คลังเล็งปรับลดจีดีพี ปี 56 เดือนหน้า หลังเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลกกำลังซื้อหด ส่วน กนง. ลดดอกเบี้ย ช่วยรักษาค่าเงินบาทระยะสั้น เชื่อ มีแนวโน้มปรับลดลงอีก ฟันธงสัญญาเศรษฐกิจเดือนเม.ย.ชี้ชัดชะลอตัวลงแรง แรงส่งจากการลงทุนการบริโภคแผ่วลง จับผิดตัวเลขส่งออกของพาณิชย์ 10.5% สูงเกินจริง
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ในเดือนมิถุนายน 56 สศค. เตรียมปรับลดอัตราประมาณการเศรษฐกิจไทย (GDP) ลง จากที่เคยตั้งเป้าว่า ในปีนี้จะขยายตัวได้ 5.3% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกขยายตัวเพียง 5.3% เท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวได้ถึง 6% และเศรษฐกิจโลกยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวโดยเฉพาะ จีน ที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกได้
ขณะที่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ของทางคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เหลือ 2.5% จากเดิมที่อยู่ที่ 2.75% จะช่วยทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม มองว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะต่อไป จะยังคงอยู่ในช่วงขาลง และสามารถปรับลดได้อีก เพราะเศรษฐกิจไทยยังคงมีความเสี่ยงที่จะขยายตัวชะลอลง ส่วนการจะปรับลดลงเท่าไหร่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับทางคณะกรรมการนโยบายการเงินเป็นผู้พิจารณา
นายเอกนิติกล่าวว่า สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือนเมษายนที่ผ่านมา เครื่องบ่งชี้ด้านภาคการผลิตมีสัญญาชะลอตัวลงต่อเนื่องจากไตรมาสแรก โดยดูจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ติดลบ 3.8% จากไตรมาสแรกที่ยังขยายตัวเป็นบวก รวมถึงการบริโภคภาคเอกชนก็แผ่วลงเช่นกันแม่ยังขยายตัว 3.7% แต่เทียบไตรมาสแรกขยายตัว 6.9% โดยเฉพาะกำลังซื้อรถยนต์คันแรกแผ่วลงชัดเจนเหลือขยายตัวเพียง 22.9% จากไตรมาสแรกที่ขยายตัว 1.01.3%
นอกจากนี้การลงทุนภาคเอกชนก็มีสัญญาณชะลอตัวลงต่อเนื่องจากไตรมาสแรก ดูจากการนำเข้าเครื่องจักรสินค้าทุนที่หดตัวเหลือ 2.3%ซึ่งหากหักนำเข้าเครื่องบิน เรือ รถไฟจะติดลบ 8.5% ขณะที่การส่งออกที่กระทรวงพาณิชย์แถลงก่อนหน้านี้ขยายตัว 10.5% จากการพิจารณาไส้ในของการส่งออกแล้วพบว่ามีตัวเลขบางส่วนสูงผิดปกติ โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ไปฮ่องกงที่เพิ่มขึ้นมาเป็นพันเปอร์เซ็นต์ จึงขอให้กระทรวงพาณิชย์ไปทบทวนตัวเลขใหม่ร่วมกับกรมศุลกากร ซึ่งน่าจะมีการชี้แจงตัวเลขที่ชัดเจนอีกครั้งในสัปดาห์หน้า
"ล่าสุดทางสศค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกระทรวงพาณิชย์ได้หารือและเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจเดือนเมษายนและไตรมาส 2 มีการชะลอตัวลงชัดเจน โดยอาจจะขยายตัวเป็นบวกแต่น่าจะต่ำว่าไตรมาสแรกที่ขยายตัว 5.3% โดยหากเทียบไตรมาสต่อไตรมาสน่าจะติดลบเป็นเดือนที่ 2 ส่งผลให้ทั้งปีก็น่าจะขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 5.3% โดยสศค.จะปรับประมาณการณ์อีกครั้งปลายเดือนมิถุนายนนี้" นายเอกนิติกล่าว
นายเอกนิติกล่าวว่า ทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัวอย่างมากนั้นทำให้แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจแผ่วลงอย่างมาก หากจะหวังพึ่งการส่งออกก็ดูจะลางเลือนมาก เพราะเดือนเมษายนหากมีการทบทวนตัวเลขใหม่ไม่ดีอย่างที่คิดและขยายตัวต่ำกว่า10.5% อย่างมากก็น่าเป็นห่วงเพราะไตรมาสแรกจีดีพีก็ต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ 6% และเศรษฐกิจโลกก็ชะลอตัวลงกว่าที่คิด โดยเฉพาะคู่ค้าสำคัญอย่างจีน ช่วงครึ่งปีหลังจึงหวังพึ่งการเบิกจ่ายเงินภาครัฐและการท่องเที่ยวที่จะมาพยุงเศรษฐกิจไม่ให้ชะลอตัวลงแรง
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ในเดือนมิถุนายน 56 สศค. เตรียมปรับลดอัตราประมาณการเศรษฐกิจไทย (GDP) ลง จากที่เคยตั้งเป้าว่า ในปีนี้จะขยายตัวได้ 5.3% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกขยายตัวเพียง 5.3% เท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวได้ถึง 6% และเศรษฐกิจโลกยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวโดยเฉพาะ จีน ที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกได้
ขณะที่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ของทางคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เหลือ 2.5% จากเดิมที่อยู่ที่ 2.75% จะช่วยทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม มองว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะต่อไป จะยังคงอยู่ในช่วงขาลง และสามารถปรับลดได้อีก เพราะเศรษฐกิจไทยยังคงมีความเสี่ยงที่จะขยายตัวชะลอลง ส่วนการจะปรับลดลงเท่าไหร่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับทางคณะกรรมการนโยบายการเงินเป็นผู้พิจารณา
นายเอกนิติกล่าวว่า สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือนเมษายนที่ผ่านมา เครื่องบ่งชี้ด้านภาคการผลิตมีสัญญาชะลอตัวลงต่อเนื่องจากไตรมาสแรก โดยดูจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ติดลบ 3.8% จากไตรมาสแรกที่ยังขยายตัวเป็นบวก รวมถึงการบริโภคภาคเอกชนก็แผ่วลงเช่นกันแม่ยังขยายตัว 3.7% แต่เทียบไตรมาสแรกขยายตัว 6.9% โดยเฉพาะกำลังซื้อรถยนต์คันแรกแผ่วลงชัดเจนเหลือขยายตัวเพียง 22.9% จากไตรมาสแรกที่ขยายตัว 1.01.3%
นอกจากนี้การลงทุนภาคเอกชนก็มีสัญญาณชะลอตัวลงต่อเนื่องจากไตรมาสแรก ดูจากการนำเข้าเครื่องจักรสินค้าทุนที่หดตัวเหลือ 2.3%ซึ่งหากหักนำเข้าเครื่องบิน เรือ รถไฟจะติดลบ 8.5% ขณะที่การส่งออกที่กระทรวงพาณิชย์แถลงก่อนหน้านี้ขยายตัว 10.5% จากการพิจารณาไส้ในของการส่งออกแล้วพบว่ามีตัวเลขบางส่วนสูงผิดปกติ โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ไปฮ่องกงที่เพิ่มขึ้นมาเป็นพันเปอร์เซ็นต์ จึงขอให้กระทรวงพาณิชย์ไปทบทวนตัวเลขใหม่ร่วมกับกรมศุลกากร ซึ่งน่าจะมีการชี้แจงตัวเลขที่ชัดเจนอีกครั้งในสัปดาห์หน้า
"ล่าสุดทางสศค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกระทรวงพาณิชย์ได้หารือและเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจเดือนเมษายนและไตรมาส 2 มีการชะลอตัวลงชัดเจน โดยอาจจะขยายตัวเป็นบวกแต่น่าจะต่ำว่าไตรมาสแรกที่ขยายตัว 5.3% โดยหากเทียบไตรมาสต่อไตรมาสน่าจะติดลบเป็นเดือนที่ 2 ส่งผลให้ทั้งปีก็น่าจะขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 5.3% โดยสศค.จะปรับประมาณการณ์อีกครั้งปลายเดือนมิถุนายนนี้" นายเอกนิติกล่าว
นายเอกนิติกล่าวว่า ทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัวอย่างมากนั้นทำให้แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจแผ่วลงอย่างมาก หากจะหวังพึ่งการส่งออกก็ดูจะลางเลือนมาก เพราะเดือนเมษายนหากมีการทบทวนตัวเลขใหม่ไม่ดีอย่างที่คิดและขยายตัวต่ำกว่า10.5% อย่างมากก็น่าเป็นห่วงเพราะไตรมาสแรกจีดีพีก็ต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ 6% และเศรษฐกิจโลกก็ชะลอตัวลงกว่าที่คิด โดยเฉพาะคู่ค้าสำคัญอย่างจีน ช่วงครึ่งปีหลังจึงหวังพึ่งการเบิกจ่ายเงินภาครัฐและการท่องเที่ยวที่จะมาพยุงเศรษฐกิจไม่ให้ชะลอตัวลงแรง