ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีมีกลุ่มการเมือง อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา ออกมานำชาวบ้านจาก 8 อำเภอประกอบด้วย อำเภอบัวใหญ่, คง, ประทาย, โนนแดง, บ้านเหลื่อม, แก้งสนามนาง, สีดา และบัวลาย กว่า 1 พันคน เดินทางไปรวมตัวกันที่ห้องประชุมเทศบาลเมืองบัวใหญ่ เพื่อหารือถึงแนวทางการขับเคลื่อน ในการขอยกฐานะพื้นที่ทั้ง 8 อำเภอ เพื่อขอจัดตั้งเป็นจังหวัดบัวใหญ่ เมื่อวันที่ 11 พ.ค.ที่ผ่านมานั้น
โดยระบุว่า มีรวบรวมรายชื่อประชาชนจำนวน 20,000 กว่าคน ต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2555 หลังจากมีความพยายามผลักดันอย่างต่อเนื่องให้ อ.บัวใหญ่แยกการปกครองจากจังหวัดนครราชสีมาเพื่อตั้งเป็นจังหวัดใหม่ ทั้งนี้ในอดีตเมื่อปี พ.ศ.2498 รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ผ่านมติคณะรัฐมนตรีให้ยกฐานะอำเภอบัวใหญ่เป็นจังหวัด แต่เมื่อรัฐบาลชุดนั้นถูกปฏิวัติจึงไม่มีการพิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นตามที่กรมการปกครองมีความเห็น จนมาเมื่อปี พ.ศ.2532 ให้แบ่งพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาโดยการตั้งเป็นจังหวัดใหม่
ต่อมาในปี พ.ศ.2537 สมาชิกสภาจังหวัดนครราชสีมา 35 คน จากทั้งหมด 36 คน รวมทั้งสภาเทศบาลตำบลบัวใหญ่ ผู้นำองค์กรเอกชน ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านได้ส่งหนังสือขอยกฐานะอำเภอบัวใหญ่เป็นจังหวัดต่อกระทรวงมหาดไทยอีกครั้ง กระทรวงมหาดไทยจึงส่งเรื่องให้กรมการปกครองสอบถามมายังจังหวัด แต่เรื่องเงียบหายไป
ขณะเดียวกันก็อ้างว่า ท้าวสุรนารี หรือย่าโมเอง ก็คงต้องการให้ลูกหลานได้พัฒนาความเจริญ อำเภอบัวใหญ่อยู่ห่างจากจังหวัดนครราชสีมากว่า 100 กิโลเมตร การขอยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดล่วงเลยเวลามานานแล้ว แต่ยังไม่มีความเคลื่อนไหวถึงการยกร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ขณะที่กลุ่มการเมืองดังกล่าว ระบุว่า จะมีการนัดรวมตัวเพื่อกดดันรัฐบาลอีกครั้ง
รายงานข่าวแจ้งว่ากลุ่มการเมืองดังกล่าว สนใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะงบประมาณบริหารจัดการอำเภอบัวใหญ่ และอีก 7 อำเภอที่ได้รับในปัจจุบัน โดยเฉพาะงบประมาณกองทุนพัฒนาสตรี โดยแต่ละจังหวัดจะได้รับงบประมาณจังหวัดละ 100 ล้านบาท
มีการกล่าวอ้างว่า สำหรับจังหวัดนครราชสีมาเมื่อนำงบประมาณในส่วนนี้ของกองทุนพัฒนาสตรี 100 ล้านบาทมาหาร 32 อำเภอ จะได้รับอำเภอละ 3 ล้านกว่าบาท เปรียบเทียบกับจังหวัดเล็ก เช่น ระนอง ภูเก็ต เป็นต้น ที่มีอำเภอประมาณ 4 อำเภอ เฉลี่ยจะได้รับงบประมาณอำเภอละ 25 ล้านบาท งบประมาณแก้ภัยแล้งก็เช่นเดียวกัน ได้รับมาจังหวัดละ 50 ล้านบาท หากนำ 32 อำเภอไปเทียบกับจังหวัดที่มีเพียง 4 อำเภอ ความแตกต่างนั้นสูงเกือบ 10 เท่าตัว ทำให้จังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบันการกระจายความเจริญจากงบประมาณการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆ มีความเหลื่อมล้ำกันมาก อีกทั้งหากนำจำนวนประชากรจังหวัดนครราชสีมา 2.6 ล้านคน ไปเทียบกับหลายจังหวัดที่มีประชากร 200,000 คน ความแตกต่างจะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ต่อ 13 เมื่อแบ่งเขตปกครองออกเป็น 2 จังหวัด
มีการกล่าวอ้างว่า ชาวโคราชทุกคนก็จะได้รับส่วนเฉลี่ยงบประมาณที่นำไปพัฒนาเพิ่มขึ้นกันถ้วนหน้า จึงอยากขอความเห็นใจอย่าถือว่าเราสุขแล้ว แต่คนอื่นทุกข์ ขอให้ได้เป็นจังหวัดใหญ่ที่สุดเป็นพอ เพราะความจริงงบประมาณในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆ ยังเกิดความเหลื่อมล้ำสำหรับ 8 อำเภอที่อยู่ห่างไกลจากตัวจังหวัด”
นอกจากนี้ยังมีการอ้างถึงความเห็นของกรมการปกครองว่า ตามหนังสือกรมการปกครอง ด่วนมากที่ 0409/26909 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2532 เรื่องการแบ่งพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาตั้งเป็นจังหวัดใหม่ ระบุว่า “จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่กว้างขวาง หากจะแบ่งพื้นที่ของจังหวัดตั้งเป็นจังหวัดขึ้นใหม่ เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ราษฎรในการติดต่อราชการและจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาในอนาคต โดยให้จังหวัดพิจารณาดำเนินการตั้งจังหวัดใหม่ ”
แม้ขณะนั้นจังหวัดนครราชสีมามีประชากร 2 ล้านคนเศษ และมีเพียง 21 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ต่างจากปัจจุบันที่มีจำนวนประชากรเพิ่มเป็น 2.6 ล้านคน และแบ่งการปกครองออกเป็น 32 อำเภอ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องอ้างเหตุผลว่าประชาชนส่วนใหญ่ ไม่เห็นด้วยเพราะไม่ต้องการให้ลูกหลานย่าโมต้องแยกจากกัน ซึ่งเป็นเหตุผลที่ไม่ได้ถือเอาความต้องการของผู้เดือดร้อนเป็นตัวตั้ง ผู้คัดค้านส่วนมากอยู่นอกพื้นที่ของ 8 อำเภอ ยึดถือความใหญ่โนของจังหวัดเป็นศักดิ์ศรีและความน่าภาคภูมิใจ คนอยู่ดีมีสุขจึงไม่เห็นปัญหาเพราะมองข้ามความขาดแคลนและความเดือดร้อนของพี่น้องร่วมจังหวัดที่ต้องเผชิญอยู่
โดยระบุว่า มีรวบรวมรายชื่อประชาชนจำนวน 20,000 กว่าคน ต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2555 หลังจากมีความพยายามผลักดันอย่างต่อเนื่องให้ อ.บัวใหญ่แยกการปกครองจากจังหวัดนครราชสีมาเพื่อตั้งเป็นจังหวัดใหม่ ทั้งนี้ในอดีตเมื่อปี พ.ศ.2498 รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ผ่านมติคณะรัฐมนตรีให้ยกฐานะอำเภอบัวใหญ่เป็นจังหวัด แต่เมื่อรัฐบาลชุดนั้นถูกปฏิวัติจึงไม่มีการพิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นตามที่กรมการปกครองมีความเห็น จนมาเมื่อปี พ.ศ.2532 ให้แบ่งพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาโดยการตั้งเป็นจังหวัดใหม่
ต่อมาในปี พ.ศ.2537 สมาชิกสภาจังหวัดนครราชสีมา 35 คน จากทั้งหมด 36 คน รวมทั้งสภาเทศบาลตำบลบัวใหญ่ ผู้นำองค์กรเอกชน ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านได้ส่งหนังสือขอยกฐานะอำเภอบัวใหญ่เป็นจังหวัดต่อกระทรวงมหาดไทยอีกครั้ง กระทรวงมหาดไทยจึงส่งเรื่องให้กรมการปกครองสอบถามมายังจังหวัด แต่เรื่องเงียบหายไป
ขณะเดียวกันก็อ้างว่า ท้าวสุรนารี หรือย่าโมเอง ก็คงต้องการให้ลูกหลานได้พัฒนาความเจริญ อำเภอบัวใหญ่อยู่ห่างจากจังหวัดนครราชสีมากว่า 100 กิโลเมตร การขอยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดล่วงเลยเวลามานานแล้ว แต่ยังไม่มีความเคลื่อนไหวถึงการยกร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ขณะที่กลุ่มการเมืองดังกล่าว ระบุว่า จะมีการนัดรวมตัวเพื่อกดดันรัฐบาลอีกครั้ง
รายงานข่าวแจ้งว่ากลุ่มการเมืองดังกล่าว สนใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะงบประมาณบริหารจัดการอำเภอบัวใหญ่ และอีก 7 อำเภอที่ได้รับในปัจจุบัน โดยเฉพาะงบประมาณกองทุนพัฒนาสตรี โดยแต่ละจังหวัดจะได้รับงบประมาณจังหวัดละ 100 ล้านบาท
มีการกล่าวอ้างว่า สำหรับจังหวัดนครราชสีมาเมื่อนำงบประมาณในส่วนนี้ของกองทุนพัฒนาสตรี 100 ล้านบาทมาหาร 32 อำเภอ จะได้รับอำเภอละ 3 ล้านกว่าบาท เปรียบเทียบกับจังหวัดเล็ก เช่น ระนอง ภูเก็ต เป็นต้น ที่มีอำเภอประมาณ 4 อำเภอ เฉลี่ยจะได้รับงบประมาณอำเภอละ 25 ล้านบาท งบประมาณแก้ภัยแล้งก็เช่นเดียวกัน ได้รับมาจังหวัดละ 50 ล้านบาท หากนำ 32 อำเภอไปเทียบกับจังหวัดที่มีเพียง 4 อำเภอ ความแตกต่างนั้นสูงเกือบ 10 เท่าตัว ทำให้จังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบันการกระจายความเจริญจากงบประมาณการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆ มีความเหลื่อมล้ำกันมาก อีกทั้งหากนำจำนวนประชากรจังหวัดนครราชสีมา 2.6 ล้านคน ไปเทียบกับหลายจังหวัดที่มีประชากร 200,000 คน ความแตกต่างจะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ต่อ 13 เมื่อแบ่งเขตปกครองออกเป็น 2 จังหวัด
มีการกล่าวอ้างว่า ชาวโคราชทุกคนก็จะได้รับส่วนเฉลี่ยงบประมาณที่นำไปพัฒนาเพิ่มขึ้นกันถ้วนหน้า จึงอยากขอความเห็นใจอย่าถือว่าเราสุขแล้ว แต่คนอื่นทุกข์ ขอให้ได้เป็นจังหวัดใหญ่ที่สุดเป็นพอ เพราะความจริงงบประมาณในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆ ยังเกิดความเหลื่อมล้ำสำหรับ 8 อำเภอที่อยู่ห่างไกลจากตัวจังหวัด”
นอกจากนี้ยังมีการอ้างถึงความเห็นของกรมการปกครองว่า ตามหนังสือกรมการปกครอง ด่วนมากที่ 0409/26909 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2532 เรื่องการแบ่งพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาตั้งเป็นจังหวัดใหม่ ระบุว่า “จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่กว้างขวาง หากจะแบ่งพื้นที่ของจังหวัดตั้งเป็นจังหวัดขึ้นใหม่ เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ราษฎรในการติดต่อราชการและจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาในอนาคต โดยให้จังหวัดพิจารณาดำเนินการตั้งจังหวัดใหม่ ”
แม้ขณะนั้นจังหวัดนครราชสีมามีประชากร 2 ล้านคนเศษ และมีเพียง 21 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ต่างจากปัจจุบันที่มีจำนวนประชากรเพิ่มเป็น 2.6 ล้านคน และแบ่งการปกครองออกเป็น 32 อำเภอ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องอ้างเหตุผลว่าประชาชนส่วนใหญ่ ไม่เห็นด้วยเพราะไม่ต้องการให้ลูกหลานย่าโมต้องแยกจากกัน ซึ่งเป็นเหตุผลที่ไม่ได้ถือเอาความต้องการของผู้เดือดร้อนเป็นตัวตั้ง ผู้คัดค้านส่วนมากอยู่นอกพื้นที่ของ 8 อำเภอ ยึดถือความใหญ่โนของจังหวัดเป็นศักดิ์ศรีและความน่าภาคภูมิใจ คนอยู่ดีมีสุขจึงไม่เห็นปัญหาเพราะมองข้ามความขาดแคลนและความเดือดร้อนของพี่น้องร่วมจังหวัดที่ต้องเผชิญอยู่