พิจิตร - สุ่มตรวจกองทุนสตรีเมืองชาละวัน 1 ในผลงานชิ้นโบว์แดงรัฐบาล “ปู” ส่งกลิ่นหึ่ง พบทั้งจังหวัดมีพอไปได้ 5 โครงการ ที่เหลือเกือบ 200 ถลุงเงินกันเละ เผยมีทั้งตั้งกลุ่มหลอก - เขียนโครงการสวยหรู แต่เอาเงินไปผ่อนบ้าน ผ่อนรถ -ขู่กรรมการไม่อนุมัติเจอร้องเรียนสารพัด
รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ที่ดูเหมือนจะเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของรัฐบาลปู-ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เริ่มปรากฏปัญหาโผล่ขึ้นมาให้เห็นแล้ว โดยที่จังหวัดพิจิตร พบปัญหาการปล่อยกู้แบบเร่งรีบ ทำให้ขาดการพิจารณารายละเอียดของโครงการ, กลุ่มสตรีที่ตั้งขึ้นมา ไม่ได้มีการรวมกลุ่มอย่างแท้จริง, ผู้กู้กดดัน หากไม่ได้รับเงินกู้ก็ข่มขู่ว่าจะร้องเรียน เป็นต้น
ล่าสุดในการประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการเงินกู้ของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีพิจิตร ครั้งที่ 5 ที่ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิจิตร ศาลากลางจังหวัด ซึ่งมีนายจักริน เปลี่ยนวงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร พร้อมด้วยนางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี รองผู้ว่าฯพิจิตร รวมถึงนางกัญญารินทร์ บุตรอุดม ประธานโครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดฯเข้าร่วมด้วย ได้มีการหารือถึงปมปัญหาที่เกิดขึ้น
นางกัญญารินทร์ ยอมรับว่า ที่ผ่านมากองทุนฯปล่อยเงินกู้ให้กับกลุ่มสตรีแบบรีบเร่ง อีกทั้งคณะกรรมการทั้ง 17 คน ร่วมเป็นผู้มีจิตอาสา ขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ รวมถึงไม่ได้ลงพื้นที่เพื่อพิจารณาทุกโครงการ ได้แต่ดูเอกสารและเชื่อใจคณะกรรมการกองทุนสตรีระดับหมู่บ้านและระดับอำเภอที่ส่งเรื่องเข้ามา ขณะที่พวกที่ขอกู้เงินก็กดดันอ้างจะร้องเรียนหากไม่ได้เงินกู้ตามที่ขอมา คณะกรรมการจึงพิจารณาปล่อยเงินกู้ไป
ต่อมานายจรัญ เหลืองศรีสกุล และทีมงานคณะทำงานฝ่ายติดตามที่ส่วนกลางแต่งตั้งมาได้ลงพื้นที่สุ่มตรวจโครงการ 15 ตัวอย่าง ปรากฏว่า มีทั้งกลุ่มที่เข้มแข็ง และพบข้อบกพร่องในหลายด้าน โดยได้ชี้แจงให้ที่ประชุมทราบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นคือ กลุ่มสตรีที่ตั้งขึ้นมานั้นไม่ได้เป็นกลุ่มที่แท้จริง เป็นกลุ่มเฉพาะกิจแบบครอบครัวที่มีผู้ประกอบการเป็นนายทุน สมาชิกในกลุ่มบางคนถูกยืมชื่อไม่รู้เรื่องหนี้สินที่ประธานกลุ่มก่อขึ้น, กลุ่มที่ตั้งขึ้นมาไม่มีแผนการในการดำเนินงาน แต่ก็มั่วนิ่มมาขอกู้เงินไป โดยมีประธานฯดำเนินการแต่เพียงผู้เดียว สมาชิกมารู้อีกครั้งก็ตกเป็นหนี้กองทุนสตรีไปแล้วจนก่อให้เกิดความแตกแยกขึ้น อีกทั้งได้เงินกู้ไปแล้วก็ไม่มีการใช้เงินให้ก่อประโยชน์ ส่วนใหญ่เท่าที่สุ่มตัวอย่างก็กู้เงินเอาไปใช้หนี้ ธ.ก.ส. -เอาไปผ่อนบ้าน -ผ่อนรถยนต์ รวมถึงหนี้นอกระบบ, สตรีบางคนก็ขอนำไปจ่ายค่าเทอม ค่าชุดนักเรียนให้ลูกที่จะเปิดเทอมก่อน
นอกจากนี้ ยังพบอีกว่ากลุ่มสตรีที่ตั้งขึ้นมา ไม่มีการทำบัญชีรับ-จ่าย บางกลุ่มอ้างว่า จะไปจัดซื้อวัสดุทั้งๆที่มีอยู่แล้ว จากนั้นก็เอาของเก่ามาโชว์ย้อมแมวหลอกกรรมการ , มีการตั้งกลุ่มขึ้นไม่ดำเนินการตามคำอ้าง แต่เอาเงินกู้ไปแบ่งกัน อนุมัติอีกอย่างแต่เอาไปทำอีกอย่างคณะกรรมการระดับตำบลไม่เข้าใจวิธีได้รับเงินโอนไป แทนที่จะโอนเข้ากลุ่มก็โอนเข้ามือสมาชิก แต่ละรายเมื่อได้เงินต่างคนต่างเอาไปใช้ ฯลฯ
ส่วนกลุ่มที่เข้มแข็งและพบว่า ดำเนินกิจการเป็นรูปธรรมต้นแบบที่พบเจอและคัดเลือกไว้มีเพียง 5 โครงการ ได้แก่ กลุ่มส่งเสริมอาชีพสตรีทำการแปรรูปอาหาหมู่ 3 ต.ห้วยพุก อ.ดงเจริญ, กลุ่มเย็บผ้าด้วยจักรเพื่อส่งขายหมู่ 4 ต.ดงป่าคำ องเมือง จ.พิจิตร,กลุ่มจักรสานงานเถาวัลย์และตะกร้าพลาสติกหมู่ 5 ต.ท้ายน้ำ อ.โพทะเล,กลุ่มทำขนมกระยาสารท บ้านรายชะโดหมู่ 6 ต.สามง่าม อ.สามง่าม , กลุ่มสตรีเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ 2 ต.ท่าหลวง อ.เมือง
รายงานข่าวแจ้งว่า ดังนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร จึงได้มอบหมายให้นางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี รองผู้ว่าฯ เป็นผู้มีอำนาจเต็มในการกำกับดูแลกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สั่งปรับยุทธวิธีใหม่ ให้เน้นในเชิงคุณภาพมากกว่าปริมาณ รวมถึงต้องมีเป้าหมาย 3 ส่วน คือ การบริหารทั่วไป, การอนุมัติโครงการ, การหาสมาชิกเพิ่มรณรงค์ขยายกลุ่มให้มีคุณภาพ เพื่อการเติบโต พร้อมทั้งให้เอาผิด ให้เอาเงินคืนจากกลุ่มสตรีที่มั่วนิ่มกู้เงินไปแล้วด้วย
สำหรับกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีพิจิตร ขณะนี้มีสมาชิก 96,566 คนคิดเป็น 41.14% ของสตรีที่มีคุณสมบัติ ซึ่งที่ผ่านมามีการปล่อยเงินกู้ไปแล้ว 4 ครั้ง อนุมัติครั้งแรก 21 ธ.ค.55 จำนวน 84 โครงการเป็นเงิน 7.33 ล้านบาท, อนุมัติครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 25 ม.ค.56 จำนวน 21 โครงการเป็นเงิน 2.5 ล้านบาท, อนุมัติครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 19 ก.พ.56 จำนวน 48 โครงการเป็นเงิน 5.63 ล้านบาท, อนุมัติครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 15 มี.ค. 56 จำนวน 56 โครงการเป็นเงิน 7.29 ล้านบาท แยกเป็น 6 ด้าน คือด้านการเกษตร, คหกรรม, พาณิชย์และบริการ, หัตถกรรม, ศิลปกรรม, อุตสาหกรรม รวมแล้ว 173 โครงการ เป็นเงิน 22.76 ล้านบาท ยังคงมีเงินเหลือที่จะปล่อยกู้อีก 47.24 ล้านบาท
รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ที่ดูเหมือนจะเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของรัฐบาลปู-ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เริ่มปรากฏปัญหาโผล่ขึ้นมาให้เห็นแล้ว โดยที่จังหวัดพิจิตร พบปัญหาการปล่อยกู้แบบเร่งรีบ ทำให้ขาดการพิจารณารายละเอียดของโครงการ, กลุ่มสตรีที่ตั้งขึ้นมา ไม่ได้มีการรวมกลุ่มอย่างแท้จริง, ผู้กู้กดดัน หากไม่ได้รับเงินกู้ก็ข่มขู่ว่าจะร้องเรียน เป็นต้น
ล่าสุดในการประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการเงินกู้ของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีพิจิตร ครั้งที่ 5 ที่ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิจิตร ศาลากลางจังหวัด ซึ่งมีนายจักริน เปลี่ยนวงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร พร้อมด้วยนางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี รองผู้ว่าฯพิจิตร รวมถึงนางกัญญารินทร์ บุตรอุดม ประธานโครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดฯเข้าร่วมด้วย ได้มีการหารือถึงปมปัญหาที่เกิดขึ้น
นางกัญญารินทร์ ยอมรับว่า ที่ผ่านมากองทุนฯปล่อยเงินกู้ให้กับกลุ่มสตรีแบบรีบเร่ง อีกทั้งคณะกรรมการทั้ง 17 คน ร่วมเป็นผู้มีจิตอาสา ขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ รวมถึงไม่ได้ลงพื้นที่เพื่อพิจารณาทุกโครงการ ได้แต่ดูเอกสารและเชื่อใจคณะกรรมการกองทุนสตรีระดับหมู่บ้านและระดับอำเภอที่ส่งเรื่องเข้ามา ขณะที่พวกที่ขอกู้เงินก็กดดันอ้างจะร้องเรียนหากไม่ได้เงินกู้ตามที่ขอมา คณะกรรมการจึงพิจารณาปล่อยเงินกู้ไป
ต่อมานายจรัญ เหลืองศรีสกุล และทีมงานคณะทำงานฝ่ายติดตามที่ส่วนกลางแต่งตั้งมาได้ลงพื้นที่สุ่มตรวจโครงการ 15 ตัวอย่าง ปรากฏว่า มีทั้งกลุ่มที่เข้มแข็ง และพบข้อบกพร่องในหลายด้าน โดยได้ชี้แจงให้ที่ประชุมทราบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นคือ กลุ่มสตรีที่ตั้งขึ้นมานั้นไม่ได้เป็นกลุ่มที่แท้จริง เป็นกลุ่มเฉพาะกิจแบบครอบครัวที่มีผู้ประกอบการเป็นนายทุน สมาชิกในกลุ่มบางคนถูกยืมชื่อไม่รู้เรื่องหนี้สินที่ประธานกลุ่มก่อขึ้น, กลุ่มที่ตั้งขึ้นมาไม่มีแผนการในการดำเนินงาน แต่ก็มั่วนิ่มมาขอกู้เงินไป โดยมีประธานฯดำเนินการแต่เพียงผู้เดียว สมาชิกมารู้อีกครั้งก็ตกเป็นหนี้กองทุนสตรีไปแล้วจนก่อให้เกิดความแตกแยกขึ้น อีกทั้งได้เงินกู้ไปแล้วก็ไม่มีการใช้เงินให้ก่อประโยชน์ ส่วนใหญ่เท่าที่สุ่มตัวอย่างก็กู้เงินเอาไปใช้หนี้ ธ.ก.ส. -เอาไปผ่อนบ้าน -ผ่อนรถยนต์ รวมถึงหนี้นอกระบบ, สตรีบางคนก็ขอนำไปจ่ายค่าเทอม ค่าชุดนักเรียนให้ลูกที่จะเปิดเทอมก่อน
นอกจากนี้ ยังพบอีกว่ากลุ่มสตรีที่ตั้งขึ้นมา ไม่มีการทำบัญชีรับ-จ่าย บางกลุ่มอ้างว่า จะไปจัดซื้อวัสดุทั้งๆที่มีอยู่แล้ว จากนั้นก็เอาของเก่ามาโชว์ย้อมแมวหลอกกรรมการ , มีการตั้งกลุ่มขึ้นไม่ดำเนินการตามคำอ้าง แต่เอาเงินกู้ไปแบ่งกัน อนุมัติอีกอย่างแต่เอาไปทำอีกอย่างคณะกรรมการระดับตำบลไม่เข้าใจวิธีได้รับเงินโอนไป แทนที่จะโอนเข้ากลุ่มก็โอนเข้ามือสมาชิก แต่ละรายเมื่อได้เงินต่างคนต่างเอาไปใช้ ฯลฯ
ส่วนกลุ่มที่เข้มแข็งและพบว่า ดำเนินกิจการเป็นรูปธรรมต้นแบบที่พบเจอและคัดเลือกไว้มีเพียง 5 โครงการ ได้แก่ กลุ่มส่งเสริมอาชีพสตรีทำการแปรรูปอาหาหมู่ 3 ต.ห้วยพุก อ.ดงเจริญ, กลุ่มเย็บผ้าด้วยจักรเพื่อส่งขายหมู่ 4 ต.ดงป่าคำ องเมือง จ.พิจิตร,กลุ่มจักรสานงานเถาวัลย์และตะกร้าพลาสติกหมู่ 5 ต.ท้ายน้ำ อ.โพทะเล,กลุ่มทำขนมกระยาสารท บ้านรายชะโดหมู่ 6 ต.สามง่าม อ.สามง่าม , กลุ่มสตรีเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ 2 ต.ท่าหลวง อ.เมือง
รายงานข่าวแจ้งว่า ดังนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร จึงได้มอบหมายให้นางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี รองผู้ว่าฯ เป็นผู้มีอำนาจเต็มในการกำกับดูแลกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สั่งปรับยุทธวิธีใหม่ ให้เน้นในเชิงคุณภาพมากกว่าปริมาณ รวมถึงต้องมีเป้าหมาย 3 ส่วน คือ การบริหารทั่วไป, การอนุมัติโครงการ, การหาสมาชิกเพิ่มรณรงค์ขยายกลุ่มให้มีคุณภาพ เพื่อการเติบโต พร้อมทั้งให้เอาผิด ให้เอาเงินคืนจากกลุ่มสตรีที่มั่วนิ่มกู้เงินไปแล้วด้วย
สำหรับกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีพิจิตร ขณะนี้มีสมาชิก 96,566 คนคิดเป็น 41.14% ของสตรีที่มีคุณสมบัติ ซึ่งที่ผ่านมามีการปล่อยเงินกู้ไปแล้ว 4 ครั้ง อนุมัติครั้งแรก 21 ธ.ค.55 จำนวน 84 โครงการเป็นเงิน 7.33 ล้านบาท, อนุมัติครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 25 ม.ค.56 จำนวน 21 โครงการเป็นเงิน 2.5 ล้านบาท, อนุมัติครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 19 ก.พ.56 จำนวน 48 โครงการเป็นเงิน 5.63 ล้านบาท, อนุมัติครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 15 มี.ค. 56 จำนวน 56 โครงการเป็นเงิน 7.29 ล้านบาท แยกเป็น 6 ด้าน คือด้านการเกษตร, คหกรรม, พาณิชย์และบริการ, หัตถกรรม, ศิลปกรรม, อุตสาหกรรม รวมแล้ว 173 โครงการ เป็นเงิน 22.76 ล้านบาท ยังคงมีเงินเหลือที่จะปล่อยกู้อีก 47.24 ล้านบาท