เมื่อเวลา 14.00 น. วานนี้ (30 พ.ค.) ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของน.ส.กมลเกด อัคฮาด พยาบาลอาสา ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ปี 2553 พร้อมด้วย นายณัทพัช อัคฮาด พี่ชาย น.ส.กมลเกด นายสุนัย ผาสุก ที่ปรึกษาฮิวแมนไรต์ วอตช์ ประเทศไทย นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภาประชาธรรม 35 และกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบทางการเมือง เดือนเม.ย.–พ.ค. 53 ร่วมกันแถลงคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับของ นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และ ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ของร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่เข้าสู่วาระการพิจารณาของสภาแล้ว
นางยพะเยาว์ กล่าวว่า จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมระหว่างวันที่ 10เม.ย. - 19 พ.ค.53 ที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 91 ศพ บาดเจ็บกว่า 2,000 คน ทางกลุ่มญาติผู้เสียชีวิตยืนยันว่า ไม่ได้นิ่งนอนใจในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ถูกจับกุมคุมขัง และสนับสนุนให้มี พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง แกนนำ ผู้สั่งการ และกองทัพ ออกมาโดยเร็ว และขอให้รัฐบาลดำเนินการเร่งสอบสวนคดีในชั้นการสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลโดยเร็ว เพื่อให้ความจริงของคดีปรากฏ และขอให้ ย้ายนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดี ดีเอสไอ ออกจากพนักงานสอบสวน เพราะเชื่อว่านายธาริต เป็นหนึ่งในคณะกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน( ศอฉ.) ซึ่งอาจทำคดีล่าช้า เพื่อไม่ให้คดีถึงตัว จึงอยากให้รัฐบาลดำเนินการโดยเร็ว เพื่อเป็นของขวัญครบรอบเหตุการณ์ 3 ปี สลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์
ด้านนายณัทพัช กล่าวว่า วันนี้ญาติผู้เสียชีวิตเหมือนถูกแทงข้างหลัง เพราะถูกพรรคเพื่อไทย นำเรื่องดังกล่าวไปหาเสียงอยู่หลายต่อหลายครั้ง แต่สุดท้ายก็ถูกรัฐบาลถ่วงเวลาเสียเอง โดยเอา นายธาริต มาเป็นผู้รับผิดชอบคดี จึงทำให้เห็นว่ารัฐบาล และพรรคเพื่อไทย ไม่มีความจริงใจต่อเรื่องดังกล่าว ยืนยันว่าญาติผู้เสียชีวิตสนับสนุน ร่าง พ.ร.บ.ที่เป็นของประชาชนที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง และขออย่าเอาคนที่อยู่ในคุกเป็นตัวประกัน พร้อมเรียกร้องจุดยืนของรัฐบาล พรรคเพื่อไทย และ นปช. ว่ามีความจริงใจในการให้เป็นธรรมแก่ผู้ถูกจับกุมคุมขัง และญาติผู้เสียชีวิตมากน้อยเพียงใด
ขณะที่นายอดุลย์ กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของนายวรชัย นั้น เป็นการตีโจทย์ผิด ให้ประชาชนกลายเป็นผู้ต้องหา พร้อมยืนยันว่า การจะให้ทุกฝ่ายเกิดความปรองดองได้ต้องนำความจริงมาเปิดเผยก่อน ดังนั้นการให้ นายธาริต ออกจากหน้าที่พนักงานสืบสวนคือ ทางออก ซึ่งหากทำให้ความจริงปรากฏได้ว่าใครเป็นคนสั่งปราบปรามประชาชน ชายชุดดำมีจริงหรือไม่ และนำคนเหล่านั้นมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมรับผิดที่ทำไปทุกคนก็พร้อมที่จะนิรโทษกรรมยกโทษให้
นายอดุลย์ กล่าวด้วยว่า ขอฝากไปยัง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ควรทบทวนการเดินหน้านิรโทษกรรม เพราะการกระทำตัดตอนความจริง ก็ไม่ต่างอะไรจากสมัย รสช. อีกทั้งหากออกกฎหมายได้ แต่ปัญหาความขัดแย้งยังมีอยู่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะกลับมาได้หรือ
ด้านนายสุนัย กล่าวว่า กระบวนการปรองดอง ที่จะเป็นประโยชน์ต้องเป็นไปตามข้อเท็จจริง ใครมีส่วนรับผิดชอบตามกระบวนการยุติธรรมบ้าง เมื่อนั้นทุกฝ่ายต้องยอมรับความจริงและออกมาขอโทษกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และหลังการพิพากษาไปแล้วก็ควรให้สังคมไทยตัดสินว่าสมควรล้างผิดหรือไม่ เพราะการล้างผิดเพื่อสนองความต้องการทางการเมืองไม่ควรเกิดขึ้น
ส่วนการยื่นร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ของ ร.ต.อ.เฉลิม นั้นก็ไม่ต่างจาก ร่าง พ.ร.บ.ปรองดองของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ อดีตคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เพราะมีหลักการที่คล้ายกัน และชัดเจนว่า เป็นการนิรโทษกรรมเหมารวม ทั้งนี้ตนมีโอกาสพูดคุยกับน้องสาวของช่างภาพอิตาลี ที่ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อเหตุการณ์ 19 พ.ค. 53 หลังจากที่ศาลวินิจฉัยแล้วว่า ช่างภาพอิตาลีถูกกระสุนของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งน้องสาวของเขา ยังมองว่าการนิรโทษกรรมนั้นสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการยุติธรรมของไทย ที่ชัดเจนว่าใครทำผิดก็สามารถนิรโทษกรรมโดยไม่ต้องรับโทษได้ ซึ่งถือเป็นการลดความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมไทย
** "เหลิม"คาดโทษผู้ว่าฯปล่อยม็อบเข้ากรุง
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงการควบคุมกลุ่มผู้ชุมนุม ที่ออกมาเรียกร้องต่อรัฐบาลในช่วงนี้ว่า ขณะนี้มีทั้งม็อบแท้ ม็อบเทียม ในแต่ละจังหวัด ประชาชนที่เดือดร้อนจริงๆ นั้นมี ซึ่งเวลามีม็อบไล่รัฐบาล ม็อบเหล่านี้จะถูกชักจูงมาร่วมด้วย
ดังนั้น ในวันที่ 4 มิ.ย.เวลา 14.00 น. ตนจะเรียกประชุมเจ้าหน้าที่ตำรวจ หากจังหวัดไหนมีผู้เดือดร้อน ผู้ว่าฯ ต้องรู้เรื่อง ต้องรับรู้ทุกจังหวัด ถ้าปล่อยม็อบเข้ามาต้องรับผิดชอบ หากเดือดร้อนจริงๆ เราช่วย ซึ่งถ้าประชุมเสร็จผู้ว่าฯ หรือผู้การฯ จังหวัดไหนไม่รับผิดชอบ จะเสนอนายกฯให้เพิ่มตำแหน่งผู้ตรวจราชการ หากตำแหน่งไม่พอ จะเสนอคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เพิ่มตำแหน่งได้ ไม่ใช่เอะอะ ก็ปล่อยเข้ากทม.
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวด้วยว่า ที่ต้องออกมาตรการคุมเข้มม็อบในช่วงนี้เพราะ มีคนคิดจะล้มรัฐบาล แต่ถ้าตนยังอยู่ตรงนี้ ล้มยาก ไม่มีปัจจัยอะไร มีแค่พวกผิดหวัง พรรคการเมืองบางพรรคอยากส้มหล่น อยากเป็นรัฐบาล แต่แพ้เลือกตั้งจึงรวบรวมพลพรรค ชุดเก่าก่อน 19 ก.ย.49
เมื่อถามว่า เป็นเพราะการผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และ ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง หรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า เรื่องการนิรโทษกรรม และปรองดองไม่ร้อน แต่เย็น ตนต้องการเดินหน้าให้บ้านเมืองสงบ อย่ามาใช้อวิชชา ยิ่งนายกฯมอบให้ตนดูแล แบบนี้สนุก ไม่มีอะไรน่ากลัว และวันที่ 8 -12 มิ.ย. จะเดินสายภาคอีสาน จะบอกผู้ว่าฯทั้งหมด อย่าให้คนเดือดร้อนเข้าใจผิดมาร่วมกับม็อบเด็ดขาด
เมื่อถามว่า มีญาติผู้เสียชีวิตออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับ ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง รองนายกฯ กล่าวว่า เข้าใจและเห็นใจ แต่ไม่ขอแสดงความเห็น เพราะกฎหมายเสนอเข้าสภาฯไปแล้ว ส่วนคนเสื้อแดงนั้น ตนคงไม่ต้องไปทำความเข้าใจ เพราะตนไม่เกี่ยวข้องกับคนเสื้อแดง แต่เมื่อคืนนายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย มาหาตนๆก็อธิบายไป นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และ นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. ก็โทรศัพท์มาหา ก็อธิบายไป แต่เรื่องนี้หากไม่เลื่อน ก็ไม่เลื่อน ไม่รวม ก็ไม่รวม ไม่พิจารณา ก็ไม่พิจารณา แต่ถ้ากฎหมายไม่ผ่าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็กลับบ้านไม่ได้
“การเมืองไม่มีอะไร มีแต่พรรคการเมืองแพ้เลือกตั้งจะสร้างสถานการณ์ เอาสมาชิกในพื้นที่มารวมกับเจ้าของบ่อนบางซื่อ เพื่อให้มีองคาพยพมากขึ้น ก็เลยต้องเดินสายบอกประชาชน ใครเดือดร้อนไม่ต้องเข้ากทม. ผู้ว่าฯจะดูแล ท่านอยู่ในจังหวัด ผู้ว่าฯ จะจัดการ ตำรวจจะดูแล ปลัดกระทรวงจะดูแล ผมจะกำกับ หากไม่เรียบร้อย ต้องแก้กฎระเบียบ จะบอกนายกฯ”ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
รองนายกฯ กล่าวอีกว่า ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ไม่ใช่การคืนเงิน พ.ต.ท.ทักษิณ ในกฎหมายไม่มีการคืนเงิน ผลกฎหมายหลังจากนั้นก็ไม่มี ผู้พิพากษาก็ไม่ได้เก่งกว่าตน ผู้พิพากษามีทั้งเสื้อเหลืองเสื้อแดงให้ความเห็นต่างกัน เรื่องนี้ต้องเอากฎหมายเป็นหลัก
เมื่อถามว่า ภายหลังหากมีการคืนเงินให้พ.ต.ท.ทักษิณจะทำอย่างไร รองนายกฯ กล่าวว่า “ถ้าผมตายไปแล้วผมจะรู้หรือ อายุ 66 ปี แล้ว แต่ให้ความมั่นใจ 105 เปอร์เซ็นต์ไม่มีการคืนเงิน” ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
**“สุกำพล”ลั่นต้องเดินหน้าพ.ร.บ.ปรองดอง
พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม กล่าวถึงการเสนอร่างพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ และร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เข้าสู่การพิจารณาของสภา ว่า พ.ร.บ.ปรองดอง ก็น่าจะเดินไป เป็นทางที่ดีที่สุด ตนอยากถามว่า มีวิธีไหนที่ดีกว่านี้บ้าง ถ้าไม่มีก็ต้องเดินไปตามนี้ ส่วนฝ่ายค้าน ก็ค้านกันไป เราก็เห็นหน้ากันอยู่ เพราะมีอยู่แค่คนเดียวที่มาพูดว่า จะเอาเงินคืน ตนเป็นห่วงคนในคุกมากกว่าคนข้างนอก เราต้องเข้าใจตรงนี้ว่าเป็นวัตถุประสงค์หลักที่จะช่วยใคร จะไปเอาคนคนเดียวมาเกี่ยวข้องไม่ได้ เพราะมันเห็นแก่ตัว ไม่ลืมหูลืมตาทำอยู่อย่างเดียว ถ้าตนเป็นพรรคประชาธิปัตย์จะนำ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับประเทศ ไม่เห็นจะยาก หรือต้องกลัวอะไร นี่แค่นำรูปมาโชว์ก็โดดหนี ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์ ต้องกล้าเผชิญหน้ากัน
เมื่อถามว่า ทุกวันนี้ไม่ได้ห้าม พ.ต.ท.ทักษิณ กลับประเทศใช่หรือไม่ พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า ตนเคยตอบไปแล้วว่า สิ่งที่ทำกับ พ.ต.ท.ทักษิณ นั้นถูกต้องหรือไม่ คนเราต้องมีมานะสู้กับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่ใช่จะทำอะไรก็ถูกต้องไปทุกอย่าง ต้องมาดูกันด้วยว่า ทำกันอย่างไร
เมื่อถามว่า มีกลุ่มเสื้อแดงบางส่วนออกมาแสดงจุดยืนที่จะไม่รับ พ.ร.บ.ปรองดอง พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า ก็ต้องปล่อยเขาไป เป็นเรื่องของเขา ซึ่งมีคนเห็นด้วยมากมาย ถ้าทำให้ประเทศชาติดีขึ้น ตนก็เห็นด้วย มีวิธีการไหนที่ทำให้ดีขึ้นกว่านี้ ก็บอกมา การจะทำอะไร มันต้องมีคลื่นเล็กน้อย เป็นเรื่องปกติ เมื่อคลื่นสงบเรือก็แล่นต่อไปได้ ตอนนี้ก็สงบอยู่แล้ว ไม่มีคลื่นอะไร
**มท. จัดเสวนาหาทางออกประเทศไทย
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้จัดทำโครงการจัดเวทีประชาเสวนาหาทางออกประเทศไทย (พูดจาหาทางออกประเทศไทย) ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างเวทีเสวนา ที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสร้างความเข้าใจร่วมกันของสังคมต่อแนวทางการหาทางออกประเทศไทย ในรูปแบบการจัดเวทีประชาเสวนาหาทางออกประเทศไทย (พูดจาหาทางออกประเทศไทย) เพื่อหาข้อเสนอที่สร้างสรรค์ในการยุติความขัดแย้งและการหาทางออกประเทศไทย ดำเนินการในห้วงเวลาระหว่างวันที่ 8 มิ.ย. -15 ก.ค.56 เป้าหมาย จำนวน108 เวที ระยะเวลาเวทีละ 1 วัน แบ่งเป็นเวทีส่วนภูมิภาค 100 เวที กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 69,100 คน และเวที กทม. จำนวน 8 เวที กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 6,600 คน รวมกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมเวที จำนวน 75,700 คน โดยมีขั้นตอนดำเนินงานเริ่มจากการฝึกอบรมการสร้างวิทยากรกระบวนการในการจัดเวทีประชาเสวนา จากนั้นจัดเวทีประชาเสวนาทั่วประเทศตามเป้าหมาย และภายหลังเสร็จสิ้นการจัดเวทีประชาเสวนาฯ จะสรุปผลการดำเนินงานเพื่อรายงานให้รัฐบาลทราบต่อไป
นางยพะเยาว์ กล่าวว่า จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมระหว่างวันที่ 10เม.ย. - 19 พ.ค.53 ที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 91 ศพ บาดเจ็บกว่า 2,000 คน ทางกลุ่มญาติผู้เสียชีวิตยืนยันว่า ไม่ได้นิ่งนอนใจในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ถูกจับกุมคุมขัง และสนับสนุนให้มี พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง แกนนำ ผู้สั่งการ และกองทัพ ออกมาโดยเร็ว และขอให้รัฐบาลดำเนินการเร่งสอบสวนคดีในชั้นการสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลโดยเร็ว เพื่อให้ความจริงของคดีปรากฏ และขอให้ ย้ายนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดี ดีเอสไอ ออกจากพนักงานสอบสวน เพราะเชื่อว่านายธาริต เป็นหนึ่งในคณะกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน( ศอฉ.) ซึ่งอาจทำคดีล่าช้า เพื่อไม่ให้คดีถึงตัว จึงอยากให้รัฐบาลดำเนินการโดยเร็ว เพื่อเป็นของขวัญครบรอบเหตุการณ์ 3 ปี สลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์
ด้านนายณัทพัช กล่าวว่า วันนี้ญาติผู้เสียชีวิตเหมือนถูกแทงข้างหลัง เพราะถูกพรรคเพื่อไทย นำเรื่องดังกล่าวไปหาเสียงอยู่หลายต่อหลายครั้ง แต่สุดท้ายก็ถูกรัฐบาลถ่วงเวลาเสียเอง โดยเอา นายธาริต มาเป็นผู้รับผิดชอบคดี จึงทำให้เห็นว่ารัฐบาล และพรรคเพื่อไทย ไม่มีความจริงใจต่อเรื่องดังกล่าว ยืนยันว่าญาติผู้เสียชีวิตสนับสนุน ร่าง พ.ร.บ.ที่เป็นของประชาชนที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง และขออย่าเอาคนที่อยู่ในคุกเป็นตัวประกัน พร้อมเรียกร้องจุดยืนของรัฐบาล พรรคเพื่อไทย และ นปช. ว่ามีความจริงใจในการให้เป็นธรรมแก่ผู้ถูกจับกุมคุมขัง และญาติผู้เสียชีวิตมากน้อยเพียงใด
ขณะที่นายอดุลย์ กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของนายวรชัย นั้น เป็นการตีโจทย์ผิด ให้ประชาชนกลายเป็นผู้ต้องหา พร้อมยืนยันว่า การจะให้ทุกฝ่ายเกิดความปรองดองได้ต้องนำความจริงมาเปิดเผยก่อน ดังนั้นการให้ นายธาริต ออกจากหน้าที่พนักงานสืบสวนคือ ทางออก ซึ่งหากทำให้ความจริงปรากฏได้ว่าใครเป็นคนสั่งปราบปรามประชาชน ชายชุดดำมีจริงหรือไม่ และนำคนเหล่านั้นมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมรับผิดที่ทำไปทุกคนก็พร้อมที่จะนิรโทษกรรมยกโทษให้
นายอดุลย์ กล่าวด้วยว่า ขอฝากไปยัง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ควรทบทวนการเดินหน้านิรโทษกรรม เพราะการกระทำตัดตอนความจริง ก็ไม่ต่างอะไรจากสมัย รสช. อีกทั้งหากออกกฎหมายได้ แต่ปัญหาความขัดแย้งยังมีอยู่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะกลับมาได้หรือ
ด้านนายสุนัย กล่าวว่า กระบวนการปรองดอง ที่จะเป็นประโยชน์ต้องเป็นไปตามข้อเท็จจริง ใครมีส่วนรับผิดชอบตามกระบวนการยุติธรรมบ้าง เมื่อนั้นทุกฝ่ายต้องยอมรับความจริงและออกมาขอโทษกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และหลังการพิพากษาไปแล้วก็ควรให้สังคมไทยตัดสินว่าสมควรล้างผิดหรือไม่ เพราะการล้างผิดเพื่อสนองความต้องการทางการเมืองไม่ควรเกิดขึ้น
ส่วนการยื่นร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ของ ร.ต.อ.เฉลิม นั้นก็ไม่ต่างจาก ร่าง พ.ร.บ.ปรองดองของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ อดีตคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เพราะมีหลักการที่คล้ายกัน และชัดเจนว่า เป็นการนิรโทษกรรมเหมารวม ทั้งนี้ตนมีโอกาสพูดคุยกับน้องสาวของช่างภาพอิตาลี ที่ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อเหตุการณ์ 19 พ.ค. 53 หลังจากที่ศาลวินิจฉัยแล้วว่า ช่างภาพอิตาลีถูกกระสุนของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งน้องสาวของเขา ยังมองว่าการนิรโทษกรรมนั้นสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการยุติธรรมของไทย ที่ชัดเจนว่าใครทำผิดก็สามารถนิรโทษกรรมโดยไม่ต้องรับโทษได้ ซึ่งถือเป็นการลดความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมไทย
** "เหลิม"คาดโทษผู้ว่าฯปล่อยม็อบเข้ากรุง
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงการควบคุมกลุ่มผู้ชุมนุม ที่ออกมาเรียกร้องต่อรัฐบาลในช่วงนี้ว่า ขณะนี้มีทั้งม็อบแท้ ม็อบเทียม ในแต่ละจังหวัด ประชาชนที่เดือดร้อนจริงๆ นั้นมี ซึ่งเวลามีม็อบไล่รัฐบาล ม็อบเหล่านี้จะถูกชักจูงมาร่วมด้วย
ดังนั้น ในวันที่ 4 มิ.ย.เวลา 14.00 น. ตนจะเรียกประชุมเจ้าหน้าที่ตำรวจ หากจังหวัดไหนมีผู้เดือดร้อน ผู้ว่าฯ ต้องรู้เรื่อง ต้องรับรู้ทุกจังหวัด ถ้าปล่อยม็อบเข้ามาต้องรับผิดชอบ หากเดือดร้อนจริงๆ เราช่วย ซึ่งถ้าประชุมเสร็จผู้ว่าฯ หรือผู้การฯ จังหวัดไหนไม่รับผิดชอบ จะเสนอนายกฯให้เพิ่มตำแหน่งผู้ตรวจราชการ หากตำแหน่งไม่พอ จะเสนอคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เพิ่มตำแหน่งได้ ไม่ใช่เอะอะ ก็ปล่อยเข้ากทม.
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวด้วยว่า ที่ต้องออกมาตรการคุมเข้มม็อบในช่วงนี้เพราะ มีคนคิดจะล้มรัฐบาล แต่ถ้าตนยังอยู่ตรงนี้ ล้มยาก ไม่มีปัจจัยอะไร มีแค่พวกผิดหวัง พรรคการเมืองบางพรรคอยากส้มหล่น อยากเป็นรัฐบาล แต่แพ้เลือกตั้งจึงรวบรวมพลพรรค ชุดเก่าก่อน 19 ก.ย.49
เมื่อถามว่า เป็นเพราะการผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และ ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง หรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า เรื่องการนิรโทษกรรม และปรองดองไม่ร้อน แต่เย็น ตนต้องการเดินหน้าให้บ้านเมืองสงบ อย่ามาใช้อวิชชา ยิ่งนายกฯมอบให้ตนดูแล แบบนี้สนุก ไม่มีอะไรน่ากลัว และวันที่ 8 -12 มิ.ย. จะเดินสายภาคอีสาน จะบอกผู้ว่าฯทั้งหมด อย่าให้คนเดือดร้อนเข้าใจผิดมาร่วมกับม็อบเด็ดขาด
เมื่อถามว่า มีญาติผู้เสียชีวิตออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับ ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง รองนายกฯ กล่าวว่า เข้าใจและเห็นใจ แต่ไม่ขอแสดงความเห็น เพราะกฎหมายเสนอเข้าสภาฯไปแล้ว ส่วนคนเสื้อแดงนั้น ตนคงไม่ต้องไปทำความเข้าใจ เพราะตนไม่เกี่ยวข้องกับคนเสื้อแดง แต่เมื่อคืนนายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย มาหาตนๆก็อธิบายไป นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และ นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. ก็โทรศัพท์มาหา ก็อธิบายไป แต่เรื่องนี้หากไม่เลื่อน ก็ไม่เลื่อน ไม่รวม ก็ไม่รวม ไม่พิจารณา ก็ไม่พิจารณา แต่ถ้ากฎหมายไม่ผ่าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็กลับบ้านไม่ได้
“การเมืองไม่มีอะไร มีแต่พรรคการเมืองแพ้เลือกตั้งจะสร้างสถานการณ์ เอาสมาชิกในพื้นที่มารวมกับเจ้าของบ่อนบางซื่อ เพื่อให้มีองคาพยพมากขึ้น ก็เลยต้องเดินสายบอกประชาชน ใครเดือดร้อนไม่ต้องเข้ากทม. ผู้ว่าฯจะดูแล ท่านอยู่ในจังหวัด ผู้ว่าฯ จะจัดการ ตำรวจจะดูแล ปลัดกระทรวงจะดูแล ผมจะกำกับ หากไม่เรียบร้อย ต้องแก้กฎระเบียบ จะบอกนายกฯ”ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
รองนายกฯ กล่าวอีกว่า ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ไม่ใช่การคืนเงิน พ.ต.ท.ทักษิณ ในกฎหมายไม่มีการคืนเงิน ผลกฎหมายหลังจากนั้นก็ไม่มี ผู้พิพากษาก็ไม่ได้เก่งกว่าตน ผู้พิพากษามีทั้งเสื้อเหลืองเสื้อแดงให้ความเห็นต่างกัน เรื่องนี้ต้องเอากฎหมายเป็นหลัก
เมื่อถามว่า ภายหลังหากมีการคืนเงินให้พ.ต.ท.ทักษิณจะทำอย่างไร รองนายกฯ กล่าวว่า “ถ้าผมตายไปแล้วผมจะรู้หรือ อายุ 66 ปี แล้ว แต่ให้ความมั่นใจ 105 เปอร์เซ็นต์ไม่มีการคืนเงิน” ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
**“สุกำพล”ลั่นต้องเดินหน้าพ.ร.บ.ปรองดอง
พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม กล่าวถึงการเสนอร่างพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ และร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เข้าสู่การพิจารณาของสภา ว่า พ.ร.บ.ปรองดอง ก็น่าจะเดินไป เป็นทางที่ดีที่สุด ตนอยากถามว่า มีวิธีไหนที่ดีกว่านี้บ้าง ถ้าไม่มีก็ต้องเดินไปตามนี้ ส่วนฝ่ายค้าน ก็ค้านกันไป เราก็เห็นหน้ากันอยู่ เพราะมีอยู่แค่คนเดียวที่มาพูดว่า จะเอาเงินคืน ตนเป็นห่วงคนในคุกมากกว่าคนข้างนอก เราต้องเข้าใจตรงนี้ว่าเป็นวัตถุประสงค์หลักที่จะช่วยใคร จะไปเอาคนคนเดียวมาเกี่ยวข้องไม่ได้ เพราะมันเห็นแก่ตัว ไม่ลืมหูลืมตาทำอยู่อย่างเดียว ถ้าตนเป็นพรรคประชาธิปัตย์จะนำ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับประเทศ ไม่เห็นจะยาก หรือต้องกลัวอะไร นี่แค่นำรูปมาโชว์ก็โดดหนี ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์ ต้องกล้าเผชิญหน้ากัน
เมื่อถามว่า ทุกวันนี้ไม่ได้ห้าม พ.ต.ท.ทักษิณ กลับประเทศใช่หรือไม่ พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า ตนเคยตอบไปแล้วว่า สิ่งที่ทำกับ พ.ต.ท.ทักษิณ นั้นถูกต้องหรือไม่ คนเราต้องมีมานะสู้กับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่ใช่จะทำอะไรก็ถูกต้องไปทุกอย่าง ต้องมาดูกันด้วยว่า ทำกันอย่างไร
เมื่อถามว่า มีกลุ่มเสื้อแดงบางส่วนออกมาแสดงจุดยืนที่จะไม่รับ พ.ร.บ.ปรองดอง พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า ก็ต้องปล่อยเขาไป เป็นเรื่องของเขา ซึ่งมีคนเห็นด้วยมากมาย ถ้าทำให้ประเทศชาติดีขึ้น ตนก็เห็นด้วย มีวิธีการไหนที่ทำให้ดีขึ้นกว่านี้ ก็บอกมา การจะทำอะไร มันต้องมีคลื่นเล็กน้อย เป็นเรื่องปกติ เมื่อคลื่นสงบเรือก็แล่นต่อไปได้ ตอนนี้ก็สงบอยู่แล้ว ไม่มีคลื่นอะไร
**มท. จัดเสวนาหาทางออกประเทศไทย
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้จัดทำโครงการจัดเวทีประชาเสวนาหาทางออกประเทศไทย (พูดจาหาทางออกประเทศไทย) ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างเวทีเสวนา ที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสร้างความเข้าใจร่วมกันของสังคมต่อแนวทางการหาทางออกประเทศไทย ในรูปแบบการจัดเวทีประชาเสวนาหาทางออกประเทศไทย (พูดจาหาทางออกประเทศไทย) เพื่อหาข้อเสนอที่สร้างสรรค์ในการยุติความขัดแย้งและการหาทางออกประเทศไทย ดำเนินการในห้วงเวลาระหว่างวันที่ 8 มิ.ย. -15 ก.ค.56 เป้าหมาย จำนวน108 เวที ระยะเวลาเวทีละ 1 วัน แบ่งเป็นเวทีส่วนภูมิภาค 100 เวที กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 69,100 คน และเวที กทม. จำนวน 8 เวที กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 6,600 คน รวมกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมเวที จำนวน 75,700 คน โดยมีขั้นตอนดำเนินงานเริ่มจากการฝึกอบรมการสร้างวิทยากรกระบวนการในการจัดเวทีประชาเสวนา จากนั้นจัดเวทีประชาเสวนาทั่วประเทศตามเป้าหมาย และภายหลังเสร็จสิ้นการจัดเวทีประชาเสวนาฯ จะสรุปผลการดำเนินงานเพื่อรายงานให้รัฐบาลทราบต่อไป