ที่ห้องพิจารณาคดี 701 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก วานนี้ (2 พ.ค.) ศาลนัดสืบพยานโจทก์ คดีหมายเลขดำ 2542/2553 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อดีตประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กับพวกรวม 24 คน เป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันก่อการร้าย,ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน และฝ่าฝืน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เหตุเกิดระหว่างวันที่ 28 ก.พ. - 20 พ.ค.53 ต่อเนื่องกัน เพื่อกดดันให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา
โดยอัยการโจทก์ได้ให้ นายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ขึ้นเบิกความ เป็นพยานปากที่ 2 โดยระบุว่า ช่วงมี.ค.-พ.ค.53 รับราชการเป็นเลขาธิการ สมช. มีหน้าที่ให้คำแนะนำ และคำปรึกษานายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการออกนโยบายความมั่นคง สังคม เศรษฐกิจ ความสงบเรียบร้อยต่างๆ โครงสร้าง สมช. มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานโดยตำแหน่ง มีรมว.กลาโหม , รมว.คมนาคม, รมว.มหาดไทย, รมว.ต่างประเทศ, รมว.คมนาคม และ ผบ.สส. เป็นสมาชิกสภา ประสานด้านการข่าวกับหน่วยข่าวกรองแห่งชาติ หน่วยข่าวของเหล่าทัพ และตำรวจสันติบาล
นายถวิลเบิกความต่อว่า หลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 ก.ย.49 มีคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) บริหารประเทศชั่วคราว จากนั้นได้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พ.ศ. 2550 และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ปรากฏว่า พรรคพลังประชาชนได้รับเสียงข้างมาก ชนะการเลือกตั้งจนนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลพรรคพลังประชาชน และมี นายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ประมาณ 7 เดือน แต่ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติว่าขาดคุณสมบัติ
ต่อมาสภาผู้แทนราษฎรได้โหวตเลือกนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี อยู่ได้เพียง 3 เดือน ก็พ้นตำแหน่งเนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคพลังประชาชน
ทั้งนี้ ในช่วงดังกล่าวนั้นมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) จากนั้นประมาณปลายปี 2551 สภาผู้แทนราษฎรก็ได้มีการโหวตเลือกตัวนายกรัฐมนตรี ปรากฏว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เสียงข้างมาก ซึ่งนายอภิสิทธิ์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีนั้นเห็นว่าเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย และกฎหมายรัฐธรรมนูญ ขณะที่คนเสื้อแดงเห็นการได้มาซึ่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นไม่ถูกต้อง เป็นการปล้นอำนาจมาจากประชาชน และช่วงนั้นได้มีการจัดตั้งแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปก.) ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นำคนเสื้อแดงออกมาเคลื่อนไหว คัดค้านอย่างต่อเนื่อง โดยสรุปบทเรียนและนำการรูปแบบการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ มาใช้เคลื่อนไหว เนื่องจากเห็นว่าเป็นการชุมนุมที่ได้ผลสำเร็จ และมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดง ภายนอกสภานั้นก็มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพรรคเพื่อไทย โดยนักการเมืองพรรคพลังประชาชน หรือพรรคเพื่อไทย รวมทั้งแกนนำเสื้อแดง ก็ได้ออกมายอมรับด้วยตัวเอง อีกทั้งการชุมนุมสัญจรของคนเสื้อแดงแต่ละครั้ง เช่น ที่เมืองทองธานี สนามศุภชลาศัย สนามราชมังคลากีฬาสถาน หรือสนามหลวง จะมีผู้ชุมนุมเข้าร่วมจำนวนมากประมาณ 3-4 หมื่น ซึ่งการชุมนุมแต่ละครั้ง ต้องมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก เชื่อว่าได้รับการสนับสนุนจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี รวมทั้งนักการเมืองส่วนหนึ่งที่อยู่ในพรรคพลังประชาชน หรือพรรคเพื่อไทย
ทั้งนี้ในช่วงบ่ายอัยการจะเบิกตัว พ.อ.ธนากร โชติพงษ์ นายทหารปฏิบัติการ กรมข่าวทหารบก พยานโจทก์ปากแรกเพื่อให้ทนายจำเลยได้ซักค้านต่อ ส่วนนายถวิล จะเบิกความอีกครั้งในวันนี้
โดยอัยการโจทก์ได้ให้ นายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ขึ้นเบิกความ เป็นพยานปากที่ 2 โดยระบุว่า ช่วงมี.ค.-พ.ค.53 รับราชการเป็นเลขาธิการ สมช. มีหน้าที่ให้คำแนะนำ และคำปรึกษานายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการออกนโยบายความมั่นคง สังคม เศรษฐกิจ ความสงบเรียบร้อยต่างๆ โครงสร้าง สมช. มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานโดยตำแหน่ง มีรมว.กลาโหม , รมว.คมนาคม, รมว.มหาดไทย, รมว.ต่างประเทศ, รมว.คมนาคม และ ผบ.สส. เป็นสมาชิกสภา ประสานด้านการข่าวกับหน่วยข่าวกรองแห่งชาติ หน่วยข่าวของเหล่าทัพ และตำรวจสันติบาล
นายถวิลเบิกความต่อว่า หลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 ก.ย.49 มีคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) บริหารประเทศชั่วคราว จากนั้นได้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พ.ศ. 2550 และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ปรากฏว่า พรรคพลังประชาชนได้รับเสียงข้างมาก ชนะการเลือกตั้งจนนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลพรรคพลังประชาชน และมี นายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ประมาณ 7 เดือน แต่ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติว่าขาดคุณสมบัติ
ต่อมาสภาผู้แทนราษฎรได้โหวตเลือกนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี อยู่ได้เพียง 3 เดือน ก็พ้นตำแหน่งเนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคพลังประชาชน
ทั้งนี้ ในช่วงดังกล่าวนั้นมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) จากนั้นประมาณปลายปี 2551 สภาผู้แทนราษฎรก็ได้มีการโหวตเลือกตัวนายกรัฐมนตรี ปรากฏว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เสียงข้างมาก ซึ่งนายอภิสิทธิ์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีนั้นเห็นว่าเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย และกฎหมายรัฐธรรมนูญ ขณะที่คนเสื้อแดงเห็นการได้มาซึ่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นไม่ถูกต้อง เป็นการปล้นอำนาจมาจากประชาชน และช่วงนั้นได้มีการจัดตั้งแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปก.) ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นำคนเสื้อแดงออกมาเคลื่อนไหว คัดค้านอย่างต่อเนื่อง โดยสรุปบทเรียนและนำการรูปแบบการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ มาใช้เคลื่อนไหว เนื่องจากเห็นว่าเป็นการชุมนุมที่ได้ผลสำเร็จ และมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดง ภายนอกสภานั้นก็มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพรรคเพื่อไทย โดยนักการเมืองพรรคพลังประชาชน หรือพรรคเพื่อไทย รวมทั้งแกนนำเสื้อแดง ก็ได้ออกมายอมรับด้วยตัวเอง อีกทั้งการชุมนุมสัญจรของคนเสื้อแดงแต่ละครั้ง เช่น ที่เมืองทองธานี สนามศุภชลาศัย สนามราชมังคลากีฬาสถาน หรือสนามหลวง จะมีผู้ชุมนุมเข้าร่วมจำนวนมากประมาณ 3-4 หมื่น ซึ่งการชุมนุมแต่ละครั้ง ต้องมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก เชื่อว่าได้รับการสนับสนุนจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี รวมทั้งนักการเมืองส่วนหนึ่งที่อยู่ในพรรคพลังประชาชน หรือพรรคเพื่อไทย
ทั้งนี้ในช่วงบ่ายอัยการจะเบิกตัว พ.อ.ธนากร โชติพงษ์ นายทหารปฏิบัติการ กรมข่าวทหารบก พยานโจทก์ปากแรกเพื่อให้ทนายจำเลยได้ซักค้านต่อ ส่วนนายถวิล จะเบิกความอีกครั้งในวันนี้