40 ส.ว.กล่าวว่า หากร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ผ่านชั้นนิติบัญญัติแล้ว และมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย ทางกลุ่ม 40 ส.ว.จะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเอาผิดรัฐบาลอย่างแน่นอน
ส่วนความเห็นของคปก. ตนมองว่าไม่ช้าเกินไป เนื่องจากเป็นการให้ความเห็นหลังจากที่มีการพิจารณาและวิเคราะห์อย่างรอบคอบแล้ว ส่วนตัวเชื่อว่า แม้จะมีความเห็นของ คปก.หรือความเห็นคัดค้านการออกร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน จากฝ่ายค้าน และ ส.ว.แต่รัฐบาลที่ลุแก่อำนาจยังคงเดินหน้าประเด็นดังกล่าวอย่างแน่นอน ดังนั้น ประเด็นนี้เชื่อจะทำให้เป็นจุดตายรัฐบาล และภายในเดือนเมษายน 2557 รัฐบาลจะอยู่บริหารประเทศไม่ได้
**รบ.เดินหน้าน้ำ ไม่หวั่นศาลตัดสินย้อนหลัง
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ตามที่นายกฯได้แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองให้ความเห็นเกี่ยวกับคดีบริการจัดการน้ำ ซึ่งช่วงที่ผ่านมาได้มีการประชุมคณะทำงานภายใน เพื่อเตรียมเอกสารในการประชุมของคณะกรรมการในวันที่ 5 ก.ค. โดยหลังการประชุมคงจะยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะเป็นการประชุมกรรมการครั้งแรก
นายพงศ์เทพ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้คณะทำงานที่เกี่ยวข้องกำลังยกร่างสัญญาโครงการบริหารจัดการน้ำระหว่างกบอ.กับ 4 กลุ่มบริษัท ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 2 - 3 เดือนข้างหน้า ซึ่งสามารถจะลงนามได้ และมั่นใจว่าไม่มีปัญหาทางเทคนิค เช่นเรื่องการจัดทำประชาพิจารณ์ หรือ การปรับแก้ไขทีโออาร์ การใช้งบประมาณเงินกู้ที่ครม.อนุมัติกรอบวงเงินการกำหนดเพดานราคาก่อสร้างสูงสุด(GMP) ในโครงการ 9 โมดูล ให้กับเอกชนไปแล้ว ก็สามารถที่จะมาเขียนในสัญญาได้ ดังนั้นจึงไม่น่าเป็นห่วง และไม่กังวลว่าหากมีการลงนามไปแล้วศาลจะมีคำพิพากษาย้อนหลัง ถ้ารัฐบาลกลัวเช่นนั้น ก็คงไม่สามารถดำเนินการใดๆตามนโยบายได้
**ชายหมูเล็งพบปู จี้แบ่งเค้ก แก้น้ำกทม.
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. เป็นประธานการประชุมติดตามงานตามนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำท่วมขัง เพื่อทบทวนมาตราการความพร้อมในการรับมือฤดูฝนช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม โดยตอนหนึ่ง ได้พูดถึงการขออนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลเพื่อใช้เงินกู้ในวงเงิน 3.5 แสนล้านบาท สำหรับในโครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัย และการบริหารจัดการน้ำระยะยั่งยืน ปี 2555-2560 ในกรุงเทพฯ โดยระยะแรกเสนอโครงการรวม 26 โครงการ เป็นเงิน 14,000 ล้านบาท และระยะที่สองอีก 17 โครงการ เป็นเงิน 8,056 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงคลองระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ เพื่อรองรับปริมาณน้ำตามที่ได้รับมอบหมาย
วานนี้(4 ก.ค.56) นายประมนต์ สุธีวงค์ ประธาน องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย) เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น อย่างจริงจัง เห็นผลเป็นรูปธรรม พร้อมเรียกร้องแก้ไข 4 โครงการเมกะโปรเจ็คต์เร่งด่วนให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ทั้งโครงการประมูลขายข้าว ข้อตกลงคุณธรรมของรัฐบาล โครงการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย และโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ทั้งนี้ ทางองค์กรฯ เห็นว่า โครงการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย 3.5 แสนล้านบาทที่ต้องมีการทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนนั้น ผลจากการทำประชาพิจารณ์นี้จะต้องมีการทบทวนร่าง TOR ใหม่เพื่อปิดช่องทางการทุจริตคอร์รัปชั่นในกระบวนการ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้มีความโปร่งใส
เช่นเดียวกับโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทของกระทรวงคมนาคมนั้น องค์กรฯ สนับสนุนในหลักการ แต่การดำเนินการจำเป็นต้องมีกระบวนการทำงานอย่างเหมาะสมตามขั้นตอน ทั้งกรอบความยุติธรรมและความโปร่งใสต่อประชาชน
ส่วนความคืบหน้าของข้อตกลงด้านข้อตกลงคุณธรรม Integrity Pact ที่รัฐบาลประกาศออกมานั้น ยังมีความแตกต่างกับแนวทางและต่ำกว่ามาตรฐานของข้อเสนอขององค์กรฯ เช่นการให้บุคคลจากภาคเอกชนเข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ และการกำหนดบทลงโทษของผู้สังเกตการณ์นั้นจะเป็นปัญหาในการที่ภาคเอกชนจะพิจารณาตอบรับการเป็นผู้สังเกตการณ์ ดังนั้นต้องมีการหารือกันในรายละเอียด
**พงศ์เทพยันไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ม.169
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายพงศ์เทพ เทพกาญจา รองนายกรัฐมนตรี แถลงถึงกรณีที่คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ท้วงติงการออกร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง พ.ศ. … หรือ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 169 ว่า ตนยืนยันว่าประเด็นดังกล่าวไม่ขัดรัฐธรรมนูญแน่นอน เพราะเงินที่กู้มาไม่ถือเป็นเงินแผ่นดิน อีกทั้งมีการกู้เงินทำนองนี้มาหลายรัฐบาลแล้ว ไม่ใช่ครั้งแรก ฉะนั้น จึงสามารถที่จะใช้จ่ายตามพ.ร.บ.ดังกล่าวได้ ส่วนที่นายคณิต ณ นคร ประธาน คปก.ให้ความคิดเห็นไว้เรื่องของการรับฟังความคิดเห็นและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมนั้น รัฐบาลทำอยู่แล้วและทำแน่นอน ต้องขอบคุณนายคณิตที่ได้กรุณาเตือนและแนะนำ แต่ในการทำโครงการอะไรของรัฐบาล กฎหมายที่เกี่ยวข้องเรื่องสิ่งแวดล้อมและกฎหมายต่างๆ รัฐบาลต้องปฏิบัติอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมั่นใจว่าร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้จะไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ใช่เป็นกรณีเงินของแผ่นดิน
ส่วนที่ระบุว่าการออกร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จะทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติตรวจสอบไม่ได้นั้น ไม่ใช่แน่นอน เพราะฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจที่จะสอบถาม ติติง ตั้งกระทู้ หรือแม้กระทั่งการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล สิ่งเหล่านี้ทำได้อยู่แล้ว ไม่มีปัญหาอะไร เพราะช่วงแรกในการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวของฝ่ายนิติบัญญัติก็มีการตรวจสอบแล้วว่าตัวร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นอย่างไร ตรวจสอบโดยสภาผู้แทนราษฎร และแม้ตัวรัฐบาลจะมีเสียงข้างมากแต่ก็มีฝ่ายค้านอยู่ รวมทั้งมีการตรวจสอบโดยวุฒิสภา ซึ่งรัฐบาลเองไม่มีสมาชิกวุฒิสภาอยู่เลย ดังนั้น จึงมีการตรวจสอบโดยสองสภาก่อนที่จะไปกู้เงินได้ หลังจากกู้เงินมาแล้วกระบวนการทางฝ่ายนิติบัญญัติยังทำได้ตลอดเวลา
วันเดียวกัน นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ส่งอีเมลย์ตรงจากประเทศโปรแลนด์โต้นายคณิต โดยย้ำว่า ไม่ขัดรธน.
ร่าง พรบ. ฉบับนี้จำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเกินกว่าความจำเป็นโดยควบคุมองค์กรนิติบัญญัติ ไม่ให้มีโอกาสในการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินเป็นเวลา 7 ปี
**ร่างกมธ. เงินกู้ จ่อชงสภา 10 ก.ค.
นายไพจิต ศรีวรขาน รองประธานกรรมาธิการพิจารณาร่าง ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้สองล้านล้าน กล่าวว่าข้อเสนอของ คปก.ไม่มีผลกระทบต่อการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ เพราะในวันที่ 10 ก.ค. กรรมาธิการจะประชุมสรุปรายงานและตรวจเช็ครายงานที่จะส่งให้สภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง และหากเอกสารไม่มีอะไรผิดพลาดก็จะยื่นให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรรัฐสภาได้ในวันเดียวกัน เพื่อมให้ประธานฯพิจารณาบรรจุในระเบียบวาระต่อไป ส่วนข้อเสนอของ คปก. เชื่อว่าหากนำไปพิจารณาในวาระ 2 น่าจะเป็นประโยชน์กว่าการที่จะนำมาทบทวนในชั้นกรรมาธิการอีกครั้งหนึ่ง
นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่1 กล่าวว่า การแสดงความเห็นของคปก.นั้นเป็นเรื่องของคปก. ซึ่งก่อนที่จะมีการนำเข้าพิจารณาทางสภาฯก็ได้ดูข้อกฎหมายแล้ว และยืนยันว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยการที่คปก.ระบุว่ากฎหมายฉบับบนี้อาจจะขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา57 วรรค 2 และมาตรา 67 วรรค 2 มีปัญหาตามหลักสิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้น เห็นว่าในแต่ละเรื่องก็มีโครงสร้างอยู่แล้ว แต่ก็ต้องมีการมาขอเงินจากสภาฯก่อน และมีการอนุมัติโดยบองอย่างต้องมีการทำประชาพิจารณ์อยู่แล้วในภายหลังกฎหมายผ่านจากสภาฯ
** แนะรีบสรุปข้อเสนอของคปก.
นายอุดมเดช รัตนเสถียร สส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย และที่ปรึกษาวิปรัฐบาล กล่าวยืนยันว่า ข้อเสนอ คปก.ที่ระบุว่าร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทส่อขัดรัฐธรรมนูญนั้น ไม่กระทบต่อการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ในเดือน ส.ค.นี้ เพราะร่าง พ.ร.บ.ต้องเข้าสู่การพิจารณาต่อในวาระ 2 และ 3 ตามอำนาจหน้าที่ของสภา การจะตรวจสอบว่าร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ต้องรอให้ผ่านการพิจารณาของสภาและวุฒิสภาเสร็จสิ้นแล้วเท่านั้น
อย่างไรก็ตามมองว่าหาก คปก.ส่งหนังสือแจ้งเตือนมายังรัฐบาลเเล้ว ทางรัฐบาลเองควรส่งเรื่องให้หน่วยงานด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือตั้งคณะกรรมการหรือชุดทำงานขึ้นมาตรวจสอบเเละพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือขัดในประเด็นใด เพื่อหาข้อสรุปที่ชัดเจนก่อนเปิดสมัยประชุมสภาในเดือน ส.ค.ที่จะมีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้
**เพื่อไทยอัดคปก.จุ้นกม.กู้2ล้านล้าน
นายสงวน พงษ์มณี สส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า คปก.เป็นหน่วยงานที่ถูกตั้งขึ้นโดยรัฐธรรมนูญปี 50 ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีอำนาจหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องข้อกฎหมาย แต่ไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายได้ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของสภาในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ ดังนั้นการให้ความเห็นว่าร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 169 ถือเป็นสิ่งที่พอรับฟังได้ แต่หากจะบอกว่าการออกร่างกฎหมายดังกล่าวจะไม่คุ้มค่าการลงทุนจะมีผลกระทบต่อประเทศในระยะยาว เสนอให้ลดวงเงินกู้ หรือจัดทำเป็นวิธีการงบประมาณปกตินั้นถือว่านอกเหนือหน้าที่ของ คปก.เพราะเป็นเรื่องทางนโยบาย ดังนั้น คปก.ควรจะรู้หน้าที่ว่าตนเองควรจะมีบทบาทอย่างไร
**ปชป.ขู่ยื่นศาลรธน.ตีความกม.เงินกู้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการฟ้าวันใหม่ ทาง Blue Sky Channel กล่าวว่า เป็นข้อเสนอที่รัฐบาลควรรับฟังแต่ไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะฟัง ซึ่งเรื่องการกู้เงินรวดเดียว 2 ล้านล้านสามารถทำในระบบงบประมาณได้ และการทำโครงการต่าง ๆ ก็ปรากฏว่า หลายโครงการ ยังไม่ได้มีการศึกษาอย่างชัดเจนว่ามีความคุ้มค่า
นอกจากนี้คงจะไม่ต่างจากกรณีของเงินกู้ 3 แสน 5 หมื่นล้านบาท ในเรื่องโครงการน้ำที่หลายโครงการยังไม่มีการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลกระทบต่อชุมชน สังคม ดังนั้นข้อเสนอนี้ก็เป็นข้อเสนอที่อิงอยู่กับบทบัญญัติของกฎหมายทั้งสิ้น ก็หวังว่ารัฐบาลจะไปลองพิจารณาและทบทวนดู ส่วนการที่จะยื่นตีความร่างพ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาทนั้นคงต้องรอขั้นตอนสุดท้ายของการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฏร และก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ตรงนี้เป็นจังหวะที่รัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้ส.ส. ที่เห็นว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญไปยื่นให้ตีความได้ ทั้งนี้ข้อเสนอของคปก.อาจถูกนำไปใช้เป็นหลักฐานได้ ว่า รัฐบาลรู้ หรือสมควรรู้ว่ามันขัด แต่ก็ยังทำ ดังนั้นอยู่ที่รัฐบาลว่า จะพิจารณาหรือไม่อย่างไร ถ้าไม่พิจารณาก็ต้องรับผิดชอบกับการตัดสินใจของตนเอง
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เรามีความจำเป็นที่จะต้องตักเตือนและทักท้วงในสิ่งที่รัฐบาลกำลังพาประเทศไปสู่ความเสียหายและเสียโอกาส เช่น โครงการบริหารน้ำ 3.5 แสนล้านบาทที่รัฐบาลมีเวลากว่าปีครึ่งแต่กลับใช้เวลาไปอย่างว่างเปล่าไม่มีการดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศ แสดงว่ารัฐบาลขาดความเข้าใจในการบริหารงานและปฏิบัติตามกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่นเดียวกับกฎหมายเงินกู้2ล้านล้านบาทที่ นายคณิต ณ นคร ชี้ว่าขัดรัฐธรรมนูญหลายมาตรา ซึงส่อว่าจะซ้ำรอยกับเงินกู้ 3.5 แสนล้าน เพราะมีการระบุถึงมาตรา 57 และ 67 เหมือนกัน
"แปลกใจว่ารัฐบาลที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตยกลับทำตัวเหมือนเผด็จการไม่รับฟังความเห็นประชาชน ตัดโอกาสและสิทธิของประชาชน สุดท้ายก็ทำงานไม่ได้ติดขัดในเรื่องรัฐธรรมนูญ ผมไม่อยากให้เงินกู้2ล้านล้านบาทจะมีจุดจบเหมือนกันจนประเทศเสียโอกาส "
ส่วนกรณีที่นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรมช.เกษตรฯ ระบุว่า ฝ่ายค้านสามารถยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้เมื่อกฎหมายผ่านสภาหากเห็นว่าขัดรัฐธรรมนูญนั้น นายชวนนท์ กล่าวว่า ถ้าสุดท้ายรัฐบาลไม่ฟังฝ่ายตรวจสอบก็ต้องดำเนินการยื่นศาลรัฐธรรมนูญแน่นอน
"แต่ต้องถามว่าทำตามกฎหมายยากเย็นมากหรืออย่างไรที่จะต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกติ เพราะรัฐบาลกำลังจะบอกว่าตัวเองเป็นรัฐบาลพิเศษไม่ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ซึ่งสุดท้ายไม่มีใครได้ประโยชน์ นอกจากประเทศเสียหาย"
** 40ส.ว.เล็งยื่นศาลหากกูกู้เงินผ่านสภา
ที่รัฐสภา นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา กลุ่ม 40 ส.ว.กล่าวว่า หากร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ผ่านชั้นนิติบัญญัติแล้ว และมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย ทางกลุ่ม 40 ส.ว.จะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเอาผิดรัฐบาลอย่างแน่นอน
ส่วนความเห็นของคปก. ตนมองว่าไม่ช้าเกินไป เนื่องจากเป็นการให้ความเห็นหลังจากที่มีการพิจารณาและวิเคราะห์อย่างรอบคอบแล้ว ส่วนตัวเชื่อว่า แม้จะมีความเห็นของ คปก.หรือความเห็นคัดค้านการออกร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน จากฝ่ายค้าน และ ส.ว.แต่รัฐบาลที่ลุแก่อำนาจยังคงเดินหน้าประเด็นดังกล่าวอย่างแน่นอน ดังนั้น ประเด็นนี้เชื่อจะทำให้เป็นจุดตายรัฐบาล และภายในเดือนเมษายน 2557 รัฐบาลจะอยู่บริหารประเทศไม่ได้
**รบ.เดินหน้าน้ำ ไม่หวั่นศาลตัดสินย้อนหลัง
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ตามที่นายกฯได้แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองให้ความเห็นเกี่ยวกับคดีบริการจัดการน้ำ ซึ่งช่วงที่ผ่านมาได้มีการประชุมคณะทำงานภายใน เพื่อเตรียมเอกสารในการประชุมของคณะกรรมการในวันที่ 5 ก.ค. โดยหลังการประชุมคงจะยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะเป็นการประชุมกรรมการครั้งแรก
นายพงศ์เทพ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้คณะทำงานที่เกี่ยวข้องกำลังยกร่างสัญญาโครงการบริหารจัดการน้ำระหว่างกบอ.กับ 4 กลุ่มบริษัท ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 2 - 3 เดือนข้างหน้า ซึ่งสามารถจะลงนามได้ และมั่นใจว่าไม่มีปัญหาทางเทคนิค เช่นเรื่องการจัดทำประชาพิจารณ์ หรือ การปรับแก้ไขทีโออาร์ การใช้งบประมาณเงินกู้ที่ครม.อนุมัติกรอบวงเงินการกำหนดเพดานราคาก่อสร้างสูงสุด(GMP) ในโครงการ 9 โมดูล ให้กับเอกชนไปแล้ว ก็สามารถที่จะมาเขียนในสัญญาได้ ดังนั้นจึงไม่น่าเป็นห่วง และไม่กังวลว่าหากมีการลงนามไปแล้วศาลจะมีคำพิพากษาย้อนหลัง ถ้ารัฐบาลกลัวเช่นนั้น ก็คงไม่สามารถดำเนินการใดๆตามนโยบายได้
**ชายหมูเล็งพบปู จี้แบ่งเค้ก แก้น้ำกทม.
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. เป็นประธานการประชุมติดตามงานตามนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำท่วมขัง เพื่อทบทวนมาตราการความพร้อมในการรับมือฤดูฝนช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม โดยตอนหนึ่ง ได้พูดถึงการขออนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลเพื่อใช้เงินกู้ในวงเงิน 3.5 แสนล้านบาท สำหรับในโครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัย และการบริหารจัดการน้ำระยะยั่งยืน ปี 2555-2560 ในกรุงเทพฯ โดยระยะแรกเสนอโครงการรวม 26 โครงการ เป็นเงิน 14,000 ล้านบาท และระยะที่สองอีก 17 โครงการ เป็นเงิน 8,056 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงคลองระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ เพื่อรองรับปริมาณน้ำตามที่ได้รับมอบหมาย