หุ้นร่วง 32 จุด หลุด1,500 จุดต่างชาติยังขายเพื่อปรับพอร์ตไม่เลิก ล่าสุดขายสุทธิอีก 4.7 พันล้านบาทโบรกฯให้แนวรับต่อไป 1,480 จุดพร้อมย้ำต้องจับตาตัวเลขการจ้างงานภาคเกษตรและการประชุมเฟดที่ใกล้จะเกิดขึ้น ประเมินหากรีบาวด์ไม่ผ่าน1,550 จุดส่อลงต่ออีกรอบ "จรัมพร"ย้ำตลาดหุ้นไทยยังพื้นฐานดีเพียงแต่ได้รับผลจากการปรับพอร์ตของต่างชาติเช่นเดียวกับตลาดอื่นๆทั่วโลก ชี้เป็นโอกาสเข้าซื้อของดีราคาถูก
ภาวะตลาดหุ้นไทย วานนี้ (6 มิ.ย.) ดัชนีเคลื่อนไหวอยู่ในแดนลบตลอดวันโดยปิดที่ระดับ 1,490.21 จุด ลดลง 32.45 จุด หรือเปลี่ยนแปลง -2.13%มูลค่าการซื้อขาย 68,645.95 ล้านบาท แซงหน้าตลาดในภูมิภาค หลุดระดับ1,500 จุด โดยมีแรงขายหนักในหุ้นกลุ่มบิ๊กแคปซึ่งในระหว่างชั่วโมงการซื้อขายดัชนีปรับลงไปลึกแตะที่ระดับ 1,484.88 จุดขณะเดียวกันพบว่า นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 4.7 พันล้านบาท
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มองว่า เป็นการปรับพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนสถาบันโดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากมีความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)อาจชะลอซื้อพันธบัตรในไม่ช้านี้จากคาดการณ์ว่าจะเริ่มชะลอการซื้อพันธบัตรตั้งแต่กันยายนเป็นต้นไปทำให้แรงขายหุ้นเพื่อปรับพอร์ตลงทุนยังมีออกมาอย่างต่อนเนื่อง ส่วนแนวโน้มการลงทุนวันนี้ (7 มิ.ย.) มองว่า ตลาดยังผันผวนซึ่งหากตลาดรีบาวนด์แล้วไม่สามารถผ่าน 1,550 จุดได้ก็มีโอกาสปรับฐานอีกรอบ
นายภาดล วรรณรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์(บล.) เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ประเทศไทย กล่าวว่าตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงในทิศทางเดียวกับตลาดต่างประเทศทั้งตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชีย ที่ส่วนใหญ่อยู่ในแดนลบหลังจากที่ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ ร่วงกว่า 200 จุดแต่คาดการณ์ว่ากลางสัปดาห์หน้าคาดว่าตลาดหุ้นจะมีแรงเก็งกำไรในประเด็นของการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ในวันที่ 18-19 มิถุนายน 2556ซึ่งก็คงจับตาเรื่องของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจว่าจะออกมาในทิศทางใด
ด้านนายวิวัฒน์ เตชุพูลผล หัวหน้ากลยุทธ์การลงทุน และผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บล.ทิสโก้ กล่าวว่ายังเป็นปัจจัยเดิมที่กดดันตลาดหุ้นไทยให้ปรับตัวลดลงนั่นคือความกังวลต่อการยุติมาตรการQE หรือการลดวงเงินในซื้อคืนพันธบัตรโดยประเมินแนวรับสำคัญไว้ที่ 1,480 -1,460 จุดแต่นักลงทุนต้องติดตามผลการประชุมเฟด เพื่อดูความชัดเจนในมาตรการQEและต้องติดตามตัวเลขการจ้างงานภาคเกษตรของสหรัฐฯที่จะประกาศในวันศุกร์นี้ซึ่งถ้าออกมาดีก็อาจทำให้จะมีการชะลอการซื้อพันธบัตรเร็วขึ้น
ขณะเดีวกันมองว่าการปรับตัวลดลงของดัชนีหุ้นไทยรอบนี้ถือเป็นโอกาสที่นักลงทุนสามารถเข้าไปลงทุนในหุ้นพื้นฐานดีที่ราคาปรับตัวลงมากด้วยเช่นกันเช่นกลุ่มธนาคาร สื่อสาร และขนส่ง
นายสิทธิไชย มหาคุณ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สาย Corporate Finance ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้ว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีจะลดลงค่อนข้างมาก ซึ่งน่าจะมีปัจจัยมาจากการกังวลที่สหรัฐฯจะลดวงเงินมาตรการ QE3 ทำให้มีแรงขายออกมา แต่ธนาคารยังเป้าหมายดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในปีนี้ไว้ที่ระดับ 1,800 จุด ในระดับ P/E ที่14 เท่า อัตราการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนอยู่ในระดับ 23-25% เนื่องจากก็ยังเชื่อว่าปัจจัยพื้นฐานของตลาดหุ้นไทยยังมีความแข็งแกร่ง
สำหรับกรณีที่มูดี้ส์อาจจะมีการปรับอันดับเครดิตของประเทศไทยนั้น ก็ต้องยอมรับว่า หากลดอันดับเครดิตก็จะมีผลให้ต้นทุนในการระดมเงินทุนสูงขึ้น ซึ่งในส่วนนี้ผู้ประกอบการก็ต้องเตรียมที่จะปรับตัว เนื่องจากน่าจะยังมีความต้องการเงินทุน หลังโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐจะออกมาอีก
**"จรัมพร" ชี้หุ้นไทยลงตามตลาดอื่นๆแต่พื้นฐานยังดี
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) กล่าวว่า จากการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้นไทยในเวลานี้นั้นสืบเนื่องมาจากต่างชาติเทขายหุ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อทำกำไรไม่ใช่เพียงตลาดหุ้นไทยแห่งเดียวเท่านั้นแต่เป็นโดยรวมทั้งตลาดหุ้นทั่วโลกที่ประสบปัญหาในลักษณะดิ่งลงเช่นเดียวกันโดยสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากการเคลื่อนย้ายเงินจากตลาดโลก ตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค.2556 จนถึงปัจจุบัน
อย่างไรก็ตามมองว่าภาวะผันผวนของตลาดหุ้นที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากของหุ้นไทยไม่ดี"จะเห็นว่าประเทศที่ดัชนีปรับขึ้นสูงสุดก็ตกลงมาแรงสุดและปรับลดลงอย่างต่อเนื่องจึงอยากแนะนำนักลงทุนอย่ากังวลกับสภาวะตลาดหุ้นไทยช่วงนี้อยากให้ติดตามว่าการเคลื่อนย้ายเงินในตลาดโลกว่าจะมีต่อไปนานเพียงใดและถือว่าการที่หุ้นลงมาถึงระดับนี้เป็นโอกาสที่นักลงทุนจะเข้าซื้อในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีและโอกาสทำกำไรในระยาวได้ เพราะ
ตลาดหุ้นไทยยังเป็นตลาดที่ให้ผลตอบแทนในเกณฑ์ที่ดีเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นต่างประเทศ
ทั้งนี้ หากที่สุดเม็ดเงินไหลกลับเข้ามาใหม่ตลาดหุ้นไทยจะเป็นทางเลือกหนึ่งแก่นักลงทุนและเชื่อมั่นว่าแนวโน้มระยะยาวการลงทุนในหุ้นจะยังสดใสอยู่
ภาวะตลาดหุ้นไทย วานนี้ (6 มิ.ย.) ดัชนีเคลื่อนไหวอยู่ในแดนลบตลอดวันโดยปิดที่ระดับ 1,490.21 จุด ลดลง 32.45 จุด หรือเปลี่ยนแปลง -2.13%มูลค่าการซื้อขาย 68,645.95 ล้านบาท แซงหน้าตลาดในภูมิภาค หลุดระดับ1,500 จุด โดยมีแรงขายหนักในหุ้นกลุ่มบิ๊กแคปซึ่งในระหว่างชั่วโมงการซื้อขายดัชนีปรับลงไปลึกแตะที่ระดับ 1,484.88 จุดขณะเดียวกันพบว่า นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 4.7 พันล้านบาท
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มองว่า เป็นการปรับพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนสถาบันโดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากมีความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)อาจชะลอซื้อพันธบัตรในไม่ช้านี้จากคาดการณ์ว่าจะเริ่มชะลอการซื้อพันธบัตรตั้งแต่กันยายนเป็นต้นไปทำให้แรงขายหุ้นเพื่อปรับพอร์ตลงทุนยังมีออกมาอย่างต่อนเนื่อง ส่วนแนวโน้มการลงทุนวันนี้ (7 มิ.ย.) มองว่า ตลาดยังผันผวนซึ่งหากตลาดรีบาวนด์แล้วไม่สามารถผ่าน 1,550 จุดได้ก็มีโอกาสปรับฐานอีกรอบ
นายภาดล วรรณรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์(บล.) เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ประเทศไทย กล่าวว่าตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงในทิศทางเดียวกับตลาดต่างประเทศทั้งตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชีย ที่ส่วนใหญ่อยู่ในแดนลบหลังจากที่ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ ร่วงกว่า 200 จุดแต่คาดการณ์ว่ากลางสัปดาห์หน้าคาดว่าตลาดหุ้นจะมีแรงเก็งกำไรในประเด็นของการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ในวันที่ 18-19 มิถุนายน 2556ซึ่งก็คงจับตาเรื่องของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจว่าจะออกมาในทิศทางใด
ด้านนายวิวัฒน์ เตชุพูลผล หัวหน้ากลยุทธ์การลงทุน และผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บล.ทิสโก้ กล่าวว่ายังเป็นปัจจัยเดิมที่กดดันตลาดหุ้นไทยให้ปรับตัวลดลงนั่นคือความกังวลต่อการยุติมาตรการQE หรือการลดวงเงินในซื้อคืนพันธบัตรโดยประเมินแนวรับสำคัญไว้ที่ 1,480 -1,460 จุดแต่นักลงทุนต้องติดตามผลการประชุมเฟด เพื่อดูความชัดเจนในมาตรการQEและต้องติดตามตัวเลขการจ้างงานภาคเกษตรของสหรัฐฯที่จะประกาศในวันศุกร์นี้ซึ่งถ้าออกมาดีก็อาจทำให้จะมีการชะลอการซื้อพันธบัตรเร็วขึ้น
ขณะเดีวกันมองว่าการปรับตัวลดลงของดัชนีหุ้นไทยรอบนี้ถือเป็นโอกาสที่นักลงทุนสามารถเข้าไปลงทุนในหุ้นพื้นฐานดีที่ราคาปรับตัวลงมากด้วยเช่นกันเช่นกลุ่มธนาคาร สื่อสาร และขนส่ง
นายสิทธิไชย มหาคุณ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สาย Corporate Finance ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้ว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีจะลดลงค่อนข้างมาก ซึ่งน่าจะมีปัจจัยมาจากการกังวลที่สหรัฐฯจะลดวงเงินมาตรการ QE3 ทำให้มีแรงขายออกมา แต่ธนาคารยังเป้าหมายดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในปีนี้ไว้ที่ระดับ 1,800 จุด ในระดับ P/E ที่14 เท่า อัตราการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนอยู่ในระดับ 23-25% เนื่องจากก็ยังเชื่อว่าปัจจัยพื้นฐานของตลาดหุ้นไทยยังมีความแข็งแกร่ง
สำหรับกรณีที่มูดี้ส์อาจจะมีการปรับอันดับเครดิตของประเทศไทยนั้น ก็ต้องยอมรับว่า หากลดอันดับเครดิตก็จะมีผลให้ต้นทุนในการระดมเงินทุนสูงขึ้น ซึ่งในส่วนนี้ผู้ประกอบการก็ต้องเตรียมที่จะปรับตัว เนื่องจากน่าจะยังมีความต้องการเงินทุน หลังโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐจะออกมาอีก
**"จรัมพร" ชี้หุ้นไทยลงตามตลาดอื่นๆแต่พื้นฐานยังดี
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) กล่าวว่า จากการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้นไทยในเวลานี้นั้นสืบเนื่องมาจากต่างชาติเทขายหุ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อทำกำไรไม่ใช่เพียงตลาดหุ้นไทยแห่งเดียวเท่านั้นแต่เป็นโดยรวมทั้งตลาดหุ้นทั่วโลกที่ประสบปัญหาในลักษณะดิ่งลงเช่นเดียวกันโดยสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากการเคลื่อนย้ายเงินจากตลาดโลก ตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค.2556 จนถึงปัจจุบัน
อย่างไรก็ตามมองว่าภาวะผันผวนของตลาดหุ้นที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากของหุ้นไทยไม่ดี"จะเห็นว่าประเทศที่ดัชนีปรับขึ้นสูงสุดก็ตกลงมาแรงสุดและปรับลดลงอย่างต่อเนื่องจึงอยากแนะนำนักลงทุนอย่ากังวลกับสภาวะตลาดหุ้นไทยช่วงนี้อยากให้ติดตามว่าการเคลื่อนย้ายเงินในตลาดโลกว่าจะมีต่อไปนานเพียงใดและถือว่าการที่หุ้นลงมาถึงระดับนี้เป็นโอกาสที่นักลงทุนจะเข้าซื้อในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีและโอกาสทำกำไรในระยาวได้ เพราะ
ตลาดหุ้นไทยยังเป็นตลาดที่ให้ผลตอบแทนในเกณฑ์ที่ดีเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นต่างประเทศ
ทั้งนี้ หากที่สุดเม็ดเงินไหลกลับเข้ามาใหม่ตลาดหุ้นไทยจะเป็นทางเลือกหนึ่งแก่นักลงทุนและเชื่อมั่นว่าแนวโน้มระยะยาวการลงทุนในหุ้นจะยังสดใสอยู่