ASTVผู้จัดการรายวัน - เจ้าคณะศรีสะเกษสั่ง "หลวงปู่เณรคำ" ให้ปากคำด้วยตนเองภายใน 30 มิ.ย. "พศ." ชี้อยู่ต่อฝรั่งเศสตามวีซ่า ไม่กลับ เจ้าอาวาสมีสิทธิขับออกจากวัด เป็น "พระเถื่อน" ทันที ภาคปชช.แจ้งกองปราบ ฟันอาญาอีก 8 ประเด็น ด้าน"ศิษย์เอก" มั่วเชิญ "ปู" ร่วมพิธีห่มผ้าพระแก้วมรกตจำลอง อ้างเฉยให้เกียรติพระนานานาชาติ
เช้าวานนี้(27 มิ.ย.)ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดป่าขันติธรรม บ้านยาง ต.ยาง อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นวันแรกของการจัดงานมหาพิธีห่มผ้าฤดูฝนพระแก้วมรกตจำลององค์ใหญ่ที่สุดในโลก บรรยากาศยังคงเป็นไปอย่างเงียบเหงา ไม่คึกคักเหมือนงานที่ผ่านมา มีเพียงพระสงฆ์ของวัดที่เดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่สาขา พากันเดินทางมาร่วมพิธี ส่วนพุทธศาสนิกชนมาร่วมพิธีน้อยมาก นอกจากนี้ยังตั้งโรงทานเพียง 3 โรง จากที่เคยมีนับสิบโรงเมื่อจัดงานบุญ ขณะที่กำหนดการนั้น เวลา 07.00น. มีพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง แต่เมื่อถึงเวลาก็ไม่มีการตักบาตร เวลา 12.00-17.00 น. ที่เปิดให้พุทธศาสนิกชนกราบนมัสการหลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก ต้องเปลี่ยนแปลงไป เพราะหลวงปู่เณรคำยังไม่เดินทางกลับวัด
ที่บ้านนางลอน มนัส อายุ 68 ปี กลางทุ่งนาบ้านหนองถ่ม ต.ดู่ อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ เจ้าของที่ดินสร้างวัดป่าขันติธรรม และอดีตโยมอุปฐาก คณะกรรมการสอบอธิกรณ์พระวิรพล ฉัตติโก หรือหลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก ประธานสงฆ์วัดป่าขันติธรรม นำโดยพระครูสิริวินัยวัฒน์ เจ้าคณะอำเภอเมือง มาสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับสมณเพศของหลวงปู่เณรคำ
พระครูวัชรสิทธิคุณ ลขานุการเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ฝ่ายธรรมยุต กล่าวว่า คณะสงฆ์จังหวัดศรีสะเกษ มีคำสั่งเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ฝ่ายธรรมยุต ฉบับที่ 1/2556 เรื่องให้พระวิรพล ฉัตติโก ปฏิบัติตามคำสั่ง ดังนี้ 1. ให้แจ้งวันที่จะเดินทางกลับมาให้ชัดเจน ให้แจ้งสังกัดวัดใด โดยให้กลับมาสอบสวนข้อเท็จจริงด้วยตนเองไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายนนี้ 2.ให้สั่งให้ศิษย์ฆราวาสงดการตอบโต้ข่าวเรื่องพระธรรมวินัย เพราะมิใช่วิสัยของฆราวาส และจะเป็นเหตุทำให้สังคมเข้าใจผิดในหลักธรรมวินัย 3.ให้สั่งศิษย์นำหลักฐานที่เกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น มอบให้เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ฝ่ายธรรมยุต
ทั้งนี้ หากพระวิรพลไม่มาพบคณะกรรมการสอบอธิกรณ์ภายในวันที่ 30 มิถุนายย จะรายงานให้ประธานคณะกรรมการพิจารณาด้านพระธรรมวินัยต่อไป
นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) กล่าวว่า หากหลวงปู่เณรคำไม่เดินทางกลับตามกำหนด ที่ขออนุญาตจากศูนย์ควบคุมการเดินทางไปต่างประเทศสำหรับพระภิกษุสามเณร(ศ.ต.ภ.) ก็มีแนวทางหลายด้าน เช่น 1.ประเทศนั้นเห็นว่าไม่กลับ ก็แจ้งให้กลับได้ 2.ศ.ต.ภ.กำหนดอนุญาตให้อยู่ 10 วัน วีซ่าให้อยู่ 3 เดือน แต่ต้องขออนุญาตต่อระยะเวลามายังศ.ต.ภ. หากไม่อนุญาตแล้วยังไม่เดินทางกลับ เจ้าอาวาสก็มีสิทธิขับออกจากวัด และหากพระรูปนั้นไม่สามารถหาสังกัดอยู่ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ก็ถือว่าเป็น "พระเถื่อน" ทันที
ส่วนกรณีที่มีการตั้งบริษัทรับจัดสร้างพระนั้น ประชาชนร้องให้กรมสรรพากร เข้าไปตรวจสอบสถานะการเงินได้
ที่กองปราบปราม นายสงกรานต์ อัจฉริยะทรัพย์ ประธานเครือข่ายต่อต้านการบ่อนทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เข้าพบพ.ต.อ.ประสพโชค พร้อมมูล รองผบก.ป. เพื่อขอให้สืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติม กรณีหลวงปู่เณรคำ ซึ่งขณะนี้ตรวจสอบเบื้องต้นพบการกระทำที่น่าจะเข้าข่ายความผิดเพิ่มเติม 8 ประเด็น คือ 1.การออกใบสำคัญรับเงิน ที่แสดงว่าได้รับเงินหรือทรัพย์สินจากการบริจาค เรี่ยไร ของหลวงปู่เณรคำ หรือบริษัท ขันติธรรมก้าวหน้า จำกัด นั้นมีหรือไม่ ข้อ 2.บุคคล หรือนิติบุคคล ที่หลงเชื่อโฆษณาสร้างถาวรวัตถุของหลวงปู่เณรคำ หรือบริษัท ขันติธรรมก้าวหน้า จำกัด มีหลักฐานการส่งมอบหรือไม่
3.ผู้รับเหมาก่อสร้างพระแก้วมรกตจำลอง หรือถาวรวัตถุในวัดป่าขันติธรรม และสาขา จดแจ้งสถานะของสำนักสงฆ์เป็นเช่นไร การจัดสร้างพระแก้วมรกตได้รับพระบรมราชานุญาตแล้วหรือไม่ 4.ทรัพย์สินที่ได้รับหลวงปู่เณรคำ หรือบริษัท ขันติธรรมก้าวหน้า จำกัด นำไปมอบให้ หรือยักย้ายถ่ายเท หรือจำหน่ายจ่ายโอน โดยใช้ชื่อบุคคล หรือนิติบุคคลเป็นผู้ถือครอง หรือมีผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนหรือไม่
5.การขอรับเงินบริจาค หรือเรี่ยไร ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ มีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดเมื่อใด ซึ่งใบอนุญาตดังกล่าวจะออกโดยกรมการปกครอง 6.การใช้ชื่อโรงพยาบาลร้อยเอ็ด รับเงินบริจาคหรือเรี่ยไร โดยมีชื่อหลวงปู่เณรคำ โฆษณารับบริจาคเพื่อสร้างอาคาร มีการเปิดบัญชีธนาคาร โดยผู้อำนวยการโรงพยาบาลรู้เห็นหรือไม่ เงินในบัญชีมีเท่าไหร่ ใช้ตามที่โฆษณาหรือไม่ 7.การใช้ชื่อวัดป่าขันติธรรมโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่ได้มีสถานะเป็นวัด เป็นการเจตนาปกปิดข้อเท็จจริง ทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนได้รับความเสียหาย
8.การรับเงินและทรัพย์สินที่เกิดความเสียหาย ปรากฎพยานหลักฐานจาก 2 กรณี คือ พิธีมหากฐินทาน ทำต้นกฐินสูง 9 เมตร 36 ต้น ได้เงินบริจาคกว่า 100 ล้านบาทเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2553 และหลวงปู่เณรคำ กล่าวในพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างมหาวิหาร และเครื่องทรงคลุมองค์พระแก้วมรกตจำลอง ระหว่างวันที่ 11-16 เมษายน 2554 ว่าทองคำที่รับบริจาคมากว่า 2 ปี มีกว่า 8,000 กิโลกรัม จึงประสานร้านทองคำซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญให้คำนวณปริมาณกับราคาขาย พบว่ามีมูลค่ากว่า 9,000 ล้านบาท แต่ไม่ทราบว่าทองคำทั้งหมดอยู่ที่ไหน
"อยากให้กองปราบช่วยสืบสวน หากพบว่าเข้าข่ายความผิดอาญา ก็ขอดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชน รวมถึงความผิดในฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง"
ด้านหลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม กล่าวว่า พร้อมที่จะออกมาชนกับมารศาสนาทุกรูปแบบ ในส่วนของหลวงปู่เณรคำ อาตมามองว่าไม่ได้เป็นพระมานานแล้ว การที่มีชื่อเสียงเกิดจากการโปรโมตสร้างภาพ เพื่อผลทางพุทธพาณิชย์ หวังในผลประโยชน์ จึงต้องการให้นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ ตรวจสอบเส้นทางการเงินของหลวงปู่เณรคำ เพราะเงินที่ได้มาไม่ได้บำรุงพุทธศาสนา เข้าข่ายหลอกลวงประชาชน
นพ.ณรงค์ อึ้งตระกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลร้อยเอ็ด กล่าวถึงกรณีข่าวหลวงปู่เณรคำร่วมหาทุนสร้างตึกโรงพยาบาลเมื่อ 2 ปีก่อนว่า เป็นความจริง เพราะเห็นว่ามีคนป่วยล้นโรงพยาบาล จึงเสนอแนวคิดสร้างตึกสงฆ์อาพาธ หลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก สูง 10 ชั้น วงเงิน 214 ล้านบาท ดำเนินการในนามมูลนิธิหลวงปู่เณรคำ โดยหลวงปู่เณรคำจะมาเทศนาที่โรงพยาบาล พร้อมเปิดรับบริจาคจากญาติโยม
แต่หลังจากขอความเห็นชอบจากกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ตรวจสอบยอดเงินในบัญชีของมูลนิธิ เพื่อประกอบการอนุญาต ปรากฏมีเงินในบัญชีไม่ถึง 4 แสนบาท ถือว่าการเงินไม่มั่นคง กระทรวงจึงไม่อนุมัติใช้ชื่อของโรงพยาบาลไปรับบริจาคหาเงิน ในที่สุดก็ระงับโครงการ
ยอมรับว่าหลวงปู่เณรคำเป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2554 แต่ไม่ได้เชิดเงิน 500,000 บาทตามที่เป็นข่าว เงินที่รับบริจาคในนามคนร้อยเอ็ด เพื่อการก่อสร้างตึก ยังอยู่ที่คณะกรรมการก่อสร้างซึ่งมีราว 72 ล้านบาท แต่อาจมีส่วนหนึ่งที่ประชาชนบริจาคให้หลวงปู่โดยตรง โดยหลังจากวางศิลาฤกษ์แล้วได้วางมือจากการร่วมก่อสร้าง จากเดิมที่สูง 10 ชั้น ใช้เงิน 214 ล้านบาท ก็ลดเหลือ 7 ชั้น วงเงิน 68 ล้านบาท ตั้งคณะกรรมการชุดใหม่กำกับโครงการ มีพระธรรมฐิติญาณ เจ้าอาวาสวัดบึงพะลานชัย เป็นประธาน เปลี่ยนชื่อเป็น "อาคารสงฆ์เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา" จึงขอยืนยันว่าการก่อสร้างไม่เกี่ยวข้องกับหลวงปู่เณรคำ
ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นายสุขุม วงประสิทธิ์ ผู้แทนที่พักสงฆ์วัดป่าขันติธรรม ยื่นหนังสือถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อเชิญร่วมงานพิธีห่มผ้าฤดูฝนพระแก้วมรกตจำลอง และต้อนรับพระเถรานุเถระจากประเทศศรีลังกา สวิตเซอร์แลนด์ และฝรั่งเศส ในวันที่ 30 มิถุนายน เวลา 09.59 น. ที่วัดป่าขันติธรรม หลังจากหลวงปู่เณรคำ ไปเป็นแขกของรัฐบาลฝรั่งเศส และได้รับการต้อนรับอย่างสมเกียรติ ดังนั้นเพื่อเป็นการให้เกียรติพระเถรานุเถระนานานาชาติ ประกอบกับแต่ละประเทศจับตามองประเทศไทยว่า จะมีผู้บริหารระดับสูงให้การต้อนรับคณะสงฆ์นานาชาติ ซึ่งเป็นที่เคารพของประชาชนแต่ละประเทศหรือไม่ด้วย นายกรัฐมนตรีจึงไม่ควรละโอกาสสำคัญนี้
เช้าวานนี้(27 มิ.ย.)ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดป่าขันติธรรม บ้านยาง ต.ยาง อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นวันแรกของการจัดงานมหาพิธีห่มผ้าฤดูฝนพระแก้วมรกตจำลององค์ใหญ่ที่สุดในโลก บรรยากาศยังคงเป็นไปอย่างเงียบเหงา ไม่คึกคักเหมือนงานที่ผ่านมา มีเพียงพระสงฆ์ของวัดที่เดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่สาขา พากันเดินทางมาร่วมพิธี ส่วนพุทธศาสนิกชนมาร่วมพิธีน้อยมาก นอกจากนี้ยังตั้งโรงทานเพียง 3 โรง จากที่เคยมีนับสิบโรงเมื่อจัดงานบุญ ขณะที่กำหนดการนั้น เวลา 07.00น. มีพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง แต่เมื่อถึงเวลาก็ไม่มีการตักบาตร เวลา 12.00-17.00 น. ที่เปิดให้พุทธศาสนิกชนกราบนมัสการหลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก ต้องเปลี่ยนแปลงไป เพราะหลวงปู่เณรคำยังไม่เดินทางกลับวัด
ที่บ้านนางลอน มนัส อายุ 68 ปี กลางทุ่งนาบ้านหนองถ่ม ต.ดู่ อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ เจ้าของที่ดินสร้างวัดป่าขันติธรรม และอดีตโยมอุปฐาก คณะกรรมการสอบอธิกรณ์พระวิรพล ฉัตติโก หรือหลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก ประธานสงฆ์วัดป่าขันติธรรม นำโดยพระครูสิริวินัยวัฒน์ เจ้าคณะอำเภอเมือง มาสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับสมณเพศของหลวงปู่เณรคำ
พระครูวัชรสิทธิคุณ ลขานุการเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ฝ่ายธรรมยุต กล่าวว่า คณะสงฆ์จังหวัดศรีสะเกษ มีคำสั่งเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ฝ่ายธรรมยุต ฉบับที่ 1/2556 เรื่องให้พระวิรพล ฉัตติโก ปฏิบัติตามคำสั่ง ดังนี้ 1. ให้แจ้งวันที่จะเดินทางกลับมาให้ชัดเจน ให้แจ้งสังกัดวัดใด โดยให้กลับมาสอบสวนข้อเท็จจริงด้วยตนเองไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายนนี้ 2.ให้สั่งให้ศิษย์ฆราวาสงดการตอบโต้ข่าวเรื่องพระธรรมวินัย เพราะมิใช่วิสัยของฆราวาส และจะเป็นเหตุทำให้สังคมเข้าใจผิดในหลักธรรมวินัย 3.ให้สั่งศิษย์นำหลักฐานที่เกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น มอบให้เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ฝ่ายธรรมยุต
ทั้งนี้ หากพระวิรพลไม่มาพบคณะกรรมการสอบอธิกรณ์ภายในวันที่ 30 มิถุนายย จะรายงานให้ประธานคณะกรรมการพิจารณาด้านพระธรรมวินัยต่อไป
นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) กล่าวว่า หากหลวงปู่เณรคำไม่เดินทางกลับตามกำหนด ที่ขออนุญาตจากศูนย์ควบคุมการเดินทางไปต่างประเทศสำหรับพระภิกษุสามเณร(ศ.ต.ภ.) ก็มีแนวทางหลายด้าน เช่น 1.ประเทศนั้นเห็นว่าไม่กลับ ก็แจ้งให้กลับได้ 2.ศ.ต.ภ.กำหนดอนุญาตให้อยู่ 10 วัน วีซ่าให้อยู่ 3 เดือน แต่ต้องขออนุญาตต่อระยะเวลามายังศ.ต.ภ. หากไม่อนุญาตแล้วยังไม่เดินทางกลับ เจ้าอาวาสก็มีสิทธิขับออกจากวัด และหากพระรูปนั้นไม่สามารถหาสังกัดอยู่ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ก็ถือว่าเป็น "พระเถื่อน" ทันที
ส่วนกรณีที่มีการตั้งบริษัทรับจัดสร้างพระนั้น ประชาชนร้องให้กรมสรรพากร เข้าไปตรวจสอบสถานะการเงินได้
ที่กองปราบปราม นายสงกรานต์ อัจฉริยะทรัพย์ ประธานเครือข่ายต่อต้านการบ่อนทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เข้าพบพ.ต.อ.ประสพโชค พร้อมมูล รองผบก.ป. เพื่อขอให้สืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติม กรณีหลวงปู่เณรคำ ซึ่งขณะนี้ตรวจสอบเบื้องต้นพบการกระทำที่น่าจะเข้าข่ายความผิดเพิ่มเติม 8 ประเด็น คือ 1.การออกใบสำคัญรับเงิน ที่แสดงว่าได้รับเงินหรือทรัพย์สินจากการบริจาค เรี่ยไร ของหลวงปู่เณรคำ หรือบริษัท ขันติธรรมก้าวหน้า จำกัด นั้นมีหรือไม่ ข้อ 2.บุคคล หรือนิติบุคคล ที่หลงเชื่อโฆษณาสร้างถาวรวัตถุของหลวงปู่เณรคำ หรือบริษัท ขันติธรรมก้าวหน้า จำกัด มีหลักฐานการส่งมอบหรือไม่
3.ผู้รับเหมาก่อสร้างพระแก้วมรกตจำลอง หรือถาวรวัตถุในวัดป่าขันติธรรม และสาขา จดแจ้งสถานะของสำนักสงฆ์เป็นเช่นไร การจัดสร้างพระแก้วมรกตได้รับพระบรมราชานุญาตแล้วหรือไม่ 4.ทรัพย์สินที่ได้รับหลวงปู่เณรคำ หรือบริษัท ขันติธรรมก้าวหน้า จำกัด นำไปมอบให้ หรือยักย้ายถ่ายเท หรือจำหน่ายจ่ายโอน โดยใช้ชื่อบุคคล หรือนิติบุคคลเป็นผู้ถือครอง หรือมีผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนหรือไม่
5.การขอรับเงินบริจาค หรือเรี่ยไร ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ มีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดเมื่อใด ซึ่งใบอนุญาตดังกล่าวจะออกโดยกรมการปกครอง 6.การใช้ชื่อโรงพยาบาลร้อยเอ็ด รับเงินบริจาคหรือเรี่ยไร โดยมีชื่อหลวงปู่เณรคำ โฆษณารับบริจาคเพื่อสร้างอาคาร มีการเปิดบัญชีธนาคาร โดยผู้อำนวยการโรงพยาบาลรู้เห็นหรือไม่ เงินในบัญชีมีเท่าไหร่ ใช้ตามที่โฆษณาหรือไม่ 7.การใช้ชื่อวัดป่าขันติธรรมโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่ได้มีสถานะเป็นวัด เป็นการเจตนาปกปิดข้อเท็จจริง ทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนได้รับความเสียหาย
8.การรับเงินและทรัพย์สินที่เกิดความเสียหาย ปรากฎพยานหลักฐานจาก 2 กรณี คือ พิธีมหากฐินทาน ทำต้นกฐินสูง 9 เมตร 36 ต้น ได้เงินบริจาคกว่า 100 ล้านบาทเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2553 และหลวงปู่เณรคำ กล่าวในพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างมหาวิหาร และเครื่องทรงคลุมองค์พระแก้วมรกตจำลอง ระหว่างวันที่ 11-16 เมษายน 2554 ว่าทองคำที่รับบริจาคมากว่า 2 ปี มีกว่า 8,000 กิโลกรัม จึงประสานร้านทองคำซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญให้คำนวณปริมาณกับราคาขาย พบว่ามีมูลค่ากว่า 9,000 ล้านบาท แต่ไม่ทราบว่าทองคำทั้งหมดอยู่ที่ไหน
"อยากให้กองปราบช่วยสืบสวน หากพบว่าเข้าข่ายความผิดอาญา ก็ขอดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชน รวมถึงความผิดในฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง"
ด้านหลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม กล่าวว่า พร้อมที่จะออกมาชนกับมารศาสนาทุกรูปแบบ ในส่วนของหลวงปู่เณรคำ อาตมามองว่าไม่ได้เป็นพระมานานแล้ว การที่มีชื่อเสียงเกิดจากการโปรโมตสร้างภาพ เพื่อผลทางพุทธพาณิชย์ หวังในผลประโยชน์ จึงต้องการให้นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ ตรวจสอบเส้นทางการเงินของหลวงปู่เณรคำ เพราะเงินที่ได้มาไม่ได้บำรุงพุทธศาสนา เข้าข่ายหลอกลวงประชาชน
นพ.ณรงค์ อึ้งตระกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลร้อยเอ็ด กล่าวถึงกรณีข่าวหลวงปู่เณรคำร่วมหาทุนสร้างตึกโรงพยาบาลเมื่อ 2 ปีก่อนว่า เป็นความจริง เพราะเห็นว่ามีคนป่วยล้นโรงพยาบาล จึงเสนอแนวคิดสร้างตึกสงฆ์อาพาธ หลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก สูง 10 ชั้น วงเงิน 214 ล้านบาท ดำเนินการในนามมูลนิธิหลวงปู่เณรคำ โดยหลวงปู่เณรคำจะมาเทศนาที่โรงพยาบาล พร้อมเปิดรับบริจาคจากญาติโยม
แต่หลังจากขอความเห็นชอบจากกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ตรวจสอบยอดเงินในบัญชีของมูลนิธิ เพื่อประกอบการอนุญาต ปรากฏมีเงินในบัญชีไม่ถึง 4 แสนบาท ถือว่าการเงินไม่มั่นคง กระทรวงจึงไม่อนุมัติใช้ชื่อของโรงพยาบาลไปรับบริจาคหาเงิน ในที่สุดก็ระงับโครงการ
ยอมรับว่าหลวงปู่เณรคำเป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2554 แต่ไม่ได้เชิดเงิน 500,000 บาทตามที่เป็นข่าว เงินที่รับบริจาคในนามคนร้อยเอ็ด เพื่อการก่อสร้างตึก ยังอยู่ที่คณะกรรมการก่อสร้างซึ่งมีราว 72 ล้านบาท แต่อาจมีส่วนหนึ่งที่ประชาชนบริจาคให้หลวงปู่โดยตรง โดยหลังจากวางศิลาฤกษ์แล้วได้วางมือจากการร่วมก่อสร้าง จากเดิมที่สูง 10 ชั้น ใช้เงิน 214 ล้านบาท ก็ลดเหลือ 7 ชั้น วงเงิน 68 ล้านบาท ตั้งคณะกรรมการชุดใหม่กำกับโครงการ มีพระธรรมฐิติญาณ เจ้าอาวาสวัดบึงพะลานชัย เป็นประธาน เปลี่ยนชื่อเป็น "อาคารสงฆ์เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา" จึงขอยืนยันว่าการก่อสร้างไม่เกี่ยวข้องกับหลวงปู่เณรคำ
ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นายสุขุม วงประสิทธิ์ ผู้แทนที่พักสงฆ์วัดป่าขันติธรรม ยื่นหนังสือถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อเชิญร่วมงานพิธีห่มผ้าฤดูฝนพระแก้วมรกตจำลอง และต้อนรับพระเถรานุเถระจากประเทศศรีลังกา สวิตเซอร์แลนด์ และฝรั่งเศส ในวันที่ 30 มิถุนายน เวลา 09.59 น. ที่วัดป่าขันติธรรม หลังจากหลวงปู่เณรคำ ไปเป็นแขกของรัฐบาลฝรั่งเศส และได้รับการต้อนรับอย่างสมเกียรติ ดังนั้นเพื่อเป็นการให้เกียรติพระเถรานุเถระนานานาชาติ ประกอบกับแต่ละประเทศจับตามองประเทศไทยว่า จะมีผู้บริหารระดับสูงให้การต้อนรับคณะสงฆ์นานาชาติ ซึ่งเป็นที่เคารพของประชาชนแต่ละประเทศหรือไม่ด้วย นายกรัฐมนตรีจึงไม่ควรละโอกาสสำคัญนี้