วานนี้ (22พ.ค.) นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยผลการหารือระหว่างวิป 2 ฝ่าย ถึงกรอบเวลาการอภิปราย ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2557 ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการอภิปราย ฝ่ายละ 15 ชั่วโมง รวม 30 ชั่วโมง ใช้เวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 29-31 พ.ค.นี้ ตั้งแต่เวลา 9.00-24.00 น. ส่วนวันที่ 31 พ.ค.ตั้งแต่เวลา 9.00-13.00 น.
นายเจริญ กล่าวว่า สภาผู้แทนราษฎร ได้ขอความร่วมมือจากสมาชิกอภิปรายอย่างสร้างสรรค์ ลดการประท้วงที่จะนำมาซึ่งความขัดแย้ง ไม่เสียดสี โดยยืนยันว่าทุกฝ่ายต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่เห็นตรงกันในที่ประชุมนี้ ทั้งนี้ ยืนยันว่าจะไม่มีกฎหมายฉบับอื่นสอดแทรกเข้ามาในการพิจารณาอย่างแน่นอน
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน แถลงภายหลังการประชุมวิปฝ่ายค้าน เพื่อเตรียมอภิปรายงบปี 57 ว่าได้เชิญตัวแทนสำนักงบประมาณ สำนักบริหารหนี้สาธารณะ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และกรมบัญชีกลางมาให้ข้อมูล เบื้องต้นพบว่ารัฐบาลตั้งงบประมาณไว้ 2,525,000 ล้านบาท ขณะที่คาดการณ์รายได้ไว้ที่ 2,275,000 ล้านบาท ทำให้ขาดดุล 250,000 ล้านบาท และต้องไปกู้หนี้มาชดใช้งบประมาณ แต่เมื่อดูตัวเลขที่จะต้องก่อหนี้ พบว่าเป็นเพียงตัวเลขหนี้หน้าฉากที่ระบุไว้ในร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 57 แต่ในความเป็นจริงได้มีการก่อหนี้มาก่อนหน้านี้แล้ว และกำลังจะก่อหนี้ในระยะเวลาอันใกล้อีก ซึ่งจะเป็นภาระในการจัดงบประมาณแผ่นดินในการใช้หนี้ในอนาคต 3 ก้อน คือ หนี้ที่เกิดจากการรับจำนำข้าว หนี้ที่เกิดจากโครงการแก้ ปัญหาน้ำท่วม 3.5 หมื่นล้าน และหนี้จาก พ.ร.บ.กู้เงินอีก 2 ล้านล้านบาท แต่ต้องชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยประมาณ 5 ล้านล้านบาท เมื่อรวมหนี้ทั้ง 3 ก้อนนี้เกือบ 6 ล้านล้านบาท และเมื่อดูจีดีพี จะขยายตัวลดลงเหลือประมาณร้อยละ 4.2-5.2 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า มีคำชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ถึงข้อสงสัย เรื่องการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก ที่ถูกโยงกว่าเกี่ยวพันกับการจัดซื้อรถตู้ 1,000 คันหรือไม่ ซึ่งได้รับคำตอบว่าในงบปี 57 จะมีการจัดซื้อรถตู้จริง ดังนั้นจะต้องมีการตรวจสอบต่อไป และสำหรับการอภิปราย ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 57 นั้น ได้ฝาก นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่นัดหารือว่า ได้ขอให้ประธานสภาช่วยรักษาคำพูดที่ได้ตกลงกันไว้ด้วย เพราะที่ผ่านมายังอภิปรายไม่ครบ ก็มีการเสนอชิงปิดอภิปราย ทั้งนี้ในส่วนของพรรค ผู้แจ้งความจำนงประมาณ 70 คน
ด้านน.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า คณะทำงานพรรคประชาธิปัตย์ได้เตรียมจัดทำข้อมูลการบริหารงานในกระทรวงพาณิชย์ เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าว และการระบายข้าว เพื่อเปิดเผยในการอภิปราย ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 57 โดยเป็นตอนที่ 2 ในชื่อ ว่า“ฉีกหน้ากากจอมบงการ” เนื้อหาจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยให้ตัวแทนของทุนสามานย์ เข้ามาครอบงำการบริหารงาน โดยรมว. พาณิชย์ เป็นเพียงหุ่นเชิด ซึ่งจะ มีทั้งตัวละครเก่า และใหม่ และตัวเอก จะยังเป็น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง และ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ โดยจะชี้ให้เห็นถึงความไม่ชอบมาพากลในโครงการรับจำนำข้าว และความสูญเสียจากเรื่องนี้ ที่สุดท้ายหนีไม่พ้นภาษีประชาชน ดังนั้นประชาชนควรติดตามการอภิปรายในครั้งนี้ และจะเข้าใจว่า ทำไมรัฐบาลถึงดึงดัน ที่จะผลักดันโครงการนี้ และเมื่ออภิปรายแล้ว จะยื่นเรื่องต่อป.ป.ช. เพื่อตรวจสอบต่อไป
"ในการจัดงบประมาณสำหรับโครงการรับจำนำข้าวในปี 57 นั้น รัฐบาลจัดงบไว้ราว 8 หมื่นล้านบาท แต่เป็นที่รู้กันว่า งบประมาณส่วนใหญ่ที่ใช้ในโครงการนี้ จะเป็นเงินนอกงบประมาณ โดยในขณะนี้ก็มีปัญหาว่า มีการใช้เงินเต็มเพดานไปแล้ว ยังหาเงินที่จะนำมาใช้ในฤดูกาลต่อไปไม่ได้ ในขณะที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธกส. ได้สำรองจ่ายให้กับรัฐบาลไปก่อนแล้วกว่า 2 แสนล้านบาท แต่กระทรวงพาณิชย์ ยังไม่สามารถระบายข้าวเพื่อนำรายได้มาชำระคืนให้กับ ธกส.ได้ ดังนั้นหากจะเดินหน้าโครงการนี้ต่อ โดยใช้วิธีเดิมคือให้ ธกส. ออกเงินไปก่อน ก็เชื่อว่าจะกระทบต่อสถานะทางการเงินของ ธกส. ทำให้เกิดปัญหาขาดทุนไม่ต่างจากธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือ ไอแบงก์" นพ .วรงค์ กล่าว
นายเจริญ กล่าวว่า สภาผู้แทนราษฎร ได้ขอความร่วมมือจากสมาชิกอภิปรายอย่างสร้างสรรค์ ลดการประท้วงที่จะนำมาซึ่งความขัดแย้ง ไม่เสียดสี โดยยืนยันว่าทุกฝ่ายต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่เห็นตรงกันในที่ประชุมนี้ ทั้งนี้ ยืนยันว่าจะไม่มีกฎหมายฉบับอื่นสอดแทรกเข้ามาในการพิจารณาอย่างแน่นอน
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน แถลงภายหลังการประชุมวิปฝ่ายค้าน เพื่อเตรียมอภิปรายงบปี 57 ว่าได้เชิญตัวแทนสำนักงบประมาณ สำนักบริหารหนี้สาธารณะ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และกรมบัญชีกลางมาให้ข้อมูล เบื้องต้นพบว่ารัฐบาลตั้งงบประมาณไว้ 2,525,000 ล้านบาท ขณะที่คาดการณ์รายได้ไว้ที่ 2,275,000 ล้านบาท ทำให้ขาดดุล 250,000 ล้านบาท และต้องไปกู้หนี้มาชดใช้งบประมาณ แต่เมื่อดูตัวเลขที่จะต้องก่อหนี้ พบว่าเป็นเพียงตัวเลขหนี้หน้าฉากที่ระบุไว้ในร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 57 แต่ในความเป็นจริงได้มีการก่อหนี้มาก่อนหน้านี้แล้ว และกำลังจะก่อหนี้ในระยะเวลาอันใกล้อีก ซึ่งจะเป็นภาระในการจัดงบประมาณแผ่นดินในการใช้หนี้ในอนาคต 3 ก้อน คือ หนี้ที่เกิดจากการรับจำนำข้าว หนี้ที่เกิดจากโครงการแก้ ปัญหาน้ำท่วม 3.5 หมื่นล้าน และหนี้จาก พ.ร.บ.กู้เงินอีก 2 ล้านล้านบาท แต่ต้องชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยประมาณ 5 ล้านล้านบาท เมื่อรวมหนี้ทั้ง 3 ก้อนนี้เกือบ 6 ล้านล้านบาท และเมื่อดูจีดีพี จะขยายตัวลดลงเหลือประมาณร้อยละ 4.2-5.2 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า มีคำชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ถึงข้อสงสัย เรื่องการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก ที่ถูกโยงกว่าเกี่ยวพันกับการจัดซื้อรถตู้ 1,000 คันหรือไม่ ซึ่งได้รับคำตอบว่าในงบปี 57 จะมีการจัดซื้อรถตู้จริง ดังนั้นจะต้องมีการตรวจสอบต่อไป และสำหรับการอภิปราย ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 57 นั้น ได้ฝาก นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่นัดหารือว่า ได้ขอให้ประธานสภาช่วยรักษาคำพูดที่ได้ตกลงกันไว้ด้วย เพราะที่ผ่านมายังอภิปรายไม่ครบ ก็มีการเสนอชิงปิดอภิปราย ทั้งนี้ในส่วนของพรรค ผู้แจ้งความจำนงประมาณ 70 คน
ด้านน.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า คณะทำงานพรรคประชาธิปัตย์ได้เตรียมจัดทำข้อมูลการบริหารงานในกระทรวงพาณิชย์ เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าว และการระบายข้าว เพื่อเปิดเผยในการอภิปราย ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 57 โดยเป็นตอนที่ 2 ในชื่อ ว่า“ฉีกหน้ากากจอมบงการ” เนื้อหาจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยให้ตัวแทนของทุนสามานย์ เข้ามาครอบงำการบริหารงาน โดยรมว. พาณิชย์ เป็นเพียงหุ่นเชิด ซึ่งจะ มีทั้งตัวละครเก่า และใหม่ และตัวเอก จะยังเป็น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง และ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ โดยจะชี้ให้เห็นถึงความไม่ชอบมาพากลในโครงการรับจำนำข้าว และความสูญเสียจากเรื่องนี้ ที่สุดท้ายหนีไม่พ้นภาษีประชาชน ดังนั้นประชาชนควรติดตามการอภิปรายในครั้งนี้ และจะเข้าใจว่า ทำไมรัฐบาลถึงดึงดัน ที่จะผลักดันโครงการนี้ และเมื่ออภิปรายแล้ว จะยื่นเรื่องต่อป.ป.ช. เพื่อตรวจสอบต่อไป
"ในการจัดงบประมาณสำหรับโครงการรับจำนำข้าวในปี 57 นั้น รัฐบาลจัดงบไว้ราว 8 หมื่นล้านบาท แต่เป็นที่รู้กันว่า งบประมาณส่วนใหญ่ที่ใช้ในโครงการนี้ จะเป็นเงินนอกงบประมาณ โดยในขณะนี้ก็มีปัญหาว่า มีการใช้เงินเต็มเพดานไปแล้ว ยังหาเงินที่จะนำมาใช้ในฤดูกาลต่อไปไม่ได้ ในขณะที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธกส. ได้สำรองจ่ายให้กับรัฐบาลไปก่อนแล้วกว่า 2 แสนล้านบาท แต่กระทรวงพาณิชย์ ยังไม่สามารถระบายข้าวเพื่อนำรายได้มาชำระคืนให้กับ ธกส.ได้ ดังนั้นหากจะเดินหน้าโครงการนี้ต่อ โดยใช้วิธีเดิมคือให้ ธกส. ออกเงินไปก่อน ก็เชื่อว่าจะกระทบต่อสถานะทางการเงินของ ธกส. ทำให้เกิดปัญหาขาดทุนไม่ต่างจากธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือ ไอแบงก์" นพ .วรงค์ กล่าว