ASTVผู้จัดการรายวัน-เลขาฯ กพฐ. เผยปี 56 ไม่ยุบเลิกโรงเรียนขนาดเล็ก อาจมีเพียงยุบรวมไปเรียนร่วมกันในบางแห่งเท่านั้น แจงเมื่อผ่านไปหากไม่มีเด็กใน ร.ร.ค่อยปิด ย้ำ สพฐ.จะไม่เดินหน้ายุบร.ร.ขนาดเล็กทุกแห่งแน่นอน ด้าน การศึกษาทางเลือก บุกพบ "พงศ์เทพ" เสนอแนวทางแก้ไขร.ร.เล็ก พรุ่งนี้
วานนี้ (14 พ.ค.) นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียน้อยกว่า60 คน ซึ่งได้มีการมอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทั่วประเทศรวม 182 เขตยกเว้น สพป.กทม. ไปจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นให้อย่างชัดเจน และให้ส่งแผนดังกล่าวให้สพฐ.พิจารณาภายในวันที่ 24 พ.ค.นี้ ทั้งนี้ เมื่อเขตพื้นที่การศึกษาแต่ละแห่งส่งแผนมาให้แล้ว คาดว่า ภายในสิ้นเดือนนี้ จะรู้ข้อมูลที่แน่นอนว่า มีโรงเรียนใดขนาดเล็กแห่งใดบ้างต้องยุบเลิก หรือยุบรวม
อย่างไรก็ตาม สพฐ.ยืนยันว่า จะไม่ให้เดินหน้ายุบโรงเรียนขนาดเล็กทุกแห่งที่มีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า 60 คน โดย สพฐ.ได้ให้หลักการกับเขตพื้นที่การศึกษาในการจัดทำแผนโรงเรียนขนาดเล็กไปว่า ก่อนจะเสนอยุบเลิกหรือยุบเลิกโรงเรียนแห่งใดนั้นจะต้องผ่าน 3 ขั้นตอนที่สำคัญก่อน โดยเริ่มต้นจากการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กแห่งนั้นแล้ พร้อมกับการเร่งรัดพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการในรูปแบบต่างๆ เช่น จัดทำแผนที่ตั้งของโรงเรียน การรวมกลุ่มโรงเรียนเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรต่างๆร่วมกัน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการศึกษา หากผ่าน 2ขั้นตอนแรกแล้ว โรงเรียนแห่งนั้นยังมีจำนวนนักเรียนลดลง และได้มีการหารือประชาคม ชุมชน จนได้รับความเห็นชอบให้ยุบเลิกโรงเรียนได้ จึงจะสามารถยุบเลิกโรงเรียนแห่งนั้นได้
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า สำหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษานั้นในช่วง 1 ปีมานี้ สพฐ.ได้พัฒนาโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา หรือ Obec Channel ซึ่งมีผังรายการต่างๆที่น่าสนใจและสามารถนำระบบดังกล่าวมาเติมเต็มให้กับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีครูสอนไม่ครบชั้นและไม่ครบวิชาได้ โดยผังรายการจะมีเนื้อหาครอบคลุมการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาเป็นหลัก แต่จะมีวิธีการที่เสริมเข้าไปคือ จะเชิญผู้บริหารและครูโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด ที่ได้รับการคัดสรรว่าเป็นครูสอนเก่ง สอนดี เข้ามาสอนในผังรายการด้วย ดังนั้นจะให้เขตพื้นที่และสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ.สำรวจดูว่า โรงเรียนขนาดเล็กที่เขตพื้นที่วางแผนจะใช้โทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมมีอุปกรณ์รับสัญญาณครบถ้วนกี่โรง หลังจากนั้นจะให้สำนักนโยบายและแผนของสพฐ.ประมวลเป็นภาพรวมทั้งหมดของการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก
“คาดว่าภายปี 2556 นี้ อาจจะไม่มีการยุบเลิกโรงเรียนขนาดเล็กเลยก็ได้ เพราะการยุบเลิกโรงเรียนนั้น จะทำในเฉพาะในกรณีที่โรงเรียนแห่งนั้นไม่มีตัวป้อนแล้วจริง ไม่มีเด็กมาเข้าเรียนเลย อย่างไจก็ตาม อาจมีการยุบรวมโรงเรียนเป็นบางแห่ง ซึ่งหมายถึงการนำนักเรียนจากโรงเรียนในบริเวณใกล้เคียงกันมาเรียนรวมกัน พร้อมตั้งงบประมาณเพื่อจัดซื้อรถตู้เพื่อรับส่งนักกเรียน หลังจากนั้น ถ้าโรงเรียนแห่งใดไม่มีตัวป้อนแล้ว จึงจะยุบเลิกโรงเรียนแห่งนั้นไป “ นายชินภัทร กล่าว
นายชินภัทร กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม การคงอยู่ต่อของโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่นั้น เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความร่วมมือจาก 2 ฝ่าย หรือเขตพื้นที่การศึกษาและชุมชน หากชุมชนประสงค์จะให้เปิดโรงเรียนต่อไป ชุมชมก็ต้องเข้ามามีส่วนร่วม ให้การสนับสนุนการจัดการศึกษาด้วย เพื่อให้โรงเรียนขนาดเล็กสามารถพัฒนาคุณภาพและบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น ทั้งนี้ ในส่วนของโรงเรียนที่มีการยุบเลิกไปแล้วสามารถยกให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาพัฒนาเป็นศูนย์เลี้ยงเด็กของชุมชย หรือสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ใช้สถานที่ในการเรียนหรือฝึกอาชีพแก่ชาวบ้าน ซึ่งเป็นการใช้อาคารสถานที่แทน
นายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ เลขาธิการสภาการศึกษาทางเลือก กล่าวว่า วันนี้ (15 พ.ค.) เวลา 07.30 น. ตนพร้อมด้วยเครือข่ายโรงเรียนชุมชน (โรงเรียนขนาดเล็ก) ทั่วประเทศจะเดินทางเข้านายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อชี้แจงข้อมูลที่แท้จริงของโรงเรียนขนาดเล็ก พร้อมกันนี้จะเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาทั้งที่เป็นข้อเสนอของทางสภาการศึกษาทางเลือก ที่ต้องการให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ปรับลดบทบาทตนเองลงเหลือเพียงการเป็นผู้สนับสนุน และกระจายอำนาจการบริหารออกไปให้โรงเรียนมีอำนาจเป็นนิติบุคคลอย่างแท้จริง และให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ขณะเดียวกัน ทางเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็กก็มีข้อเสนอและแผนการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กอย่างมีคุณภาพมาเสนอด้วย นอกจากนี้ยังมีรายชื่อผู้คัดค้านนโยบายการยุบโรงเรียนขนาดเล็กอีกจำนวน 18,081 รายชื่อ ทั้งหมดนี้จะยื่นให้แก่ รมว.ศึกษาธิการ และจะมีการแถลงข่าวในเวลา 09.30 น.ที่ ศธ.ด้วย
วานนี้ (14 พ.ค.) นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียน้อยกว่า60 คน ซึ่งได้มีการมอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทั่วประเทศรวม 182 เขตยกเว้น สพป.กทม. ไปจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นให้อย่างชัดเจน และให้ส่งแผนดังกล่าวให้สพฐ.พิจารณาภายในวันที่ 24 พ.ค.นี้ ทั้งนี้ เมื่อเขตพื้นที่การศึกษาแต่ละแห่งส่งแผนมาให้แล้ว คาดว่า ภายในสิ้นเดือนนี้ จะรู้ข้อมูลที่แน่นอนว่า มีโรงเรียนใดขนาดเล็กแห่งใดบ้างต้องยุบเลิก หรือยุบรวม
อย่างไรก็ตาม สพฐ.ยืนยันว่า จะไม่ให้เดินหน้ายุบโรงเรียนขนาดเล็กทุกแห่งที่มีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า 60 คน โดย สพฐ.ได้ให้หลักการกับเขตพื้นที่การศึกษาในการจัดทำแผนโรงเรียนขนาดเล็กไปว่า ก่อนจะเสนอยุบเลิกหรือยุบเลิกโรงเรียนแห่งใดนั้นจะต้องผ่าน 3 ขั้นตอนที่สำคัญก่อน โดยเริ่มต้นจากการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กแห่งนั้นแล้ พร้อมกับการเร่งรัดพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการในรูปแบบต่างๆ เช่น จัดทำแผนที่ตั้งของโรงเรียน การรวมกลุ่มโรงเรียนเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรต่างๆร่วมกัน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการศึกษา หากผ่าน 2ขั้นตอนแรกแล้ว โรงเรียนแห่งนั้นยังมีจำนวนนักเรียนลดลง และได้มีการหารือประชาคม ชุมชน จนได้รับความเห็นชอบให้ยุบเลิกโรงเรียนได้ จึงจะสามารถยุบเลิกโรงเรียนแห่งนั้นได้
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า สำหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษานั้นในช่วง 1 ปีมานี้ สพฐ.ได้พัฒนาโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา หรือ Obec Channel ซึ่งมีผังรายการต่างๆที่น่าสนใจและสามารถนำระบบดังกล่าวมาเติมเต็มให้กับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีครูสอนไม่ครบชั้นและไม่ครบวิชาได้ โดยผังรายการจะมีเนื้อหาครอบคลุมการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาเป็นหลัก แต่จะมีวิธีการที่เสริมเข้าไปคือ จะเชิญผู้บริหารและครูโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด ที่ได้รับการคัดสรรว่าเป็นครูสอนเก่ง สอนดี เข้ามาสอนในผังรายการด้วย ดังนั้นจะให้เขตพื้นที่และสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ.สำรวจดูว่า โรงเรียนขนาดเล็กที่เขตพื้นที่วางแผนจะใช้โทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมมีอุปกรณ์รับสัญญาณครบถ้วนกี่โรง หลังจากนั้นจะให้สำนักนโยบายและแผนของสพฐ.ประมวลเป็นภาพรวมทั้งหมดของการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก
“คาดว่าภายปี 2556 นี้ อาจจะไม่มีการยุบเลิกโรงเรียนขนาดเล็กเลยก็ได้ เพราะการยุบเลิกโรงเรียนนั้น จะทำในเฉพาะในกรณีที่โรงเรียนแห่งนั้นไม่มีตัวป้อนแล้วจริง ไม่มีเด็กมาเข้าเรียนเลย อย่างไจก็ตาม อาจมีการยุบรวมโรงเรียนเป็นบางแห่ง ซึ่งหมายถึงการนำนักเรียนจากโรงเรียนในบริเวณใกล้เคียงกันมาเรียนรวมกัน พร้อมตั้งงบประมาณเพื่อจัดซื้อรถตู้เพื่อรับส่งนักกเรียน หลังจากนั้น ถ้าโรงเรียนแห่งใดไม่มีตัวป้อนแล้ว จึงจะยุบเลิกโรงเรียนแห่งนั้นไป “ นายชินภัทร กล่าว
นายชินภัทร กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม การคงอยู่ต่อของโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่นั้น เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความร่วมมือจาก 2 ฝ่าย หรือเขตพื้นที่การศึกษาและชุมชน หากชุมชนประสงค์จะให้เปิดโรงเรียนต่อไป ชุมชมก็ต้องเข้ามามีส่วนร่วม ให้การสนับสนุนการจัดการศึกษาด้วย เพื่อให้โรงเรียนขนาดเล็กสามารถพัฒนาคุณภาพและบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น ทั้งนี้ ในส่วนของโรงเรียนที่มีการยุบเลิกไปแล้วสามารถยกให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาพัฒนาเป็นศูนย์เลี้ยงเด็กของชุมชย หรือสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ใช้สถานที่ในการเรียนหรือฝึกอาชีพแก่ชาวบ้าน ซึ่งเป็นการใช้อาคารสถานที่แทน
นายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ เลขาธิการสภาการศึกษาทางเลือก กล่าวว่า วันนี้ (15 พ.ค.) เวลา 07.30 น. ตนพร้อมด้วยเครือข่ายโรงเรียนชุมชน (โรงเรียนขนาดเล็ก) ทั่วประเทศจะเดินทางเข้านายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อชี้แจงข้อมูลที่แท้จริงของโรงเรียนขนาดเล็ก พร้อมกันนี้จะเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาทั้งที่เป็นข้อเสนอของทางสภาการศึกษาทางเลือก ที่ต้องการให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ปรับลดบทบาทตนเองลงเหลือเพียงการเป็นผู้สนับสนุน และกระจายอำนาจการบริหารออกไปให้โรงเรียนมีอำนาจเป็นนิติบุคคลอย่างแท้จริง และให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ขณะเดียวกัน ทางเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็กก็มีข้อเสนอและแผนการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กอย่างมีคุณภาพมาเสนอด้วย นอกจากนี้ยังมีรายชื่อผู้คัดค้านนโยบายการยุบโรงเรียนขนาดเล็กอีกจำนวน 18,081 รายชื่อ ทั้งหมดนี้จะยื่นให้แก่ รมว.ศึกษาธิการ และจะมีการแถลงข่าวในเวลา 09.30 น.ที่ ศธ.ด้วย