ASTV ผู้จัดการรายวัน-ผบ.ตร. กำชับ "คำรณวิทย์" ทำสำนวนคดีฆ่า "เอกยุทธ" อย่างรอบคอบ เร่งสอบเพิ่มใน13 ประเด็น ตามที่ทนายร้องขอ มอบหมาย "ปานศิริ"คุมคดีอีกชั้น กมธ.ตำรวจ สภาฯ เตรียมเชิญ ผบ.ตร.-ผบ.ชน. ชี้แจงวันนี้ เชื่อมีเงื่อนงำมากกว่าฆ่าชิงทรัพย์ กังขาเร่งปิดคดี
พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าคดีอุ้มฆ่านายเอกยุทธ อัญชันบุตร นักธุรกิจชื่อดังว่า บช.น.ได้เรียนให้ทาง พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. รับทราบถึงกรณีที่ทีมทนายความของนายเอกยุทธ ได้เรียกร้องให้ตำรวจตรวจสอบประเด็นเพิ่มอีก 13 ประเด็น ซึ่งในหลายประเด็นก็ได้มีการดำเนินการไปแล้ว และหลายประเด็นจะต้องดำเนินการ ซึ่งทาง ผบ.ตร. ได้สั่งให้ทำคดีอย่างรอบคอบ โดยมอบหมายให้ พล.ต.อ.ปานศิริ ช่วยดูแล ขณะเดียวกันทางกองพิสูจน์หลักฐาน ได้เข้ามายืนยันหลักฐานต่างๆ ทั้งวัตถุพยานที่ตรวจพบ และยืนยันตัวบุคคล
นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการตำรวจ สภาผู้แทนราษฏร กล่าวว่า วันนี้ (20มิ.ย.) เวลา 09.30น.คณะกรรมาธิการตำรวจจะเชิญ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. และพล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบ.ชน. มาให้ข้อมูล หลังจากที่นายสุวัฒน์ อภัยภักดิ์ ทนายความของนายเอกยุทธ ยื่น 13 ข้อสังเกตไปยัง ผบ.ชน. เกี่ยวกับการเสียชีวิตของนายเอกยุทธที่ยังมีเงื่อนงำหลายอย่างน่าสงสัย
ทั้งนี้ ตนมี 5 คำถาม ถึงตำรวจเกี่ยวกับความน่าสงสัยในคดีนี้ ก่อนที่จะมีการสรุปสำนวนเพื่อสั่งฟ้อง ประกอบด้วย 1.ทำไมต้องรีบสรุปคดีว่าเป็นการชิงทรัพย์ธรรมดา โดยตำรวจเชื่อง่าย ไม่มีข้อสงสัย ปิดคดีเร็ว 2.ทำไมต้องรอให้ผู้เสียหายหรือทนายของผู้เสียหายมาตั้งข้อสงสัย 13 ข้อ ทั้งที่ตำรวจไทยมีหน้าที่ต้องรวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมดที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรถตู้ เซิฟเวอร์ หรือพยานแวดล้อมอื่นทั้งหมด โดยไม่จำเป็นต้องให้ใครมาตั้งข้อสังเกต แต่เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนต้องดำเนินการ 3.ทำไมข้อมูลที่แถลงในแต่ละครั้งจึงไม่ตรงกันซักรอบ ไม่ว่าจะเป็นคำรับสารภาพ คำให้การ หรือพยานวัตถุ สร้างความเคลือบแคลงต่อสังคมว่าข้อมูล ข้อเท็จจริงในการสอบสวนจะเพียงพอต่อการรับฟังในชั้นศาลหรือไม่
4.ทำไมจึงให้ความสำคัญกับคำให้การของผู้ต้องหาเป็นหลักในการกำหนดทิศทางการสอบสวน โดยหลักกฎหมายคำสารภาพตามวิธีพิจารณาความอาญาไม่สามารถรับฟังเพื่อเป็นประจักษ์พยานในการลงโทษหรือไม่สามารถรับฟังเป็นประจักษ์พยานในการพิพากษาคนผิดได้ แต่เป็นเพียงพยานบอกเล่าเท่านั้นตามหลักป.วิอาญา หมายความว่าเป็นพยานที่ไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังเป็นหลัก เว้นแต่ว่าจะเป็นพยานที่ประกอบกับพยานหลักฐานอื่นมาเจือสมที่น่าเชื่อถือ เช่น คำให้การของจำเลยไปประกอบกับพยานหลักฐานที่ตำรวจพบ จึงจะถือว่าเป็นประจักษ์ พยานได้ หรือ กรณีคำซัดทอดจากนาย ก.ไปว่านาย ข. ร่วมทำผิดนั้นร้อยละ 99 อัยการสั่งไม่ฟ้อง
5.ทำไมไม่ให้หน่วยงานอื่น เช่น กองปราบปราม หรือสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ มาร่วมพิสูจน์ความจริง แม้ว่าคุณหญิงแพทย์หญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ จะถูกย้ายจากตำแหน่งผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ไปแล้ว แต่หน่วยงานนี้ก็มีความเชี่ยวชาญด้านนี้
"มีข้อสังเกตในฐานะเป็นคณะทำงานกรรมาธิการการตำรวจ เคยเชิญคุณหญิงพรทิพย์มาให้ข้อมูลกับคณะทำงานเกี่ยวกับคดี 6 ศพวัดปทุมวนาราม ซึ่งทางดีเอสไอเคยขอให้ทางสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ตรวจสอบ แต่เมื่อสรุปรายงานรัฐบาลชุดนี้กลับไม่นำไปใช้ จึงขอตั้งข้อสังเกตว่า เป็นเพราะกรณีนี้หรือไม่ ทำให้ไม่มีการใช้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์มาร่วมพิสูจน์ความจริง โดยจะได้ตั้งคำถามเหล่านี้กับทั้ง ผบ.ตร.และ ผบ.ชน.ในการประชุมกรรมาธิการตำรวจฯในวันที่ 20 มิ.ย.ด้วย"นายสาธิตกล่าว
พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าคดีอุ้มฆ่านายเอกยุทธ อัญชันบุตร นักธุรกิจชื่อดังว่า บช.น.ได้เรียนให้ทาง พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. รับทราบถึงกรณีที่ทีมทนายความของนายเอกยุทธ ได้เรียกร้องให้ตำรวจตรวจสอบประเด็นเพิ่มอีก 13 ประเด็น ซึ่งในหลายประเด็นก็ได้มีการดำเนินการไปแล้ว และหลายประเด็นจะต้องดำเนินการ ซึ่งทาง ผบ.ตร. ได้สั่งให้ทำคดีอย่างรอบคอบ โดยมอบหมายให้ พล.ต.อ.ปานศิริ ช่วยดูแล ขณะเดียวกันทางกองพิสูจน์หลักฐาน ได้เข้ามายืนยันหลักฐานต่างๆ ทั้งวัตถุพยานที่ตรวจพบ และยืนยันตัวบุคคล
นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการตำรวจ สภาผู้แทนราษฏร กล่าวว่า วันนี้ (20มิ.ย.) เวลา 09.30น.คณะกรรมาธิการตำรวจจะเชิญ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. และพล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบ.ชน. มาให้ข้อมูล หลังจากที่นายสุวัฒน์ อภัยภักดิ์ ทนายความของนายเอกยุทธ ยื่น 13 ข้อสังเกตไปยัง ผบ.ชน. เกี่ยวกับการเสียชีวิตของนายเอกยุทธที่ยังมีเงื่อนงำหลายอย่างน่าสงสัย
ทั้งนี้ ตนมี 5 คำถาม ถึงตำรวจเกี่ยวกับความน่าสงสัยในคดีนี้ ก่อนที่จะมีการสรุปสำนวนเพื่อสั่งฟ้อง ประกอบด้วย 1.ทำไมต้องรีบสรุปคดีว่าเป็นการชิงทรัพย์ธรรมดา โดยตำรวจเชื่อง่าย ไม่มีข้อสงสัย ปิดคดีเร็ว 2.ทำไมต้องรอให้ผู้เสียหายหรือทนายของผู้เสียหายมาตั้งข้อสงสัย 13 ข้อ ทั้งที่ตำรวจไทยมีหน้าที่ต้องรวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมดที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรถตู้ เซิฟเวอร์ หรือพยานแวดล้อมอื่นทั้งหมด โดยไม่จำเป็นต้องให้ใครมาตั้งข้อสังเกต แต่เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนต้องดำเนินการ 3.ทำไมข้อมูลที่แถลงในแต่ละครั้งจึงไม่ตรงกันซักรอบ ไม่ว่าจะเป็นคำรับสารภาพ คำให้การ หรือพยานวัตถุ สร้างความเคลือบแคลงต่อสังคมว่าข้อมูล ข้อเท็จจริงในการสอบสวนจะเพียงพอต่อการรับฟังในชั้นศาลหรือไม่
4.ทำไมจึงให้ความสำคัญกับคำให้การของผู้ต้องหาเป็นหลักในการกำหนดทิศทางการสอบสวน โดยหลักกฎหมายคำสารภาพตามวิธีพิจารณาความอาญาไม่สามารถรับฟังเพื่อเป็นประจักษ์พยานในการลงโทษหรือไม่สามารถรับฟังเป็นประจักษ์พยานในการพิพากษาคนผิดได้ แต่เป็นเพียงพยานบอกเล่าเท่านั้นตามหลักป.วิอาญา หมายความว่าเป็นพยานที่ไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังเป็นหลัก เว้นแต่ว่าจะเป็นพยานที่ประกอบกับพยานหลักฐานอื่นมาเจือสมที่น่าเชื่อถือ เช่น คำให้การของจำเลยไปประกอบกับพยานหลักฐานที่ตำรวจพบ จึงจะถือว่าเป็นประจักษ์ พยานได้ หรือ กรณีคำซัดทอดจากนาย ก.ไปว่านาย ข. ร่วมทำผิดนั้นร้อยละ 99 อัยการสั่งไม่ฟ้อง
5.ทำไมไม่ให้หน่วยงานอื่น เช่น กองปราบปราม หรือสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ มาร่วมพิสูจน์ความจริง แม้ว่าคุณหญิงแพทย์หญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ จะถูกย้ายจากตำแหน่งผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ไปแล้ว แต่หน่วยงานนี้ก็มีความเชี่ยวชาญด้านนี้
"มีข้อสังเกตในฐานะเป็นคณะทำงานกรรมาธิการการตำรวจ เคยเชิญคุณหญิงพรทิพย์มาให้ข้อมูลกับคณะทำงานเกี่ยวกับคดี 6 ศพวัดปทุมวนาราม ซึ่งทางดีเอสไอเคยขอให้ทางสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ตรวจสอบ แต่เมื่อสรุปรายงานรัฐบาลชุดนี้กลับไม่นำไปใช้ จึงขอตั้งข้อสังเกตว่า เป็นเพราะกรณีนี้หรือไม่ ทำให้ไม่มีการใช้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์มาร่วมพิสูจน์ความจริง โดยจะได้ตั้งคำถามเหล่านี้กับทั้ง ผบ.ตร.และ ผบ.ชน.ในการประชุมกรรมาธิการตำรวจฯในวันที่ 20 มิ.ย.ด้วย"นายสาธิตกล่าว