xs
xsm
sm
md
lg

เฟอร์นิเจอร์โอดนโยบายรัฐดีแต่ฝอยจี้เจรจาขอโซนนิ่งตั้งรง.ในยุโรป-อเมริกา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน - เฟอร์นิเจอร์ โอด นโยบายรัฐดีแต่ฝอย หนุนหาตลาดใหม่-สร้างแบรนด์สู้ เฟอร์ต้นทุนตต่ำจากจีน-เวียดนาม แต่ไม่มีการปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรม จี้รัฐตัวกลางเจรจาแบบรัฐต่อรัฐขอโซนนิ่งพื้นที่ตั้งโรงงาน ไกด์ไลน์วิธิปฏิบัติแก้ปัญหากม.ต่างแดน ในกลุ่มประเทศอเมริกา-ยุโรปปูทางสร้างแบรนด์ปั้นส่งออกภายใต้แบรนด์ตัวเอง แจงหลังศก.ยุโปร-อเมริกาทรุดออร์เดอร์หายหันเปิดตลาดเอเชียดันยอดส่งออกขยายตัว

ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาถือเป็นช่วงวิกฤติของผู้ประกอบการตลาดเฟอร์นิเจอร์ไทย เนื่องจากถูกปัญหารุมเร้า ทั้งปัญหาจากภายใน ซึ่งเกิดจากการปรับตัวของราคาวัตถุดิบ และค่าแรงงานที่ปรับตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับถูกเฟอร์นิเจอร์จากประเทศจีน และ เวียดนาน ซึ่งมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกวาเฟอร์นิเจอร์ในประเทศ จึงสามารถตั้งราคาขายที่ต่ำกว่าเฟอร์นิเจอร์ไทย ทำให้เฟอร์นิเจอร์ไทยถูกเฟอร์นิเจอร์จากประเทศจีนและเวียดนามตีตลาดอย่างหนัก โดยเฉพาะตลาดส่งออก ในกลุ่มประเทศยุโรป และกลุ่มประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศลูกค้ารายใหญ่อันดับ1และ2 ของไทย

นอกจากนี้ตลาดส่งออกหลักๆ อย่างกลุ่มยุโรป และ สหรัฐอเมริกายังเกิดปัญหาวิกฤติการทางการเงินขึ้นทำให้กำลังซื้อและการสั่งซื้อเฟอร์นิเจอร์จากทั้ง2กลุ่มหดตัวลงอย่างมาก เนื่องจากประชาชนในกลุ่มประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดส่งออกเบอร์1ของไทยชะลอการซื้อเฟอร์นิเจอร์ บวกกับเฟอริ์เจอร์จีนและเวียดนามที่มีราคาขายที่ต่ำกว่าเข้ามาแย่งตลาดทำให้คำสั่งซื้อ (ออเดอร์) จากประเทศสหรัฐอเมริกาหายไปจำนวนมาก

นายอารักษ์ สุขสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค จำกัด (มหาชน) (ECF)
ผู้ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้ปาร์ติเคิลบอร์ด เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา เปิดเผยว่า นอกจากกลุ่มประเทศยุโรปที่ชะลอการนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ลงไปแล้ว สหรัฐอเมริการยังหันไปจับมือกับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง แคนนาดา และแมกซิโก ทำสัญญาความร่วมมือในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ราคาต่ำส่งขายในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้ประเทศแมกซิโกเป็นฐานในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ต้นทุนต่ำและส่งไปขายในอเมริกา ซึ่งยิ่งทำให้ยอดสั่งซื้อจากประเทศสหรัฐลดลงอย่างมาก

จากปัจจัยลบด้านการแข่งขันด้วยกลยุทธ์ราคา ปัญหาค่าแรง การขาดแคลนแรงงาน และต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าประเทศคู่แข่ง ตลอดจนการหดตัวของตลาดส่งออกหลักๆ อย่างกลุ่มประเทศยุโรป และสหรัฐอเมริกา ทำให้ผู้ประกอบการไทยหลายๆ รายล้มหายตายจากตลาดไป โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์ขนาดกลางและขยาดย่อม หรือ กลุ่มผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์เอสเอ็มอี

“ผู้ประกอบการที่สามารถก้าวผ่านวิกฤติในช่วง3-4ที่ผ่านมานั้นต่างมีการดิ้นรนปรับตัวกันด้วยตัวเอง ไม่ได้รับการเหลียวแลและช่วยเหลือจากภาครัฐแต่อย่างใด ซึ่งผู้ประกอบการที่ฝ่าผ่านวิกฤติช่วงก่อนหน้ามาได้ส่วนใหญ่ ต่างหันไปเปิดตลาดใหม่ๆ เช่น กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งที่เป็นสมาชิกในกลุ่มประเทศอาเซียน และประนอกกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น จีนเกลาหลี ญี่ปุ่น ฟิลิปีนส์ ฯลฯ รวมทั้งการสร้างแบรนด์หรือตรายินค้าเป้นของตัวเอง เพื่อยกระดับและสร้างมาตรฐานะรวมถึงเพิ่มมูลค่าในสินค้าฉีกหนีคู่แข่งในตลาดล่างที่ใช้กลยุทธ์การแข่งขันด้านราคาเข้ามาตีตลาดเฟอร์นิเจอร์ไทย”

นายอารักษ์ กล่าวว่า หลังจากเปิดตลาดใหญ่ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและประเทศอาเซียน และคู่ค้าใหม่เช่น เกาหลี จีน ญี่ปุ่น และ ฟิลิปีนส์ แล้วทำให้ตลาดส่งออกเฟอร์นิเจอร์กลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตามการกลับมาขยายตัวของเฟอร์นิเจอร์ส่งออกไทยนั้น ถือว่าเป็นผลมาจากตลาดใหม่เกือบทั้งหมด เนื่องจากตลาดส่งออกในยุโรปและอเมริกายังไม่ฟื้นตัว จากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน

นอกจากนี้ สินค้าเฟอร์นิเจอร์ไทยเองยังไม่สามารถแข่งขันกับแบรนด์ระดับสากลได้อย่าเสอมภาค โดยส่วนใหญ่ที่ส่งออกไปขายในกลุ่มประเทศยุโรปและอเมริกานั้น กว่า 70% เป็นสินค้าส่งออกภายใต้การรับจ้างผลิต หรือ OEM มีเพียง30% เท่านั้นที่สามารถส่งไปขายภายใต้แบรนด์หรือตราสินค้าของตัวเอง ต่างกับการส่งออกในประเทศอาเซียน ตะวันออกกลาง และประเทศเอเชียที่ผู้ประกอบการไทยส่งออกไปขายภายใต้แบนด์ของตนเองเป็นส่วนใหญ่
“ในช่วงที่เกิดปัญหาวิกฤติธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ นั้นทุกรายต่างดิ้นรนเอาตัวรอด ในขณะที่รัฐบาลปิ้งไอเดียทางออกของเฟอร์นิเจอร์ไทย คือ การเพิ่มมูลค่าและการสร้างแบรนด์ของตนเอง รวมถึงการเปิดตลาดเฟอร์นิเจอร์ใหม่ๆ แต่รัฐบาลก็ไม่ได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำใดๆ เลยจนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีการเข้ามาดูแลช่วยเหลืออย่างจริงจัง มีเพียงแต่ นโยบายออกมาเท่านั้น”

กะทุ้งรัฐออกหน้าเจรจายุโรป-อเมริกา
ขอพื้นที่ลงทุนรง.ตปท.ปูทางสร้างแบรนด์

นายอารักษ์ กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดรวมเฟอร์นิเจอร์มีมูลค่า 80,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็นตลาดส่งออก และในประเทศเทศ 50-50% โดยในส่วนของตลาดส่งออกนั้น 70% ส่งออกภายใต้สินค้า OEM และอีก 30% ส่งออกภายใต้แบนด์ของตนเอง ปัญหาที่การส่งออกภายใต้แบรนด์ของตนเองมีสัดส่วนเพียง30% เพราะในยุโรป และ อเมริกา วางมาตรการกีดกันสินค้าจากต่างประเทศไว้ คือ สินค้าที่จะส่งไปขายภายใต้แบรนด์ของตัวเอง ใน2กลุ่มประเทศดังกล่าว จะต้องมีการลงทุนก่อตั้งโรงงาน และมีออฟฟิศ มีซับพลายเออร์และ มีดีเลอร์ ที่จดตั้งบริษัทในประเทศดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีข้อกฎหมายหลายๆ ตัวที่จะต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบที่กลุ่มประเทศยุโรป และอเมริกากำหนดไว้ด้วย

ทั้งนี้ ข้อกำหนดต่างๆ เป็นอุปสรรคสำคัญที่ผู้ประกอบการไทยจะดำเนินการได้ ดังนั้นรัฐบาลในฐานะที่มีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสร้างแบรนด์สินค้า และส่งออกไปขายในต่างประเทสจึงควรเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการดำเนินการต่างๆ ให้แก่เอกชน เช่น การเข้ามาเป็นที่ปรึกษา และให้ความรู้ทางด้านกฎหมายที่มีการกำหนดไว้ในการเข้าไปลงทุนในประเทศยุโรป และอเมริกา การทำให้ที่เป็นตัวกลางเข้าไปเจจาในรูปแบบรัฐต่อรัฐเพื่อของพื้นที่หรือขอให้มีการจัดโซนนิ่งพื้นที่ในการก่อตั้งโรงงานเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการเอกชนในการเข้าไปตั้งโรงงานและฐานการผลิตในประเทศดังกล่าว
“ที่ผ่านมารัฐปล่อยให้เอกชนเดินไปเพียงรำพัง ไม่มีการเข้ามาช่วยเหลือเข้ามาเทรนดผู้ประกอบการเอกชน หรือเข้ามาเป็นตัวกลางในการเจรจาแบบรัฐต่อรัฐเพื่อขอพื้นที่หรือขอให้ประเทศดังกล่าวจัดพื้นที่โซนนิ่งให้แก่ผู้ประกอบการในการตั้งโรงงานและการปูทางในการสร้างแบรนด์สินค้าไปขายในต่างประเทศเลย”

นายอารักษ์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม กรณีที่ สหรัฐอเมริกาหันไปจับมือกับประเทศเพื่อบ้านคือ แมกซิโก และแคนนาดา เพื่อร่วมกันผลิตเฟอร์นิเจอร์ ต้นทุนต่ำป้อนตลาดของทั้ง3 ประเทศแทนการนำเข้าเฟอร์นิเจอร์จากประเทศไทยและผู้ผลิตจากประเทศเอเชียนั้น เชื่อว่าเป็นการรองรับความต้องการตลาดในอเมิรกาได้เพี่ยงช่วงหนึ่งเท่านั้น คือช่วงที่เศรษฐกิจในภูมิภาคอเมริกายังชะลอตัว แต่เชื่อว่าหลังจากที่เศรษฐกิจของอเมริกาฟื่นและกลับมาขยายตัวแล้ว ผุ้บริโภคในกลุ่มประเทศดังกล่าวจะหันกลับมาสั่งซื้อสินค้าจากประเทศเอเชียอีกครั้งโดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้าเฟอร์นิเจอร์จากประเทศไทย เนื่องจากเฟอร์นิเจอร์ไทยมีความได้เปรียบทั้งดีไชน์ที่ทันสมัย และคุณภาพที่มีมาตรฐานสูงกว่า
กำลังโหลดความคิดเห็น