ASTVผู้จัดการรายวัน-"พาณิชย์"เผยส่งออกเดือนพ.ค.ติดลบ 5.25% เหตุเจอพิษบาทแข็ง แถมเศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัว แต่มั่นใจเดือนมิ.ย.เป็นต้นไป สถานการณ์จะดีขึ้น หลังเงินบาทอ่อนค่า ยันทั้งปีโตตามเป้า 7-7.5% แน่
นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าไทยเดือนพ.ค.2556 มีมูลค่า 1.98 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 5.25% เทียบกับพ.ค.2555 เมื่อคิดในรูปเงินบาทมีมูลค่า 5.65 แสนล้านบาท ลดลง 11.73% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 2.21 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 2.14% เมื่อคิดในรูปเงินบาทมีมูลค่า 6.39 แสนล้านบาท ลดลง 8.76% ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้ามูลค่า 2,304 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือขาดดุล 7.41 หมื่นล้านบาท
ส่วนการส่งออกในช่วง 5 เดือนของปี 2556 (ม.ค.-พ.ค.) มีมูลค่า 9.42 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.86% เทียบกับช่วงเดียวกันปี 2555 เมื่อคิดในรูปเงินบาทมีมูลค่า 2.77 ล้านล้านบาท ลดลง 2.72% ส่วนการนำเข้า 5 เดือน มีมูลค่า 1.08 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.70% เมื่อคิดในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3.22 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.15% ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า 5 เดือนมูลค่า 1.38 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือขาดดุล 4.50 แสนล้านบาท
นางวัชรีกล่าวว่า การส่งออกเดือนพ.ค. ที่ขยายตัวลดลง เป็นผลมาจากค่าเงินบาทแข็งค่าตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยเดือนพ.ค.ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาเฉลี่ยอยู่ที่ 28.50 บาท/เหรียญสหรัฐ ทำให้การส่งออกได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าที่สูงขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจคู่ค้าหลายประเทศยังชะลอตัวลง โดยสหรัฐฯ ภาคการผลิตและการบริโภคอยู่ในภาวะชะงักงันและความเสี่ยงจากมาตรการลดงบประมาณรายจ่าย สหภาพยุโรป (อียู) เศรษฐกิจถดถอยจากกลุ่มยูโรโซน และล่าสุดจีน โดยเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวจากอุปสงค์ภายใน แต่เชื่อว่าจีนจะแก้ปัญหาได้รวดเร็ว และได้สั่งการให้มีการติดตามสถานการณ์การส่งออกไปจีนอย่างใกล้ชิดแล้ว
ขณะเดียวกัน การส่งออกสินค้าเกษตรได้ปรับตัวลดลง จากปัญหาสภาพภูมิอากาศ และโรคระบาดในกุ้ง สินค้าข้าวลดลงจากประเทศคู่แข่งมีแนวโน้มการส่งออกมากขึ้น และประเทศคู่ค้ามีนโยบายลดการพึ่งพานำเข้า เป็นต้น
"การส่งออกเดือนพ.ค. แม้จะปรับตัวลดลง แต่เชื่อว่าการส่งออกสินค้าไทยในเดือนมิ.ย. จะกลับมาขยายตัวได้ดีขึ้น หลังจากที่เงินบาทกลับมาอ่อนค่า และทำให้การส่งออกทั้งปียังเป็นไปตามเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ที่ 7-7.5% มูลค่า 2.45-2.46 แสนล้านเหรียญสหรัฐ โดยการส่งออกจะเป็นไปตามเป้าหมายดังกล่าว ไทยจะต้องส่งออกในช่วง 7 เดือนที่เหลือให้ได้เดือนละ 2.15 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ"นางวัชรีกล่าว
สำหรับรายละเอียดการส่งออกสินค้าไทยในเดือนพ.ค.2556 พบว่า สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ลดลง 16.4% สินค้าส่งออกลดลง เช่น ข้าว ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง อาหาร น้ำตาล ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม ลดลง 0.9% สินค้าสำคัญส่งออกลดลง เช่น เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ขณะที่การนำเข้าสินค้าเดือนพ.ค. พบว่านำเข้าสินค้าเชื้อเพลิง เพิ่ม 4.1% นำเข้าสินค้าทุน ลด 1.9% นำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ลด 7.1%
ด้านตลาดส่งออกสำคัญเดือนพ.ค. พบว่า ตลาดหลัก ส่งออกลดลง 8.8% เช่น สหรัฐฯ ลดลง 6.9% ญี่ปุ่นลด 7.6% สหภาพยุโรป (15 ประเทศ) ลด 12.1% ตลาดศักยภาพสูง ลด 4.3% เช่น จีน ลด 16.3% อาเซียน ลด1.2% ตลาดศักยภาพรอง ลด 2.1% เช่น ตะวันออกกลาง ลด 15.8% แอฟริกา ลด 9.6% เป็นต้น
นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าไทยเดือนพ.ค.2556 มีมูลค่า 1.98 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 5.25% เทียบกับพ.ค.2555 เมื่อคิดในรูปเงินบาทมีมูลค่า 5.65 แสนล้านบาท ลดลง 11.73% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 2.21 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 2.14% เมื่อคิดในรูปเงินบาทมีมูลค่า 6.39 แสนล้านบาท ลดลง 8.76% ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้ามูลค่า 2,304 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือขาดดุล 7.41 หมื่นล้านบาท
ส่วนการส่งออกในช่วง 5 เดือนของปี 2556 (ม.ค.-พ.ค.) มีมูลค่า 9.42 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.86% เทียบกับช่วงเดียวกันปี 2555 เมื่อคิดในรูปเงินบาทมีมูลค่า 2.77 ล้านล้านบาท ลดลง 2.72% ส่วนการนำเข้า 5 เดือน มีมูลค่า 1.08 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.70% เมื่อคิดในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3.22 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.15% ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า 5 เดือนมูลค่า 1.38 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือขาดดุล 4.50 แสนล้านบาท
นางวัชรีกล่าวว่า การส่งออกเดือนพ.ค. ที่ขยายตัวลดลง เป็นผลมาจากค่าเงินบาทแข็งค่าตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยเดือนพ.ค.ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาเฉลี่ยอยู่ที่ 28.50 บาท/เหรียญสหรัฐ ทำให้การส่งออกได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าที่สูงขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจคู่ค้าหลายประเทศยังชะลอตัวลง โดยสหรัฐฯ ภาคการผลิตและการบริโภคอยู่ในภาวะชะงักงันและความเสี่ยงจากมาตรการลดงบประมาณรายจ่าย สหภาพยุโรป (อียู) เศรษฐกิจถดถอยจากกลุ่มยูโรโซน และล่าสุดจีน โดยเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวจากอุปสงค์ภายใน แต่เชื่อว่าจีนจะแก้ปัญหาได้รวดเร็ว และได้สั่งการให้มีการติดตามสถานการณ์การส่งออกไปจีนอย่างใกล้ชิดแล้ว
ขณะเดียวกัน การส่งออกสินค้าเกษตรได้ปรับตัวลดลง จากปัญหาสภาพภูมิอากาศ และโรคระบาดในกุ้ง สินค้าข้าวลดลงจากประเทศคู่แข่งมีแนวโน้มการส่งออกมากขึ้น และประเทศคู่ค้ามีนโยบายลดการพึ่งพานำเข้า เป็นต้น
"การส่งออกเดือนพ.ค. แม้จะปรับตัวลดลง แต่เชื่อว่าการส่งออกสินค้าไทยในเดือนมิ.ย. จะกลับมาขยายตัวได้ดีขึ้น หลังจากที่เงินบาทกลับมาอ่อนค่า และทำให้การส่งออกทั้งปียังเป็นไปตามเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ที่ 7-7.5% มูลค่า 2.45-2.46 แสนล้านเหรียญสหรัฐ โดยการส่งออกจะเป็นไปตามเป้าหมายดังกล่าว ไทยจะต้องส่งออกในช่วง 7 เดือนที่เหลือให้ได้เดือนละ 2.15 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ"นางวัชรีกล่าว
สำหรับรายละเอียดการส่งออกสินค้าไทยในเดือนพ.ค.2556 พบว่า สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ลดลง 16.4% สินค้าส่งออกลดลง เช่น ข้าว ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง อาหาร น้ำตาล ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม ลดลง 0.9% สินค้าสำคัญส่งออกลดลง เช่น เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ขณะที่การนำเข้าสินค้าเดือนพ.ค. พบว่านำเข้าสินค้าเชื้อเพลิง เพิ่ม 4.1% นำเข้าสินค้าทุน ลด 1.9% นำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ลด 7.1%
ด้านตลาดส่งออกสำคัญเดือนพ.ค. พบว่า ตลาดหลัก ส่งออกลดลง 8.8% เช่น สหรัฐฯ ลดลง 6.9% ญี่ปุ่นลด 7.6% สหภาพยุโรป (15 ประเทศ) ลด 12.1% ตลาดศักยภาพสูง ลด 4.3% เช่น จีน ลด 16.3% อาเซียน ลด1.2% ตลาดศักยภาพรอง ลด 2.1% เช่น ตะวันออกกลาง ลด 15.8% แอฟริกา ลด 9.6% เป็นต้น