ASTVผู้จัดการรายวัน-เงินเฟ้อเดือนมิ.ย.โต 2.25% ต่ำสุดในรอบ 43 เดือน เหตุราคาสินค้าส่วนใหญ่ชะลอตัวลง ส่วนเงินเฟ้อครึ่งปี หดเหลือแค่ 2.7% ต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ “วัชรี”คาดเงินเฟ้อครึ่งปีหลังทรงตัว เหตุแรงกดดันเงินเฟ้อไม่มี
นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือนมิ.ย.2556 ที่ทำการสำรวจจากราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศ 450 รายการ เท่ากับ 105.31 สูงขึ้น 0.15% เมื่อเทียบกับเดือนพ.ค.2556 และสูงขึ้น 2.25% เมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.2555 โดยเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 43 เดือนนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2552 ที่มีอัตราสูงขึ้น 1.9% ส่งผลให้เงินเฟ้อเฉลี่ย 6 เดือนของปี 2556
(ม.ค.-มิ.ย.) เพิ่มขึ้น 2.7% ซึ่งเป็นเดือนแรกที่เงินเฟ้อเฉลี่ยหลุดจากเป้าหมายทั้งปีที่ตั้งไว้ที่ 2.8-3.4% แต่ยังต้องรอดูอีก 1-2 เดือน ถึงจะบอกได้ว่าเงินเฟ้อภาพรวมจะเป็นอย่างไร
สาเหตุที่เงินเฟ้อในเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง เนื่องจากราคาอาหารสดค่อยๆ ปรับตัวลดลงเข้าสู่ระดับปกติตามสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวย และเป็นฤดูกาลของผัก ผลไม้บางชนิด ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาสินค้าและบริการอื่นๆ ไม่ได้ปรับตัวสูงมากนัก
ทั้งนี้ รายละเอียดเงินเฟ้อเดือนมิ.ย.2556 ที่สูงขึ้น 2.25% มาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 3.52% ได้แก่ ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้น 1.15% เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ สูงขึ้น 6.12% ไข่และผลิตภัณฑ์นม สูงขึ้น 5.06% ผักและผลไม้ สูงขึ้น 9.76% เครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้น 0.7% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 1.01% และอาหารสำเร็จรูป สูงขึ้น
1.24% ส่วนดัชนีราคาหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหาร สูงขึ้น 1.59% ได้แก่ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า สูงขึ้น 0.91% เคหสถาน สูงขึ้น 1.31% การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้น 0.83% พาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร สูงขึ้น 1.95% การบันเทิง การอ่าน การศึกษา และการศาสนา สูงขึ้น 0.39% ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 7.31%
ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานประจำเดือนมิ.ย.2556 ซึ่งคำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 312 รายการ โดยหักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และกลุ่มพลังงาน 138 รายการ เท่ากับ 103.07 สูงขึ้น 0.09% เมื่อเทียบกับเดือนพ.ค.2556 และสูงขึ้น 0.88% เมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.2555 มีอัตราเฉลี่ย 6 เดือน สูงขึ้น 1.23%
นางวัชรีกล่าวว่า แนวโน้มเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่า จะยังทรงตัวอยู่ในระดับนี้ เพราะปัจจัยที่เป็นแรงกดดันต่อเงินเฟ้อยังคงไม่ผันผวน โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ทรงตัว ขณะที่แนวโน้มราคาสินค้าส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาวะปกติ ไม่มีการปรับขึ้นราคา และรัฐบาลยังคงมาตรการดูแลค่าครองชีพ แต่จะมีแรงกดดันต่อเงินเฟ้อบ้าง ก็คือ การปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม และการปรับขึ้นค่าทางด่วน แต่ยังเชื่อมั่นว่า เงินเฟ้อทั้งปีจะอยู่ในกรอบที่ได้ตั้งไว้ 2.8-3.4%
นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือนมิ.ย.2556 ที่ทำการสำรวจจากราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศ 450 รายการ เท่ากับ 105.31 สูงขึ้น 0.15% เมื่อเทียบกับเดือนพ.ค.2556 และสูงขึ้น 2.25% เมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.2555 โดยเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 43 เดือนนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2552 ที่มีอัตราสูงขึ้น 1.9% ส่งผลให้เงินเฟ้อเฉลี่ย 6 เดือนของปี 2556
(ม.ค.-มิ.ย.) เพิ่มขึ้น 2.7% ซึ่งเป็นเดือนแรกที่เงินเฟ้อเฉลี่ยหลุดจากเป้าหมายทั้งปีที่ตั้งไว้ที่ 2.8-3.4% แต่ยังต้องรอดูอีก 1-2 เดือน ถึงจะบอกได้ว่าเงินเฟ้อภาพรวมจะเป็นอย่างไร
สาเหตุที่เงินเฟ้อในเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง เนื่องจากราคาอาหารสดค่อยๆ ปรับตัวลดลงเข้าสู่ระดับปกติตามสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวย และเป็นฤดูกาลของผัก ผลไม้บางชนิด ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาสินค้าและบริการอื่นๆ ไม่ได้ปรับตัวสูงมากนัก
ทั้งนี้ รายละเอียดเงินเฟ้อเดือนมิ.ย.2556 ที่สูงขึ้น 2.25% มาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 3.52% ได้แก่ ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้น 1.15% เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ สูงขึ้น 6.12% ไข่และผลิตภัณฑ์นม สูงขึ้น 5.06% ผักและผลไม้ สูงขึ้น 9.76% เครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้น 0.7% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 1.01% และอาหารสำเร็จรูป สูงขึ้น
1.24% ส่วนดัชนีราคาหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหาร สูงขึ้น 1.59% ได้แก่ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า สูงขึ้น 0.91% เคหสถาน สูงขึ้น 1.31% การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้น 0.83% พาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร สูงขึ้น 1.95% การบันเทิง การอ่าน การศึกษา และการศาสนา สูงขึ้น 0.39% ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 7.31%
ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานประจำเดือนมิ.ย.2556 ซึ่งคำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 312 รายการ โดยหักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และกลุ่มพลังงาน 138 รายการ เท่ากับ 103.07 สูงขึ้น 0.09% เมื่อเทียบกับเดือนพ.ค.2556 และสูงขึ้น 0.88% เมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.2555 มีอัตราเฉลี่ย 6 เดือน สูงขึ้น 1.23%
นางวัชรีกล่าวว่า แนวโน้มเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่า จะยังทรงตัวอยู่ในระดับนี้ เพราะปัจจัยที่เป็นแรงกดดันต่อเงินเฟ้อยังคงไม่ผันผวน โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ทรงตัว ขณะที่แนวโน้มราคาสินค้าส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาวะปกติ ไม่มีการปรับขึ้นราคา และรัฐบาลยังคงมาตรการดูแลค่าครองชีพ แต่จะมีแรงกดดันต่อเงินเฟ้อบ้าง ก็คือ การปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม และการปรับขึ้นค่าทางด่วน แต่ยังเชื่อมั่นว่า เงินเฟ้อทั้งปีจะอยู่ในกรอบที่ได้ตั้งไว้ 2.8-3.4%