วานนี้(14 พ.ค.56) ตั้งแต่เช้ามืดที่ประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล สมาชิกสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และ สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย จำนวนมาก นำโดย นายธนภณ กิจการญจน์ นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย ได้ชุมนุม เพื่อเรียกร้องขอให้รัฐบาลทบทวนการจัดสรรรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)ปีงบประมาณ 2557 จาก ร้อยละ 27.28 ของรายได้สุทธิของรัฐบาล เป็นร้อยละ 30
โดยข้อเรียกร้องส่วนของการประมาณการการจัดเก็บรายได้ของท้องถิ่นที่ปี 57 รัฐบาลประมาณการว่าท้องถิ่นจะจัดเก็บรายได้ประมาณ 56,000 ล้านล้านบาท ซึ่งตามสถิติที่ผ่านมาที่จัดเก็บได้ประมาณ 40,000-45,000 ล้านบาท และอัตราเติบโตอยู่ที่ปีละ 2,000-2,500 ล้านบาท และคาดว่าปี 57 จะจัดเก็บได้ประมาณ 46,000 ล้านบาทเท่านั้น "ซึ่งตัวเลขประมาณการของรัฐบาลเกินกว่าความเป็นจริง เป็นตัวเลขลมที่ไม่สามารถไปสู่ท้องถิ่นได้จริง รวมทั้งนโยบายแห่งรัฐเรื่อง อสม. เชิงรุกที่จ่ายให้อสม. 600บาท/เดือน ซึ่งปีนี้รัฐบาลตั้งงบไว้ 7.6พันล้านบาท ทั้งที่มติครม.ให้กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ จัดหารายได้เพื่อทำโครงการนี้ โดยไม่ให้รวมในสัดส่วนของท้องถิ่นตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา แต่ยังมีการรวมอยู่ในนี้ด้วย จึงขอให้ถอดโครงการนี้ออกจากสัดส่วนรายได้ของท้องถิ่น
ส่วนนโยบาย พัฒนาอปท.กรณีเร่งด่วน วงเงิน1หมื่นล้านบาท ที่มีการอุดหนุนเฉพาะกิจ จะทำให้การจัดสรรกระจุกตัว เลือกปฏิบัติ และข้อเรียกร้องสุดท้ายคือการชดเชยค่าแรงที่เพิ่มขึ้นเป็น 300บาท/วัน และเงินเดือนผู้จบปริญญาตรี 15,000บาท/เดือน ที่มีการระบุว่าจะมีการชดเชยให้กรณีที่ที่ท้องถิ่นรับผลกระทบ คิดเป็นเงินประมาณ 6,200 ล้านบาท ในงบประมาณปี 2556 โดยให้ท้องถิ่นนำเงินค่าอุดหนุนทั่วไปของท้องถิ่นมาชดเชยก่อน แต่ปรากฏว่าตอนนี้รัฐบาลยังไม่มีการชดเชยคืนมา
ต่อมากลุ่มผู้ชุมนุมได้ส่งตัวแทน 9 คน เข้าเจรจากับนายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายวราเทพ กล่าวว่า ข้อเสนอที่ผู้ชุมนุมต้องการให้รัฐบาลทบทวนการจัดสรรงบประมาณให้อปท. เป็นร้อยละ 30 ของเงินรายได้รัฐบาล จากที่สำนักงบประมาณได้พิจารณาการจัดสรรไว้ ที่ร้อยละ 27.28 ตนจะนำข้อเสนอดังกล่าวเสนอต่อ ครม.ว่าจะทบทวนได้หรือไม่ หรืออาจจะเป็น ตัวเลขที่กกถ.ที่เสนอไว้ ที่ร้อยละ 27.77 ซึ่งก็ต้องดูว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีความเห็นอย่างไร ส่วนข้อเสนอที่ต้องการให้รัฐบาลถอดภารกิจที่เป็นนโยบายของรัฐบาล ออกจากสัดส่วนรายได้ของท้องถิ่นนั้น ก็ต้องมีการหารือกัน และในการพิจารณางบปี 58
ตนในฐานะ ประธานอนุกรรมการด้านการเงินการคลัง ใน กกถ. ก็จะมีการทบทวนการกำหนดสัดส่วนรายได้และภารกิจต่างๆก่อนที่จะพิจารณาออกเป็นกฎหมาย ส่วนเรื่องของ ปีนี้ก็ต้องดูเท่าที่ทำได้ก่อน ทั้งนี้หากจะให้ทำตามข้อเรียกร้องทันที คงเป็นไปได้ยาก เพราะหากดำเนินการตากข้อเรียกร้องวงเงินจะก้าวกระโดดมาก และงบประมาณในปีนี้ ที่สำนักงบประมาณได้ตั้งงบประมาณมาแล้วคงจะแก้อะไรได้ไม่มากนัก และอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายประจำปีส่วนหนึ่ง ก็อยู่ที่สภาผู้แทนราษฎรที่จะแปรญัติปรับเพิ่มด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ต่อมาช่วงบ่ายผู้ชุมนุมยอมสลาย และประกาศกลับมาใหม่ในวันที่ 28-29 พ.ค. โดยจะรวมพลให้ได้ 1 แสนคน มาที่ทำเนียบ และที่อาคารรัฐสภา
ช่วงเย็นนายวราเทพ ภายหลังนำข้อเสนอเข้าสู่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม. ) ว่า เนื่องจากเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณารายละเอียด ครม.ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงบประมาณ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ไปพิจารณาร่วมกันและชี้แจงให้กับอปท.รับทราบ หลังจากการประชุมครม.ตนได้มีการหารือร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และสำนักงบประมาณ ได้ข้อสรุปว่า การขอเพิ่มงบประมาณเป็นร้อยละ 30 นั้น ปัจจุบันรัฐบาลได้เพิ่มในสัดส่วนที่มากกว่าทุกครั้งอยู่แล้ว และคงเป็นไปได้ยาก เพราะจะต้องใช้เม็ดเงินสูงถึง 6 หมื่นล้านบาท ขณะที่รัฐบาลมีวงเงินเพิ่มในวงเงินเพียง 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งก็มีภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องของเงินเดือน และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล
หากต้องไปเพิ่มถึง 6 หมื่นล้านบาท ครึ่งหนึ่งของงบประมาณเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำงานได้ ส่วนจะสามารถเพิ่มได้ในสัดส่วนเท่าไรนั้น ครม.ได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 เสนอต่อสภาฯแล้ว ดังนั้นข้อเรียกร้องของอปท. ได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยไปพิจารณาในชั้นของการแปรญัตติเพิ่มเติมในการประชุมสภาฯ ส่วนข้อเรียกร้องอื่นๆ ครม.ได้มอบหมายให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างตัวแทนของอปท.กับอนุกรรมการการเงินการคลัง กกถ. ที่จะกำหนดประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยจะมีการทำหนังสือแจ้งไปยังอปท.ทั้ง 3 สมาคมต่อไป
วันเดียวกัน ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมหรือ พีมูฟ ได้เคลื่อนขบวนเพื่อรอฟังความคืบหน้าผลการประชุม ครม. พร้อมปิดประตูทางเข้า-ออกทำเนียบทุกด้าน
ขณะที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี ที่เข้าประชุม ครม. ก็มีสีหน้าเคร่งเครียด ภายหลังนายสุพร อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกฯ รายงานสถานการณ์ม็อบพีมูฟปิดล้อมทำเนียบ เพื่อเรียกร้องกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ไปรับปากว่าจะผลักดันเข้าที่ประชุม
อย่างไรก็ตามช่วงบ่าย กลุ่มพีมูฟได้กลับไปรวมตัวกันที่ข้างกระทรวงศึกษาเหมือนเดิม หลังมีการนำ 4 ข้อเรียกร้องเข้าสู่การพิจารณาในคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทำให้การจราจรกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
โดยข้อเรียกร้องส่วนของการประมาณการการจัดเก็บรายได้ของท้องถิ่นที่ปี 57 รัฐบาลประมาณการว่าท้องถิ่นจะจัดเก็บรายได้ประมาณ 56,000 ล้านล้านบาท ซึ่งตามสถิติที่ผ่านมาที่จัดเก็บได้ประมาณ 40,000-45,000 ล้านบาท และอัตราเติบโตอยู่ที่ปีละ 2,000-2,500 ล้านบาท และคาดว่าปี 57 จะจัดเก็บได้ประมาณ 46,000 ล้านบาทเท่านั้น "ซึ่งตัวเลขประมาณการของรัฐบาลเกินกว่าความเป็นจริง เป็นตัวเลขลมที่ไม่สามารถไปสู่ท้องถิ่นได้จริง รวมทั้งนโยบายแห่งรัฐเรื่อง อสม. เชิงรุกที่จ่ายให้อสม. 600บาท/เดือน ซึ่งปีนี้รัฐบาลตั้งงบไว้ 7.6พันล้านบาท ทั้งที่มติครม.ให้กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ จัดหารายได้เพื่อทำโครงการนี้ โดยไม่ให้รวมในสัดส่วนของท้องถิ่นตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา แต่ยังมีการรวมอยู่ในนี้ด้วย จึงขอให้ถอดโครงการนี้ออกจากสัดส่วนรายได้ของท้องถิ่น
ส่วนนโยบาย พัฒนาอปท.กรณีเร่งด่วน วงเงิน1หมื่นล้านบาท ที่มีการอุดหนุนเฉพาะกิจ จะทำให้การจัดสรรกระจุกตัว เลือกปฏิบัติ และข้อเรียกร้องสุดท้ายคือการชดเชยค่าแรงที่เพิ่มขึ้นเป็น 300บาท/วัน และเงินเดือนผู้จบปริญญาตรี 15,000บาท/เดือน ที่มีการระบุว่าจะมีการชดเชยให้กรณีที่ที่ท้องถิ่นรับผลกระทบ คิดเป็นเงินประมาณ 6,200 ล้านบาท ในงบประมาณปี 2556 โดยให้ท้องถิ่นนำเงินค่าอุดหนุนทั่วไปของท้องถิ่นมาชดเชยก่อน แต่ปรากฏว่าตอนนี้รัฐบาลยังไม่มีการชดเชยคืนมา
ต่อมากลุ่มผู้ชุมนุมได้ส่งตัวแทน 9 คน เข้าเจรจากับนายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายวราเทพ กล่าวว่า ข้อเสนอที่ผู้ชุมนุมต้องการให้รัฐบาลทบทวนการจัดสรรงบประมาณให้อปท. เป็นร้อยละ 30 ของเงินรายได้รัฐบาล จากที่สำนักงบประมาณได้พิจารณาการจัดสรรไว้ ที่ร้อยละ 27.28 ตนจะนำข้อเสนอดังกล่าวเสนอต่อ ครม.ว่าจะทบทวนได้หรือไม่ หรืออาจจะเป็น ตัวเลขที่กกถ.ที่เสนอไว้ ที่ร้อยละ 27.77 ซึ่งก็ต้องดูว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีความเห็นอย่างไร ส่วนข้อเสนอที่ต้องการให้รัฐบาลถอดภารกิจที่เป็นนโยบายของรัฐบาล ออกจากสัดส่วนรายได้ของท้องถิ่นนั้น ก็ต้องมีการหารือกัน และในการพิจารณางบปี 58
ตนในฐานะ ประธานอนุกรรมการด้านการเงินการคลัง ใน กกถ. ก็จะมีการทบทวนการกำหนดสัดส่วนรายได้และภารกิจต่างๆก่อนที่จะพิจารณาออกเป็นกฎหมาย ส่วนเรื่องของ ปีนี้ก็ต้องดูเท่าที่ทำได้ก่อน ทั้งนี้หากจะให้ทำตามข้อเรียกร้องทันที คงเป็นไปได้ยาก เพราะหากดำเนินการตากข้อเรียกร้องวงเงินจะก้าวกระโดดมาก และงบประมาณในปีนี้ ที่สำนักงบประมาณได้ตั้งงบประมาณมาแล้วคงจะแก้อะไรได้ไม่มากนัก และอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายประจำปีส่วนหนึ่ง ก็อยู่ที่สภาผู้แทนราษฎรที่จะแปรญัติปรับเพิ่มด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ต่อมาช่วงบ่ายผู้ชุมนุมยอมสลาย และประกาศกลับมาใหม่ในวันที่ 28-29 พ.ค. โดยจะรวมพลให้ได้ 1 แสนคน มาที่ทำเนียบ และที่อาคารรัฐสภา
ช่วงเย็นนายวราเทพ ภายหลังนำข้อเสนอเข้าสู่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม. ) ว่า เนื่องจากเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณารายละเอียด ครม.ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงบประมาณ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ไปพิจารณาร่วมกันและชี้แจงให้กับอปท.รับทราบ หลังจากการประชุมครม.ตนได้มีการหารือร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และสำนักงบประมาณ ได้ข้อสรุปว่า การขอเพิ่มงบประมาณเป็นร้อยละ 30 นั้น ปัจจุบันรัฐบาลได้เพิ่มในสัดส่วนที่มากกว่าทุกครั้งอยู่แล้ว และคงเป็นไปได้ยาก เพราะจะต้องใช้เม็ดเงินสูงถึง 6 หมื่นล้านบาท ขณะที่รัฐบาลมีวงเงินเพิ่มในวงเงินเพียง 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งก็มีภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องของเงินเดือน และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล
หากต้องไปเพิ่มถึง 6 หมื่นล้านบาท ครึ่งหนึ่งของงบประมาณเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำงานได้ ส่วนจะสามารถเพิ่มได้ในสัดส่วนเท่าไรนั้น ครม.ได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 เสนอต่อสภาฯแล้ว ดังนั้นข้อเรียกร้องของอปท. ได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยไปพิจารณาในชั้นของการแปรญัตติเพิ่มเติมในการประชุมสภาฯ ส่วนข้อเรียกร้องอื่นๆ ครม.ได้มอบหมายให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างตัวแทนของอปท.กับอนุกรรมการการเงินการคลัง กกถ. ที่จะกำหนดประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยจะมีการทำหนังสือแจ้งไปยังอปท.ทั้ง 3 สมาคมต่อไป
วันเดียวกัน ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมหรือ พีมูฟ ได้เคลื่อนขบวนเพื่อรอฟังความคืบหน้าผลการประชุม ครม. พร้อมปิดประตูทางเข้า-ออกทำเนียบทุกด้าน
ขณะที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี ที่เข้าประชุม ครม. ก็มีสีหน้าเคร่งเครียด ภายหลังนายสุพร อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกฯ รายงานสถานการณ์ม็อบพีมูฟปิดล้อมทำเนียบ เพื่อเรียกร้องกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ไปรับปากว่าจะผลักดันเข้าที่ประชุม
อย่างไรก็ตามช่วงบ่าย กลุ่มพีมูฟได้กลับไปรวมตัวกันที่ข้างกระทรวงศึกษาเหมือนเดิม หลังมีการนำ 4 ข้อเรียกร้องเข้าสู่การพิจารณาในคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทำให้การจราจรกลับเข้าสู่ภาวะปกติ