นายอัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงแนวโน้มการขยายตัวของตลาดพม่า หลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปี 2558 ว่า เศรษฐกิจพม่าหลังปี 2558 จะขยายตัวจากปีละ 6.7% เป็น 7.6% ซึ่งจะทำให้การนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ทั้งความต้องการสินค้า และวัตถุดิบเพื่อการผลิต สำหรับไทย แม้ปัจจุบันไทยขาดดุลการค้าให้พม่า เพราะสินค้านำเข้าเป็นเชื้อเพลิง และก๊าซธรรมชาติ แต่การส่งออกรวมไทยไปพม่ายังขยายตัวสูง
ทั้งนี้ ประเมินว่าหลังปี 2558 ไทยจะส่งออกไปพม่าเพิ่มจากปัจจุบัน 3,111 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัวเฉลี่ยปีละ 12% เป็น 5,100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัวเฉลี่ยปีละ 14% และด้านการลงทุนพม่ามีโอกาสขยายตัวได้อีก 200-400% หรือมูลค่ารวม 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ จากปัจจุบัน 4.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับธุรกิจที่มีโอกาสดี คือ โรงแรม การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมภาคการผลิต และธุรกิจโทรคมนาคม อุตสาหกรรมเกษตร และแปรรูป เช่น ข้าว ยางพารา เสื้อผ้า และกลุ่มสินค้าโอท็อป จะทำให้ไทยขาดดุลการค้าได้ลดลงในอนาคต หลังเปิดเออีซี
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงการลงทุนในพม่า คือ ต้นทุนในการทำธุรกิจปรับสูงขึ้นผิดปกติ ได้แก่ ค่าจ้างแรงงาน โดยในเมืองใหญ่มีค่าจ้างมากกว่า 120 บาท ต่อวัน ขณะที่ในย่างกุ้ง อยู่ที่ระดับ 150 บาทต่อวัน ไม่รวมค่าสวัสดิการ การรับส่งพนักงาน และอาหาร ที่ต้องมีให้พนักงาน ซึ่งเชื่อว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า ค่าแรงในพม่าจะปรับขึ้นสูงถึง 250 บาทต่อวัน ทั่วประเทศ
ขณะที่ราคาที่ดินปรับเพิ่มสูงขึ้นกว่า 200-300% ซึ่งราคาที่ดินนอกเขตอุตสาหกรรม จะสูงกว่าในเขตอุตสาหกรรม โดยราคาซื้อขาย และเช่าที่ดินในกรุงย่างกุ้ง ในปี 2552 อยู่ที่ไร่ละ 15.5 ล้านบาท ในปี 2556 อยู่ที่ไร่ละ 128 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 450% และในปี 2559 คาดว่าจะอยู่ที่ไร่ละ 232 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 900% ส่วนที่ดินในเมืองมัณฑะเลย์ ในปี 2556 อยู่ที่ไร่ละ 35.6 ล้านบาท และในปี 2559 จะอยู่ที่ไร่ละ 61.9 ล้านบาท ส่วนราคาที่ดินในทวาย ในปี 2556 อยู่ที่ไร่ละ 110 ล้านบาท และในปี 2559 จะอยู่ที่ไร่ละ 140 ล้านบาท
นายอัทธ์ กล่าวด้วยว่า รัฐบาลไทยควรจะหารือร่วมกับรัฐบาลพม่า เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา ผ่อนคลาย กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการทำการค้าระหว่างกัน และดูแลต้นทุนในการทำธุรกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนการทำธุรกิจในพม่าสูงขึ้นอย่างผิดปกติ รวมถึงระบบสาธารณูปโภคที่ยังไม่พัฒนาเต็มที่ ทั้งไฟฟ้า เครือข่ายโทรศัพท์ ระบบอินเตอร์เน็ต ตลอดจนพม่ายังคงติดบัญชีดำประเทศที่มีความเสี่ยงสูง ของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อการดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน (FATF)
ทั้งนี้ ประเมินว่าหลังปี 2558 ไทยจะส่งออกไปพม่าเพิ่มจากปัจจุบัน 3,111 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัวเฉลี่ยปีละ 12% เป็น 5,100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัวเฉลี่ยปีละ 14% และด้านการลงทุนพม่ามีโอกาสขยายตัวได้อีก 200-400% หรือมูลค่ารวม 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ จากปัจจุบัน 4.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับธุรกิจที่มีโอกาสดี คือ โรงแรม การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมภาคการผลิต และธุรกิจโทรคมนาคม อุตสาหกรรมเกษตร และแปรรูป เช่น ข้าว ยางพารา เสื้อผ้า และกลุ่มสินค้าโอท็อป จะทำให้ไทยขาดดุลการค้าได้ลดลงในอนาคต หลังเปิดเออีซี
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงการลงทุนในพม่า คือ ต้นทุนในการทำธุรกิจปรับสูงขึ้นผิดปกติ ได้แก่ ค่าจ้างแรงงาน โดยในเมืองใหญ่มีค่าจ้างมากกว่า 120 บาท ต่อวัน ขณะที่ในย่างกุ้ง อยู่ที่ระดับ 150 บาทต่อวัน ไม่รวมค่าสวัสดิการ การรับส่งพนักงาน และอาหาร ที่ต้องมีให้พนักงาน ซึ่งเชื่อว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า ค่าแรงในพม่าจะปรับขึ้นสูงถึง 250 บาทต่อวัน ทั่วประเทศ
ขณะที่ราคาที่ดินปรับเพิ่มสูงขึ้นกว่า 200-300% ซึ่งราคาที่ดินนอกเขตอุตสาหกรรม จะสูงกว่าในเขตอุตสาหกรรม โดยราคาซื้อขาย และเช่าที่ดินในกรุงย่างกุ้ง ในปี 2552 อยู่ที่ไร่ละ 15.5 ล้านบาท ในปี 2556 อยู่ที่ไร่ละ 128 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 450% และในปี 2559 คาดว่าจะอยู่ที่ไร่ละ 232 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 900% ส่วนที่ดินในเมืองมัณฑะเลย์ ในปี 2556 อยู่ที่ไร่ละ 35.6 ล้านบาท และในปี 2559 จะอยู่ที่ไร่ละ 61.9 ล้านบาท ส่วนราคาที่ดินในทวาย ในปี 2556 อยู่ที่ไร่ละ 110 ล้านบาท และในปี 2559 จะอยู่ที่ไร่ละ 140 ล้านบาท
นายอัทธ์ กล่าวด้วยว่า รัฐบาลไทยควรจะหารือร่วมกับรัฐบาลพม่า เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา ผ่อนคลาย กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการทำการค้าระหว่างกัน และดูแลต้นทุนในการทำธุรกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนการทำธุรกิจในพม่าสูงขึ้นอย่างผิดปกติ รวมถึงระบบสาธารณูปโภคที่ยังไม่พัฒนาเต็มที่ ทั้งไฟฟ้า เครือข่ายโทรศัพท์ ระบบอินเตอร์เน็ต ตลอดจนพม่ายังคงติดบัญชีดำประเทศที่มีความเสี่ยงสูง ของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อการดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน (FATF)