เงินเฟ้อเม.ย.เพิ่ม 2.42% ต่ำสุดในรอบ 41 เดือน หลังสินค้าราคาทรงตัว แม้อาหารสดแพงขึ้นจากภัยแล้ง "พาณิชยื"มั่นใจทั้งปีเอาอยู่ 3.1-3.2% ยันขึ้นค่าทางด่วน รถบีทีเอส และแอลพีจี กระทบเงินเฟ้อไม่มาก
นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป หรือเงินเฟ้อ เดือนเม.ย.2556 อยู่ในระดับ 104.90 สูงขึ้น 0.16% เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค.2556 และสูงขึ้น 2.42% เมื่อเทียบกับเม.ย.2555 ซึ่งถือเป็นการสูงขึ้นในอัตราต่ำสุดในรอบ 41 เดือน นับตั้งแต่เดือนพ.ย.2552 ที่เพิ่มขึ้น 1.9% ส่งผลให้ยอดเงินเฟ้อเฉลี่ย 4 เดือนแรกของปี 2556 (ม.ค.-เม.ย.) สูงขึ้น 2.92% โดยสาเหตุที่เงินเฟ้อเดือนเม.ย.ชะลอตัว มาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง เงินบาทแข็งค่า ทำให้ราคาพลังงานในประเทศปรับลดลง และส่งผลให้ราคาสินค้าโดยรวมไม่ขยับตัวสูงขึ้นนัก ขณะเดียวกันภาครัฐยังคงมาตรการดูแลราคาสินค้าและพลังงาน
“เดือนเม.ย. ราคาอาหารสดสูงขึ้นค่อนข้างมาก เนื่องจากหลายพื้นที่ประสบปัญหาสภาพอากาศร้อนจัดและภัยแล้งขยายวงกว้าง ทำให้ปริมาณผลผลิตโดยรวมลดลง และยังเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาอาหารสดปรับตัวสูงขึ้น และยังทำให้อาหารสำเร็จรูป หมวดข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์ จากแป้ง หมวดเครื่องประกอบอาหาร หมวดนมและผลิตภัณฑ์นม มีราคาสูงขึ้นด้วย ยกเว้นไข่ และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ที่ราคาลดลง”
ส่วนแนวโน้มเงินเฟ้อในไตรมาสที่ 2 คาดว่าจะเติบโตใกล้เคียงกับไตรมาสแรกที่เพิ่มขึ้น 3.1% โดยราคาอาหารสดในช่วงต่อจากนี้ น่าจะปรับลดลงได้ เพราะเข้าสู่ฤดูฝนทำให้ผลผลิตผักสด เนื้อสัตว์ หมู ไก่ ปลา ออกมาสู่ตลาดเพิ่มขึ้น สำหรับตัวเลขทั้งปีจะอยู่ในกรอบ 2.8-3.4% ตามที่คาดไว้ แต่มีโอกาสใกล้ระดับ 3.1-3.2% มากสุด
ทั้งนี้ เมื่อแยกรายละเอียดของเงินเฟ้อที่สูงขึ้น 2.42% มาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 4.15% โดยราคาสินค้าที่เพิ่ม ได้แก่ ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง 0.74% เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ 6.15% ไข่และผลิตภัณฑ์นม 3.11% ผักและผลไม้ 13.14% เครื่องประกอบอาหาร 0.52% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 1.57% และอาหารสำเร็จรูป 1.7%
ขณะที่ดัชนีราคาหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 1.42% โดยราคาที่สูงขึ้น ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าสูงขึ้น 0.68% หมวดเคหสถาน 3.12% หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล 0.96% หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษา และการศาสนา 0.61% หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ 7.46% ยกเว้นหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารลดลง 0.08%
นางวัชรีกล่าวว่า กรณีที่รัฐบาลได้ปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ภาคครัวเรือน, ค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส และค่าทางด่วนในช่วงไตรมาส 2 คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อทั้งปีเล็กน้อย เนื่องจากน้ำหนักในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคมีสัดส่วนที่ไม่สูงนัก โดยค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสมีน้ำหนักในการคำนวณเพียง 0.05% และหากปรับขึ้นราคาก็จะกระทบต่อเงินเฟ้อทั้งปีให้ปรับขึ้นเพียง 0.001% เท่านั้น ส่วนค่าทางด่วนมีน้ำหนักในการคำนวณเพียง 0.07% หากมีการปรับขึ้นราคาจะกระทบต่อเงินเฟ้อทั้งปีแค่ 0.001% เช่นเดียวกับแอลพีจีภาคครัวเรือนหากทยอยปรับขึ้นเดือนละ 50 สตางค์ ก็จะทำให้เงินเฟ้อต่อเดือนปรับเพิ่มขึ้นเพียงเดือนละ 0.0088% และส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อทั้งปีแค่ 0.06%
ด้านเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนเม.ย.2556 เท่ากับ 102.93 สูงขึ้น 0.06% เทียบกับเดือนมี.ค.2556 และสูงขึ้น 1.18 เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.2555 โดยราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องแบบนักเรียนชายและหญิง เสื้อผ้า รองเท้า รวมถึงค่าเช่าบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เครื่องดูดฝุ่น เครื่องซักผ้า น้ำยาทำความสะอาด ผงซักฟอก ค่ารักษาพยาบาล ค่าตรวจสุขภาพประจำปี ค่ายาจากโรงพยาบาลรัฐ ขณะที่สินค้าและบริการที่ราคาลดลง ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์ ค่าห้องพักโรงแรม เครื่องถวายพระ และ เบียร์
นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป หรือเงินเฟ้อ เดือนเม.ย.2556 อยู่ในระดับ 104.90 สูงขึ้น 0.16% เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค.2556 และสูงขึ้น 2.42% เมื่อเทียบกับเม.ย.2555 ซึ่งถือเป็นการสูงขึ้นในอัตราต่ำสุดในรอบ 41 เดือน นับตั้งแต่เดือนพ.ย.2552 ที่เพิ่มขึ้น 1.9% ส่งผลให้ยอดเงินเฟ้อเฉลี่ย 4 เดือนแรกของปี 2556 (ม.ค.-เม.ย.) สูงขึ้น 2.92% โดยสาเหตุที่เงินเฟ้อเดือนเม.ย.ชะลอตัว มาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง เงินบาทแข็งค่า ทำให้ราคาพลังงานในประเทศปรับลดลง และส่งผลให้ราคาสินค้าโดยรวมไม่ขยับตัวสูงขึ้นนัก ขณะเดียวกันภาครัฐยังคงมาตรการดูแลราคาสินค้าและพลังงาน
“เดือนเม.ย. ราคาอาหารสดสูงขึ้นค่อนข้างมาก เนื่องจากหลายพื้นที่ประสบปัญหาสภาพอากาศร้อนจัดและภัยแล้งขยายวงกว้าง ทำให้ปริมาณผลผลิตโดยรวมลดลง และยังเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาอาหารสดปรับตัวสูงขึ้น และยังทำให้อาหารสำเร็จรูป หมวดข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์ จากแป้ง หมวดเครื่องประกอบอาหาร หมวดนมและผลิตภัณฑ์นม มีราคาสูงขึ้นด้วย ยกเว้นไข่ และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ที่ราคาลดลง”
ส่วนแนวโน้มเงินเฟ้อในไตรมาสที่ 2 คาดว่าจะเติบโตใกล้เคียงกับไตรมาสแรกที่เพิ่มขึ้น 3.1% โดยราคาอาหารสดในช่วงต่อจากนี้ น่าจะปรับลดลงได้ เพราะเข้าสู่ฤดูฝนทำให้ผลผลิตผักสด เนื้อสัตว์ หมู ไก่ ปลา ออกมาสู่ตลาดเพิ่มขึ้น สำหรับตัวเลขทั้งปีจะอยู่ในกรอบ 2.8-3.4% ตามที่คาดไว้ แต่มีโอกาสใกล้ระดับ 3.1-3.2% มากสุด
ทั้งนี้ เมื่อแยกรายละเอียดของเงินเฟ้อที่สูงขึ้น 2.42% มาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 4.15% โดยราคาสินค้าที่เพิ่ม ได้แก่ ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง 0.74% เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ 6.15% ไข่และผลิตภัณฑ์นม 3.11% ผักและผลไม้ 13.14% เครื่องประกอบอาหาร 0.52% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 1.57% และอาหารสำเร็จรูป 1.7%
ขณะที่ดัชนีราคาหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 1.42% โดยราคาที่สูงขึ้น ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าสูงขึ้น 0.68% หมวดเคหสถาน 3.12% หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล 0.96% หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษา และการศาสนา 0.61% หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ 7.46% ยกเว้นหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารลดลง 0.08%
นางวัชรีกล่าวว่า กรณีที่รัฐบาลได้ปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ภาคครัวเรือน, ค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส และค่าทางด่วนในช่วงไตรมาส 2 คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อทั้งปีเล็กน้อย เนื่องจากน้ำหนักในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคมีสัดส่วนที่ไม่สูงนัก โดยค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสมีน้ำหนักในการคำนวณเพียง 0.05% และหากปรับขึ้นราคาก็จะกระทบต่อเงินเฟ้อทั้งปีให้ปรับขึ้นเพียง 0.001% เท่านั้น ส่วนค่าทางด่วนมีน้ำหนักในการคำนวณเพียง 0.07% หากมีการปรับขึ้นราคาจะกระทบต่อเงินเฟ้อทั้งปีแค่ 0.001% เช่นเดียวกับแอลพีจีภาคครัวเรือนหากทยอยปรับขึ้นเดือนละ 50 สตางค์ ก็จะทำให้เงินเฟ้อต่อเดือนปรับเพิ่มขึ้นเพียงเดือนละ 0.0088% และส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อทั้งปีแค่ 0.06%
ด้านเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนเม.ย.2556 เท่ากับ 102.93 สูงขึ้น 0.06% เทียบกับเดือนมี.ค.2556 และสูงขึ้น 1.18 เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.2555 โดยราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องแบบนักเรียนชายและหญิง เสื้อผ้า รองเท้า รวมถึงค่าเช่าบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เครื่องดูดฝุ่น เครื่องซักผ้า น้ำยาทำความสะอาด ผงซักฟอก ค่ารักษาพยาบาล ค่าตรวจสุขภาพประจำปี ค่ายาจากโรงพยาบาลรัฐ ขณะที่สินค้าและบริการที่ราคาลดลง ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์ ค่าห้องพักโรงแรม เครื่องถวายพระ และ เบียร์