ลมปฏิวัติตะวันออกต่อต้านอเมริกา..พัดแรงกว่า..ลมปฏิวัติเฉื่อยๆ ทางตะวันตก!
จีนปฏิวัติครั้งแรกในปี พ.ศ. 2454 ด้วยการโค่นราชวงศ์ชิงของแมนจู ที่ครองจีนนานถึง 268 ปี คือ ในห้วงปี พ.ศ. 2187-2455 โดยดร.ซุน ยัดเซ็น (ซุนอี้เซียน-ภาษาจีนกลาง หรือซุนจงซาน-ชื่อเก่า) หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง ได้ทำให้ชาติจีนเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย
ด้วยเหตุที่ราชวงศ์แมนจู ไม่เคยสนใจชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรที่ยากจนอดอยากยากแค้น แต่กลับถูกขูดรีดภาษีเข้ารัฐอย่างหนัก อีกทั้งราชวงศ์แมนจูยังทำสงครามพ่ายแพ้ต่อการรุกรานของชาติมหาอำนาจตะวันตกและญี่ปุ่นตลอด ต่างชาติจึงกอบโกยผลประโยชน์บนแผ่นดินจีนได้อย่างต่อเนื่อง
ถึงขนาดต่างชาติได้แบ่งดินแดนจีนปกครองกันเป็นส่วนๆ บางพื้นที่ให้ “หมาผ่านได้” แต่ห้ามชาวจีนเดินผ่าน แถมยังนำฝิ่นหรือยาเสพติดมาให้ชาวจีนเสพติดกันงอมแงมอีกด้วย!
ซุน ยัดเซ็น จึงประกาศ “ลัทธิไตรราษฎร์” ว่า 1. จีน-จะปกครองในระบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของชาติ 2. จีน-ต้องขับไล่อำนาจและอิทธิพลของต่างชาติออกไป 3. จีน-ต้องจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร
แต่ประชาธิปไตยจีนก็ไปได้ไม่ไกล หลัง “หยวนซื่อข่าย” ได้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของจีน โดยจักรพรรดิแมนจู “ปูยี” ยังคงอยู่ในพระราชวังตามปกติ หนึ่งปีให้หลังโน่นแน่ะ “ปูยี” จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีน จึงสละราชสมบัติอย่างเป็นทางการ ทำให้ “หยวนซื่อข่าย” คิดจะสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิแทน จนจีนเกิดทั้งความแตกแยกและวิกฤตเศรษฐกิจอย่างหนัก
หลังการปฏิวัติประชาธิปไตยจีนผ่านไป 7 ปี และหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง ได้เกิดรัฐสังคมนิยมคอมมิวนิสต์โซเวียตเป็นแห่งแรกบนโลกใบนี้!
เมื่อ ซุน ยัดเซ็น ถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2468 เจียง ไคเชก หนึ่งในผู้เข้าร่วมการปฏิวัติและต่อต้าน “หยวนซื่อข่าย” กับ ซุน ยัดเซ็น ได้ขึ้นเป็นผู้นำชาติจีนนานถึง 21 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2471-2492 โดยมี “เหมา เจ๋อตุง” เป็นผู้นำฝ่ายคอมมิวนิสต์ ที่ต่อสู้กับรัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋งอย่างต่อเนื่อง
เจียงฯ ได้รวบอำนาจด้วยการกำจัดแกนนำพรรคก๊กมินตั๋งคนอื่นๆ และหันกลับไปจับมือกับอเมริกาและญี่ปุ่นอีกครั้ง แถมตั้งตนเป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐจีนอีกด้วย
แต่เจียงฯ ไร้ความสามารถในการแก้ปัญหาของจีน อีกทั้งยังถูกกองทัพญี่ปุ่นรุกรานอีกด้วย ชาวจีนจึงยากจนอย่างแสนสาหัสไปทุกหย่อมหญ้า แถมเจียงฯ กับพวกยังคอร์รัปชันโกงชาติอย่างหนัก การต่อต้านรัฐบาลเจียงฯ จึงขยายตัวอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะชนกลุ่มใหญ่อย่างชาวพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ความที่เจียงฯ เป็นสมุนผู้ซื่อสัตย์ของ “ลุงแซม” อเมริกาจึงอ้าง “การไกล่เกลี่ย”แทรกแซงสงครามภายในของจีน โดยเข้าช่วยเหลือเจียงฯ ในทุกด้านอย่างเต็มที่ เพราะนอกจากผลประโยชน์มหาศาลของอเมริกาในจีนแล้ว ภายใต้การนำของเจียงฯ นั้น ชาติจีนมีสภาพไม่ต่างไปจากเมืองขึ้นของอเมริกานั่นเอง ดังเหมาฯ ได้ให้สัมภาษณ์กับ “เอ.ที.สตีล” ผู้สื่อข่าวอเมริกัน ในหัวข้อ “การไกล่เกลี่ย” ของอเมริกาและอนาคตแห่งสงครามการเมืองของจีน เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2489 ตอนหนึ่งว่า
สตีลถาม : ฯพณฯ ท่านเห็นว่า ที่อเมริกาไกล่เกลี่ยสงครามกลางเมืองของจีนได้ล้มเหลวไปแล้วใช่ไหม?
เหมาฯ ตอบ : ข้าพเจ้าสงสัยเหลือเกินว่า นโยบายของรัฐบาลอเมริกาที่เรียกว่า“การไกล่เกลี่ย” เมื่อพิจารณาในข้อเท็จจริง ที่อเมริกาให้ความช่วยเหลือแก่เจียงฯมากมาย ทำให้เจียงฯ สามารถดำเนินสงครามกลางเมืองอย่างขนานใหญ่เป็นประวัติการณ์แล้ว จะเห็นได้ว่านโยบายของรัฐบาลอเมริกาก็คือ อาศัยสิ่งที่เรียกว่า “การไกล่เกลี่ย” นั้น เป็นเครื่องกำบังเพื่อเสริมความเข้มแข็งให้แก่เจียงฯ ในด้านต่างๆ และบีบคั้นพลังประชาธิปไตยของจีน โดยผ่านนโยบายเข่นฆ่าของเจียงฯ จะได้แปรประเทศจีนให้กลายเป็นเมืองขึ้นของอเมริกาในทางเป็นจริง...
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เหมาฯ จึงนำชาวพรรคคอมมิวนิสต์ พิชิตศึกประเทศจีนสำเร็จในปี พ.ศ. 2492 รัฐสังคมนิยมคอมมิวนิสต์แห่งที่ 2 ก็จุติขึ้นบนโลกใบนี้!
เจียงฯ กับพวกได้เผ่นจากแผ่นดินใหญ่จีนไปตั้งรัฐบาล “จีนคณะชาติ” อยู่ที่เกาะไต้หวันโน่น โดยอเมริกาหนุนรัฐบาลไต้หวันชนิดสุดลิ่มทิ่มประตู จนทานกระแสชาติต่างๆ ในโลกไม่ได้ ปี พ.ศ. 2541 รัฐบาลไต้หวันจึงหลุดจากสมาชิกองค์การสหประชาชาติ เปิดทางให้สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นสมาชิกแทน
เจียง ไคเชก หรือ (เจี่ยง จงเจิ้ง-ภาษาจีนกลาง) ได้ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2518 เมื่ออายุ 88 ปี ซึ่งตรงกับ “วันฮาโลวีน” (วันปล่อยผีของฝรั่ง) และตรงกับ “วันไหว้ผี” (เช็งเม้ง) ของชาวจีนอีกด้วย
การปฏิวัติของ “เหมา เจ๋อตุง” ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้เป็นแบบอย่างการปฏิวัติของคอมมิวนิสต์ในประเทศที่กำลังพัฒนา ทั้งในทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ โดยเฉพาะการใช้ยุทธศาสตร์ “ป่าล้อมเมือง” นั่นคือ ใช้การปฏิวัติของเกษตรกรในชนบทค่อยๆ ขยายตัวสู่ชนชั้นกลางในตัวเมือง
พรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่ได้รับอิทธิพลจากจีน เรียกยุทธศาสตร์ที่เคยใช้นี้ว่า “ชนบทล้อมเมือง”
อืม..ช่างเหมือน “ไอ้เหลี่ยม” ที่ใช้ไพร่แดงในชนบท ปิดล้อมอำมาตย์ในเมืองเลยนะจ๊ะ!
จีนปฏิวัติครั้งแรกในปี พ.ศ. 2454 ด้วยการโค่นราชวงศ์ชิงของแมนจู ที่ครองจีนนานถึง 268 ปี คือ ในห้วงปี พ.ศ. 2187-2455 โดยดร.ซุน ยัดเซ็น (ซุนอี้เซียน-ภาษาจีนกลาง หรือซุนจงซาน-ชื่อเก่า) หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง ได้ทำให้ชาติจีนเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย
ด้วยเหตุที่ราชวงศ์แมนจู ไม่เคยสนใจชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรที่ยากจนอดอยากยากแค้น แต่กลับถูกขูดรีดภาษีเข้ารัฐอย่างหนัก อีกทั้งราชวงศ์แมนจูยังทำสงครามพ่ายแพ้ต่อการรุกรานของชาติมหาอำนาจตะวันตกและญี่ปุ่นตลอด ต่างชาติจึงกอบโกยผลประโยชน์บนแผ่นดินจีนได้อย่างต่อเนื่อง
ถึงขนาดต่างชาติได้แบ่งดินแดนจีนปกครองกันเป็นส่วนๆ บางพื้นที่ให้ “หมาผ่านได้” แต่ห้ามชาวจีนเดินผ่าน แถมยังนำฝิ่นหรือยาเสพติดมาให้ชาวจีนเสพติดกันงอมแงมอีกด้วย!
ซุน ยัดเซ็น จึงประกาศ “ลัทธิไตรราษฎร์” ว่า 1. จีน-จะปกครองในระบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของชาติ 2. จีน-ต้องขับไล่อำนาจและอิทธิพลของต่างชาติออกไป 3. จีน-ต้องจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร
แต่ประชาธิปไตยจีนก็ไปได้ไม่ไกล หลัง “หยวนซื่อข่าย” ได้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของจีน โดยจักรพรรดิแมนจู “ปูยี” ยังคงอยู่ในพระราชวังตามปกติ หนึ่งปีให้หลังโน่นแน่ะ “ปูยี” จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีน จึงสละราชสมบัติอย่างเป็นทางการ ทำให้ “หยวนซื่อข่าย” คิดจะสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิแทน จนจีนเกิดทั้งความแตกแยกและวิกฤตเศรษฐกิจอย่างหนัก
หลังการปฏิวัติประชาธิปไตยจีนผ่านไป 7 ปี และหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง ได้เกิดรัฐสังคมนิยมคอมมิวนิสต์โซเวียตเป็นแห่งแรกบนโลกใบนี้!
เมื่อ ซุน ยัดเซ็น ถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2468 เจียง ไคเชก หนึ่งในผู้เข้าร่วมการปฏิวัติและต่อต้าน “หยวนซื่อข่าย” กับ ซุน ยัดเซ็น ได้ขึ้นเป็นผู้นำชาติจีนนานถึง 21 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2471-2492 โดยมี “เหมา เจ๋อตุง” เป็นผู้นำฝ่ายคอมมิวนิสต์ ที่ต่อสู้กับรัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋งอย่างต่อเนื่อง
เจียงฯ ได้รวบอำนาจด้วยการกำจัดแกนนำพรรคก๊กมินตั๋งคนอื่นๆ และหันกลับไปจับมือกับอเมริกาและญี่ปุ่นอีกครั้ง แถมตั้งตนเป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐจีนอีกด้วย
แต่เจียงฯ ไร้ความสามารถในการแก้ปัญหาของจีน อีกทั้งยังถูกกองทัพญี่ปุ่นรุกรานอีกด้วย ชาวจีนจึงยากจนอย่างแสนสาหัสไปทุกหย่อมหญ้า แถมเจียงฯ กับพวกยังคอร์รัปชันโกงชาติอย่างหนัก การต่อต้านรัฐบาลเจียงฯ จึงขยายตัวอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะชนกลุ่มใหญ่อย่างชาวพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ความที่เจียงฯ เป็นสมุนผู้ซื่อสัตย์ของ “ลุงแซม” อเมริกาจึงอ้าง “การไกล่เกลี่ย”แทรกแซงสงครามภายในของจีน โดยเข้าช่วยเหลือเจียงฯ ในทุกด้านอย่างเต็มที่ เพราะนอกจากผลประโยชน์มหาศาลของอเมริกาในจีนแล้ว ภายใต้การนำของเจียงฯ นั้น ชาติจีนมีสภาพไม่ต่างไปจากเมืองขึ้นของอเมริกานั่นเอง ดังเหมาฯ ได้ให้สัมภาษณ์กับ “เอ.ที.สตีล” ผู้สื่อข่าวอเมริกัน ในหัวข้อ “การไกล่เกลี่ย” ของอเมริกาและอนาคตแห่งสงครามการเมืองของจีน เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2489 ตอนหนึ่งว่า
สตีลถาม : ฯพณฯ ท่านเห็นว่า ที่อเมริกาไกล่เกลี่ยสงครามกลางเมืองของจีนได้ล้มเหลวไปแล้วใช่ไหม?
เหมาฯ ตอบ : ข้าพเจ้าสงสัยเหลือเกินว่า นโยบายของรัฐบาลอเมริกาที่เรียกว่า“การไกล่เกลี่ย” เมื่อพิจารณาในข้อเท็จจริง ที่อเมริกาให้ความช่วยเหลือแก่เจียงฯมากมาย ทำให้เจียงฯ สามารถดำเนินสงครามกลางเมืองอย่างขนานใหญ่เป็นประวัติการณ์แล้ว จะเห็นได้ว่านโยบายของรัฐบาลอเมริกาก็คือ อาศัยสิ่งที่เรียกว่า “การไกล่เกลี่ย” นั้น เป็นเครื่องกำบังเพื่อเสริมความเข้มแข็งให้แก่เจียงฯ ในด้านต่างๆ และบีบคั้นพลังประชาธิปไตยของจีน โดยผ่านนโยบายเข่นฆ่าของเจียงฯ จะได้แปรประเทศจีนให้กลายเป็นเมืองขึ้นของอเมริกาในทางเป็นจริง...
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เหมาฯ จึงนำชาวพรรคคอมมิวนิสต์ พิชิตศึกประเทศจีนสำเร็จในปี พ.ศ. 2492 รัฐสังคมนิยมคอมมิวนิสต์แห่งที่ 2 ก็จุติขึ้นบนโลกใบนี้!
เจียงฯ กับพวกได้เผ่นจากแผ่นดินใหญ่จีนไปตั้งรัฐบาล “จีนคณะชาติ” อยู่ที่เกาะไต้หวันโน่น โดยอเมริกาหนุนรัฐบาลไต้หวันชนิดสุดลิ่มทิ่มประตู จนทานกระแสชาติต่างๆ ในโลกไม่ได้ ปี พ.ศ. 2541 รัฐบาลไต้หวันจึงหลุดจากสมาชิกองค์การสหประชาชาติ เปิดทางให้สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นสมาชิกแทน
เจียง ไคเชก หรือ (เจี่ยง จงเจิ้ง-ภาษาจีนกลาง) ได้ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2518 เมื่ออายุ 88 ปี ซึ่งตรงกับ “วันฮาโลวีน” (วันปล่อยผีของฝรั่ง) และตรงกับ “วันไหว้ผี” (เช็งเม้ง) ของชาวจีนอีกด้วย
การปฏิวัติของ “เหมา เจ๋อตุง” ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้เป็นแบบอย่างการปฏิวัติของคอมมิวนิสต์ในประเทศที่กำลังพัฒนา ทั้งในทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ โดยเฉพาะการใช้ยุทธศาสตร์ “ป่าล้อมเมือง” นั่นคือ ใช้การปฏิวัติของเกษตรกรในชนบทค่อยๆ ขยายตัวสู่ชนชั้นกลางในตัวเมือง
พรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่ได้รับอิทธิพลจากจีน เรียกยุทธศาสตร์ที่เคยใช้นี้ว่า “ชนบทล้อมเมือง”
อืม..ช่างเหมือน “ไอ้เหลี่ยม” ที่ใช้ไพร่แดงในชนบท ปิดล้อมอำมาตย์ในเมืองเลยนะจ๊ะ!