มีข่าวว่ากระทรวงศึกษาธิการจะยุบโรงเรียนขนาดเล็กคือ โรงเรียนที่มีนักเรียนประมาณ 60 คน เมื่อข่าวออกมาก็มีผู้ปกครองออกมาคัดค้านมากมาย
เรื่องขนาดของโรงเรียนนี้มีข้อถกเถียงกันอยู่เป็นประจำ บ้างก็ว่าโรงเรียนควรมีนักเรียนประมาณ 850 คน แต่มีโรงเรียนจำนวนหนึ่งที่มีนักเรียน 2,000-5,000 คน โรงเรียนเหล่านี้เป็นที่นิยมของผู้ปกครอง
ในประเทศอังกฤษมีโรงเรียนเด็กประจำ นักเรียนไม่กี่สิบคนเป็นโรงเรียนเตรียมเด็กเข้าโรงเรียนกินนอนที่เรียกว่า Public School ต่อไป เขาคิดว่าโรงเรียนยิ่งมีนักเรียนน้อยก็ยิ่งดี เพราะครูสามารถเอาใจใส่เด็กเป็นรายบุคคลได้
ผมเองเคยอยู่โรงเรียนขนาดเล็กมีเด็กอยู่ 12 คน หนึ่งในนั้นคือ จักรพันธุ์ โปษยกฤต คือโรงเรียนบ้านครูเนี้ยน เวลานั้นยังไม่มีชื่อ ต่อมาเป็นโรงเรียนอักษรเจริญ
กระทรวงศึกษาฯ คิดแต่จะยุบเลิกโรงเรียนขนาดเล็ก แต่ไม่เคยคิดจะลดขนาดตัวเองลงบ้าง กระทรวงศึกษาธิการของไทยเป็นกระทรวงที่ใหญ่ที่สุดในโลก คนในกระทรวงศึกษาฯ ชอบคิดแต่จะหาทางเพิ่มตำแหน่งให้กับตนเอง เดี๋ยวก็รวม เดี๋ยวก็แยก อย่างเช่น สพฐ.ก็อยากแยกประถมกับมัธยม เป็นต้น
เรื่องการศึกษานี้ หากต้องการคุณภาพจริงๆ แล้วก็ต้องไปเน้นที่โรงเรียนเป็นสำคัญ เราเห็นโรงเรียนดีๆ เขามีการเรียนการสอนดีโดยที่กระทรวงศึกษาธิการไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง การจัดการที่เน้นโรงเรียนนี้ โรงเรียนต้องมีความพอเพียง มีงบประมาณและมีความอิสระพอที่จะจัดการตัวเอง มีโรงเรียนสังกัดท้องถิ่นหลายแห่งที่มีการจัดการตนเองที่ดี เช่น ที่เชียงราย และอุดรธานี เป็นต้น
แต่ครูส่วนใหญ่ก็ยังติดยึดอยู่กับการเป็นครูของกระทรวงศึกษาธิการอยู่ นัยว่ามีเกียรติภูมิดีกว่าการเป็นครูของท้องถิ่น เพราะคนเรียกว่า “ครูเทศบาล”
มีการวิจัยทางการศึกษาหลายชั้นสรุปว่า โรงเรียนดีเพราะมีครูใหญ่หรือผู้อำนวยการที่ดี หัวก้าวหน้านำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาให้ครูและนักเรียนได้เรียนรู้ตลอดเวลา นอกจากนั้นก็ต้องมีครูที่ดี เรื่องครูที่ดีนี้เป็นเรื่องยากแต่จำเป็นต้องมีการพัฒนาครูอยู่เสมอ
แล้วกระทรวงศึกษาธิการทำอะไรนอกเหนือจากการควบคุม สิ่งแรกก็คือ มีหน้าที่กำหนดหลักสูตร แต่เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องมีกระทรวงก็ได้ เพราะนอกจากหลักสูตรจะทำนานๆ ทีแล้ว ก็ยังสามารถทำในรูปคณะกรรมการก็ได้ เมื่อจบเรื่องแล้วก็สลายตัวไป คณะกรรมการก็สามารถนำผู้มีความรู้ความชำนาญมาทำงานร่วมกันได้
เรื่องที่สองที่กระทรวงทำก็คือ การดูแลการบริหารงานบุคคล ซึ่งก็สามารถทำในระดับโรงเรียนได้ และเป็นการเหมาะสมกว่าส่วนการโยกย้ายนั้น หากโรงเรียนส่วนใหญ่สังกัดท้องถิ่นแล้ว หากจะมีการย้ายก็เป็นการย้ายภายในจังหวัดเดียวกัน
เรื่องที่ส่วนกลางทำ และอยากทำต่อไปเรื่อยๆ ก็คือ การจัดจ้างจัดซื้อซึ่งเป็นบ่อเกิดของการทุจริต การจัดจ้างจัดซื้อสามารถทำที่โรงเรียน หรือทำเป็นกลุ่มโรงเรียนเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองได้
มีกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่ส่วนกลางจัดทำอยู่ คือ การควบคุมคุณภาพ การควบคุมคุณภาพนี้ก็สามารถจะกระจายอำนาจมอบหมายให้เอกชนทำได้ โดยมีคณะกรรมการกลางคอยดูแล เวลานี้ภาคเอกชนก็เข้ามามีส่วนร่วมในระดับหนึ่งแล้ว
งานศึกษานิเทศก์ก็มีความสำคัญ แต่สามารถจัดตั้งเป็นกลุ่มๆ อยู่ตามภูมิภาคได้ ซึ่งจะเป็นการสะดวกกว่า นอกจากนั้นภาคเอกชน เช่น สำนักพิมพ์ก็ยังจัดอบรมสัมมนาครูอยู่บ่อยๆ
สรุปแล้วงานส่วนใหญ่ของกระทรวงศึกษาธิการ สามารถมีการจัดการใหม่ได้ และคนในส่วนกลางก็จะลดลงเหลือไม่กี่ร้อยคน
เรามายุบกระทรวงศึกษาธิการกันดีกว่า
เรื่องขนาดของโรงเรียนนี้มีข้อถกเถียงกันอยู่เป็นประจำ บ้างก็ว่าโรงเรียนควรมีนักเรียนประมาณ 850 คน แต่มีโรงเรียนจำนวนหนึ่งที่มีนักเรียน 2,000-5,000 คน โรงเรียนเหล่านี้เป็นที่นิยมของผู้ปกครอง
ในประเทศอังกฤษมีโรงเรียนเด็กประจำ นักเรียนไม่กี่สิบคนเป็นโรงเรียนเตรียมเด็กเข้าโรงเรียนกินนอนที่เรียกว่า Public School ต่อไป เขาคิดว่าโรงเรียนยิ่งมีนักเรียนน้อยก็ยิ่งดี เพราะครูสามารถเอาใจใส่เด็กเป็นรายบุคคลได้
ผมเองเคยอยู่โรงเรียนขนาดเล็กมีเด็กอยู่ 12 คน หนึ่งในนั้นคือ จักรพันธุ์ โปษยกฤต คือโรงเรียนบ้านครูเนี้ยน เวลานั้นยังไม่มีชื่อ ต่อมาเป็นโรงเรียนอักษรเจริญ
กระทรวงศึกษาฯ คิดแต่จะยุบเลิกโรงเรียนขนาดเล็ก แต่ไม่เคยคิดจะลดขนาดตัวเองลงบ้าง กระทรวงศึกษาธิการของไทยเป็นกระทรวงที่ใหญ่ที่สุดในโลก คนในกระทรวงศึกษาฯ ชอบคิดแต่จะหาทางเพิ่มตำแหน่งให้กับตนเอง เดี๋ยวก็รวม เดี๋ยวก็แยก อย่างเช่น สพฐ.ก็อยากแยกประถมกับมัธยม เป็นต้น
เรื่องการศึกษานี้ หากต้องการคุณภาพจริงๆ แล้วก็ต้องไปเน้นที่โรงเรียนเป็นสำคัญ เราเห็นโรงเรียนดีๆ เขามีการเรียนการสอนดีโดยที่กระทรวงศึกษาธิการไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง การจัดการที่เน้นโรงเรียนนี้ โรงเรียนต้องมีความพอเพียง มีงบประมาณและมีความอิสระพอที่จะจัดการตัวเอง มีโรงเรียนสังกัดท้องถิ่นหลายแห่งที่มีการจัดการตนเองที่ดี เช่น ที่เชียงราย และอุดรธานี เป็นต้น
แต่ครูส่วนใหญ่ก็ยังติดยึดอยู่กับการเป็นครูของกระทรวงศึกษาธิการอยู่ นัยว่ามีเกียรติภูมิดีกว่าการเป็นครูของท้องถิ่น เพราะคนเรียกว่า “ครูเทศบาล”
มีการวิจัยทางการศึกษาหลายชั้นสรุปว่า โรงเรียนดีเพราะมีครูใหญ่หรือผู้อำนวยการที่ดี หัวก้าวหน้านำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาให้ครูและนักเรียนได้เรียนรู้ตลอดเวลา นอกจากนั้นก็ต้องมีครูที่ดี เรื่องครูที่ดีนี้เป็นเรื่องยากแต่จำเป็นต้องมีการพัฒนาครูอยู่เสมอ
แล้วกระทรวงศึกษาธิการทำอะไรนอกเหนือจากการควบคุม สิ่งแรกก็คือ มีหน้าที่กำหนดหลักสูตร แต่เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องมีกระทรวงก็ได้ เพราะนอกจากหลักสูตรจะทำนานๆ ทีแล้ว ก็ยังสามารถทำในรูปคณะกรรมการก็ได้ เมื่อจบเรื่องแล้วก็สลายตัวไป คณะกรรมการก็สามารถนำผู้มีความรู้ความชำนาญมาทำงานร่วมกันได้
เรื่องที่สองที่กระทรวงทำก็คือ การดูแลการบริหารงานบุคคล ซึ่งก็สามารถทำในระดับโรงเรียนได้ และเป็นการเหมาะสมกว่าส่วนการโยกย้ายนั้น หากโรงเรียนส่วนใหญ่สังกัดท้องถิ่นแล้ว หากจะมีการย้ายก็เป็นการย้ายภายในจังหวัดเดียวกัน
เรื่องที่ส่วนกลางทำ และอยากทำต่อไปเรื่อยๆ ก็คือ การจัดจ้างจัดซื้อซึ่งเป็นบ่อเกิดของการทุจริต การจัดจ้างจัดซื้อสามารถทำที่โรงเรียน หรือทำเป็นกลุ่มโรงเรียนเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองได้
มีกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่ส่วนกลางจัดทำอยู่ คือ การควบคุมคุณภาพ การควบคุมคุณภาพนี้ก็สามารถจะกระจายอำนาจมอบหมายให้เอกชนทำได้ โดยมีคณะกรรมการกลางคอยดูแล เวลานี้ภาคเอกชนก็เข้ามามีส่วนร่วมในระดับหนึ่งแล้ว
งานศึกษานิเทศก์ก็มีความสำคัญ แต่สามารถจัดตั้งเป็นกลุ่มๆ อยู่ตามภูมิภาคได้ ซึ่งจะเป็นการสะดวกกว่า นอกจากนั้นภาคเอกชน เช่น สำนักพิมพ์ก็ยังจัดอบรมสัมมนาครูอยู่บ่อยๆ
สรุปแล้วงานส่วนใหญ่ของกระทรวงศึกษาธิการ สามารถมีการจัดการใหม่ได้ และคนในส่วนกลางก็จะลดลงเหลือไม่กี่ร้อยคน
เรามายุบกระทรวงศึกษาธิการกันดีกว่า