ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”ยันปีนี้ข้าวไม่พอขาย หลังหลายชาติจีบซื้อข้าวในสต๊อกแบบจีทูจีจนรับออเดอร์ไม่ทัน ทั้งเกาหลีใต้ โตโก แอฟริกา ตะวันออกกลาง จีน ยันปีนี้ไทยจะส่งออกข้าวได้ราคาดีที่สุดในโลก พร้อมดันขึ้นแท่นศูนย์กลางการค้าข้าวโลก ด้านเพื่อนบ้าน ลาว กัมพูชา พม่า ต่างวางแผนส่งออกข้าวเพิ่ม
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานประชุมข้าวนานาชาติปี 2556 หรือไทยแลนด์ ไรซ์ คอนเวนชั่น 2013 วานนี้ (27 พ.ค.) ที่จ.เชียงใหม่ว่า ภายในงาน กระทรวงพาณิชย์ได้เจรจาซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) กับรัฐมนตรีการค้าจากประเทศผู้นำเข้าหลายประเทศ ที่ได้เชิญเข้าร่วมงาน โดยรัฐมนตรีการค้าจากประเทศโตโก สนใจจะซื้อข้าวขาวจากไทยโดยตรง จากเดิมที่โตโกซื้อข้าวไทยโดยผ่านโบรกเกอร์ต่างประเทศ คาดว่าจะซื้อในปริมาณหลายแสนตัน โดยจะต้องมีการเจรจากันอีกหลายครั้ง แต่น่าจะเจรจาให้แล้วเสร็จได้ภายในปีนี้
นอกจากนี้ ไทยยังได้รับการติดต่อขอซื้อข้าวจีทูจีจากเกาหลีใต้ ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการยกร่างบันทึกความตกลง (MOU) ซื้อขายข้าวระหว่างกัน เบื้องต้นกำหนดปริมาณจะซื้อขายประมาณ 1 ล้านตัน ภายในระยะเวลา 1 ปี และยังมีอีกหลายประเทศที่อยู่ระหว่างการเจรจาแบบจีทูจีซึ่งมีปริมาณมาก เช่น บางประเทศในทวีปแอฟริกาใต้ บางประเทศในตะวันออกกลาง รวมถึงจีน เป็นต้น ซึ่งหากนับปริมาณที่เสนอซื้อเข้ามา ณ ตอนนี้ จะทำให้ข้าวในสต๊อกปีนี้ไม่เพียงพอที่จะขาย
อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่า ไทยจะมีมูลค่าการส่งออกข้าวสูงที่สุดโลกเหมือนเดิม ส่วนของปริมาณยังต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป และยังมั่นใจว่า จะนำเงินจากการขายข้าวส่งคืนกระทรวงการคลังได้ตามเป้าหมาย และมีเงินเพียงพอใช้ในโครงการรับจำนำข้าวในปีหน้า ซึ่งจะเสนอกรอบการรับจำนำข้าวรอบใหม่ เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) เร็วๆ นี้ โดยยังคงราคารับจำนำเท่าเดิมที่ตันละ 15,000-20,000 บาท
นายบุญทรงกล่าวว่า การประชุมข้าวนานาชาติในครั้งนี้ จะช่วยให้ภาคธุรกิจในวงการข้าวได้เจรจา และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการค้าขายข้าว ซึ่งจะนำไปสู่การเจรจาซื้อขายข้าวในที่สุด และจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวของโลกได้ โดยเฉพาะในอาเซียน และการจัดงานครั้งนี้ จะทำให้ประเทศคู่ค้า มีความมั่นใจในการศักยภาพของข้าวไทย
และตัดสินใจซื้อข้าวจากไทยง่ายขึ้น
นายโอฬาร ไชยประวัติ ประธานผู้แทนการค้าไทย (TTR) กล่าวถึงยุทธศาสตร์ด้านการตลาดข้าวต่างประเทศของไทยว่า มี 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1.ยุทธศาสตร์การผลักดันการส่งออกข้าวในเชิงมูลค่าแทนการส่งออกในเชิงปริมาณ และการส่งออกแบบจีทูจี 2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาพลักษณ์ข้าวไทยและส่งเสริมคุณภาพมาตรฐานข้าว โดยการพัฒนามาตรฐานข้าวอย่างมีอัตลักษณ์ในแต่ละท้องถิ่น เช่น ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม 3.ยุทธศาตร์การพัฒนาตลาดพิเศษใหม่ๆ (นิช มาร์เก็ต) โดยเน้นเจาะกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง เช่น ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ข้าวกล้องงอก ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นต้น และ 4. ยุทธศาสตร์การแสวงหาความร่วมมือในระดับภูมิภาค เช่น ความร่วมมือค้าข้าว 5 ประเทศ ระหว่างไทย ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม เพื่อสร้างเสถียรภาพราคาข้าวโลก
นายนาม วิยะเกด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาว กล่าวว่า ลาวจะร่วมมือกับผู้ผลิตข้าวในอาเซียน ดำเนินนโยบายความร่วมมือข้าว 5 ประเทศ เพราะมองว่า เป็นประโยชน์กับอาเซียนอย่างมาก หากสามารถร่วมกับวางแผนการผลิต และการค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยดึงราคาข้าวของอาเซียนให้สูงขึ้น และจะทำให้การส่งออกข้าวของลาวเพิ่มขึ้นด้วย และหากความร่วมมือค้าข้าว 5 ประเทศระหว่างประเทศผู้ผลิตอาเซียนเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมแล้ว ก็จะนำไปสู่ความร่วมมือกับประเทศผู้นำเข้าในอาเซียน ทั้งมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ต่อไป
นายกาน จันเมตา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กัมพูชา กล่าวว่า ขณะนี้กัมพูชาผลิตข้าวได้เกินการบริโภคในประเทศ 4 ล้านตันข้าวเปลือกหรือ 2 ล้านตันข้าวสาร จึงมีแผนผลักดันการส่งออกข้าวสารเพิ่มจากปัจจุบัน 4-5 หมื่นตัน ให้ถึง 1 ล้านตันในปี 2558 และตั้งเป้าหมายเพิ่มเป็น 10 ล้านตันในปี 2563 โดยรัฐบาลมีแผนส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต และดึงการลงทุนจากต่างชาติ และขณะนี้กัมพูชาได้ลงนามขายข้าวให้อินโดนีเซียและฟิลลิปปินส์ประเทศละ 100 ตันต่อปี
นายปวิน ซาน รมช.พาณิชย์ พม่า กล่าวว่า พม่าจะสนับสนุนการจัดตั้งสมาพันธ์ข้าวอาเซียน โดยนโยบายข้าวของรัฐบาลพม่าจะเน้นเพิ่มพื้นที่ผลผลิต และเปิดโอกาสการลงทุนจากต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วมลงทุนภาคเกษตรของพม่า เพื่อเพิ่มการส่งออก โดยเป้าหมายผลักดันการส่งออกข้าวสารในปี 2563 ให้ถึง 4.5 ล้านตัน ขณะที่การส่งออกช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ส่งออกได้สูงสุดในรอบ 10 ปี ปริมาณถึง 1.5 ล้านตัน
นายซูทาร์โต อลิโมโซ ประธานหน่วยงานนำเข้าข้าวของอินโดนีเซีย (บูล็อก) กล่าวว่า ปีนี้อินโดนีเซียไม่มีแผนนำเข้าข้าว จากทั้งเวียดนามและไทย เพราะสต็อกข้าวยังมีอยู่สูงและผลผลิตในประเทศยังเพิ่มต่อเนื่อง และรัฐบาลอินโดนีเซียกำลังส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตข้าวและเทคโนโลยีใหม่ เพื่อลดการนำเข้าข้าวซึ่งปกติต้องนำเข้าปีละ 2 ล้านตัน
นายออร์ลาน เอ คาลายัก ประธานหน่วยงานนำเข้าข้าวฟิลิปินส์ กล่าวว่า รัฐบาลมีนโนยบายลดการนำเข้าข้าว และหันมาพึ่งพาตนเองโดยแผนงานปี 2554-59 มุ่งเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก และขยายระบบชลประทานเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร แต่ปัจจุบันฟิลิปปินส์ยังต้องนำเข้าข้าว เพราะต้องสต็อกข้าวล่วงหน้า 4 เดือน แต่หลังปี 2557 มีแผนส่งออกข้าวคุณภาพสูง
น.ส.กอบสุข เอี่ยมสุรีย์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ไทยพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวในอาเซียน เพราะมีความพร้อมในการผลิต เทคโนโลยี การขนส่ง การบริการทางการเงินที่มีความทันสมัย หากรัฐบาลสามารถผลักดันให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ก็จะเป็นประโยชน์และสามารถรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558ส่วนการส่งออกข้าวไทยขณะนี้อยู่ในภาวะชะลอตัว โดย 4 เดือนแรกส่งออกได้ 2 ล้านตัน และคาดว่าทั้งปีภาคเอกชนจะส่งออกข้าวได้ปริมาณ 6.5 ล้านตัน
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานประชุมข้าวนานาชาติปี 2556 หรือไทยแลนด์ ไรซ์ คอนเวนชั่น 2013 วานนี้ (27 พ.ค.) ที่จ.เชียงใหม่ว่า ภายในงาน กระทรวงพาณิชย์ได้เจรจาซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) กับรัฐมนตรีการค้าจากประเทศผู้นำเข้าหลายประเทศ ที่ได้เชิญเข้าร่วมงาน โดยรัฐมนตรีการค้าจากประเทศโตโก สนใจจะซื้อข้าวขาวจากไทยโดยตรง จากเดิมที่โตโกซื้อข้าวไทยโดยผ่านโบรกเกอร์ต่างประเทศ คาดว่าจะซื้อในปริมาณหลายแสนตัน โดยจะต้องมีการเจรจากันอีกหลายครั้ง แต่น่าจะเจรจาให้แล้วเสร็จได้ภายในปีนี้
นอกจากนี้ ไทยยังได้รับการติดต่อขอซื้อข้าวจีทูจีจากเกาหลีใต้ ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการยกร่างบันทึกความตกลง (MOU) ซื้อขายข้าวระหว่างกัน เบื้องต้นกำหนดปริมาณจะซื้อขายประมาณ 1 ล้านตัน ภายในระยะเวลา 1 ปี และยังมีอีกหลายประเทศที่อยู่ระหว่างการเจรจาแบบจีทูจีซึ่งมีปริมาณมาก เช่น บางประเทศในทวีปแอฟริกาใต้ บางประเทศในตะวันออกกลาง รวมถึงจีน เป็นต้น ซึ่งหากนับปริมาณที่เสนอซื้อเข้ามา ณ ตอนนี้ จะทำให้ข้าวในสต๊อกปีนี้ไม่เพียงพอที่จะขาย
อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่า ไทยจะมีมูลค่าการส่งออกข้าวสูงที่สุดโลกเหมือนเดิม ส่วนของปริมาณยังต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป และยังมั่นใจว่า จะนำเงินจากการขายข้าวส่งคืนกระทรวงการคลังได้ตามเป้าหมาย และมีเงินเพียงพอใช้ในโครงการรับจำนำข้าวในปีหน้า ซึ่งจะเสนอกรอบการรับจำนำข้าวรอบใหม่ เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) เร็วๆ นี้ โดยยังคงราคารับจำนำเท่าเดิมที่ตันละ 15,000-20,000 บาท
นายบุญทรงกล่าวว่า การประชุมข้าวนานาชาติในครั้งนี้ จะช่วยให้ภาคธุรกิจในวงการข้าวได้เจรจา และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการค้าขายข้าว ซึ่งจะนำไปสู่การเจรจาซื้อขายข้าวในที่สุด และจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวของโลกได้ โดยเฉพาะในอาเซียน และการจัดงานครั้งนี้ จะทำให้ประเทศคู่ค้า มีความมั่นใจในการศักยภาพของข้าวไทย
และตัดสินใจซื้อข้าวจากไทยง่ายขึ้น
นายโอฬาร ไชยประวัติ ประธานผู้แทนการค้าไทย (TTR) กล่าวถึงยุทธศาสตร์ด้านการตลาดข้าวต่างประเทศของไทยว่า มี 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1.ยุทธศาสตร์การผลักดันการส่งออกข้าวในเชิงมูลค่าแทนการส่งออกในเชิงปริมาณ และการส่งออกแบบจีทูจี 2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาพลักษณ์ข้าวไทยและส่งเสริมคุณภาพมาตรฐานข้าว โดยการพัฒนามาตรฐานข้าวอย่างมีอัตลักษณ์ในแต่ละท้องถิ่น เช่น ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม 3.ยุทธศาตร์การพัฒนาตลาดพิเศษใหม่ๆ (นิช มาร์เก็ต) โดยเน้นเจาะกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง เช่น ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ข้าวกล้องงอก ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นต้น และ 4. ยุทธศาสตร์การแสวงหาความร่วมมือในระดับภูมิภาค เช่น ความร่วมมือค้าข้าว 5 ประเทศ ระหว่างไทย ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม เพื่อสร้างเสถียรภาพราคาข้าวโลก
นายนาม วิยะเกด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาว กล่าวว่า ลาวจะร่วมมือกับผู้ผลิตข้าวในอาเซียน ดำเนินนโยบายความร่วมมือข้าว 5 ประเทศ เพราะมองว่า เป็นประโยชน์กับอาเซียนอย่างมาก หากสามารถร่วมกับวางแผนการผลิต และการค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยดึงราคาข้าวของอาเซียนให้สูงขึ้น และจะทำให้การส่งออกข้าวของลาวเพิ่มขึ้นด้วย และหากความร่วมมือค้าข้าว 5 ประเทศระหว่างประเทศผู้ผลิตอาเซียนเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมแล้ว ก็จะนำไปสู่ความร่วมมือกับประเทศผู้นำเข้าในอาเซียน ทั้งมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ต่อไป
นายกาน จันเมตา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กัมพูชา กล่าวว่า ขณะนี้กัมพูชาผลิตข้าวได้เกินการบริโภคในประเทศ 4 ล้านตันข้าวเปลือกหรือ 2 ล้านตันข้าวสาร จึงมีแผนผลักดันการส่งออกข้าวสารเพิ่มจากปัจจุบัน 4-5 หมื่นตัน ให้ถึง 1 ล้านตันในปี 2558 และตั้งเป้าหมายเพิ่มเป็น 10 ล้านตันในปี 2563 โดยรัฐบาลมีแผนส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต และดึงการลงทุนจากต่างชาติ และขณะนี้กัมพูชาได้ลงนามขายข้าวให้อินโดนีเซียและฟิลลิปปินส์ประเทศละ 100 ตันต่อปี
นายปวิน ซาน รมช.พาณิชย์ พม่า กล่าวว่า พม่าจะสนับสนุนการจัดตั้งสมาพันธ์ข้าวอาเซียน โดยนโยบายข้าวของรัฐบาลพม่าจะเน้นเพิ่มพื้นที่ผลผลิต และเปิดโอกาสการลงทุนจากต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วมลงทุนภาคเกษตรของพม่า เพื่อเพิ่มการส่งออก โดยเป้าหมายผลักดันการส่งออกข้าวสารในปี 2563 ให้ถึง 4.5 ล้านตัน ขณะที่การส่งออกช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ส่งออกได้สูงสุดในรอบ 10 ปี ปริมาณถึง 1.5 ล้านตัน
นายซูทาร์โต อลิโมโซ ประธานหน่วยงานนำเข้าข้าวของอินโดนีเซีย (บูล็อก) กล่าวว่า ปีนี้อินโดนีเซียไม่มีแผนนำเข้าข้าว จากทั้งเวียดนามและไทย เพราะสต็อกข้าวยังมีอยู่สูงและผลผลิตในประเทศยังเพิ่มต่อเนื่อง และรัฐบาลอินโดนีเซียกำลังส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตข้าวและเทคโนโลยีใหม่ เพื่อลดการนำเข้าข้าวซึ่งปกติต้องนำเข้าปีละ 2 ล้านตัน
นายออร์ลาน เอ คาลายัก ประธานหน่วยงานนำเข้าข้าวฟิลิปินส์ กล่าวว่า รัฐบาลมีนโนยบายลดการนำเข้าข้าว และหันมาพึ่งพาตนเองโดยแผนงานปี 2554-59 มุ่งเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก และขยายระบบชลประทานเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร แต่ปัจจุบันฟิลิปปินส์ยังต้องนำเข้าข้าว เพราะต้องสต็อกข้าวล่วงหน้า 4 เดือน แต่หลังปี 2557 มีแผนส่งออกข้าวคุณภาพสูง
น.ส.กอบสุข เอี่ยมสุรีย์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ไทยพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวในอาเซียน เพราะมีความพร้อมในการผลิต เทคโนโลยี การขนส่ง การบริการทางการเงินที่มีความทันสมัย หากรัฐบาลสามารถผลักดันให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ก็จะเป็นประโยชน์และสามารถรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558ส่วนการส่งออกข้าวไทยขณะนี้อยู่ในภาวะชะลอตัว โดย 4 เดือนแรกส่งออกได้ 2 ล้านตัน และคาดว่าทั้งปีภาคเอกชนจะส่งออกข้าวได้ปริมาณ 6.5 ล้านตัน