วานนี้ ( 30 พ.ค.) ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาเพิกถอนประกาศการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 5 ฉบับ ที่เกี่ยวกับการให้ผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักร รวม789 คน ไปลงนามสัญญาเช่า และชำระค่าเช่าในอัตราใหม่ ที่รฟท.กำหนด เนื่องจากศาลฯเห็นว่า การออกประกาศดังกล่าวของรฟท.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเรียกเก็บค่าเช่าสูงเกินไป และไม่เป็นไปตามระเบียบรฟท. ฉบับที่ 129 ว่าด้วยการจัดประโยชน์ในทรัพย์สินของรฟท.
ทั้งนี้คดีดังกล่าว นายสงวน ดำรงค์ไทย กับพวกซึ่งเป็นผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักร รวม 789 คนได้ยื่นฟ้องรฟท. นายยุทธนา ทรัพย์เจริญ ผู้ว่าฯรฟท. นายจรัสพันธ์ วัชโรทัย รองผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถไฟแห่งประเทศไทย ในขณะนั้น เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-3 กรณีร่วมกันออกประกาศเรื่องการลงนามในสัญญาเช่าและชำระค่าเช่าแผงค้าในตลาดนัดสวนจตุจักรจำนวน 5 ฉบับไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 55 และระหว่างศาลปกครองพิจารณาคดี ก็ได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว โดยสั่งระงับการบังคับใช้ประกาศทั้ง 5 ฉบับของ รฟท.ไว้ก่อน
สำหรับเหตุผลที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้เพิกถอนประกาศทั้ง 5 ฉบับ ของรฟท. ระบุว่ารฟท.ไม่มีอำนาจตามกฎหมายในการดำเนินกิจการเป็นผู้บริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรแต่อย่างใด แม้ที่ดินดังกล่าวจะเป็นทรัพย์สินของรฟท. แต่ตาม พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ให้อำนาจรฟท.ดำเนินการที่เกี่ยวกับการขนส่งรถไฟ และกิจการที่เป็นประโยชน์แก่กิจการรถไฟเท่านั้น ซึ่งการดำเนินการกิจการตลาดนัด นอกจากจะเห็นได้ชัดเจนว่าไม่ใช่กิจการรถไฟแล้ว ยังไม่ได้เป็นกิจการเกี่ยวเนื่องกับการขนส่งรถไฟ และเป็นประโยชน์กับกิจการรถไฟ หากแต่เป็นกิจการหาสถานที่ให้ประชาชนได้ประกอบการค้า และหาซื้อสินค้า ซึ่งโดยหลักแล้วอยู่ในอำนาจของกรมการค้าภายใน
นอกจากนี้ การที่รฟท.ดำเนินการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรแทนกรุงเทพมหานคร ยังขัดต่อหลักกฎหมายมหาชนว่าด้วยเรื่องการจัดตั้งองค์กรภาครัฐ ที่มีหลักการสำคัญว่า การจะจัดตั้งหน่วยงานใดขึ้นมา หน่วยงานนั้นจะต้องมีภารกิจ หรืออำนาจหน้าที่ไม่ทับซ้อนกับหน่วยงานอื่น และต้องมีความเชี่ยวชาญ และมีกลไกต่างๆ เอื้อต่อการปฏิบัติภารกิจหลักขององค์กร ซึ่งรฟท.ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจการรถไฟเป็นการเฉพาะ ไม่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารกิจการตลาดนัด ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบครั้งที่กรุงเทพมหานครเป็นผู้ดำเนินการ การที่รฟท.เข้าบริหารตลาดนัดจตุจักร จึงเป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจตามกฎหมาย และอาจถูกเพิกถอนได้ แต่เนื่องจากผู้ค้าทั้งหมดที่เป็นผู้ฟ้องคดีไม่ได้ขอให้เพิกถอนการกระทำดังกล่าวของรฟท. ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งเกินคำขอได้ และเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารที่ต้องไปจัดการแก้ไขปัญหานี้ต่อไป
และเมื่อศาลฯวินิจฉัยว่า รฟท.ไม่มีอำนาจบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรแล้ว รฟท.ย่อมไม่อาจเรียกเก็บค่าบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรจากผู้ค้าได้ เว้นแต่ค่าเช่า ที่สามารถเรียกเก็บได้ตามระเบียบรฟท. ฉบับที่ 129 ว่าด้วยการจัดประโยชน์ในทรัพย์สินของรฟท. ที่ให้เรียกเก็บค่าเช่าปีละ 2.75% ของราคาที่ดินต่อปี ซึ่งคำนวณเป็นเงินเท่ากับ 890 บาท/เดือน/ 1 แผงค้าขนาด 5 ตารางเมตร การที่ผู้ถูกฟ้องทั้ง 3 เรียกเก็บค่าเช่าจากผู้ค้าในราคา 3,157 บาท /เดือน/แผง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย พิพากษาห้ามรฟท.เรียกเก็บเงินจากผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักรเกินกว่าอัตราเช่าที่กำหนดไว้ในระเบียบดังกล่าว โดยให้มีผลย้อนหลังไปจนถึงวันที่ฟ้องคดี คือวันที่ 2 เม.ย.55 นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด และให้คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไป จนกว่าคดีถึงที่สุดหรือศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการอ่านคำพิพากษาครั้งนี้ ผู้ฟ้องคดีที่เป็นผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักรทั้งหมดได้เดินทางมารับฟังด้วยตนเอง จนทำให้ห้องพิจารณาคดีรองรับไม่เพียงพอ ศาลจึงได้ติดตั้งทีวีวงจรปิดถ่ายทอดการถ่ายคำพิพากษาออกมาให้ผู้ฟ้องคดีที่ไม่สามารถเข้าไปรับฟังภายในห้องได้รับฟังบริเวณหน้าห้องพิจารณาคดี แต่ระหว่างที่ศาลอ่านคำพิพากษานั้น ผู้ฟ้องคดีต่างก็มีสีหน้าเคร่งเครียด ลุ้นว่าศาลจะมีคำพิพาษาไปในทางใด แต่เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้กลุ่มผู้ฟ้องคดีชนะ ทำให้ผู้ฟ้องคดีส่งเสียงเฮด้วยความดีใจ พร้อมกับปรบมือและขอบคุณศาล
นายดำรงศักดิ์ เจนกิจเจริญชัย รองประธานชมรมจตุจักรรวมใจ หนึ่งในผู้ฟ้อง กล่าวว่า พอใจกับคำพากษาที่ออกมา และไม่กังวลกับการที่รฟท. จะมีการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด โดยจากนี้ผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักร ก็ค้าขายกันตามปกติต่อไป
ทั้งนี้คดีดังกล่าว นายสงวน ดำรงค์ไทย กับพวกซึ่งเป็นผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักร รวม 789 คนได้ยื่นฟ้องรฟท. นายยุทธนา ทรัพย์เจริญ ผู้ว่าฯรฟท. นายจรัสพันธ์ วัชโรทัย รองผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถไฟแห่งประเทศไทย ในขณะนั้น เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-3 กรณีร่วมกันออกประกาศเรื่องการลงนามในสัญญาเช่าและชำระค่าเช่าแผงค้าในตลาดนัดสวนจตุจักรจำนวน 5 ฉบับไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 55 และระหว่างศาลปกครองพิจารณาคดี ก็ได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว โดยสั่งระงับการบังคับใช้ประกาศทั้ง 5 ฉบับของ รฟท.ไว้ก่อน
สำหรับเหตุผลที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้เพิกถอนประกาศทั้ง 5 ฉบับ ของรฟท. ระบุว่ารฟท.ไม่มีอำนาจตามกฎหมายในการดำเนินกิจการเป็นผู้บริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรแต่อย่างใด แม้ที่ดินดังกล่าวจะเป็นทรัพย์สินของรฟท. แต่ตาม พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ให้อำนาจรฟท.ดำเนินการที่เกี่ยวกับการขนส่งรถไฟ และกิจการที่เป็นประโยชน์แก่กิจการรถไฟเท่านั้น ซึ่งการดำเนินการกิจการตลาดนัด นอกจากจะเห็นได้ชัดเจนว่าไม่ใช่กิจการรถไฟแล้ว ยังไม่ได้เป็นกิจการเกี่ยวเนื่องกับการขนส่งรถไฟ และเป็นประโยชน์กับกิจการรถไฟ หากแต่เป็นกิจการหาสถานที่ให้ประชาชนได้ประกอบการค้า และหาซื้อสินค้า ซึ่งโดยหลักแล้วอยู่ในอำนาจของกรมการค้าภายใน
นอกจากนี้ การที่รฟท.ดำเนินการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรแทนกรุงเทพมหานคร ยังขัดต่อหลักกฎหมายมหาชนว่าด้วยเรื่องการจัดตั้งองค์กรภาครัฐ ที่มีหลักการสำคัญว่า การจะจัดตั้งหน่วยงานใดขึ้นมา หน่วยงานนั้นจะต้องมีภารกิจ หรืออำนาจหน้าที่ไม่ทับซ้อนกับหน่วยงานอื่น และต้องมีความเชี่ยวชาญ และมีกลไกต่างๆ เอื้อต่อการปฏิบัติภารกิจหลักขององค์กร ซึ่งรฟท.ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจการรถไฟเป็นการเฉพาะ ไม่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารกิจการตลาดนัด ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบครั้งที่กรุงเทพมหานครเป็นผู้ดำเนินการ การที่รฟท.เข้าบริหารตลาดนัดจตุจักร จึงเป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจตามกฎหมาย และอาจถูกเพิกถอนได้ แต่เนื่องจากผู้ค้าทั้งหมดที่เป็นผู้ฟ้องคดีไม่ได้ขอให้เพิกถอนการกระทำดังกล่าวของรฟท. ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งเกินคำขอได้ และเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารที่ต้องไปจัดการแก้ไขปัญหานี้ต่อไป
และเมื่อศาลฯวินิจฉัยว่า รฟท.ไม่มีอำนาจบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรแล้ว รฟท.ย่อมไม่อาจเรียกเก็บค่าบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรจากผู้ค้าได้ เว้นแต่ค่าเช่า ที่สามารถเรียกเก็บได้ตามระเบียบรฟท. ฉบับที่ 129 ว่าด้วยการจัดประโยชน์ในทรัพย์สินของรฟท. ที่ให้เรียกเก็บค่าเช่าปีละ 2.75% ของราคาที่ดินต่อปี ซึ่งคำนวณเป็นเงินเท่ากับ 890 บาท/เดือน/ 1 แผงค้าขนาด 5 ตารางเมตร การที่ผู้ถูกฟ้องทั้ง 3 เรียกเก็บค่าเช่าจากผู้ค้าในราคา 3,157 บาท /เดือน/แผง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย พิพากษาห้ามรฟท.เรียกเก็บเงินจากผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักรเกินกว่าอัตราเช่าที่กำหนดไว้ในระเบียบดังกล่าว โดยให้มีผลย้อนหลังไปจนถึงวันที่ฟ้องคดี คือวันที่ 2 เม.ย.55 นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด และให้คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไป จนกว่าคดีถึงที่สุดหรือศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการอ่านคำพิพากษาครั้งนี้ ผู้ฟ้องคดีที่เป็นผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักรทั้งหมดได้เดินทางมารับฟังด้วยตนเอง จนทำให้ห้องพิจารณาคดีรองรับไม่เพียงพอ ศาลจึงได้ติดตั้งทีวีวงจรปิดถ่ายทอดการถ่ายคำพิพากษาออกมาให้ผู้ฟ้องคดีที่ไม่สามารถเข้าไปรับฟังภายในห้องได้รับฟังบริเวณหน้าห้องพิจารณาคดี แต่ระหว่างที่ศาลอ่านคำพิพากษานั้น ผู้ฟ้องคดีต่างก็มีสีหน้าเคร่งเครียด ลุ้นว่าศาลจะมีคำพิพาษาไปในทางใด แต่เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้กลุ่มผู้ฟ้องคดีชนะ ทำให้ผู้ฟ้องคดีส่งเสียงเฮด้วยความดีใจ พร้อมกับปรบมือและขอบคุณศาล
นายดำรงศักดิ์ เจนกิจเจริญชัย รองประธานชมรมจตุจักรรวมใจ หนึ่งในผู้ฟ้อง กล่าวว่า พอใจกับคำพากษาที่ออกมา และไม่กังวลกับการที่รฟท. จะมีการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด โดยจากนี้ผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักร ก็ค้าขายกันตามปกติต่อไป