นายธีมะ กาญจนไพริน โฆษกผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง การเดินทางไปประเทศโปแลนด์ ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 3-5 ก.ค.นี้ว่า จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า การเผยแพร่วาทกรรมความคิดเรื่องประชาธิปไตย และความคิดของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีการว่าจ้างบริษัทประชาสัมพันธ์ และนักล็อบบี้จากต่างประเทศ 4 แห่ง คือ บริษัทบีจีอาร์ก็อปเวอร์เมนท์แอฟแฟร์ เน้นการทำหน้าที่เจรจาเดินสายคุยกับนักการเมืองอเมริกัน เผยแพร่วาทะกรรมความคิดเรื่องประชาธิปไตยของ พ.ต.ท.ทักษิณ บริษัทอัมเสตอร์ดัมแอนด์เฟอร์รอฟ บริการด้านกฎหมาย ของนายโรเบิร์ต อัมเสตอร์ดัม ทนายความส่วนตัว พ.ต.ท.ทักษิณ บริษัทโค๊บแอนด์คิมแอลแอลพี รับทำงานล็อบบี้ และวางแผนด้านนโยบายเศรษฐกิจการเมือง และ บริษัทเบเคอร์บอทแอลแอลพี ของนายเจมส์ เบเกอร์ อดีต รมว.ต่างประเทศ ของสหรัฐอเมริกา ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเมืองสหรัฐอเมริกา โดยสองพี่น้องตระกูลชินวัตร ทุ่มเงินหลายล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อ จ้าง 4 บริษัท ดังกล่าว
นายธีระ กล่าวว่า จากการตรวจสอบการเดินทางไปต่างประเทศของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตลอด 2 ปีในการบริหารประเทศ พบว่ามีการเดินทางนอกประเทศ 109 วัน 5 ทวีป 43 ประเทศ และหากนับประเทศที่เดินทางซ้ำ จะอยู่ที่ 1-3 รอบ และเกือบทุกครั้งก่อนการเดินทางไปต่างประเทศของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ จะเดินทางไปกรุยทางก่อน อีกทั้งการปาฐกถาของนายกรัฐมนตรี เช่น ที่มองโกเลีย มีการพูดถึงการเมืองประเทศไทย โดยใช้เวทีนานาชาติโจมตีการเมืองประเทศไทย
"เชื่อว่าการเดินทางไปต่างประเทศของนายกรัฐมนตรี มีเหตุผลหลักตามยุทธศาสตร์โลกล้อมประเทศไทย สร้างความชอบธรรมให้กับตัวเอง และรางวัลที่นายกฯ ได้รับมอบจากองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฟอร์ป นิวส์วีค อาจจะเชื่อได้ว่า เป็นเพราะผลงานของ 4 บริษัทล็อบบี้ยิสต์ดังกล่าว จึงต้องตั้งคำถามว่า เป็นรางวัลที่ได้จากความสามารถของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ หรือความสามารถของบริษัทล็อบบี้ยิสต์ ที่มีการจ้างไว้กันแน่ "
นายธีระ กล่าวว่าอยากให้นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับกิจการในประเทศ มากกว่าการเดินทางไปต่างประเทศ โดยเฉพาะภาระหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งการจำนำข้าว การกู้เงิน 3.5 แสนล้าน ที่นายกฯ ยังตอบคำถามต่อสังคมไม่ได้ ดังนั้นการเดินทางไปต่างประเทศ ต้องชั่งน้ำหนักว่าอะไรสำคัญมากกว่ากัน จึงขอเรียกร้องไปยังนายกฯ ล่วงหน้าว่า ในวันที่ 1 ส.ค. 56 เป็นต้นไป ที่จะเปิดสภาขอให้นายกฯให้ความสำคัญเท่ากับการเดินทางไปต่างประเทศ ด้วยการร่วมประชุมสภาตอบกระทู้ถาม ให้ความร่วมมือกับกลไกการตรวจสอบของสภาให้มากกว่านี้ ในฐานะที่เป็นหัวหน่้าฝ่ายบริหาร และเป็นส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อด้วย ไม่ใช่เข้าสภาเฉพาะแค่การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น
โฆษกผู้นำฝ่ายค้าน ยังฝากไปยังทีมงานโฆษกของพรรคเพื่อไทย และรัฐบาลว่า ตลอดเวลาที่ประชาชนเกิดความสงสัยเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสในโครงการจำนำข้าว และเงินกู้ 3.5 แสนล้าน แต่โฆษกเหล่านี้กลับไม่ได้ทำหน้าที่ในการตอบคำถามสังคม แต่ใช้วิธีการซ้ำซากในเรื่องเดิมคือ โจมตี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านฯ ในเรื่องหนีทหาร ปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์ จึงขอเรียกร้องให้เลิกโจมตีในเรื่องส่วนตัว ที่ไม่เป็นความจริง เพราะนายอภิสิทธิ์ ได้ชี้แจงไปแล้วหลายครั้ง อีกทั้งคดีก็อยู่ในระหว่างการพิจารณาของกระบวนการยุติธรรม จึงขอให้ชี้แจงในส่วนที่สังคมสงสัยต่อการบริหารของรัฐบาลจะดีกว่า
นายธีระ กล่าวว่า จากการตรวจสอบการเดินทางไปต่างประเทศของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตลอด 2 ปีในการบริหารประเทศ พบว่ามีการเดินทางนอกประเทศ 109 วัน 5 ทวีป 43 ประเทศ และหากนับประเทศที่เดินทางซ้ำ จะอยู่ที่ 1-3 รอบ และเกือบทุกครั้งก่อนการเดินทางไปต่างประเทศของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ จะเดินทางไปกรุยทางก่อน อีกทั้งการปาฐกถาของนายกรัฐมนตรี เช่น ที่มองโกเลีย มีการพูดถึงการเมืองประเทศไทย โดยใช้เวทีนานาชาติโจมตีการเมืองประเทศไทย
"เชื่อว่าการเดินทางไปต่างประเทศของนายกรัฐมนตรี มีเหตุผลหลักตามยุทธศาสตร์โลกล้อมประเทศไทย สร้างความชอบธรรมให้กับตัวเอง และรางวัลที่นายกฯ ได้รับมอบจากองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฟอร์ป นิวส์วีค อาจจะเชื่อได้ว่า เป็นเพราะผลงานของ 4 บริษัทล็อบบี้ยิสต์ดังกล่าว จึงต้องตั้งคำถามว่า เป็นรางวัลที่ได้จากความสามารถของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ หรือความสามารถของบริษัทล็อบบี้ยิสต์ ที่มีการจ้างไว้กันแน่ "
นายธีระ กล่าวว่าอยากให้นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับกิจการในประเทศ มากกว่าการเดินทางไปต่างประเทศ โดยเฉพาะภาระหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งการจำนำข้าว การกู้เงิน 3.5 แสนล้าน ที่นายกฯ ยังตอบคำถามต่อสังคมไม่ได้ ดังนั้นการเดินทางไปต่างประเทศ ต้องชั่งน้ำหนักว่าอะไรสำคัญมากกว่ากัน จึงขอเรียกร้องไปยังนายกฯ ล่วงหน้าว่า ในวันที่ 1 ส.ค. 56 เป็นต้นไป ที่จะเปิดสภาขอให้นายกฯให้ความสำคัญเท่ากับการเดินทางไปต่างประเทศ ด้วยการร่วมประชุมสภาตอบกระทู้ถาม ให้ความร่วมมือกับกลไกการตรวจสอบของสภาให้มากกว่านี้ ในฐานะที่เป็นหัวหน่้าฝ่ายบริหาร และเป็นส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อด้วย ไม่ใช่เข้าสภาเฉพาะแค่การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น
โฆษกผู้นำฝ่ายค้าน ยังฝากไปยังทีมงานโฆษกของพรรคเพื่อไทย และรัฐบาลว่า ตลอดเวลาที่ประชาชนเกิดความสงสัยเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสในโครงการจำนำข้าว และเงินกู้ 3.5 แสนล้าน แต่โฆษกเหล่านี้กลับไม่ได้ทำหน้าที่ในการตอบคำถามสังคม แต่ใช้วิธีการซ้ำซากในเรื่องเดิมคือ โจมตี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านฯ ในเรื่องหนีทหาร ปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์ จึงขอเรียกร้องให้เลิกโจมตีในเรื่องส่วนตัว ที่ไม่เป็นความจริง เพราะนายอภิสิทธิ์ ได้ชี้แจงไปแล้วหลายครั้ง อีกทั้งคดีก็อยู่ในระหว่างการพิจารณาของกระบวนการยุติธรรม จึงขอให้ชี้แจงในส่วนที่สังคมสงสัยต่อการบริหารของรัฐบาลจะดีกว่า