คณะที่ปรึกษากฎหมาย กกต.เผย กรณีเงินบริจาคประชาธิปัตย์ ตามที่ “เรืองไกร” ร้องดีเอสไอ ฟัน 44 ส.ส.ไม่ผิด พ.ร.บ.พรรคการเมือง ชี้เงินตรวจสอบที่มาได้ แถมกรณี เช็คขีดคร่อมก็ไม่ผิด จ่อชงความเห็นต่อกรรมการ เร็วๆ นี้
วันนี้ (23 เม.ย.) รายงานข่าวจาก กกต.แจ้งว่า หลังจากที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ได้ยื่นคำร้องขอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ตรวจสอบสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ 44 คนที่บริจาคเงินเข้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยให้สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรหักจากบัญชีเงินเดือน ว่าเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.พรรคการเมืองมาตรา 57 วรรค 2 หรือไม่ เนื่องจากมาตราดังกล่าวกำหนดให้การบริจาคเงินแก่พรรคการเมืองตั้งแต่สองหมื่นบาทขึ้นไปต้องใช้วิธีการสั่งจ่ายเป็นตั๋วแลกเงินหรือเช็คขีดคร่อม แม้ กกต.จะไม่ได้รับคำร้องขอให้ตรวจสอบกรณีดังกล่าวด้วยจากนายเรืองไกร แต่ก็เห็นว่า ท้ายที่สุดแล้วเรื่องดังกล่าวจะต้องมาเกี่ยวข้องกับ กกต.ไม่ทางใดทางหนึ่ง ที่ประชุม กกต.จึงได้ให้คณะที่ปรึกษากฎหมายของ กกต.ทำการศึกษาในประเด็นข้อกฎหมาย ซึ่งทางคณะที่ปรึกษาฯก็มีความเห็นว่า การรับบริจาคเงินในลักษณะดังกล่าวไม่ถือว่าผิดมาตรา 57 วรรค 2 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมือง เพราะเงินที่ได้รับบริจาคสามารถตรวจสอบได้ว่าแหล่งที่มาของเงินมาจากไหน โดยการที่สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรหักเงินจากบัญชีเงินเดือน ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ก็เป็นการดำเนินการตามความต้องการของพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับการยินยอมจาก ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชาธิปัตย์ก็จะมีการติดประกาศแจ้งต่อสาธารณะให้ทราบว่าได้รับเงินบริจาคดังกล่าวจาก ส.ส.คนใดบ้าง
นอกจากนี้คณะที่ปรึกษายังเห็นว่า การที่สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สั่งจ่ายเงินยอดรวมที่หักจากเงินเดือน ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เป็นเช็คขีดคร่อมให้กับพรรคประชาธิปัตย์นั้น ไม่เข้าข่ายผิดมาตรา 71 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมือง ที่บัญญัติว่าห้ามหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ นิติบุคคลที่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่หรือนิติบุคคลอื่นตามที่กำหนดในประกาศ กกต.บริจาคเงินแก่พรรคการเมือง เพราะเงินที่หักและสั่งจ่ายให้พรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช่เงินงบประมาณ และการดำเนินการในลักษณะดังกล่าวก็เป็นไปตามที่ ส.ส.และพรรคประชาธิปัตย์ร้องขอ ถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับสมาชิก เปรียบเสมือนสมาชิกสหกรณ์ขององค์กรที่ทางองค์กรจะหักเงินสมาชิกตามที่สมาชิกต้องการ เพื่อนำส่งให้กับสหกรณ์ หรือพนักงานต้องการให้บริษัทหักเงินเดือนของตนเองเพื่อให้ช่วยนำส่งธนาคารเป็นการชำระหนี้ค่าผ่อนบ้าน เป็นต้น โดยความเห็นดังกล่าวของคณะที่ปรึกษาฯ คาดว่าจะมีการนำเสนอต่อประชุม กกต.เร็วๆ นี้
“แม้ไม่มีการร้องต่อ กกต.แต่ที่ต้องให้คณะที่ปรึกษากฎหมายทำการศึกษา ก็เพื่อจะได้มีหลักอิงหากดีเอสไอทำคดีดังกล่าวเสร็จแล้วส่งให้อัยการยื่นฟ้องศาล ทาง กกต.ก็อาจจะต้องไปชี้แจงว่าการบริจาคในลักษณะดังกล่าวสอดคล้องที่กฎหมายบัญญัติหรือไม่” แหล่งข่าวระบุ
วันนี้ (23 เม.ย.) รายงานข่าวจาก กกต.แจ้งว่า หลังจากที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ได้ยื่นคำร้องขอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ตรวจสอบสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ 44 คนที่บริจาคเงินเข้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยให้สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรหักจากบัญชีเงินเดือน ว่าเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.พรรคการเมืองมาตรา 57 วรรค 2 หรือไม่ เนื่องจากมาตราดังกล่าวกำหนดให้การบริจาคเงินแก่พรรคการเมืองตั้งแต่สองหมื่นบาทขึ้นไปต้องใช้วิธีการสั่งจ่ายเป็นตั๋วแลกเงินหรือเช็คขีดคร่อม แม้ กกต.จะไม่ได้รับคำร้องขอให้ตรวจสอบกรณีดังกล่าวด้วยจากนายเรืองไกร แต่ก็เห็นว่า ท้ายที่สุดแล้วเรื่องดังกล่าวจะต้องมาเกี่ยวข้องกับ กกต.ไม่ทางใดทางหนึ่ง ที่ประชุม กกต.จึงได้ให้คณะที่ปรึกษากฎหมายของ กกต.ทำการศึกษาในประเด็นข้อกฎหมาย ซึ่งทางคณะที่ปรึกษาฯก็มีความเห็นว่า การรับบริจาคเงินในลักษณะดังกล่าวไม่ถือว่าผิดมาตรา 57 วรรค 2 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมือง เพราะเงินที่ได้รับบริจาคสามารถตรวจสอบได้ว่าแหล่งที่มาของเงินมาจากไหน โดยการที่สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรหักเงินจากบัญชีเงินเดือน ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ก็เป็นการดำเนินการตามความต้องการของพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับการยินยอมจาก ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชาธิปัตย์ก็จะมีการติดประกาศแจ้งต่อสาธารณะให้ทราบว่าได้รับเงินบริจาคดังกล่าวจาก ส.ส.คนใดบ้าง
นอกจากนี้คณะที่ปรึกษายังเห็นว่า การที่สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สั่งจ่ายเงินยอดรวมที่หักจากเงินเดือน ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เป็นเช็คขีดคร่อมให้กับพรรคประชาธิปัตย์นั้น ไม่เข้าข่ายผิดมาตรา 71 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมือง ที่บัญญัติว่าห้ามหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ นิติบุคคลที่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่หรือนิติบุคคลอื่นตามที่กำหนดในประกาศ กกต.บริจาคเงินแก่พรรคการเมือง เพราะเงินที่หักและสั่งจ่ายให้พรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช่เงินงบประมาณ และการดำเนินการในลักษณะดังกล่าวก็เป็นไปตามที่ ส.ส.และพรรคประชาธิปัตย์ร้องขอ ถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับสมาชิก เปรียบเสมือนสมาชิกสหกรณ์ขององค์กรที่ทางองค์กรจะหักเงินสมาชิกตามที่สมาชิกต้องการ เพื่อนำส่งให้กับสหกรณ์ หรือพนักงานต้องการให้บริษัทหักเงินเดือนของตนเองเพื่อให้ช่วยนำส่งธนาคารเป็นการชำระหนี้ค่าผ่อนบ้าน เป็นต้น โดยความเห็นดังกล่าวของคณะที่ปรึกษาฯ คาดว่าจะมีการนำเสนอต่อประชุม กกต.เร็วๆ นี้
“แม้ไม่มีการร้องต่อ กกต.แต่ที่ต้องให้คณะที่ปรึกษากฎหมายทำการศึกษา ก็เพื่อจะได้มีหลักอิงหากดีเอสไอทำคดีดังกล่าวเสร็จแล้วส่งให้อัยการยื่นฟ้องศาล ทาง กกต.ก็อาจจะต้องไปชี้แจงว่าการบริจาคในลักษณะดังกล่าวสอดคล้องที่กฎหมายบัญญัติหรือไม่” แหล่งข่าวระบุ