วานนี้ (5มิ.ย.) พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือ สมช. เปิดเผยว่า ฝ่ายความมั่นคงมีแนวคิดปรับยุทธศาสตร์การบริหารชายแดน และความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และพื้นที่จังหวัดชายแดนอื่นๆ รวม 31 จังหวัด ด้วยการลดการประกาศใช้กฎอัยการศึก และให้คงเหลือ พ.ร.บ.ความมั่นคงแห่งชาติเท่านั้น เพื่อคลายความกังวลในการใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ รวมทั้งเป็นการรองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งแนวคิดดังกล่าวน่าจะมีความชัดเจนทันทีที่มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ ด้านการค้าชายแดนและความมั่นคงในเดือนหน้า (ก.ค.) ซึ่งนายกรัฐมนตรี จะร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ด้วย
ส่วนความคืบหน้าการวางกรอบการหารือสันติภาพกับกลุ่มบีอาร์เอ็น ในวันที่ 13 มิ.ย. ที่ประเทศมาเลเซียนั้น เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น แต่ยอมรับว่าไม่สามารถทำตามข้อเสนอแนะของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่ให้ลดระยะเวลาการหารือลงได้ เพราะการพูดคุยจะต้องดูสถานการณ์หน้างาน และต้องดูผลตอบรับของทั้ง ไทย มาเลเซีย และกลุ่มบีอาร์เอ็น แต่ยืนยันจะพยายามทำให้กระชับขึ้น เพราะมีการหารือมาแล้ว 2 ครั้งก่อนหน้านี้
ส่วนการที่นายกฯจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลางที่ให้คืนตำแหน่งเลขาสมช.ให้นายถวิล เปลี่ยนศรี หรือไม่ ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่เลขาสมช.ของตนเอง รวมถึงการหารือกับกลุ่มบีอาร์เอ็นด้วย
ด้านร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปก.กปต.) กล่าวถึงแนวโน้มการยกเลิกพูดคุยกับกลุ่มบีอาร์เอ็นในวันที่ 13 มิ.ย.หรือไม่ หลังเกิดเหตุลอบวางระเบิดรถยนต์ชุดรักษาความปลอดภัยนายอำเภอยะรัง จ.ปัตตานี ว่า สถานการณ์อย่างนี้จะเอาอะไรไปพูดกับเขาเรื่องยกเลิก ตนบอกว่ามันขุดถนนแล้วฝังระเบิดลงไป เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีหลายหลุม และข้างทางยังไม่ถางให้โล่ง ยังเหมือนเดิม ซึ่งต้องทำถนนให้ดี ลาดคอนกรีตให้แน่น ส่วนชุดคุ้มครองครูนั้น เราควรจะต้องปลูกบ้านให้ครูอยู่ นอนในโรงเรียน ไม่ต้องมาเดินทางไปมา และในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างนี้ การที่พระจะไปบิณฑบาตไม่ปลอดภัย เราต้องเริ่มแนวคิดใหม่ด้วยการให้ชาวบ้านที่เป็นไทยพุทธ นำกับข้าวไปวัด และทำครัวถวาย อย่างนี้ง่ายๆ ดีกว่าไม่ทำ เพราะใครก็ตามที่เดินทางประจำ เรียบร้อยหมด
ส่วนการต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ครั้งหน้านั้นต้องแล้วแต่ที่ประชุม นอกจากนี้ การเจรจาดีกว่าไม่เจรจา แต่หากเราพูดคุยแล้วเห็นทรงไม่ดี เราต้องเปลี่ยนใหม่ หลังจากนี้ที่ตนลงลึกจะรู้แล้วว่าใครเป็นแกนนำจริงๆ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ดูเหมือนร.ต.อ.เฉลิม มีอำนาจ แต่ใช้อำนาจในการแก้ไขปัญหาไม่ได้เต็มที่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวยอมรับว่า แน่นอน ตนย้ายใครไม่ได้สักคน ใช้อำนาจไม่ได้เต็มที่ ตนไม่อาย
**พวกดีแต่พูดต้องเจอตบปาก
พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณี กลุ่มบีอาร์เอ็น ยื่นข้อเสนอ 5 ข้อ ในการพูดคุยสันติภาพว่า ต้องเข้าใจว่า เราพูดคุยกับผู้ก่อความไม่สงบ โดยเราให้โอกาสเขาคุย และให้ประกันตัว เพื่อให้เกิดความสงบสุข แต่ถ้าออกมาขออย่างนี้ ก็คุยไม่รู้เรื่อง เขาต้องรู้สถานะตัวเองด้วยว่าเป็นใคร เขาคือผู้ก่อความไม่สงบ ซึ่งที่ผ่านมาฝ่ายเราไม่ได้แสดงออกมากนัก เมื่อไม่พูดจึงเรียกร้องกันใหญ่ และขอมากไปหน่อย ไม่ถูกต้อง การเจรจาต้องอยู่ในกรอบรัฐธรรมนูญไทย ส่วนการก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของไทย เชื่อว่าสิ้นปีนี้จะดีขึ้น เพราะตอนนื้ทหารสามารถเข้าไปได้ทุกพื้นที่
“กองกำลังอาร์เคเค ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เป็นคนรุ่นใหม่ มีประสบการณ์น้อย เมื่อก่อเหตุจึงผิดพลาดเป้าบ่อย คนหนุ่มอาจมีดี ตรงขยันก่อเหตุ แต่ไม่เก๋า ไม่มีประสบการณ์ ทำให้งานของเขาพลาดบ่อย แต่ที่เรายังแก้ไม่ได้ และเป็นห่วงอยู่ คือการลอบวางระเบิด ไม่ใช่แค่ถนนเท่านั้น ยังมีตรงสะพาน และอีกหลายแห่ง ที่เขาใช้เวลาทำไม่ถึง 15 นาทีก็เสร็จ ทำให้เวลาทหารไปลาดตระเวนก่อน ไม่เจออะไร อีกทั้งเขายังรู้กำหนดการต่างๆ ของเจ้าหน้าที่หมดว่าไปทำอะไร ที่ไหน กี่โมง มีป้ายบอกหมด ทำให้ก่อเหตุได้ง่าย ทุกคนต้องเข้าใจการทำงานด้วย อย่าเอาแต่ด่า คนพูดไม่ได้อยู่ตรงนั้น ทหารตายทุกวัน ผมเสียใจที่มีการสูญเสีย แต่เราไม่ได้กลัว บ้านเรามีแต่พวกเก่งแต่ปาก พวกนี้ต้องตบปาก วันนี้เรามาถูกทางโดยมีกองทัพป็นหลัก หากไม่มีกองทัพก็ตาย ทหารเราเข้าไปได้ทุกพื้นที่ แต่อยู่ตลอดไม่ได้ เพราะกำลังไม่พอ ตำรวจเพิ่งลงไป 1.7 พันคน อาสามัครก็ยังไม่แข็งแรง”รมว.กลาโหม กล่าว
รมว.กลาโหม กล่าวด้วยว่า เราต้องทำงานคู่ขนานควบคู่ไปกับการเจรจาสันติภาพ ซึ่งต้องใช้เวลา แต่ไม่ใช่เลี้ยงไข้ให้ทหารตายทุกวัน ต้องเข้าใจว่างบประมาณที่ลงไป 80 % เป็นเรื่องของเบี้ยเลี้ยง เงินเดือน เงินตอบแทนพิเศษ ซึ่งข้าราชการกระทรวงอื่นๆ ที่ลงไปก็ได้เหมือนกัน ส่วนการจัดซื้อจัดจ้างก็ต้องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ผ่านการเสนอของนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ผอ.รมน.) รวมถึง ศูนย์อำนวยการบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ก็ต้องนำโครงการที่จะใช้งบประมาณให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติเช่นกัน โดยให้งานพัฒนาที่ออกมาต้องเหมาะสม และสอดคล้องกับพื้นที่
ทั้งนี้ เลขาธิการศอ.บต. กับ แม่ทัพภาคที่ 4 ทั้งคนเก่า และคนใหม่ คุยกันตลอด ทำงานเป็นเอกภาพ เข้าขากัน เพราะเป็นลูกน้องของนายกรัฐมนตรี ตามกฎหมาย เหมือนกัน ปัจจัยที่จะทำให้ประสบความสำเร็จคือ ต้องให้คนในพื้นที่บอกข้อมูลมากที่สุด วันนี้ ศอ.บต.ทำโพล โดยไปถามความคิดเห็นเขา เขาไม่ต้องการรัฐปัตตานี เขาต้องการความปลอดภัย ไม่มีระเบิด ไม่มีทหารเดินเต็มไปหมด เขาต้องการให้พัฒนา ปัญหาใต้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องใช้เวลา อย่าใจร้อน กองทัพเป็นส่วนที่ดับไฟ ไม่ใช่เป็นคนไปแก้เงื่อนไข หรือต้นเหตุ ฝ่ายงานมั่นคงต้องนำหน้า
** เลิกเจรจาบีอาร์เอ็น หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้น
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส่งสัญญาณว่า หากการพูดคุยกับบีอาร์เอ็นในวันที่ 13 มิ.ย.นี้แล้ว สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น อาจจะต้องมีการพิจารณาทบทวน ไม่พูดคุยกับบีอาร์เอ็นอีกว่า ตนเห็นด้วยที่จะมีการทบทวนการพุดคุย เพราะถ้าพูดคุยไปแล้ว ระดับความรุนแรงไม่ลดลง ทั้งอีกฝ่ายหนึ่งก็ยังมีการเผยแพร่คลิปให้ร้ายฝ่ายไทยผ่านทางโซเชียลมีเดีย และเรียกร้องข้อเสนอนอกเหนือจากกรอบที่เคยตกลงกันไว้ ก็ไม่สมควรที่จะพูดคุยกันต่อ รัฐบาลไทยควรที่จะเป็นฝ่ายรุกกลับเข้าไป โดยจะต้องเป็นผู้ที่ตั้งเงื่อนไขบ้าง ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่าการพูดคุยไม่ได้นำไปสู่ความสงบเรียร้อยของคนในพื้นที่ เป็นเพียงเครื่องมือให้คนกลุ่มหนี่ง ที่มีเป้าหมายทางการเมือง
ขณะที่ นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี นายอภิสิทธิ์ เตือนรัฐบาลไม่ควรเจรจากับบีอาร์เอ็นรอบ 3 จนกว่าอีกฝ่ายจะประกาศชัดว่าจะลดความรุนแรง และแนะนำให้ฝ่ายไทยต้องเรียกร้องบ้างว่า การพูดคุยกับบีอาร์เอ็นรอบ 3 ต้องเดินหน้าต่อ เพื่อมุ่งหน้าไปสู่สันติภาพ แม้ว่าจะยากลำบากแต่การพูดคุยก็ยังคงเป็นเครื่องมือที่เป็นความหวัง รัฐบาลและฝ่ายความมั่นคง ยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าต่อไป นายอภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์ ถ้าไม่มีอะไรดีกว่าพร่ำพูดแต่ว่าหยุดเจรจา เสียเปรียบ ก็ควรเก็บคำพูดนี้ไปพูดเงียบๆ คนเดียว เพราะพูดออกมาแต่ละครั้ง ข้าราชการ กองทัพ เจ้าหน้าที่ทุกคน ที่เสียสละ แม้แต่ชีวิตเลือดเนื้อ เพื่อประเทศชาติจะหมดกำลังใจ และไม่สร้างสรรค์ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ที่นายอภิสิทธิ์ พูดแต่ละครั้ง เจตนาดีหรือประสงค์ร้ายกันแน่ การพูดเรื่องนี้ ควรมีข้อเสนอที่สร้างสรรค์ ไม่ใช่พูดเอามัน หรือมุ่งดิสเครดิตรัฐบาลเพียงอย่างเดียว
ส่วนความคืบหน้าการวางกรอบการหารือสันติภาพกับกลุ่มบีอาร์เอ็น ในวันที่ 13 มิ.ย. ที่ประเทศมาเลเซียนั้น เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น แต่ยอมรับว่าไม่สามารถทำตามข้อเสนอแนะของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่ให้ลดระยะเวลาการหารือลงได้ เพราะการพูดคุยจะต้องดูสถานการณ์หน้างาน และต้องดูผลตอบรับของทั้ง ไทย มาเลเซีย และกลุ่มบีอาร์เอ็น แต่ยืนยันจะพยายามทำให้กระชับขึ้น เพราะมีการหารือมาแล้ว 2 ครั้งก่อนหน้านี้
ส่วนการที่นายกฯจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลางที่ให้คืนตำแหน่งเลขาสมช.ให้นายถวิล เปลี่ยนศรี หรือไม่ ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่เลขาสมช.ของตนเอง รวมถึงการหารือกับกลุ่มบีอาร์เอ็นด้วย
ด้านร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปก.กปต.) กล่าวถึงแนวโน้มการยกเลิกพูดคุยกับกลุ่มบีอาร์เอ็นในวันที่ 13 มิ.ย.หรือไม่ หลังเกิดเหตุลอบวางระเบิดรถยนต์ชุดรักษาความปลอดภัยนายอำเภอยะรัง จ.ปัตตานี ว่า สถานการณ์อย่างนี้จะเอาอะไรไปพูดกับเขาเรื่องยกเลิก ตนบอกว่ามันขุดถนนแล้วฝังระเบิดลงไป เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีหลายหลุม และข้างทางยังไม่ถางให้โล่ง ยังเหมือนเดิม ซึ่งต้องทำถนนให้ดี ลาดคอนกรีตให้แน่น ส่วนชุดคุ้มครองครูนั้น เราควรจะต้องปลูกบ้านให้ครูอยู่ นอนในโรงเรียน ไม่ต้องมาเดินทางไปมา และในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างนี้ การที่พระจะไปบิณฑบาตไม่ปลอดภัย เราต้องเริ่มแนวคิดใหม่ด้วยการให้ชาวบ้านที่เป็นไทยพุทธ นำกับข้าวไปวัด และทำครัวถวาย อย่างนี้ง่ายๆ ดีกว่าไม่ทำ เพราะใครก็ตามที่เดินทางประจำ เรียบร้อยหมด
ส่วนการต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ครั้งหน้านั้นต้องแล้วแต่ที่ประชุม นอกจากนี้ การเจรจาดีกว่าไม่เจรจา แต่หากเราพูดคุยแล้วเห็นทรงไม่ดี เราต้องเปลี่ยนใหม่ หลังจากนี้ที่ตนลงลึกจะรู้แล้วว่าใครเป็นแกนนำจริงๆ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ดูเหมือนร.ต.อ.เฉลิม มีอำนาจ แต่ใช้อำนาจในการแก้ไขปัญหาไม่ได้เต็มที่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวยอมรับว่า แน่นอน ตนย้ายใครไม่ได้สักคน ใช้อำนาจไม่ได้เต็มที่ ตนไม่อาย
**พวกดีแต่พูดต้องเจอตบปาก
พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณี กลุ่มบีอาร์เอ็น ยื่นข้อเสนอ 5 ข้อ ในการพูดคุยสันติภาพว่า ต้องเข้าใจว่า เราพูดคุยกับผู้ก่อความไม่สงบ โดยเราให้โอกาสเขาคุย และให้ประกันตัว เพื่อให้เกิดความสงบสุข แต่ถ้าออกมาขออย่างนี้ ก็คุยไม่รู้เรื่อง เขาต้องรู้สถานะตัวเองด้วยว่าเป็นใคร เขาคือผู้ก่อความไม่สงบ ซึ่งที่ผ่านมาฝ่ายเราไม่ได้แสดงออกมากนัก เมื่อไม่พูดจึงเรียกร้องกันใหญ่ และขอมากไปหน่อย ไม่ถูกต้อง การเจรจาต้องอยู่ในกรอบรัฐธรรมนูญไทย ส่วนการก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของไทย เชื่อว่าสิ้นปีนี้จะดีขึ้น เพราะตอนนื้ทหารสามารถเข้าไปได้ทุกพื้นที่
“กองกำลังอาร์เคเค ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เป็นคนรุ่นใหม่ มีประสบการณ์น้อย เมื่อก่อเหตุจึงผิดพลาดเป้าบ่อย คนหนุ่มอาจมีดี ตรงขยันก่อเหตุ แต่ไม่เก๋า ไม่มีประสบการณ์ ทำให้งานของเขาพลาดบ่อย แต่ที่เรายังแก้ไม่ได้ และเป็นห่วงอยู่ คือการลอบวางระเบิด ไม่ใช่แค่ถนนเท่านั้น ยังมีตรงสะพาน และอีกหลายแห่ง ที่เขาใช้เวลาทำไม่ถึง 15 นาทีก็เสร็จ ทำให้เวลาทหารไปลาดตระเวนก่อน ไม่เจออะไร อีกทั้งเขายังรู้กำหนดการต่างๆ ของเจ้าหน้าที่หมดว่าไปทำอะไร ที่ไหน กี่โมง มีป้ายบอกหมด ทำให้ก่อเหตุได้ง่าย ทุกคนต้องเข้าใจการทำงานด้วย อย่าเอาแต่ด่า คนพูดไม่ได้อยู่ตรงนั้น ทหารตายทุกวัน ผมเสียใจที่มีการสูญเสีย แต่เราไม่ได้กลัว บ้านเรามีแต่พวกเก่งแต่ปาก พวกนี้ต้องตบปาก วันนี้เรามาถูกทางโดยมีกองทัพป็นหลัก หากไม่มีกองทัพก็ตาย ทหารเราเข้าไปได้ทุกพื้นที่ แต่อยู่ตลอดไม่ได้ เพราะกำลังไม่พอ ตำรวจเพิ่งลงไป 1.7 พันคน อาสามัครก็ยังไม่แข็งแรง”รมว.กลาโหม กล่าว
รมว.กลาโหม กล่าวด้วยว่า เราต้องทำงานคู่ขนานควบคู่ไปกับการเจรจาสันติภาพ ซึ่งต้องใช้เวลา แต่ไม่ใช่เลี้ยงไข้ให้ทหารตายทุกวัน ต้องเข้าใจว่างบประมาณที่ลงไป 80 % เป็นเรื่องของเบี้ยเลี้ยง เงินเดือน เงินตอบแทนพิเศษ ซึ่งข้าราชการกระทรวงอื่นๆ ที่ลงไปก็ได้เหมือนกัน ส่วนการจัดซื้อจัดจ้างก็ต้องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ผ่านการเสนอของนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ผอ.รมน.) รวมถึง ศูนย์อำนวยการบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ก็ต้องนำโครงการที่จะใช้งบประมาณให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติเช่นกัน โดยให้งานพัฒนาที่ออกมาต้องเหมาะสม และสอดคล้องกับพื้นที่
ทั้งนี้ เลขาธิการศอ.บต. กับ แม่ทัพภาคที่ 4 ทั้งคนเก่า และคนใหม่ คุยกันตลอด ทำงานเป็นเอกภาพ เข้าขากัน เพราะเป็นลูกน้องของนายกรัฐมนตรี ตามกฎหมาย เหมือนกัน ปัจจัยที่จะทำให้ประสบความสำเร็จคือ ต้องให้คนในพื้นที่บอกข้อมูลมากที่สุด วันนี้ ศอ.บต.ทำโพล โดยไปถามความคิดเห็นเขา เขาไม่ต้องการรัฐปัตตานี เขาต้องการความปลอดภัย ไม่มีระเบิด ไม่มีทหารเดินเต็มไปหมด เขาต้องการให้พัฒนา ปัญหาใต้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องใช้เวลา อย่าใจร้อน กองทัพเป็นส่วนที่ดับไฟ ไม่ใช่เป็นคนไปแก้เงื่อนไข หรือต้นเหตุ ฝ่ายงานมั่นคงต้องนำหน้า
** เลิกเจรจาบีอาร์เอ็น หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้น
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส่งสัญญาณว่า หากการพูดคุยกับบีอาร์เอ็นในวันที่ 13 มิ.ย.นี้แล้ว สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น อาจจะต้องมีการพิจารณาทบทวน ไม่พูดคุยกับบีอาร์เอ็นอีกว่า ตนเห็นด้วยที่จะมีการทบทวนการพุดคุย เพราะถ้าพูดคุยไปแล้ว ระดับความรุนแรงไม่ลดลง ทั้งอีกฝ่ายหนึ่งก็ยังมีการเผยแพร่คลิปให้ร้ายฝ่ายไทยผ่านทางโซเชียลมีเดีย และเรียกร้องข้อเสนอนอกเหนือจากกรอบที่เคยตกลงกันไว้ ก็ไม่สมควรที่จะพูดคุยกันต่อ รัฐบาลไทยควรที่จะเป็นฝ่ายรุกกลับเข้าไป โดยจะต้องเป็นผู้ที่ตั้งเงื่อนไขบ้าง ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่าการพูดคุยไม่ได้นำไปสู่ความสงบเรียร้อยของคนในพื้นที่ เป็นเพียงเครื่องมือให้คนกลุ่มหนี่ง ที่มีเป้าหมายทางการเมือง
ขณะที่ นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี นายอภิสิทธิ์ เตือนรัฐบาลไม่ควรเจรจากับบีอาร์เอ็นรอบ 3 จนกว่าอีกฝ่ายจะประกาศชัดว่าจะลดความรุนแรง และแนะนำให้ฝ่ายไทยต้องเรียกร้องบ้างว่า การพูดคุยกับบีอาร์เอ็นรอบ 3 ต้องเดินหน้าต่อ เพื่อมุ่งหน้าไปสู่สันติภาพ แม้ว่าจะยากลำบากแต่การพูดคุยก็ยังคงเป็นเครื่องมือที่เป็นความหวัง รัฐบาลและฝ่ายความมั่นคง ยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าต่อไป นายอภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์ ถ้าไม่มีอะไรดีกว่าพร่ำพูดแต่ว่าหยุดเจรจา เสียเปรียบ ก็ควรเก็บคำพูดนี้ไปพูดเงียบๆ คนเดียว เพราะพูดออกมาแต่ละครั้ง ข้าราชการ กองทัพ เจ้าหน้าที่ทุกคน ที่เสียสละ แม้แต่ชีวิตเลือดเนื้อ เพื่อประเทศชาติจะหมดกำลังใจ และไม่สร้างสรรค์ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ที่นายอภิสิทธิ์ พูดแต่ละครั้ง เจตนาดีหรือประสงค์ร้ายกันแน่ การพูดเรื่องนี้ ควรมีข้อเสนอที่สร้างสรรค์ ไม่ใช่พูดเอามัน หรือมุ่งดิสเครดิตรัฐบาลเพียงอย่างเดียว